“ จิตว่าง ”
คำว่า “จิตว่าง” นี้ เป็นคำที่ผูกขึ้นมาใช้ ให้พวกเราเรียนง่าย จำง่าย พูดกันง่าย..คือคำสูงสุดในพุทธศาสนา คือ “ว่างจากตัวตน” ไม่ใช่ว่างอันธพาล หรือ ว่างไม่มีอะไร ว่างไม่คิดนึกอะไร นั่นไม่ใช่“จิตว่าง”ในที่นี้
“จิตว่าง” ในที่นี้ คือ จิตว่างจากความยึดมั่น ว่าตัวกู ว่าของกู จิตจะคิดอะไรก็ได้ นึกอะไรก็ได้ ทำอะไรก็ได้ ขอแต่มันว่างจากความมั่นหมายเป็น “ตัวกู-ของกู” ก็เรียกว่า “จิตว่าง”
มูลเหตุดั้งเดิมของมันมีอยู่ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าท่านสอนว่า “จงเห็นโลกโดยความเป็นของว่าง” หรือ “สุญโญ” นั้นคือ “ว่าง” ว่างจากอะไร ท่านได้ตรัสว่า “ อตฺเตน วา อตฺตนีเยน วา สุญฺโญ โลโก ” = “โลกว่างจากตัวตน ว่างจากของตน”
ท่านย้ำ ท่านสอน ท่านขอร้อง หรือปลอบโยน อะไรก็ตามแต่เถอะว่า “เธอจงดูโลกโดยความเป็นของว่าง” มันว่างจากความหมายแห่ง“ตัวตน” ว่างจากความหมายแห่ง“ของตน”
จิตว่าง คิดนึกอะไรก็คิดได้ แต่ไม่มีความหมายแห่งตัวตน ในใจไม่มีความยึดถือโดยความหมายแห่งตัวตน”
#_พุทธทาสภิกขุ
จาก "๕๐ ปีสวนโมกข์" ภาคสอง สวนอุศมมูลนิธิ หน้า ๑๒๕-๑๒๗
มีชีวิตอยู่ด้วยจิตว่าง
คำว่า “จิตว่าง” นี้ เป็นคำที่ผูกขึ้นมาใช้ ให้พวกเราเรียนง่าย จำง่าย พูดกันง่าย..คือคำสูงสุดในพุทธศาสนา คือ “ว่างจากตัวตน” ไม่ใช่ว่างอันธพาล หรือ ว่างไม่มีอะไร ว่างไม่คิดนึกอะไร นั่นไม่ใช่“จิตว่าง”ในที่นี้
“จิตว่าง” ในที่นี้ คือ จิตว่างจากความยึดมั่น ว่าตัวกู ว่าของกู จิตจะคิดอะไรก็ได้ นึกอะไรก็ได้ ทำอะไรก็ได้ ขอแต่มันว่างจากความมั่นหมายเป็น “ตัวกู-ของกู” ก็เรียกว่า “จิตว่าง”
มูลเหตุดั้งเดิมของมันมีอยู่ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าท่านสอนว่า “จงเห็นโลกโดยความเป็นของว่าง” หรือ “สุญโญ” นั้นคือ “ว่าง” ว่างจากอะไร ท่านได้ตรัสว่า “ อตฺเตน วา อตฺตนีเยน วา สุญฺโญ โลโก ” = “โลกว่างจากตัวตน ว่างจากของตน”
ท่านย้ำ ท่านสอน ท่านขอร้อง หรือปลอบโยน อะไรก็ตามแต่เถอะว่า “เธอจงดูโลกโดยความเป็นของว่าง” มันว่างจากความหมายแห่ง“ตัวตน” ว่างจากความหมายแห่ง“ของตน”
จิตว่าง คิดนึกอะไรก็คิดได้ แต่ไม่มีความหมายแห่งตัวตน ในใจไม่มีความยึดถือโดยความหมายแห่งตัวตน”
#_พุทธทาสภิกขุ
จาก "๕๐ ปีสวนโมกข์" ภาคสอง สวนอุศมมูลนิธิ หน้า ๑๒๕-๑๒๗