ส่วนตัวแล้วเราคิดว่าเพราะตัวละครในยุคพระนารายณ์ทุกตัวเป็นสีเทามาก-น้อยตามการตีความของคุณรอมแพงกับคุณศัลยาค่ะ
ตัวละครทุกตัวในเรื่องนี้มีมิติมาก ทั้งด้านความคิด ความรู้สึกที่แตกต่างกัน ความมีมิติของพวกเขาทำให้เรารู้สึกรัก เห็นใจและเข้าใจความนึกอ่านของแต่ละคน จะเกลียดตัวไหนก็ทำไม่ลง
เรื่องนี้ทำให้เรากลับมารื้อฟื้นความทรงจำตอนเรียนวิชาประวัติศาสตร์สมัยป.5 คุณครูที่สอนวิชานั้นถามว่าชอบพระมหากษัตริย์พระองค์ไหนในยุคอยุธยามากที่สุด ตอนนั้นเราตอบอย่างไม่ลังเลเลยค่ะว่าเป็นพระนารายณ์ เพราะเราคิดว่าท่านเป็นคนที่มีความคิดกว้างไกลมากๆที่ทำการติดต่อสานสัมพันธ์กับประเทศที่อยู่โพ้นทะเลไกล เราชื่นชมวิสัยทัศน์ของพระองค์มาก และบุพเพสันนิวาสในตอนที่พระนารายณ์รับพระราชสาส์นจากโชมองต์ก็ยิ่งใหญ่จริงๆ ดูมีความขลังมากจนเรายิ้มปลื้มถึงเช้าของวันต่อมาเลย
เมื่อก่อนเราจำได้ว่ามีละครหลายเรื่องที่ไม่กล้านำเสนอเรื่องเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์มากนัก ทั้งให้เห็นแค่คอจนถึงเท้าบ้าง เห็นข้างหลังบ้าง บางเรื่องที่มีบทก็รู้สึกว่าทำไม่ถึงบ้าง นำเสนอความคิดของท่านเพียงแค่ไม่กี่ด้านบ้าง และตัวร้ายมักจะเป็นตัวละครที่ร้ายสุดขั้วชั่วสุดขีดจนเดาทางได้ว่าตัวละครตัวนี้ตอนจบไม่ตายดีแน่ๆ แต่บุพเพสันนิวาสกลับเป็นละครที่แตกต่างกับละครอิงประวัติศาสตร์เรื่องอื่นหลายๆเรื่องที่ให้ตัวละครไม่ได้ดำสนิท เพียงแค่มีความคิดต่างกัน การพยายามเอาตัวรอดของตัวร้ายคือฟอลคอนซึ่งเมื่อหมดที่พึ่งแล้วก็จำเป็นจะต้องหาที่พึ่งใหม่เพราะชาวสยามรังเกียจท่าน นั่นเป็นเหตุที่เราพอจะรับได้ในสาเหตุที่ท่านต้องร้ายกับคนอื่นๆในเรื่อง
แล้วเพื่อนๆคิดว่าเพราะสาเหตุใดทำไมการนำเสนอประวัติศาสตร์ของบุพเพสันนิวาสถึงได้ประสบความสำเร็จคะ?
ปล. ขอวอนผู้จัด ผู้กำกับและนักเขียนบทละครทุกคนนะคะ อยากให้สร้างตัวละครที่โลดเล่นตามจอแก้วและจอเงินทุกตัวรวมทั้งพระ-นางเป็นตัวละครกลมๆ มีมิติ มีความคิดความอ่านที่ตามกันทันด้วยนะคะ การนำเสนอตัวละครแบบนี้มีความน่าสนใจมากกว่าการทำตัวละครที่แบ่งฝ่ายเป็นขาว-ดำมากๆเลยค่ะ
เพื่อนๆคิดว่าความสำเร็จของบุพเพสันนิวาสในด้านที่ทำให้คนไทยกลับมาสนใจประวัติศาสตร์มาจากอะไรคะ?
ตัวละครทุกตัวในเรื่องนี้มีมิติมาก ทั้งด้านความคิด ความรู้สึกที่แตกต่างกัน ความมีมิติของพวกเขาทำให้เรารู้สึกรัก เห็นใจและเข้าใจความนึกอ่านของแต่ละคน จะเกลียดตัวไหนก็ทำไม่ลง
เรื่องนี้ทำให้เรากลับมารื้อฟื้นความทรงจำตอนเรียนวิชาประวัติศาสตร์สมัยป.5 คุณครูที่สอนวิชานั้นถามว่าชอบพระมหากษัตริย์พระองค์ไหนในยุคอยุธยามากที่สุด ตอนนั้นเราตอบอย่างไม่ลังเลเลยค่ะว่าเป็นพระนารายณ์ เพราะเราคิดว่าท่านเป็นคนที่มีความคิดกว้างไกลมากๆที่ทำการติดต่อสานสัมพันธ์กับประเทศที่อยู่โพ้นทะเลไกล เราชื่นชมวิสัยทัศน์ของพระองค์มาก และบุพเพสันนิวาสในตอนที่พระนารายณ์รับพระราชสาส์นจากโชมองต์ก็ยิ่งใหญ่จริงๆ ดูมีความขลังมากจนเรายิ้มปลื้มถึงเช้าของวันต่อมาเลย
เมื่อก่อนเราจำได้ว่ามีละครหลายเรื่องที่ไม่กล้านำเสนอเรื่องเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์มากนัก ทั้งให้เห็นแค่คอจนถึงเท้าบ้าง เห็นข้างหลังบ้าง บางเรื่องที่มีบทก็รู้สึกว่าทำไม่ถึงบ้าง นำเสนอความคิดของท่านเพียงแค่ไม่กี่ด้านบ้าง และตัวร้ายมักจะเป็นตัวละครที่ร้ายสุดขั้วชั่วสุดขีดจนเดาทางได้ว่าตัวละครตัวนี้ตอนจบไม่ตายดีแน่ๆ แต่บุพเพสันนิวาสกลับเป็นละครที่แตกต่างกับละครอิงประวัติศาสตร์เรื่องอื่นหลายๆเรื่องที่ให้ตัวละครไม่ได้ดำสนิท เพียงแค่มีความคิดต่างกัน การพยายามเอาตัวรอดของตัวร้ายคือฟอลคอนซึ่งเมื่อหมดที่พึ่งแล้วก็จำเป็นจะต้องหาที่พึ่งใหม่เพราะชาวสยามรังเกียจท่าน นั่นเป็นเหตุที่เราพอจะรับได้ในสาเหตุที่ท่านต้องร้ายกับคนอื่นๆในเรื่อง
แล้วเพื่อนๆคิดว่าเพราะสาเหตุใดทำไมการนำเสนอประวัติศาสตร์ของบุพเพสันนิวาสถึงได้ประสบความสำเร็จคะ?
ปล. ขอวอนผู้จัด ผู้กำกับและนักเขียนบทละครทุกคนนะคะ อยากให้สร้างตัวละครที่โลดเล่นตามจอแก้วและจอเงินทุกตัวรวมทั้งพระ-นางเป็นตัวละครกลมๆ มีมิติ มีความคิดความอ่านที่ตามกันทันด้วยนะคะ การนำเสนอตัวละครแบบนี้มีความน่าสนใจมากกว่าการทำตัวละครที่แบ่งฝ่ายเป็นขาว-ดำมากๆเลยค่ะ