มีคำชี้แจงการขยายกรอบเวลาเกษียณอายุราชการ จาก 60 ปี เป็น 63 ปี ว่าเป็นเพียงหนึ่งในแผนปฏิรูประบบข้าราชการเท่านั้น ยังไม่มีความชัดเจนตอนนี้
พลโทสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี บอกว่า จากข่าวสารที่เผยแพร่ไปมีความผิดเพี้ยนจนทำให้สังคมสับสน ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนในตอนนี้ เป็นเพียงหนึ่งในแผนปฏิรูประบบข้าราชการเท่านั้น โดยการจะขยายอายุข้าราชการได้มีขั้นตอนกฎหมายหลายขั้นตอน ซึ่งสำนักงานข้าราชการพลเรือน หรือ กพร. จะต้องศึกษาข้อกฎหมายก่อน โดยเฉพาะในสายงานที่ตำแหน่งขาดแคลนและมีข้าราชการที่สูงอายุสามารถทำได้
เช่นเดียวกับนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี บอกว่า ข้อเสนอตามแผนปฏิรูปประเทศด้านสังคมนี้จะต้องนำไปศึกษาความเป็นไปได้ ก่อนการดำเนินการ ภายในกรอบเวลา 6 ปี ซึ่งในรายละเอียดยังสามารถปรับเปลี่ยนได้ จึงยังไม่ถือเป็นข้อยุติและยังไม่มีผลในทางกฎหมาย
ซึ่งข่าวที่ออกมาอ้างถึงแผนปฏิรูปประเทศด้านสังคม ซึ่งมีการประกาศราชกิจานุเบกษาเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2561 สาระสำคัญได้กำหนดประเด็นการปฏิรูปประเทศด้านสังคม ที่กำหนดกิจกรรมที่ ขยายอายุเกษียณราชการ จาก 60 ปี เป็น 63 ปีไว้ พร้อมกำหนดวิธีการดำเนินงานที่ต้องศึกษาความเหมาะสมของตำแหน่ง และต้องแก้ไขพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญ ให้ขยายอายุเกษียณราชการ เป็น 63 ปี โดยหน่วยงานรับผิดชอบ ได้แก่ กพ./กพร.
ดังนั้นการเกษียณอายุราชการของข้าราชการในปัจจุบันจะต้องยึดถือตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2493 ที่จะพ้นจากราชการเมื่ออายุครบ 60 ปี ไป จนกว่าจะมีการแก้ไขพ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2493
... สรุป มีแผน แต่ยังไม่ใช้เร็วๆนี้ ...
สับสน สับสน .. ยังไม่ใช้นะขยายเวลาเกษียณ 63 ปี
พลโทสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี บอกว่า จากข่าวสารที่เผยแพร่ไปมีความผิดเพี้ยนจนทำให้สังคมสับสน ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนในตอนนี้ เป็นเพียงหนึ่งในแผนปฏิรูประบบข้าราชการเท่านั้น โดยการจะขยายอายุข้าราชการได้มีขั้นตอนกฎหมายหลายขั้นตอน ซึ่งสำนักงานข้าราชการพลเรือน หรือ กพร. จะต้องศึกษาข้อกฎหมายก่อน โดยเฉพาะในสายงานที่ตำแหน่งขาดแคลนและมีข้าราชการที่สูงอายุสามารถทำได้
เช่นเดียวกับนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี บอกว่า ข้อเสนอตามแผนปฏิรูปประเทศด้านสังคมนี้จะต้องนำไปศึกษาความเป็นไปได้ ก่อนการดำเนินการ ภายในกรอบเวลา 6 ปี ซึ่งในรายละเอียดยังสามารถปรับเปลี่ยนได้ จึงยังไม่ถือเป็นข้อยุติและยังไม่มีผลในทางกฎหมาย
ซึ่งข่าวที่ออกมาอ้างถึงแผนปฏิรูปประเทศด้านสังคม ซึ่งมีการประกาศราชกิจานุเบกษาเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2561 สาระสำคัญได้กำหนดประเด็นการปฏิรูปประเทศด้านสังคม ที่กำหนดกิจกรรมที่ ขยายอายุเกษียณราชการ จาก 60 ปี เป็น 63 ปีไว้ พร้อมกำหนดวิธีการดำเนินงานที่ต้องศึกษาความเหมาะสมของตำแหน่ง และต้องแก้ไขพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญ ให้ขยายอายุเกษียณราชการ เป็น 63 ปี โดยหน่วยงานรับผิดชอบ ได้แก่ กพ./กพร.
ดังนั้นการเกษียณอายุราชการของข้าราชการในปัจจุบันจะต้องยึดถือตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2493 ที่จะพ้นจากราชการเมื่ออายุครบ 60 ปี ไป จนกว่าจะมีการแก้ไขพ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2493
... สรุป มีแผน แต่ยังไม่ใช้เร็วๆนี้ ...