สวัสดีเพื่อนๆทุกคนครับ วันนี้ MC มาริโอ้ ทำหน้าที่ ก่อนจะถึงเทศกาลสงกรานต์นี้ MC อยากมาประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนๆทราบก่อน 2 เรื่อง
เรื่องแรกคือรัฐบาลให้ลงทะเบียนประกันอุบัติเหตุฟรีครับ
ด่วน! รัฐบาลให้ประกันอุบัติเหตุช่วงสงกรานต์1ล้านกรมธรรม์ฟรี!
รีบลงทะเบียนออนไลน์ได้เลย คุ้มครองยาว 3 เดือน (เฉพาะกลุ่มอายุ 16-60ปีเท่านั้น) เมื่อลงทะเบียนแล้วจะได้เลขกรมธรรม์เลย..
https://www.mangozero.com/insurent-free-songkran-day/
ส่วนนี่ลิ้งค์ลงทะเบียนครับ
https://www.tqm.co.th/familyclub/freepa/apply?eventfrom=Songkran2018
เรื่องที่สองคือ ช่วงการเดินทางหากท่านใดขับรถไปเสียที่ไหน ในประเทศไทย
โทร. 02-354-6324 เป็นเบอร์โครงการหน่วย ตำรวจช่าง ในโครงการ พระราชดำริ สามารถช่วยท่านได้ทุกที่ จะโทรสอบถามอาการ แล้วเตรียมพร้อมที่จะมาช่วยให้คุณสามารถเดินทางไปต่อได้
จ่ายเงินเฉพาะ ค่าอะไหล่ ที่นำมาให้
ไม่รับเงินค่าอื่นๆ แค่ขอถ่ายรูป
เก็บข้อมูล ไว้ประชาสัมพันธ์ในหน่วย ข้อสำคัญ คือปลอดภัยเป็นอย่างยิ่ง
หลายคนอาจเดินทางไปต่างจังหวัด ช่วงเทศกาล ปีใหม่ หรือวันหยุดยาวๆในเทศกาลต่าง ๆ เบอร์แจ้งเหตุฉุกเฉินของแต่ละจังหวัด น่าจะติดตัวไว้นะครับ
หมายเลขโทรศัพท์ ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191 ของแต่ละจังหวัด มีดังนี้ครับ
1 อุบลราชธานี 0-4535-2600-09
2 นครราชสีมา 0-4242-0250-99
3 ขอนแก่น 0-4324-0250-98
4 เชียงใหม่ 0-5392-0750-51
5 พิษณุโลก 0-5523-6400
6 นครปฐม 0-3424-0650
7 สุราษฎร์ธานี 0-7727-7600
8 อุดรธานี 0-4221-5750-99
9 ชลบุรี 0-3893-2600-08
10 สงขลา 0-7431-7301-30
11 ปทุมธานี 0-2598-8191
12 พระนครศรีอยุธยา 0-3524-9750
13 ฉะเชิงเทรา 0-3850-0099
14 ศรีสะเกษ 0-4582-9799
15 ร้อยเอ็ด 0-4361-9799
16 เชียงราย 0-5391-0788
17 นครสวรรค์ 0-5621-9099
18 นครศรีธรรมราช 0-7530-4600
19 พัทลุง 0-7460-9977
20 กาญจนบุรี 0-3452-7600-49
21 ลำปาง 0-5423-7090
22 ระยอง 0-3892-8090
23 สภ.หัวหิน 0-3261-8090
24 ภูเก็ต 0-7636-0790
25 นราธิวาส 0-7351-7990
26 ราชบุรี 0-3271-9798
27 กาฬสินธุ์ 0-4380-9799
28 เพชรบูรณ์ 0-5671-7799
29 ปัตตานี 0-7334-5999
30 สระบุรี 0-3624-0698
31 สมุทรสาคร 0-3441-9780
32 สมุทรปราการ 0-2338-0090
33 จันทบุรี 0-3931-9790
34 ยะลา 0-7322-0890
35 ตรัง 0-7520-1990
36 กระบี่ 0-7562-7900
37 กำแพงเพชร 0-5571-8490
38 ลำพูน 0-5356-9790
39 บุรีรัมย์ 0-4460-4090
40 นครพนม 0-4253-9790
41 นนทบุรี 02-528-7490
42 สุพรรณบุรี 035-514-000
43 ชัยนาท 056-459-639
44 ลพบุรี 036-418-900
45 ชัยภูมิ 044-815-000
46 พิจิตร 056-609-739
47 ตาก 055-518-000
48 สุโขทัย 055-609-739
49 แพร่ 054-539-739
50 พะเยา 054-409-739
51 น่าน 054-683-000
52 เลย 042-808-739
53 หนองบัวลำภู 042-318-739
54 หนองคาย 042-415-000
55 สกลนคร 042-700-739
56 มุกดาหาร 042-629-739
57 ยโสธร 045-709-739
58 สุรินทร์ 044-710-739
59 สระแก้ว 037-240-740
60 ปราจีนบุรี 037-239-098
61 นครนายก 037-307-000
62 สมุทรสงคราม 034-719-740
63 เพชรบุรี 032-709-740
64 ชุมพร 077-529-739
65 พังงา 076-401-439
66 สตูล 074-709-739
67 ระนอง 077-819-739
68 สิงห์บุรี 036-509798-99
69 อ่างทอง 035-617098-99
70 ตราด 039-552900-01
71 อำนาจเจริญ 045-519200-01
72 มหาสารคาม 043-719698-99
ฝากแชร์กันต่อๆด้วยนะครับ
สำหรับ EMS 1669 แล้ว MC เคยเป็นหนี้บุญคุณพวกท่านเหล่านี้อยู่ 2 ครั้ง ครั้งแรกคือไปนั่งรถเล่นกับเพื่อนแล้วยางแตกกลางถนนแล้วเซลงไปไหล่ทางไปต่อไม่ได้ ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร จู่ๆรถกู้ภัยร่วมกตัญญูก็ได้รับแจ้งจากพลเมืองดีก็เข้ามาช่วยเหลือจัดการทุกอย่างให้เสร็จสรรพโดยไม่คิดสินจ้างเลยแม้แต่บาทเดียว เรายื่นเงินน้ำใจให้เขาๆก็ไม่เอา บอกว่ามีหน้าที่ช่วยเหลือประชาชนอยู่แล้ว ครั้งที่สองเมื่อไม่นานมานี้ พ่อของ MC ประสบอุบัติเหตุ กระจกบาดหลายจุด เลือดออกเป็นลิ่มๆหลายจุดเลย ก็ได้หน่วยกู้ชีพ 1669 นี่แหละครับวิ่งตรงด่วนเข้ามาช่วยเหลือห้ามเลือด ก่อนนำส่งโรงพยาบาล สรุปแล้วเย็บไป 55 เข็ม ถ้าไม่ได้พวกเขาเหล่านี้ที่มีจิตสาธารณะช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ก็ไม่รู้ว่าผลที่เกิดตามมาจะเป็นเช่นไร
ทุกๆเทศกาลในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่กำลังสนุกรื่นเริง หรือพร้อมหน้าพร้อมตากับครอบครัว ณ ภูมิลำเนา แต่พวกท่านเหล่านี้จะไม่ได้หยุดเลย ยังคงทำหน้าที่อย่างแข็งขันช่วยเหลือผู้ประสบอุยัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง MC ขอสดุดีทุกท่านและกราบหัวใจทุกท่านมา ณ ที่นี้
ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน 1669
ที่ผ่านมาการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินมีลักษณะเป็นการตั้งรับที่โรงพยาบาลเป็นส่วนสำคัญ โดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยได้ไปถึงห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลแล้ว
การช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาล หมายถึง การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บรุนแรงจากจุดเกิดเหตุมาส่งโรงพยาบาล โดยผู้ป่วยฉุกเฉินหรือผู้บาดเจ็บรุนแรงได้แก่ผู้ประสบอันตรายในขั้นที่เป็นอันตรายถึงกับชีวิต หรือในระดับที่แพทย์ต้องรับตัวไว้รักษา ณ ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินหรือรับไว้สังเกตอาการ
การแพทย์ฉุกเฉิน หมายความว่า การปฏิบัติการ ฉุกเฉิน การศึกษา การฝึกอบรม การค้นคว้า และการวิจัยเกี่ยวกับการประเมิน การจัดการ การบำบัดรักษา ผู้ป่วยฉุกเฉิน และการป้องกันการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นฉุกเฉิน
ผู้ป่วยฉุกเฉิน หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยกะทันหัน ซึ่งเป็นภยันตรายต่อการดำรงชีวิตหรือการทำงานของอวัยวะสำคัญ จำเป็นต้องได้รับการประเมิน การจัดการและการบำบัดรักษาอย่างทันท่วงทีเพื่อป้องกันการเสียชีวิตหรือการรุนแรงขึ้นของการบาดเจ็บหรืออาการป่วยนั้น
ปฏิบัติการฉุกเฉิน หมายความว่า การปฏิบัติการ ด้านการแพทย์ฉุกเฉินนับแต่การรับรู้ถึงภาวะการเจ็บป่วยฉุกเฉินจนถึงการดำเนินการให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการบำบัดรักษาให้พ้นภาวะฉุกเฉินซึ่งรวมถึงการประเมิน การจัดการ การประสานงาน การควบคุม ดูแล การติดต่อสื่อสาร การลำเลียงหรือขนส่ง การตรวจวินิจฉัย และการบำบัดรักษาพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินทั้งนอกสถานพยาบาลและในสถานพยาบาล
หน่วยปฏิบัติการ หมายความว่า หน่วยงานหรือองค์กรที่ปฏิบัติการฉุกเฉิน
ผู้ปฏิบัติการ หมายความว่า บุคคลที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการแพทย์ฉุกเฉินตามที่คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินกำหนด
เรื่องราวของการช่วยเหลือเบื้องต้นสำหรับผู้บาดเจ็บในประเทศไทยที่มีลักษณะเป็นองค์กรช่วยเหลือ ณ จุดเกิดเหตุนอกโรงพยาบาลถือว่าสภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม ซึ่งจัดตั้งวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2536 เป็นองค์กรที่เริ่มต้นให้การช่วยเหลือพยาบาลบรรเทาทุกข์ ผู้บาดเจ็บนอกโรงพยาบาล จากกรณีพิพาทระหว่าง สยามกับฝรั่งเศส เรื่องดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง แต่เป็นการให้บริการเฉพาะผู้บาดเจ็บจากสงคราม ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นสภากาชาดไทย
สำหรับการช่วยเหลือในลักษณะสังคมสงเคราะห์และการกู้ภัย ควบคู่กับการเก็บศพผู้เสียชีวิตตามมาด้วยการช่วยเหลือผู้ป่วยขั้นต้นและลำเลียงนำส่งโรงพยาบาลกลับมีองค์กรเพื่อการกุศลอื่นเข้ามามีบทบาทชื่อป่อเต็กตึ๊ง ปรับเป็นมูลนิธิเพื่อการกุศลและการกู้ภัย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2480 และมูลนิธิร่วมกตัญญู ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2513
การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ พ.ศ.2510 เป็นต้นมา มี ผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกปี ส่งผลให้บทบาทการช่วยผู้บาดเจ็บบนท้องถนนของมูลนิธิต่างๆ ในเขตเมือง โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครมีมากขึ้นจนเป็นภาพที่เคยชินและยอมรับว่าอาสาสมัครทำงานแทนเจ้าหน้าที่ของรัฐ
อาสาสมัครของมูลนิธิมีระบบเครือข่ายวิทยุสื่อสารของอาสาสมัครซึ่งได้รับการกำกับดูแลจากเครือข่ายของตำรวจ จำนวนอาสาสมัครของมูลนิธิขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีระบบควบคุมคุณภาพที่ชัดเจน มีปัญหาการขโมยทรัพย์สินของผู้บาดเจ็บ การบาดเจ็บซ้ำของอาสาสมัครและผู้ป่วยที่รับการช่วยเหลือ จากกรณีที่ รถมูลนิธิขับขี่โดยขาดความระมัดระวัง พื้นที่นอกเขตเมืองไม่สามารถขยายทีมอาสาสมัครออกไปให้บริการให้ครอบคลุมได้ ขาดการกำกับดูแลเชิงนโยบายของรัฐส่งผลให้ขาดทิศทางการพัฒนา ไม่มีการประเมินมาตรฐานคุณภาพในเรื่องต่างๆ ทั้งบุคลากร รถและอุปกรณ์ การสนับสนุนทั้งงบประมาณ ความรู้และทรัพยากรต่างๆ ล้วนเป็นการดิ้นรนของกรรมการมูลนิธิแต่ละที่
ต่อมา พ.ศ.2523กรมตำรวจได้ตั้งศูนย์รถพยาบาลขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้บาดเจ็บที่ร้องขอมาทางโทรศัพท์และวิทยุ และได้รวมศูนย์รถพยาบาลเข้ากับศูนย์ส่งกลับ พ.ศ.2529 กรมการแพทย์ได้รับเงินงบประมาณสนับสนุนให้จัดทำระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่โรงพยาบาลราชวิถีตั้งแต่ปี พ.ศ.2532 ได้เปิดศูนย์กู้ชีพนเรนทร โรงพยาบาลราชวิถีอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ.2538 ถือเป็นต้นแบบหนึ่งของหน่วยกู้ชีพ ที่ดำเนินการภายใต้การดูแลกำกับจากโรงพยาบาล เริ่มก่อตั้งระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในภูมิภาคที่จังหวัดขอนแก่น โรงพยาบาลกรุงเทพ เป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกที่มีหน่วยกู้ชีพขึ้น แต่ละจังหวัดเริ่มมีการแบ่งพื้นที่ดำเนินการ
แพทยสภาได้อนุมัติหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน (Emergency Physician) เริ่มฝึกอบรม พ.ศ.2547 ขณะเดียวกันศูนย์นเรนทรได้กำหนดประเภทของหลักสูตรการฝึกอบรมบุคลากรการแพทย์ฉุกเฉินอื่นๆ ได้แก่ อาสากู้ชีพ (First Responder) สำหรับหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินขั้นต้น ฝึกปฐมพยาบาลและเคลื่อนย้ายขั้นพื้นฐาน
เวชกรฉุกเฉินสำหรับหน่วย EMS ขั้นพื้นฐานแบ่งย่อยเป็น เวชกรฉุกเฉินระดับพื้นฐาน (EMT-B)เวชกรฉุกเฉินระดับกลาง (EMT-I) เน้นการช่วยฟื้นคืนชีพ ขั้นพื้นฐานและเป็นทีมปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง พยาบาลกู้ชีพ
สำหรับหน่วย EMS ขั้นสูง ฝึกการช่วยฟื้นคืนชีพนั้น มีการพัฒนาศูนย์สั่งการขึ้นทั่วประเทศ มีการจัดตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัดโดยผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานและนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเป็นเลขานุการ ภายใต้งบประมาณด้านการเงินการคลังจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ล่าสุดคือการสามารถผลักดันกฎหมาย พ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.2551ขึ้น จึงเกิดสำนักงานสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติเป็นองค์กรที่แยกออกมาจากสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ขึ้นกับรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข โดยมีหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถแจ้งเหตุได้หมายเลขเดียวทั่วประเทศคือ 1669 มีสโลแกนว่า เจ็บเมื่อไหร่ก็โทรมา ไม่ว่าจะเป็น อุบัติเหตุ รวมถึงอุบัติเหตุจราจร ความเจ็บป่วยฉุกเฉิน เช่น ภาวะฉุกเฉินทางสมอง หรือระบบการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว ได้รับสารพิษหรือสารเคมีต่างๆ รวมทั้งอุบัติภัยอื่นๆ หรือภัยพิบัติต่างๆ
สัญญาณแจ้งเหตุ 1669 จะไปติดที่ศูนย์สั่งการที่จังหวัดนั้น เจ้าหน้าที่ศูนย์สั่งการจะสอบถามผู้แจ้งถึงลักษณะเหตุที่เกิด ความรุนแรงและสถานที่เกิดเหตุ เพื่อจะได้มีคำสั่งแจ้งไปยังชุดปฏิบัติการที่มีขีดความสามารถ เพียงพอ และใกล้จุดเกิดเหตุ เช่น รถพยาบาลระดับสูงสุด (Advance life support - ALS) มักจะเป็นรถของโรงพยาบาล รถพยาบาลระดับกลาง (Basic life support - BLS) หรือชุดปฏิบัติการระดับต่ำสุด (First responder - FR) ชุดหลังนี้มักจะเป็นอาสาสมัคร หรือมูลนิธิเพื่อการกุศลต่างๆ ซึ่งผ่านการอบรมแล้ว การช่วยเหลือ ณ จุดเกิดเหตุและกระบวนการนำส่งผู้ป่วยโดยไม่ถูกวิธีอาจเพิ่มความพิการหรือสูญเสียได้
ปัจจุบันนี้ชุดปฏิบัติการกู้ชีพจะไปถึงจุดเกิดเหตุเร็วกว่าในอดีตมาก ผู้ประสบเหตุเพียงโทรศัพท์ไปยังหมายเลข 1669 ครับ
ขอบพระคุณคุณ somsak จาก หมอชาวบ้าน
เล่มที่: 365
เดือน/ปี: กันยายน 2552
คอลัมน์: คุยกับหมอไพโรจน์
นักเขียนหมอชาวบ้าน: นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย
https://www.doctor.or.th/article/detail/7799
ห้องเพลงคนรากหญ้า *พักยกการเมือง* มุมนี้ไม่มีสี ไม่มีกลุ่ม..มีแต่เสียง 10/04/2018 " EMS 1669"
เรื่องแรกคือรัฐบาลให้ลงทะเบียนประกันอุบัติเหตุฟรีครับ
ด่วน! รัฐบาลให้ประกันอุบัติเหตุช่วงสงกรานต์1ล้านกรมธรรม์ฟรี!
รีบลงทะเบียนออนไลน์ได้เลย คุ้มครองยาว 3 เดือน (เฉพาะกลุ่มอายุ 16-60ปีเท่านั้น) เมื่อลงทะเบียนแล้วจะได้เลขกรมธรรม์เลย..
https://www.mangozero.com/insurent-free-songkran-day/
ส่วนนี่ลิ้งค์ลงทะเบียนครับ
https://www.tqm.co.th/familyclub/freepa/apply?eventfrom=Songkran2018
เรื่องที่สองคือ ช่วงการเดินทางหากท่านใดขับรถไปเสียที่ไหน ในประเทศไทย
โทร. 02-354-6324 เป็นเบอร์โครงการหน่วย ตำรวจช่าง ในโครงการ พระราชดำริ สามารถช่วยท่านได้ทุกที่ จะโทรสอบถามอาการ แล้วเตรียมพร้อมที่จะมาช่วยให้คุณสามารถเดินทางไปต่อได้
จ่ายเงินเฉพาะ ค่าอะไหล่ ที่นำมาให้
ไม่รับเงินค่าอื่นๆ แค่ขอถ่ายรูป
เก็บข้อมูล ไว้ประชาสัมพันธ์ในหน่วย ข้อสำคัญ คือปลอดภัยเป็นอย่างยิ่ง
หลายคนอาจเดินทางไปต่างจังหวัด ช่วงเทศกาล ปีใหม่ หรือวันหยุดยาวๆในเทศกาลต่าง ๆ เบอร์แจ้งเหตุฉุกเฉินของแต่ละจังหวัด น่าจะติดตัวไว้นะครับ
หมายเลขโทรศัพท์ ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191 ของแต่ละจังหวัด มีดังนี้ครับ
1 อุบลราชธานี 0-4535-2600-09
2 นครราชสีมา 0-4242-0250-99
3 ขอนแก่น 0-4324-0250-98
4 เชียงใหม่ 0-5392-0750-51
5 พิษณุโลก 0-5523-6400
6 นครปฐม 0-3424-0650
7 สุราษฎร์ธานี 0-7727-7600
8 อุดรธานี 0-4221-5750-99
9 ชลบุรี 0-3893-2600-08
10 สงขลา 0-7431-7301-30
11 ปทุมธานี 0-2598-8191
12 พระนครศรีอยุธยา 0-3524-9750
13 ฉะเชิงเทรา 0-3850-0099
14 ศรีสะเกษ 0-4582-9799
15 ร้อยเอ็ด 0-4361-9799
16 เชียงราย 0-5391-0788
17 นครสวรรค์ 0-5621-9099
18 นครศรีธรรมราช 0-7530-4600
19 พัทลุง 0-7460-9977
20 กาญจนบุรี 0-3452-7600-49
21 ลำปาง 0-5423-7090
22 ระยอง 0-3892-8090
23 สภ.หัวหิน 0-3261-8090
24 ภูเก็ต 0-7636-0790
25 นราธิวาส 0-7351-7990
26 ราชบุรี 0-3271-9798
27 กาฬสินธุ์ 0-4380-9799
28 เพชรบูรณ์ 0-5671-7799
29 ปัตตานี 0-7334-5999
30 สระบุรี 0-3624-0698
31 สมุทรสาคร 0-3441-9780
32 สมุทรปราการ 0-2338-0090
33 จันทบุรี 0-3931-9790
34 ยะลา 0-7322-0890
35 ตรัง 0-7520-1990
36 กระบี่ 0-7562-7900
37 กำแพงเพชร 0-5571-8490
38 ลำพูน 0-5356-9790
39 บุรีรัมย์ 0-4460-4090
40 นครพนม 0-4253-9790
41 นนทบุรี 02-528-7490
42 สุพรรณบุรี 035-514-000
43 ชัยนาท 056-459-639
44 ลพบุรี 036-418-900
45 ชัยภูมิ 044-815-000
46 พิจิตร 056-609-739
47 ตาก 055-518-000
48 สุโขทัย 055-609-739
49 แพร่ 054-539-739
50 พะเยา 054-409-739
51 น่าน 054-683-000
52 เลย 042-808-739
53 หนองบัวลำภู 042-318-739
54 หนองคาย 042-415-000
55 สกลนคร 042-700-739
56 มุกดาหาร 042-629-739
57 ยโสธร 045-709-739
58 สุรินทร์ 044-710-739
59 สระแก้ว 037-240-740
60 ปราจีนบุรี 037-239-098
61 นครนายก 037-307-000
62 สมุทรสงคราม 034-719-740
63 เพชรบุรี 032-709-740
64 ชุมพร 077-529-739
65 พังงา 076-401-439
66 สตูล 074-709-739
67 ระนอง 077-819-739
68 สิงห์บุรี 036-509798-99
69 อ่างทอง 035-617098-99
70 ตราด 039-552900-01
71 อำนาจเจริญ 045-519200-01
72 มหาสารคาม 043-719698-99
ฝากแชร์กันต่อๆด้วยนะครับ
สำหรับ EMS 1669 แล้ว MC เคยเป็นหนี้บุญคุณพวกท่านเหล่านี้อยู่ 2 ครั้ง ครั้งแรกคือไปนั่งรถเล่นกับเพื่อนแล้วยางแตกกลางถนนแล้วเซลงไปไหล่ทางไปต่อไม่ได้ ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร จู่ๆรถกู้ภัยร่วมกตัญญูก็ได้รับแจ้งจากพลเมืองดีก็เข้ามาช่วยเหลือจัดการทุกอย่างให้เสร็จสรรพโดยไม่คิดสินจ้างเลยแม้แต่บาทเดียว เรายื่นเงินน้ำใจให้เขาๆก็ไม่เอา บอกว่ามีหน้าที่ช่วยเหลือประชาชนอยู่แล้ว ครั้งที่สองเมื่อไม่นานมานี้ พ่อของ MC ประสบอุบัติเหตุ กระจกบาดหลายจุด เลือดออกเป็นลิ่มๆหลายจุดเลย ก็ได้หน่วยกู้ชีพ 1669 นี่แหละครับวิ่งตรงด่วนเข้ามาช่วยเหลือห้ามเลือด ก่อนนำส่งโรงพยาบาล สรุปแล้วเย็บไป 55 เข็ม ถ้าไม่ได้พวกเขาเหล่านี้ที่มีจิตสาธารณะช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ก็ไม่รู้ว่าผลที่เกิดตามมาจะเป็นเช่นไร
ทุกๆเทศกาลในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่กำลังสนุกรื่นเริง หรือพร้อมหน้าพร้อมตากับครอบครัว ณ ภูมิลำเนา แต่พวกท่านเหล่านี้จะไม่ได้หยุดเลย ยังคงทำหน้าที่อย่างแข็งขันช่วยเหลือผู้ประสบอุยัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง MC ขอสดุดีทุกท่านและกราบหัวใจทุกท่านมา ณ ที่นี้
ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน 1669
ที่ผ่านมาการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินมีลักษณะเป็นการตั้งรับที่โรงพยาบาลเป็นส่วนสำคัญ โดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยได้ไปถึงห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลแล้ว
การช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาล หมายถึง การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บรุนแรงจากจุดเกิดเหตุมาส่งโรงพยาบาล โดยผู้ป่วยฉุกเฉินหรือผู้บาดเจ็บรุนแรงได้แก่ผู้ประสบอันตรายในขั้นที่เป็นอันตรายถึงกับชีวิต หรือในระดับที่แพทย์ต้องรับตัวไว้รักษา ณ ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินหรือรับไว้สังเกตอาการ
การแพทย์ฉุกเฉิน หมายความว่า การปฏิบัติการ ฉุกเฉิน การศึกษา การฝึกอบรม การค้นคว้า และการวิจัยเกี่ยวกับการประเมิน การจัดการ การบำบัดรักษา ผู้ป่วยฉุกเฉิน และการป้องกันการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นฉุกเฉิน
ผู้ป่วยฉุกเฉิน หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยกะทันหัน ซึ่งเป็นภยันตรายต่อการดำรงชีวิตหรือการทำงานของอวัยวะสำคัญ จำเป็นต้องได้รับการประเมิน การจัดการและการบำบัดรักษาอย่างทันท่วงทีเพื่อป้องกันการเสียชีวิตหรือการรุนแรงขึ้นของการบาดเจ็บหรืออาการป่วยนั้น
ปฏิบัติการฉุกเฉิน หมายความว่า การปฏิบัติการ ด้านการแพทย์ฉุกเฉินนับแต่การรับรู้ถึงภาวะการเจ็บป่วยฉุกเฉินจนถึงการดำเนินการให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการบำบัดรักษาให้พ้นภาวะฉุกเฉินซึ่งรวมถึงการประเมิน การจัดการ การประสานงาน การควบคุม ดูแล การติดต่อสื่อสาร การลำเลียงหรือขนส่ง การตรวจวินิจฉัย และการบำบัดรักษาพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินทั้งนอกสถานพยาบาลและในสถานพยาบาล
หน่วยปฏิบัติการ หมายความว่า หน่วยงานหรือองค์กรที่ปฏิบัติการฉุกเฉิน
ผู้ปฏิบัติการ หมายความว่า บุคคลที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการแพทย์ฉุกเฉินตามที่คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินกำหนด
เรื่องราวของการช่วยเหลือเบื้องต้นสำหรับผู้บาดเจ็บในประเทศไทยที่มีลักษณะเป็นองค์กรช่วยเหลือ ณ จุดเกิดเหตุนอกโรงพยาบาลถือว่าสภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม ซึ่งจัดตั้งวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2536 เป็นองค์กรที่เริ่มต้นให้การช่วยเหลือพยาบาลบรรเทาทุกข์ ผู้บาดเจ็บนอกโรงพยาบาล จากกรณีพิพาทระหว่าง สยามกับฝรั่งเศส เรื่องดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง แต่เป็นการให้บริการเฉพาะผู้บาดเจ็บจากสงคราม ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นสภากาชาดไทย
สำหรับการช่วยเหลือในลักษณะสังคมสงเคราะห์และการกู้ภัย ควบคู่กับการเก็บศพผู้เสียชีวิตตามมาด้วยการช่วยเหลือผู้ป่วยขั้นต้นและลำเลียงนำส่งโรงพยาบาลกลับมีองค์กรเพื่อการกุศลอื่นเข้ามามีบทบาทชื่อป่อเต็กตึ๊ง ปรับเป็นมูลนิธิเพื่อการกุศลและการกู้ภัย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2480 และมูลนิธิร่วมกตัญญู ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2513
การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ พ.ศ.2510 เป็นต้นมา มี ผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกปี ส่งผลให้บทบาทการช่วยผู้บาดเจ็บบนท้องถนนของมูลนิธิต่างๆ ในเขตเมือง โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครมีมากขึ้นจนเป็นภาพที่เคยชินและยอมรับว่าอาสาสมัครทำงานแทนเจ้าหน้าที่ของรัฐ
อาสาสมัครของมูลนิธิมีระบบเครือข่ายวิทยุสื่อสารของอาสาสมัครซึ่งได้รับการกำกับดูแลจากเครือข่ายของตำรวจ จำนวนอาสาสมัครของมูลนิธิขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีระบบควบคุมคุณภาพที่ชัดเจน มีปัญหาการขโมยทรัพย์สินของผู้บาดเจ็บ การบาดเจ็บซ้ำของอาสาสมัครและผู้ป่วยที่รับการช่วยเหลือ จากกรณีที่ รถมูลนิธิขับขี่โดยขาดความระมัดระวัง พื้นที่นอกเขตเมืองไม่สามารถขยายทีมอาสาสมัครออกไปให้บริการให้ครอบคลุมได้ ขาดการกำกับดูแลเชิงนโยบายของรัฐส่งผลให้ขาดทิศทางการพัฒนา ไม่มีการประเมินมาตรฐานคุณภาพในเรื่องต่างๆ ทั้งบุคลากร รถและอุปกรณ์ การสนับสนุนทั้งงบประมาณ ความรู้และทรัพยากรต่างๆ ล้วนเป็นการดิ้นรนของกรรมการมูลนิธิแต่ละที่
ต่อมา พ.ศ.2523กรมตำรวจได้ตั้งศูนย์รถพยาบาลขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้บาดเจ็บที่ร้องขอมาทางโทรศัพท์และวิทยุ และได้รวมศูนย์รถพยาบาลเข้ากับศูนย์ส่งกลับ พ.ศ.2529 กรมการแพทย์ได้รับเงินงบประมาณสนับสนุนให้จัดทำระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่โรงพยาบาลราชวิถีตั้งแต่ปี พ.ศ.2532 ได้เปิดศูนย์กู้ชีพนเรนทร โรงพยาบาลราชวิถีอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ.2538 ถือเป็นต้นแบบหนึ่งของหน่วยกู้ชีพ ที่ดำเนินการภายใต้การดูแลกำกับจากโรงพยาบาล เริ่มก่อตั้งระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในภูมิภาคที่จังหวัดขอนแก่น โรงพยาบาลกรุงเทพ เป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกที่มีหน่วยกู้ชีพขึ้น แต่ละจังหวัดเริ่มมีการแบ่งพื้นที่ดำเนินการ
แพทยสภาได้อนุมัติหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน (Emergency Physician) เริ่มฝึกอบรม พ.ศ.2547 ขณะเดียวกันศูนย์นเรนทรได้กำหนดประเภทของหลักสูตรการฝึกอบรมบุคลากรการแพทย์ฉุกเฉินอื่นๆ ได้แก่ อาสากู้ชีพ (First Responder) สำหรับหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินขั้นต้น ฝึกปฐมพยาบาลและเคลื่อนย้ายขั้นพื้นฐาน
เวชกรฉุกเฉินสำหรับหน่วย EMS ขั้นพื้นฐานแบ่งย่อยเป็น เวชกรฉุกเฉินระดับพื้นฐาน (EMT-B)เวชกรฉุกเฉินระดับกลาง (EMT-I) เน้นการช่วยฟื้นคืนชีพ ขั้นพื้นฐานและเป็นทีมปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง พยาบาลกู้ชีพ
สำหรับหน่วย EMS ขั้นสูง ฝึกการช่วยฟื้นคืนชีพนั้น มีการพัฒนาศูนย์สั่งการขึ้นทั่วประเทศ มีการจัดตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัดโดยผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานและนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเป็นเลขานุการ ภายใต้งบประมาณด้านการเงินการคลังจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ล่าสุดคือการสามารถผลักดันกฎหมาย พ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.2551ขึ้น จึงเกิดสำนักงานสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติเป็นองค์กรที่แยกออกมาจากสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ขึ้นกับรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข โดยมีหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถแจ้งเหตุได้หมายเลขเดียวทั่วประเทศคือ 1669 มีสโลแกนว่า เจ็บเมื่อไหร่ก็โทรมา ไม่ว่าจะเป็น อุบัติเหตุ รวมถึงอุบัติเหตุจราจร ความเจ็บป่วยฉุกเฉิน เช่น ภาวะฉุกเฉินทางสมอง หรือระบบการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว ได้รับสารพิษหรือสารเคมีต่างๆ รวมทั้งอุบัติภัยอื่นๆ หรือภัยพิบัติต่างๆ
สัญญาณแจ้งเหตุ 1669 จะไปติดที่ศูนย์สั่งการที่จังหวัดนั้น เจ้าหน้าที่ศูนย์สั่งการจะสอบถามผู้แจ้งถึงลักษณะเหตุที่เกิด ความรุนแรงและสถานที่เกิดเหตุ เพื่อจะได้มีคำสั่งแจ้งไปยังชุดปฏิบัติการที่มีขีดความสามารถ เพียงพอ และใกล้จุดเกิดเหตุ เช่น รถพยาบาลระดับสูงสุด (Advance life support - ALS) มักจะเป็นรถของโรงพยาบาล รถพยาบาลระดับกลาง (Basic life support - BLS) หรือชุดปฏิบัติการระดับต่ำสุด (First responder - FR) ชุดหลังนี้มักจะเป็นอาสาสมัคร หรือมูลนิธิเพื่อการกุศลต่างๆ ซึ่งผ่านการอบรมแล้ว การช่วยเหลือ ณ จุดเกิดเหตุและกระบวนการนำส่งผู้ป่วยโดยไม่ถูกวิธีอาจเพิ่มความพิการหรือสูญเสียได้
ปัจจุบันนี้ชุดปฏิบัติการกู้ชีพจะไปถึงจุดเกิดเหตุเร็วกว่าในอดีตมาก ผู้ประสบเหตุเพียงโทรศัพท์ไปยังหมายเลข 1669 ครับ
ขอบพระคุณคุณ somsak จาก หมอชาวบ้าน
เล่มที่: 365
เดือน/ปี: กันยายน 2552
คอลัมน์: คุยกับหมอไพโรจน์
นักเขียนหมอชาวบ้าน: นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย
https://www.doctor.or.th/article/detail/7799