คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 16
แล้วแต่สไตล์คนเขียนบทค่ะ
ท่านมุ้ยเองยังเคยให้สัมภาษณ์ว่ากลุ่มคนดูหนังของท่านคือผู้ใหญ่วัยทำงานอายุ มากกว่า 25 ปี เป็นต้นไป
ที่จะยอมออกจากบ้านเสียเงินดูหนังเพราะหนังสไตล์ท่านมุ้ย
ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่กลุ่มคนดู Mass เหมือนกับละคร
ศาสตร์ของละครนั้นทำเพื่อความบันเทิงของคนหมู่มาก
ก็ย่อมต้องใส่กิมมิคพวกนี้
หรือว่าตัวละครบางตัวเพิ่มสีสันเข้าไปค่ะ
คำว่าออเจ้านี่เด็กๆวัยประถมชอบกันมากนะคะ
เอาไปพูดกันสนุกเชียว
คนสูงอายุในบ้านก็พลอยเล่นคำออเจ้าไปกับเค้าด้วย
ท่านมุ้ยเองยังเคยให้สัมภาษณ์ว่ากลุ่มคนดูหนังของท่านคือผู้ใหญ่วัยทำงานอายุ มากกว่า 25 ปี เป็นต้นไป
ที่จะยอมออกจากบ้านเสียเงินดูหนังเพราะหนังสไตล์ท่านมุ้ย
ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่กลุ่มคนดู Mass เหมือนกับละคร
ศาสตร์ของละครนั้นทำเพื่อความบันเทิงของคนหมู่มาก
ก็ย่อมต้องใส่กิมมิคพวกนี้
หรือว่าตัวละครบางตัวเพิ่มสีสันเข้าไปค่ะ
คำว่าออเจ้านี่เด็กๆวัยประถมชอบกันมากนะคะ
เอาไปพูดกันสนุกเชียว
คนสูงอายุในบ้านก็พลอยเล่นคำออเจ้าไปกับเค้าด้วย
▼ กำลังโหลดข้อมูล... ▼
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ
++ บุพเพสันนิวาศ...สมัยก่อนเค้าใช้คำว่า "ออเจ้า" กันได้เฝือขนาดนี้เลยหรอเตง?? ++
แต่ช่วงระหว่างที่ได้รับฟัง ก็รู้สึกเหมือนคำว่า " ออเจ้า " ซึ่งใช้เป็นสรรพนามแทนตัวคู่สนทนา ใช้กันพร่ำเพรื่อ กันมากเกินจริง
ซึ่งส่วนตัวไม่ได้มีความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ของไทยอย่างถ่องแท้ เพียงแค่ประเมินจากที่ได้ชมมา และได้พิจารณาประกอบกับความเป็นจริงที่ควรจะเป็นร่วมกับความเป็นจริงของบริบทสังคมไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน เพราะถ้าหากเปรียบเทียบคำว่า "ออเจ้า" ก็น่าจะเป็นสรรพนามที่มีการใช้ในยุคนั้น ซึ่งหมายถึง.."ท่าน" ซึ่งถ้าเป็นยุคนี้ ก็คือ ..เตง หรือ "ตัวเอง" นั่นเอง
ส่วนตัวยังเข้าใจว่า "ออเจ้า" น่าจะเป็นคำไพเราะที่ใช้ในการแต่งกลอน หรือระบุในบทกวี ไม่น่าจะใช้กันเฝือเหมือนกับที่มีในละคร
ยังสงสัยอีกว่า แล้วทำไม ละครย้อนยุคในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นศึกบางระจัน สมเด็จพระนเรศวร ไม่เห็นมีการใช้คำว่า "ออเจ้า" กันเลย (หรือว่าผมไม่เคยได้ยินเอง)