สวัสดีครับ สมาชิกห้องเพลงทุกๆท่าน วันนี้วันเสาร์
MC แอ๊ด (WANG JIE หรือ ชื่อดั้งเดิม "พฤษภเสารี" สมาชิกเก่าห้อง รดน.ช่วงปี 2546-2550) ประจำการครับ ^^
ช่วงนี้ MC กำลัง "อิน" ถูกครอบงำหนักด้วยเพลงจากซีรี่ส์ญี่ปุ่นซึ่งเคยดูมาตั้งแต่เด็ก โตมาก็ยังได้ดูจากแผ่นดีวีดี และมาสมัยนี้ก็ยังมีให้ดูจากในยูทูป แต่ไม่ครบ ไปแต่งกลอนแปลจากเพลงซี่รี่ส์เรื่องนี้ลงในห้องถนนนักเขียนก็ได้รับการตอบรับพอสมควร อย่ากระนั้นเลย วันนี้ นำเรื่องนี้มาฝากมิตรสหายทางการเมืองดีกว่า เรื่องราวของยอดซามูไรพเนจรซึ่งสูญเสียภรรยาผู้เป็นที่รักไป เหลือแต่ลูกชายตัวน้อยๆอายุแค่สามขวบใส่ "รถลากมหาประลัย" พเนจรไปทั่ว ฟาดฟันกับเหล่าพาลชน
มีวิชา "เพลงดาบแม่น้ำร้อยสาย" ติดตัวซึ่งสร้างชื่อเสียงให้แก่เขาเป็นที่หวาดเกรงครั่นคร้ามแก่ศัตรูทุกครั้งยามเผชิญหน้ากับเขาต่อให้มากันเป็นร้อยเป็นพัน คำว่า "น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ" อาจใช้กับคนอื่นๆได้ แต่ใช้กับเขาคนนี้ไม่ได้เด็ดขาด! นี่คือ "โขะทฺสึเระ โอะคะมิ ไอ้หมาป่าพ่อลูกอ่อน" นามว่า "โอกามิ อิตโต้"
ซามูไร ภาษาญี่ปุ่นคือ
侍 ออกเสียงว่า ซะหมุระอิ คือทหารประเภทหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในยุคก่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศญี่ปุ่น คำนี้มีต้นกำเนิดจากคำกริยาในภาษาญี่ปุ่นโบราณว่า
ซะบุระอุ แปลว่า
รับใช้ ฉะนั้น
ซามูไร ก็คือ
ผู้รับใช้ แก่เจ้านายหรือเจ้าแผ่นดินนั่นเอง
ต้นแบบของซามูไรดั้งเดิมนั้น เชื่อกันว่า มาจากรูปแบบของเหล่านักรบบนหลังม้า มือธนู และทหารเดินเท้าในช่วงศตวรรษที่ 6
เมื่อ 702 ปีหลังคริสตกาล ประมวลกฎหมาย
โยโร และประมวลกฎหมาย
ไทโฮ ถือกำเนิดขึ้นในญี่ปุ่น พร้อมกับคำสั่งที่ให้ประชาชนมารายงานตัวเป็นประจำกับทางการเพื่อเก็บข้อมูลสำรวจสำมะโนประชากร ที่ต่อมาจะถูกนำมาใช้เป็นตัวชี้วัดสำหรับการเกณฑ์ทหาร หลังจากนั้น เมื่อการทำสำมะโนประชากรเสร็จสิ้นลงจนทำให้รู้ว่าประชากรในญี่ปุ่นมีการกระจายตัวกันอย่างไร
จักรพรรดิคัมมุ (桓武天皇) ก็ได้ริเริ่มกฎหมาย ให้ประชากรเพศชายที่เป็นผู้ใหญ่ 1 ใน 3 ถึง 4 คนต้องถูกเกณฑ์เป็นทหารเพื่อรับใช้ชาติ
ในช่วงต้นของยุค
เฮอัง ประมาณปลายศตวรรษที่ 8 - ต้นศตวรรษที่ 9 จักรพรรดิคัมมุได้หาทางทำให้อำนาจของตนทรงพลังและแผ่ขยายไปทั่วตอนเหนือของเกาะ
ฮนชู (แผ่นดินใหญ่ของญี่ปุ่น) แต่ความหวังดังกล่าวก็เริ่มเกิดปัญหา เมื่อกำลังทหารที่จักรพรรดิส่งไปเพื่อปราบ
กบฏเอมิชิกลับไร้ซึ่งแรงจูงใจและระเบียบวินัยจนต้องแพ้กลับมา จักรพรรดิคัมมุจึงต้องแก้เกมใหม่โดยการริเริ่มตำแหน่ง
เซะอิตะอิโชกุน (征夷大将軍) หรือเรียกสั้นๆ ว่า
โชกุน ขึ้นมา เพื่อให้พวกเขาเหล่านี้ไปพิชิตกลุ่มกบฏเอมิชิ เป็นผลให้ทั้งหน่วยประจัญบานบนหลังม้าและนักแม่นธนู (คิวโดะ=弓道) ที่มีทักษะฝีมือ ต้องถูกเรียกเข้ามาเป็นเครื่องมือสำคัญในการคว่ำกำลังกบฏทั้งหลาย
แต่ในที่สุด จักรพรรดิคัมมุก็ยุติการบัญชาทัพของพระองค์ไป และอำนาจของพระองค์ก็อ่อนแอลงเรื่อย ๆ ขณะเดียวกัน กลุ่มตระกูลที่มีกำลังแข็งแกร่งทั่วเมืองเกียวโต (京都) ก็ได้เข้าครองตำแหน่งรัฐมนตรี บางส่วนก็มีอำนาจเป็นผู้ปกครองหรือศาลแขวง พวกนี้มักจะเรียกเก็บภาษีจากประชาชนอย่างหนักหน่วง เพื่อสะสมความมั่งคั่งและเป็นการคืนกำไรให้กับพวกตน ทำให้ชาวนาหลายต่อหลายคนไร้ที่ดินอยู่ การปล้นสดมภ์มีมากขึ้น เหล่าผู้ปกครองจึงแก้ปัญหาโดยการรับสมัครผู้ถูกเนรเทศในเขต
คันโตให้มาฝึกฝนศิลปะการต่อสู้อย่างเข้มงวด เพื่อที่จะใช้พวกเขาเป็นหน่วยรักษาความปลอดภัยที่ทรงประสิทธิภาพ บางครั้งก็ให้ไปช่วยเก็บภาษีและยับยั้งการทำงานของเหล่าหัวขโมยและโจรป่า พวกเขาเหล่านี้ได้ถูกเรียกว่า
ซาบุระอิ (ออกเสียงไวๆก็เป็น ซาบุไร และต่อมาเพี้ยนเสียงเป็น ซามุไร) หรือผู้ที่ถวายตัวเป็นข้ารับใช้ให้แก่กองทัพ ซึ่งผู้ที่เป็นซาบุไรมักจะได้เปรียบกว่าคนอื่น เนื่องจากพวกเขาจะได้รับอำนาจทางการเมืองและมีชนชั้นที่สูงขึ้น
แต่ซาบุไรบางกลุ่มก็เป็นเพียงชาวนาและ พันธมิตรที่จับอาวุธขึ้นปกป้องตนเองจากกลุ่มซาบุไรที่มีอำนาจสูงกว่า และผู้ปกครองที่จักรวรรดิส่งมาเพื่อเก็บภาษีและครอบครองที่ดินของพวกเขา ซึ่งต่อมาในช่วงยุคเฮอังตอนกลาง ซาบุไรกลุ่มนี้เองได้นำเอาลักษณะพิเศษของชุดเกราะและอาวุธต่าง ๆ ของญี่ปุ่นมาวางไว้เป็นพื้นฐานของ
กฎแห่งบูชิโด ซึ่งเป็นกฎที่ประมวลรวมหลักจรรยาต่าง ๆ ของพวกเขา
หลังจากการผ่านพ้นของศตวรรษที่ 11 เป็นต้นมา ผู้ที่จะมาเป็นซามูไรต่างได้รับการคาดหวังว่าจะต้องเป็นผู้ที่มีวัฒนธรรมและอ่านออกเขียนได้ โดยพวกเขาจะต้องสามารถใช้ชีวิตให้กลมกลืนไปกับคำกล่าวโบราณที่ว่า
บุง บุ เรียว โดะ (สว่าง, ศิลปะอักษร, ศิลปะการทหาร, วิถีทั้งสอง) หรือ
ความกลมกลืนแห่งพู่กันและดาบ ให้ได้ คือบุ๋นก็ได้บู๊ก็ได้!
ซามูไรพ่อลูกอ่อน ภาษาญี่ปุ่นคือ 子連れ狼 (โขะทฺสึเระโอคะมิ) หมายถึง สุนัขป่าผู้โดดเดี่ยวมีลูกติด เปรียบกับตัวของ โองะมิ อิตโตะ เรื่องนี้เดิมเป็นการ์ตูนญี่ปุ่น แต่งโดย
คะซุโอะ โคะอิเคะ และ
โกะเซะคิ โคะจิมะ เป็นเรื่องราวในยุค
เอะโดะเกี่ยวกับ
"โองะมิ อิตโตะ" ซามูไรเพชฌฆาตประจำตัวโชกุน ที่กลายเป็นซามูไรพเนจรไปพร้อมกับ "ไดโกโร" ลูกชายวัยแบเบาะ
"โองะมิ อิตโตะ" เดิมเป็นซามูไรที่ได้รับมอบหมายให้เป็นเพชฌฆาต มีศักดิ์และอำนาจทำการแทนตัวโชกุนตระกูลโทะกุงะวะ โองะมิ อิตโตะได้รับมอบหมายให้กวาดล้างสามตระกูลที่เป็นปริปักษ์ต่อโชกุน จึงทำให้ถูกอาฆาตพยาบาท โดยเฉพาะจาก
"ยาเงียว เร็ทสึโด" แห่งตระกูลยาเงียว
โองะมิ อิตโตะถูกหักหลัง ถูกปลดจากตำแหน่งและตั้งข้อหากบฏ ภรรยาและลูกน้องถูกฆ่าตาย มีเพียงลูกชายวัยขวบเศษ
"โองะมิ ไดโกโร" ที่รอดชีวิต หลังจากนั้น โองะมิ อิตโตะ กลายเป็นซามูไรรับจ้าง ออกร่อนเร่เดินทางไปพร้อมกับลูกน้อยที่นั่งในรถเข็น โดยถูกตามล่าจากศัตรูตลอดการเดินทาง
มีหลายฉากที่น่าประทับใจ เช่น ครั้งหนึ่ง อิตโตะ ต่อสู้กับศัตรูที่ตามล่า จนกระทั่งล้มป่วยเป็นไข้ นอนซมสลบอยู่กับที่ในกระท่อมร้างริมทาง เด็กน้อยไดโกโร่ ออกไปหาน้ำที่แม่น้ำ ก้มลงกอบน้ำไว้ในอุ้งมือ ตั้งใจจะนำกลับมาให้พ่อได้ดื่ม แต่น้ำก็ไหลหกไม่มีเหลือ เด็กน้อยไม่รู้จะทำอย่างไร
ในที่สุดจึงแก้ปัญหาด้วยการอมน้ำไว้ในปาก แล้วนำมาบ้วนให้ผู้เป็นพ่อได้ดื่ม
อีกตอนหนึ่ง ไดโกโร่ยืนรอพ่ออยู่ แล้วมีหญิงสาวหัวขโมยล้วงกระเป๋าชาวบ้านหนีเจ้าหน้าที่ผ่านมา นางฝากกระเป๋าที่ขโมยมาไว้ในมือเด็กน้อย แล้วกำชับว่าอย่าบอกใคร ไดโกโร่ถูกเจ้าหน้าที่นำไปสอบสวนกลางศาลาสาธารณะ เจ้าหน้าที่ต้องการบีบให้หญิงสาวนักล้วงเผยตัวออกมา จึงคาดคั้นกับไดโกโร่และโบยหลัง แต่เจ้าหนูก็ไม่ปริปากพูดอะไร แถมไม่ร้องออกมาสักแอะเดียว เจ้าหน้าที่ก็โบยหลังไดโกโร่ต่อไปเรื่อยๆ
หญิงจอมขโมยนักล้วงทนดูต่อไปไม่ได้ จึงยอมแสดงตัวออกมา แต่แม้กระนั้นไดโกโร่ก็ยังไม่ยอมชี้ตัวนางซึ่งออกมารับสารภาพแล้ว ทำให้ต้องถูกโบยหลังต่อไป หญิงสาวจึงเกิดความสำนึกละอายใจ จนยอมปวารณาตัวว่าจะเลิกเป็นขโมย
หรืออีกฉากหนึ่ง ไดโกโร่พลัดหลงกับพ่อ เดินอยู่ตามลำพัง ในโลกที่ดิบเถื่อนโหดร้าย ไม่มีใครดูแลใคร เด็กน้อยจะใช้ชีวิตอย่างไร จนหลงไปอยู่ในดงหญ้าที่พวกชาวนากำลังเตรียมจุดไฟเผา ฉากนี้เล่นกับความรู้สึกของคนดูและเผยให้เห็น “ตัวตน” ของไดโกโร่ว่า เป็นคนที่ดูแลตัวเองได้ ช่วยเหลือตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งใคร และเด็กน้อยก็เอาตัวรอดได้ด้วยการขุดดินลงไปซุกตัวอยู่หลบไฟที่กำลังโหมไหม้
โลกของซามูไร เปรียบเสมือนโลกของธรรมชาติก่อนที่จะเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม ความเปรียบเช่นนี้พิเคราะห์ได้จากหลายสิ่งหลายอย่าง อาทิเช่น เพลงดาบที่ได้อิทธิพลของสายน้ำ ภาพของป่าเขา พงไม้เขียวสดที่ปลิวไสวตามลมแรง ทุ่งหญ้าปลิวระเนระนาด หิมะที่โปรยปราย ดวงอาทิตย์ในยามสายัณต์ตัดกับเงาดำของแมกไม้ สายน้ำฉ่ำเย็นที่ใสบริสุทธิ์ของลำธารข้างทาง บนต้นไม้ท่ามกลางสายฝน จักจั่น จิ้งหรีด สรรพสัตว์น้อยใหญ่ระหว่างทางที่สองพ่อลูกเดินทางผ่าน บอกใบ้ให้เรารู้เป็นระยะๆว่า โลกของซามูไรนั้นก็คือวิถีแห่งธรรมชาติ
ในตอนต้นเรื่อง เมื่อครอบครัวแตกสลายถูกฆ่าจนหมด โอกามิ อิตโตะ ให้ลูกน้อยไดโกโร่ ตัดสินใจเลือกวิถีทางในการดำเนินชีวิต ทางหนึ่งเป็นเส้นทางของซามูไรที่อยู่ระหว่างความเป็นและความตาย เป็นเส้นทางของ “ปีศาจ” พร้อมจะตายได้ทุกขณะ (แทนค่าด้วยดาบ) และอีกเส้นทางหนึ่ง สู่สรวงสวรรค์ตายตามผู้เป็นมารดา(แทนค่าด้วยลูกบอล) เด็กน้อยจะต้องเลือกหยิบเอาด้วยตัวเอง และไดโกโร่เลือกดาบ!
ตลอดการเดินทาง ศัตรูที่ใส่ร้ายป้ายสีโอกามิ อิตโตะ จะคอยส่งนักฆ่ามาตามล้างตามฆ่า อิตโต้จึงต้องพาตัวเองไปรับจ้างฆ่าเพื่อเลี้ยงชีพ ทำให้ชีวิตจะต้องไปพบเจอเหตุการณ์ต่างๆนานา การต่อสู้เริ่มเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ รุกเข้าหาตัวผู้บงการมากขึ้น
ในเรื่องนี้ เราจะได้เห็นคนๆเดียวต่อสู้กับคนเป็นร้อยเป็นพัน โดยใช้ทั้งดาบ ปืนกลที่ติดตั้งกับรถเข็นไดโกโร่ และไดโกโร่เองก็เป็นผู้ช่วยในบางครั้ง จะได้เห็นการต่อสู้ท่ามกลางหิมะขาวโพลน ทั้งสองฝ่ายมีรถเลื่อนไถลลื่นไปบนหิมะ กระโจนเข้าห้ำหั่นกัน ฆ่ากันเลือดสาดกระจาย แตต่พวกวายร้ายมาเถอะครับเป็นร้อยเป็นพัน
คำว่า "น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ" ใช้ไม่ได้กับ โอกามิ อิตโตะ! เพราะสุดท้ายพวกที่มากันเป็นร้อยเป็นพันจะพากันตายเป็นเบือ!
มาดูดาบซามูไรกันหน่อย ดาบซามูไรญี่ปุ่นเรียกว่า
"คะตะนะ" (刀)
ในศตวรรษที่ 14 ช่างตีดาบชื่อ
มาซามุเนะ ได้พัฒนาเหล็กกล้าที่มีโครงสร้างสองชั้นผสมกันระหว่างเหล็กอ่อนและเหล็กแข็งขึ้นเพื่อใช้ในการตีดาบ โครงสร้างนี้ได้สร้างความก้าวหน้าในพลังและคุณภาพการตัดอย่างมาก และนำไปสู่การสร้าง
ดาบ คาตานะ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในฐานะของหนึ่งในอาวุธคู่มือที่ทรงอานุภาพมากที่สุดในเอเชียตะวันออกช่วงยุคก่อนการพัฒนาอุตสาหกรรม ดาบหลาย ๆ เล่มที่สร้างขึ้นมาโดยเทคนิคดังกล่าวนี้ได้ถูกส่งออกข้ามทะเลจีนตะวันออกไปไกลสุดถึงอินเดีย
ซามูไรใช้อาวุธหลายชนิด ดาบคาตานะมิใช่เป็นอาวุธที่สำคัญที่สุด เพราะซามูไรไม่สามารถนำคาตานะติดตัวเข้าไปในบางที่ได้
วากิซาชิ คือ อาวุธติดตัวซามูไรที่สำคัญที่สุด หลักบูชิโดได้สอนว่า จิตวิญญาณของซามูไร คือคาตานะของพวกเขาแต่ละคน และบางครั้งซามูไรก็ถูกจินตนาการให้ต้องพึ่งพาคาตานะเพื่อการต่อสู้ด้วย แนวคิดนี้ขัดแย้งกับหน้าไม้ของยุโรปหรือดาบของอัศวินที่ส่วนใหญ่ใช้เป็นแค่เครื่องมือในการต่อสู้เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ดาบคาตานะมักจะไม่ถูกนำมาใช้เป็นอาวุธในสมรภูมิกัน แม้ยุคคามากุระ (พ.ศ.1728 – 1876) คาตานะก็ยังไม่ได้เป็นอาวุธหลัก จนกระทั่งถึงยุคเอโดะ
วากิซาชิ คือ “ดาบแห่งเกียรติยศ” ซามูไรจะไม่ยอมให้มันพ้นจากข้างกายโดยเด็ดขาด มันจะต้องติดตัวพวกเขาไปตอนที่พวกเขาเข้าบ้านคนอื่น (แต่ต้องทิ้งอาวุธหลักเอาไว้ข้างนอก) ยามนอนก็ต้องมีมันอยู่ใต้หมอน
ขอบคุณ ข้อมูลจาก
http://oknation.nationtv.tv/blog/kahlao/2010/04/14/entry-1 และ วิกิ ฯ
พบกันวันพรุ่งนี้อีกวันหนึ่งครับ
ห้องเพลง**คนรากหญ้า**พักยกการเมือง มุมเสียงเพลง มุมนี้ไม่มีสีไม่มีกลุ่ม มีแต่เสียงเพลง 7/4/2561 - เพลงดาบแม่น้ำร้อยสาย
สวัสดีครับ สมาชิกห้องเพลงทุกๆท่าน วันนี้วันเสาร์ MC แอ๊ด (WANG JIE หรือ ชื่อดั้งเดิม "พฤษภเสารี" สมาชิกเก่าห้อง รดน.ช่วงปี 2546-2550) ประจำการครับ ^^
ช่วงนี้ MC กำลัง "อิน" ถูกครอบงำหนักด้วยเพลงจากซีรี่ส์ญี่ปุ่นซึ่งเคยดูมาตั้งแต่เด็ก โตมาก็ยังได้ดูจากแผ่นดีวีดี และมาสมัยนี้ก็ยังมีให้ดูจากในยูทูป แต่ไม่ครบ ไปแต่งกลอนแปลจากเพลงซี่รี่ส์เรื่องนี้ลงในห้องถนนนักเขียนก็ได้รับการตอบรับพอสมควร อย่ากระนั้นเลย วันนี้ นำเรื่องนี้มาฝากมิตรสหายทางการเมืองดีกว่า เรื่องราวของยอดซามูไรพเนจรซึ่งสูญเสียภรรยาผู้เป็นที่รักไป เหลือแต่ลูกชายตัวน้อยๆอายุแค่สามขวบใส่ "รถลากมหาประลัย" พเนจรไปทั่ว ฟาดฟันกับเหล่าพาลชน มีวิชา "เพลงดาบแม่น้ำร้อยสาย" ติดตัวซึ่งสร้างชื่อเสียงให้แก่เขาเป็นที่หวาดเกรงครั่นคร้ามแก่ศัตรูทุกครั้งยามเผชิญหน้ากับเขาต่อให้มากันเป็นร้อยเป็นพัน คำว่า "น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ" อาจใช้กับคนอื่นๆได้ แต่ใช้กับเขาคนนี้ไม่ได้เด็ดขาด! นี่คือ "โขะทฺสึเระ โอะคะมิ ไอ้หมาป่าพ่อลูกอ่อน" นามว่า "โอกามิ อิตโต้"
ซามูไร ภาษาญี่ปุ่นคือ 侍 ออกเสียงว่า ซะหมุระอิ คือทหารประเภทหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในยุคก่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศญี่ปุ่น คำนี้มีต้นกำเนิดจากคำกริยาในภาษาญี่ปุ่นโบราณว่า ซะบุระอุ แปลว่า รับใช้ ฉะนั้น ซามูไร ก็คือ ผู้รับใช้ แก่เจ้านายหรือเจ้าแผ่นดินนั่นเอง
ต้นแบบของซามูไรดั้งเดิมนั้น เชื่อกันว่า มาจากรูปแบบของเหล่านักรบบนหลังม้า มือธนู และทหารเดินเท้าในช่วงศตวรรษที่ 6
เมื่อ 702 ปีหลังคริสตกาล ประมวลกฎหมาย โยโร และประมวลกฎหมาย ไทโฮ ถือกำเนิดขึ้นในญี่ปุ่น พร้อมกับคำสั่งที่ให้ประชาชนมารายงานตัวเป็นประจำกับทางการเพื่อเก็บข้อมูลสำรวจสำมะโนประชากร ที่ต่อมาจะถูกนำมาใช้เป็นตัวชี้วัดสำหรับการเกณฑ์ทหาร หลังจากนั้น เมื่อการทำสำมะโนประชากรเสร็จสิ้นลงจนทำให้รู้ว่าประชากรในญี่ปุ่นมีการกระจายตัวกันอย่างไร จักรพรรดิคัมมุ (桓武天皇) ก็ได้ริเริ่มกฎหมาย ให้ประชากรเพศชายที่เป็นผู้ใหญ่ 1 ใน 3 ถึง 4 คนต้องถูกเกณฑ์เป็นทหารเพื่อรับใช้ชาติ
ในช่วงต้นของยุคเฮอัง ประมาณปลายศตวรรษที่ 8 - ต้นศตวรรษที่ 9 จักรพรรดิคัมมุได้หาทางทำให้อำนาจของตนทรงพลังและแผ่ขยายไปทั่วตอนเหนือของเกาะฮนชู (แผ่นดินใหญ่ของญี่ปุ่น) แต่ความหวังดังกล่าวก็เริ่มเกิดปัญหา เมื่อกำลังทหารที่จักรพรรดิส่งไปเพื่อปราบกบฏเอมิชิกลับไร้ซึ่งแรงจูงใจและระเบียบวินัยจนต้องแพ้กลับมา จักรพรรดิคัมมุจึงต้องแก้เกมใหม่โดยการริเริ่มตำแหน่งเซะอิตะอิโชกุน (征夷大将軍) หรือเรียกสั้นๆ ว่า โชกุน ขึ้นมา เพื่อให้พวกเขาเหล่านี้ไปพิชิตกลุ่มกบฏเอมิชิ เป็นผลให้ทั้งหน่วยประจัญบานบนหลังม้าและนักแม่นธนู (คิวโดะ=弓道) ที่มีทักษะฝีมือ ต้องถูกเรียกเข้ามาเป็นเครื่องมือสำคัญในการคว่ำกำลังกบฏทั้งหลาย
แต่ในที่สุด จักรพรรดิคัมมุก็ยุติการบัญชาทัพของพระองค์ไป และอำนาจของพระองค์ก็อ่อนแอลงเรื่อย ๆ ขณะเดียวกัน กลุ่มตระกูลที่มีกำลังแข็งแกร่งทั่วเมืองเกียวโต (京都) ก็ได้เข้าครองตำแหน่งรัฐมนตรี บางส่วนก็มีอำนาจเป็นผู้ปกครองหรือศาลแขวง พวกนี้มักจะเรียกเก็บภาษีจากประชาชนอย่างหนักหน่วง เพื่อสะสมความมั่งคั่งและเป็นการคืนกำไรให้กับพวกตน ทำให้ชาวนาหลายต่อหลายคนไร้ที่ดินอยู่ การปล้นสดมภ์มีมากขึ้น เหล่าผู้ปกครองจึงแก้ปัญหาโดยการรับสมัครผู้ถูกเนรเทศในเขตคันโตให้มาฝึกฝนศิลปะการต่อสู้อย่างเข้มงวด เพื่อที่จะใช้พวกเขาเป็นหน่วยรักษาความปลอดภัยที่ทรงประสิทธิภาพ บางครั้งก็ให้ไปช่วยเก็บภาษีและยับยั้งการทำงานของเหล่าหัวขโมยและโจรป่า พวกเขาเหล่านี้ได้ถูกเรียกว่า ซาบุระอิ (ออกเสียงไวๆก็เป็น ซาบุไร และต่อมาเพี้ยนเสียงเป็น ซามุไร) หรือผู้ที่ถวายตัวเป็นข้ารับใช้ให้แก่กองทัพ ซึ่งผู้ที่เป็นซาบุไรมักจะได้เปรียบกว่าคนอื่น เนื่องจากพวกเขาจะได้รับอำนาจทางการเมืองและมีชนชั้นที่สูงขึ้น
แต่ซาบุไรบางกลุ่มก็เป็นเพียงชาวนาและ พันธมิตรที่จับอาวุธขึ้นปกป้องตนเองจากกลุ่มซาบุไรที่มีอำนาจสูงกว่า และผู้ปกครองที่จักรวรรดิส่งมาเพื่อเก็บภาษีและครอบครองที่ดินของพวกเขา ซึ่งต่อมาในช่วงยุคเฮอังตอนกลาง ซาบุไรกลุ่มนี้เองได้นำเอาลักษณะพิเศษของชุดเกราะและอาวุธต่าง ๆ ของญี่ปุ่นมาวางไว้เป็นพื้นฐานของกฎแห่งบูชิโด ซึ่งเป็นกฎที่ประมวลรวมหลักจรรยาต่าง ๆ ของพวกเขา
หลังจากการผ่านพ้นของศตวรรษที่ 11 เป็นต้นมา ผู้ที่จะมาเป็นซามูไรต่างได้รับการคาดหวังว่าจะต้องเป็นผู้ที่มีวัฒนธรรมและอ่านออกเขียนได้ โดยพวกเขาจะต้องสามารถใช้ชีวิตให้กลมกลืนไปกับคำกล่าวโบราณที่ว่า บุง บุ เรียว โดะ (สว่าง, ศิลปะอักษร, ศิลปะการทหาร, วิถีทั้งสอง) หรือ ความกลมกลืนแห่งพู่กันและดาบ ให้ได้ คือบุ๋นก็ได้บู๊ก็ได้!
ซามูไรพ่อลูกอ่อน ภาษาญี่ปุ่นคือ 子連れ狼 (โขะทฺสึเระโอคะมิ) หมายถึง สุนัขป่าผู้โดดเดี่ยวมีลูกติด เปรียบกับตัวของ โองะมิ อิตโตะ เรื่องนี้เดิมเป็นการ์ตูนญี่ปุ่น แต่งโดย คะซุโอะ โคะอิเคะ และ โกะเซะคิ โคะจิมะ เป็นเรื่องราวในยุคเอะโดะเกี่ยวกับ "โองะมิ อิตโตะ" ซามูไรเพชฌฆาตประจำตัวโชกุน ที่กลายเป็นซามูไรพเนจรไปพร้อมกับ "ไดโกโร" ลูกชายวัยแบเบาะ
"โองะมิ อิตโตะ" เดิมเป็นซามูไรที่ได้รับมอบหมายให้เป็นเพชฌฆาต มีศักดิ์และอำนาจทำการแทนตัวโชกุนตระกูลโทะกุงะวะ โองะมิ อิตโตะได้รับมอบหมายให้กวาดล้างสามตระกูลที่เป็นปริปักษ์ต่อโชกุน จึงทำให้ถูกอาฆาตพยาบาท โดยเฉพาะจาก "ยาเงียว เร็ทสึโด" แห่งตระกูลยาเงียว
โองะมิ อิตโตะถูกหักหลัง ถูกปลดจากตำแหน่งและตั้งข้อหากบฏ ภรรยาและลูกน้องถูกฆ่าตาย มีเพียงลูกชายวัยขวบเศษ "โองะมิ ไดโกโร" ที่รอดชีวิต หลังจากนั้น โองะมิ อิตโตะ กลายเป็นซามูไรรับจ้าง ออกร่อนเร่เดินทางไปพร้อมกับลูกน้อยที่นั่งในรถเข็น โดยถูกตามล่าจากศัตรูตลอดการเดินทาง
มีหลายฉากที่น่าประทับใจ เช่น ครั้งหนึ่ง อิตโตะ ต่อสู้กับศัตรูที่ตามล่า จนกระทั่งล้มป่วยเป็นไข้ นอนซมสลบอยู่กับที่ในกระท่อมร้างริมทาง เด็กน้อยไดโกโร่ ออกไปหาน้ำที่แม่น้ำ ก้มลงกอบน้ำไว้ในอุ้งมือ ตั้งใจจะนำกลับมาให้พ่อได้ดื่ม แต่น้ำก็ไหลหกไม่มีเหลือ เด็กน้อยไม่รู้จะทำอย่างไร ในที่สุดจึงแก้ปัญหาด้วยการอมน้ำไว้ในปาก แล้วนำมาบ้วนให้ผู้เป็นพ่อได้ดื่ม
อีกตอนหนึ่ง ไดโกโร่ยืนรอพ่ออยู่ แล้วมีหญิงสาวหัวขโมยล้วงกระเป๋าชาวบ้านหนีเจ้าหน้าที่ผ่านมา นางฝากกระเป๋าที่ขโมยมาไว้ในมือเด็กน้อย แล้วกำชับว่าอย่าบอกใคร ไดโกโร่ถูกเจ้าหน้าที่นำไปสอบสวนกลางศาลาสาธารณะ เจ้าหน้าที่ต้องการบีบให้หญิงสาวนักล้วงเผยตัวออกมา จึงคาดคั้นกับไดโกโร่และโบยหลัง แต่เจ้าหนูก็ไม่ปริปากพูดอะไร แถมไม่ร้องออกมาสักแอะเดียว เจ้าหน้าที่ก็โบยหลังไดโกโร่ต่อไปเรื่อยๆ
หญิงจอมขโมยนักล้วงทนดูต่อไปไม่ได้ จึงยอมแสดงตัวออกมา แต่แม้กระนั้นไดโกโร่ก็ยังไม่ยอมชี้ตัวนางซึ่งออกมารับสารภาพแล้ว ทำให้ต้องถูกโบยหลังต่อไป หญิงสาวจึงเกิดความสำนึกละอายใจ จนยอมปวารณาตัวว่าจะเลิกเป็นขโมย
หรืออีกฉากหนึ่ง ไดโกโร่พลัดหลงกับพ่อ เดินอยู่ตามลำพัง ในโลกที่ดิบเถื่อนโหดร้าย ไม่มีใครดูแลใคร เด็กน้อยจะใช้ชีวิตอย่างไร จนหลงไปอยู่ในดงหญ้าที่พวกชาวนากำลังเตรียมจุดไฟเผา ฉากนี้เล่นกับความรู้สึกของคนดูและเผยให้เห็น “ตัวตน” ของไดโกโร่ว่า เป็นคนที่ดูแลตัวเองได้ ช่วยเหลือตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งใคร และเด็กน้อยก็เอาตัวรอดได้ด้วยการขุดดินลงไปซุกตัวอยู่หลบไฟที่กำลังโหมไหม้
โลกของซามูไร เปรียบเสมือนโลกของธรรมชาติก่อนที่จะเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม ความเปรียบเช่นนี้พิเคราะห์ได้จากหลายสิ่งหลายอย่าง อาทิเช่น เพลงดาบที่ได้อิทธิพลของสายน้ำ ภาพของป่าเขา พงไม้เขียวสดที่ปลิวไสวตามลมแรง ทุ่งหญ้าปลิวระเนระนาด หิมะที่โปรยปราย ดวงอาทิตย์ในยามสายัณต์ตัดกับเงาดำของแมกไม้ สายน้ำฉ่ำเย็นที่ใสบริสุทธิ์ของลำธารข้างทาง บนต้นไม้ท่ามกลางสายฝน จักจั่น จิ้งหรีด สรรพสัตว์น้อยใหญ่ระหว่างทางที่สองพ่อลูกเดินทางผ่าน บอกใบ้ให้เรารู้เป็นระยะๆว่า โลกของซามูไรนั้นก็คือวิถีแห่งธรรมชาติ
ในตอนต้นเรื่อง เมื่อครอบครัวแตกสลายถูกฆ่าจนหมด โอกามิ อิตโตะ ให้ลูกน้อยไดโกโร่ ตัดสินใจเลือกวิถีทางในการดำเนินชีวิต ทางหนึ่งเป็นเส้นทางของซามูไรที่อยู่ระหว่างความเป็นและความตาย เป็นเส้นทางของ “ปีศาจ” พร้อมจะตายได้ทุกขณะ (แทนค่าด้วยดาบ) และอีกเส้นทางหนึ่ง สู่สรวงสวรรค์ตายตามผู้เป็นมารดา(แทนค่าด้วยลูกบอล) เด็กน้อยจะต้องเลือกหยิบเอาด้วยตัวเอง และไดโกโร่เลือกดาบ!
ตลอดการเดินทาง ศัตรูที่ใส่ร้ายป้ายสีโอกามิ อิตโตะ จะคอยส่งนักฆ่ามาตามล้างตามฆ่า อิตโต้จึงต้องพาตัวเองไปรับจ้างฆ่าเพื่อเลี้ยงชีพ ทำให้ชีวิตจะต้องไปพบเจอเหตุการณ์ต่างๆนานา การต่อสู้เริ่มเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ รุกเข้าหาตัวผู้บงการมากขึ้น
ในเรื่องนี้ เราจะได้เห็นคนๆเดียวต่อสู้กับคนเป็นร้อยเป็นพัน โดยใช้ทั้งดาบ ปืนกลที่ติดตั้งกับรถเข็นไดโกโร่ และไดโกโร่เองก็เป็นผู้ช่วยในบางครั้ง จะได้เห็นการต่อสู้ท่ามกลางหิมะขาวโพลน ทั้งสองฝ่ายมีรถเลื่อนไถลลื่นไปบนหิมะ กระโจนเข้าห้ำหั่นกัน ฆ่ากันเลือดสาดกระจาย แตต่พวกวายร้ายมาเถอะครับเป็นร้อยเป็นพัน คำว่า "น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ" ใช้ไม่ได้กับ โอกามิ อิตโตะ! เพราะสุดท้ายพวกที่มากันเป็นร้อยเป็นพันจะพากันตายเป็นเบือ!
มาดูดาบซามูไรกันหน่อย ดาบซามูไรญี่ปุ่นเรียกว่า "คะตะนะ" (刀)
ในศตวรรษที่ 14 ช่างตีดาบชื่อ มาซามุเนะ ได้พัฒนาเหล็กกล้าที่มีโครงสร้างสองชั้นผสมกันระหว่างเหล็กอ่อนและเหล็กแข็งขึ้นเพื่อใช้ในการตีดาบ โครงสร้างนี้ได้สร้างความก้าวหน้าในพลังและคุณภาพการตัดอย่างมาก และนำไปสู่การสร้างดาบ คาตานะ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในฐานะของหนึ่งในอาวุธคู่มือที่ทรงอานุภาพมากที่สุดในเอเชียตะวันออกช่วงยุคก่อนการพัฒนาอุตสาหกรรม ดาบหลาย ๆ เล่มที่สร้างขึ้นมาโดยเทคนิคดังกล่าวนี้ได้ถูกส่งออกข้ามทะเลจีนตะวันออกไปไกลสุดถึงอินเดีย
ซามูไรใช้อาวุธหลายชนิด ดาบคาตานะมิใช่เป็นอาวุธที่สำคัญที่สุด เพราะซามูไรไม่สามารถนำคาตานะติดตัวเข้าไปในบางที่ได้ วากิซาชิ คือ อาวุธติดตัวซามูไรที่สำคัญที่สุด หลักบูชิโดได้สอนว่า จิตวิญญาณของซามูไร คือคาตานะของพวกเขาแต่ละคน และบางครั้งซามูไรก็ถูกจินตนาการให้ต้องพึ่งพาคาตานะเพื่อการต่อสู้ด้วย แนวคิดนี้ขัดแย้งกับหน้าไม้ของยุโรปหรือดาบของอัศวินที่ส่วนใหญ่ใช้เป็นแค่เครื่องมือในการต่อสู้เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ดาบคาตานะมักจะไม่ถูกนำมาใช้เป็นอาวุธในสมรภูมิกัน แม้ยุคคามากุระ (พ.ศ.1728 – 1876) คาตานะก็ยังไม่ได้เป็นอาวุธหลัก จนกระทั่งถึงยุคเอโดะ
วากิซาชิ คือ “ดาบแห่งเกียรติยศ” ซามูไรจะไม่ยอมให้มันพ้นจากข้างกายโดยเด็ดขาด มันจะต้องติดตัวพวกเขาไปตอนที่พวกเขาเข้าบ้านคนอื่น (แต่ต้องทิ้งอาวุธหลักเอาไว้ข้างนอก) ยามนอนก็ต้องมีมันอยู่ใต้หมอน
ขอบคุณ ข้อมูลจาก http://oknation.nationtv.tv/blog/kahlao/2010/04/14/entry-1 และ วิกิ ฯ
พบกันวันพรุ่งนี้อีกวันหนึ่งครับ