ไม่กี่วันที่ผ่านมา ข่าวการยกเว้นค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมออนไลน์ของหลายๆธนาคาร สร้างกระแสฮือฮาให้กับผู้บริโภคอย่างเราๆ กันทั่วโลกออนไลน์ ซึ่งในฐานะผู้บริโภค ต้องบอกว่า ชอบมาก เมือธุรกรรมออนไลน์ต่างๆผ่านที่ผ่าน Mobile Banking และ Internet Banking พร้อมใจกัน “ฟรีค่าธรรมเนียม” สนองตอบไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ให้เป็นสังคมไร้เงินสดอย่างแท้จริง ซึ่ง ณ ปัจจุบันเกือบจะครบทุกธนาคารแล้วที่ยกเว้นค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมออนไลน์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://efinancethai.com/HotNews/hotnewsmain.aspx?name=h_280318h&postdate=2018-03-28%2017:05:05
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ ทำให้เห็นว่า ธนาคารคงไม่ยอมให้ Fintech มารุกคืบได้ง่ายๆ และที่ธนาคารยอมเสียรายได้ค่าธรรมเนียมดังกล่าว สิ่งที่ได้กลับคืนมาถือว่า "คุ้ม" เพราะการสูญเสียรายได้ค่าธรรมเนียมธุรกรรมเหล่านี้ไป แต่กลับได้ Big Data จำนวนมหาศาล สามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ รู้ว่าลูกค้าแต่ละคนต้องการอะไร สนใจสิ่งไหน ข้อมูลเหล่านี้มีผลต่อการนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เหมาะสมต่อไปในอนาคต และที่สำคัญคือ
เป็นการกีดกัน ไม่ให้ E-wallet app เจ้าอื่นๆและเจ้าใหม่ มาแย่งตลาดผู้ใช้ไปได้
ปัจจุบัน E-wallet app หรือ กระเป๋าเงินออนไลน์มีใครเป็นผู้เล่นหลัก ทำไมธนาคารถึงกลัว??
ในประเทศไทย Application ที่ไว้ซื้อของออนไลน์ โอนเงินให้เพื่อน ไว้ชำระค่าบริการต่างๆ นอกจาก app ธนาคารแล้ว ก็จะมี TrueMoney, Rabbit Line Pay และ Airpay ของ Garena ที่เป็นผู้เล่นสำคัญมีผู้ใช้เกินล้านคน
ส่วนในต่างประเทศ wallet app ที่ไม่ใช่ของธนาคาร ประสบความสำเร็จมาก อย่างเช่น Venmo เป็น app ที่คนอเมริกาใช้โอนเงินให้กันมากที่สุด ในเมืองจีนคือ Alipay และ Wechatpay ตัวอย่างเหล่านี้ทำให้ธนาคารในประเทศไทยตื่นตัวไม่อยากเป็นเหมือนแบงก์ในจีนและอเมริกา ที่พ่ายแพ้ให้กับ Fintech ซึ่งปัญหาหลักๆ ที่ทำให้คนไม่ใช้ app ธนาคารทั้งที่มีเงินอยู่ในนั้น แต่กลับใช้ e-wallet app คือ
โอนเงินข้ามแบงก์เสียค่าธรรมเนียม
App ธนาคารแย่ ไม่น่าใช้งาน
ไม่มีบัญชีธนาคาร
การบังคับจ่ายด้วยบัตรเครดิตบน App Store และผู้ใช้ไม่มีบัตรเครดิต
บาง App โดยเฉพาะเกม กำหนดให้ผู้ใช้ต้องสมัคร
รายได้หลักถูกโอนเข้าบัญชี e-wallet โดยตรง
E-wallet เชื่อมต่อกับช่องทาง saving และ investment ที่ผู้ใช้ชอบ
App เช่น Wechat ที่กลายเป็น App ที่ App อื่นไปสร้างบริการไว้หมด ผู้ใช้สามารถทำทุกอย่างทั้งเรียก taxi สั่ง food delivery จองตั๋วหนังได้บน app เดียว
Venmo กลายเป็น app อันดับหนึ่งที่คนอเมริกาใช้โอนเงินเพราะข้อ 1 และ 2 ทำให้ผู้ใช้โอนเงินให้เพื่อนไม่เสียค่าธรรมเนียมและตัว App ทำออกมาดีมาก สถานการณ์ในตอนนี้ ถ้าพูดง่ายๆ ภาษาบ้านๆในภาคเกษตร การที่ธนาคารทำแบบนี้ คงเรียกว่าเป็น การชิงเผา เพื่อป้องกันการรุกลาม ซึ่งเป็นสำนวนของเกษตรกรที่ป้องกันไฟไหม้ป่า ด้วยการชิงเผาบางส่วน เกิดแนวป้องกัน กรณีนี้ก็อาจคล้ายกัน ธนาคารเสียรายได้ ต้องหันไปลดต้นทุน ย้ายสังเวียนมาฝั่งออนไลน์มากขึ้น ในขณะที่ จุดเด่นของ Startup ในกลุ่ม Fintech คือค่าบริการฟรี ต้นทุนต่ำ เน้นเติบโต จนเกิดพลังหรือเรียกว่า Network effect แต่ถ้าธนาคารลงสนามมาด้วย มันจำเป็น ...ก่อนจะสายเกินไป
ในขณะที่นวัตกรรม Fintech ในบ้านเรายังไม่แข็งแรง งานนี้คงต้องดูกันระยะยาว ซึ่งเป็นเรื่องปกติของการแข่งขันในทุกอุตสาหกรรม อย่างที่รู้กันว่า อะไรก็เกิดขึ้นได้ สรุปว่า ยุคนี้ไม่ใช่ยุค ”ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” แต่เป็นยุค Big Fish in a small pond ปลาใหญ่ต้องออกมาแข่งในตลาดปลาเร็ว และที่สำคัญเป็น “ปลาเร็วกินปลาช้า” แต่ที่แน่ๆ ผู้บริโภคได้ประโยชน์ แค่นี้ก็พอใจละ...
หรือจะถึงยุค “ปลาเร็วกินปลาช้า”
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ ทำให้เห็นว่า ธนาคารคงไม่ยอมให้ Fintech มารุกคืบได้ง่ายๆ และที่ธนาคารยอมเสียรายได้ค่าธรรมเนียมดังกล่าว สิ่งที่ได้กลับคืนมาถือว่า "คุ้ม" เพราะการสูญเสียรายได้ค่าธรรมเนียมธุรกรรมเหล่านี้ไป แต่กลับได้ Big Data จำนวนมหาศาล สามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ รู้ว่าลูกค้าแต่ละคนต้องการอะไร สนใจสิ่งไหน ข้อมูลเหล่านี้มีผลต่อการนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เหมาะสมต่อไปในอนาคต และที่สำคัญคือ เป็นการกีดกัน ไม่ให้ E-wallet app เจ้าอื่นๆและเจ้าใหม่ มาแย่งตลาดผู้ใช้ไปได้
ปัจจุบัน E-wallet app หรือ กระเป๋าเงินออนไลน์มีใครเป็นผู้เล่นหลัก ทำไมธนาคารถึงกลัว??
ในประเทศไทย Application ที่ไว้ซื้อของออนไลน์ โอนเงินให้เพื่อน ไว้ชำระค่าบริการต่างๆ นอกจาก app ธนาคารแล้ว ก็จะมี TrueMoney, Rabbit Line Pay และ Airpay ของ Garena ที่เป็นผู้เล่นสำคัญมีผู้ใช้เกินล้านคน
ส่วนในต่างประเทศ wallet app ที่ไม่ใช่ของธนาคาร ประสบความสำเร็จมาก อย่างเช่น Venmo เป็น app ที่คนอเมริกาใช้โอนเงินให้กันมากที่สุด ในเมืองจีนคือ Alipay และ Wechatpay ตัวอย่างเหล่านี้ทำให้ธนาคารในประเทศไทยตื่นตัวไม่อยากเป็นเหมือนแบงก์ในจีนและอเมริกา ที่พ่ายแพ้ให้กับ Fintech ซึ่งปัญหาหลักๆ ที่ทำให้คนไม่ใช้ app ธนาคารทั้งที่มีเงินอยู่ในนั้น แต่กลับใช้ e-wallet app คือ
โอนเงินข้ามแบงก์เสียค่าธรรมเนียม
App ธนาคารแย่ ไม่น่าใช้งาน
ไม่มีบัญชีธนาคาร
การบังคับจ่ายด้วยบัตรเครดิตบน App Store และผู้ใช้ไม่มีบัตรเครดิต
บาง App โดยเฉพาะเกม กำหนดให้ผู้ใช้ต้องสมัคร
รายได้หลักถูกโอนเข้าบัญชี e-wallet โดยตรง
E-wallet เชื่อมต่อกับช่องทาง saving และ investment ที่ผู้ใช้ชอบ
App เช่น Wechat ที่กลายเป็น App ที่ App อื่นไปสร้างบริการไว้หมด ผู้ใช้สามารถทำทุกอย่างทั้งเรียก taxi สั่ง food delivery จองตั๋วหนังได้บน app เดียว
Venmo กลายเป็น app อันดับหนึ่งที่คนอเมริกาใช้โอนเงินเพราะข้อ 1 และ 2 ทำให้ผู้ใช้โอนเงินให้เพื่อนไม่เสียค่าธรรมเนียมและตัว App ทำออกมาดีมาก สถานการณ์ในตอนนี้ ถ้าพูดง่ายๆ ภาษาบ้านๆในภาคเกษตร การที่ธนาคารทำแบบนี้ คงเรียกว่าเป็น การชิงเผา เพื่อป้องกันการรุกลาม ซึ่งเป็นสำนวนของเกษตรกรที่ป้องกันไฟไหม้ป่า ด้วยการชิงเผาบางส่วน เกิดแนวป้องกัน กรณีนี้ก็อาจคล้ายกัน ธนาคารเสียรายได้ ต้องหันไปลดต้นทุน ย้ายสังเวียนมาฝั่งออนไลน์มากขึ้น ในขณะที่ จุดเด่นของ Startup ในกลุ่ม Fintech คือค่าบริการฟรี ต้นทุนต่ำ เน้นเติบโต จนเกิดพลังหรือเรียกว่า Network effect แต่ถ้าธนาคารลงสนามมาด้วย มันจำเป็น ...ก่อนจะสายเกินไป
ในขณะที่นวัตกรรม Fintech ในบ้านเรายังไม่แข็งแรง งานนี้คงต้องดูกันระยะยาว ซึ่งเป็นเรื่องปกติของการแข่งขันในทุกอุตสาหกรรม อย่างที่รู้กันว่า อะไรก็เกิดขึ้นได้ สรุปว่า ยุคนี้ไม่ใช่ยุค ”ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” แต่เป็นยุค Big Fish in a small pond ปลาใหญ่ต้องออกมาแข่งในตลาดปลาเร็ว และที่สำคัญเป็น “ปลาเร็วกินปลาช้า” แต่ที่แน่ๆ ผู้บริโภคได้ประโยชน์ แค่นี้ก็พอใจละ...