‘อาร์ แอร์ไลน์’ เดี้ยง! หยุดบิน ขาดสภาพคล่องหนัก เครื่องบินถูกยึด ผลประกอบการ 5 ปี ขาดทุนอ่วม 474 ล้านบาท “นักบิน-ลูกเรือ” รุมฟ้องศาลแรงงาน ค้างเงินเดือน 15 ล้านบาท
ปีกหักไปอีกราย สำหรับสายการบิน ‘อาร์ แอร์ไลน์’ ซึ่งดำเนินธุรกิจเที่ยวบินเช่าเหมาลำเส้นทางบินในประเทศและระหว่างประเทศ ก่อตั้งมาตั้งแต่ยุคธุรกิจแอร์ไลน์เฟื่องฟู ปี 2555 ภายใต้ชื่อ บริษัท สกาย วิว แอร์เวย์ จำกัด โดยมี ร.อ.รชฏ พิสิษฐบรรณกร อดีต ส.ส.พรรคไทยรักไทย เป็นเจ้าของ ปัจจุบันพบว่า ได้หยุดทำการบินมาตั้งแต่วันที่ 31 ธ.ค. 2560 ทั้งยังได้ยื่นเรื่องไปยังสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) เพื่อถอนการตรวจประเมิน เพื่อออกใบรับรองผู้ดำเนินการอากาศใหม่ AOC-Re-Certification และยังพบว่า ผลประกอบการที่ผ่านมาขาดทุนอย่างหนัก มีภาระหนี้สินพะรุงพะรัง รวมทั้งค้างจ่ายเงินเดือนนักบิน พนักงาน หนี้การค้า จนผู้ให้เช่าเครื่องบินได้ยึดคืน หลังติดค้างค่าเช่าและผิดสัญญา
นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า สายการบิน ‘อาร์ แอร์ไลน์’ ได้หยุดทำการบินมาสักพักหนึ่งแล้ว โดยได้แจ้งมายัง กพท. ว่า เกิดจากปัญหาไม่มีเครื่องบินบิน รวมถึงการขอยกเลิกการตรวจประเมินการออกใบรับรองเดินอากาศใหม่ (AOC) ออกไปก่อน
“หากสายการบินสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องเครื่องบินได้ และจะกลับมาทำการบินอีกครั้ง จะต้องนำเครื่องบินที่จัดหามาใหม่ เข้าตรวจสอบเพื่อออก AOC ใหม่ ให้ได้เสียก่อน โดยเฉพาะการทำการบินในเส้นทางบินระหว่างประเทศ เนื่องจาก ‘อาร์ แอร์ไลน์’ ยังมีใบประกอบกิจการการค้าขายในการเดินอากาศ (AOL) อยู่ แต่ก็ต้องเป็นไปตามกรอบเวลา” ผอ.กพท. กล่าว
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบพบว่า AOL ของสายการบิน ‘อาร์ แอร์ไลน์’ จะหมดอายุในเดือน ต.ค. ปี 2563 และผลประกอบการของสายการบินในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ประสบปัญหาการขาดทุนไม่ต่ำกว่า 474.5 ล้านบาท โดยผลประกอบการปี 2559 ขาดทุน 99.8 ล้านบาท มีเพียงปี 2558 เท่านั้น ที่มีกำไรแค่ 1.33 ล้านบาท, ปี 2557 ขาดทุน 204 ล้านบาท, ปี 2556 ขาดทุน 57.2 ล้านบาท และปี 2555 ขาดทุน 118.5 ล้านบาท
อีกทั้งนับจากวันที่ 1 ก.ย. 2560 ‘อาร์ แอร์ไลน์’ เป็น 1 ใน 12 สายการบิน ที่ถูกสั่งให้หยุดทำการบินเส้นทางบินระหว่างประเทศ เนื่องจากเป็นช่วงการแก้ปัญหาการปลดธงแดง ICAO จึงให้บริการเที่ยวบินเช่าเหมาลำได้เฉพาะเส้นทางบินในประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ให้บริการตามสัญญาที่ทำไว้กับกองทัพบก โดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ซึ่งให้บริการทหารที่ไปปฏิบัติหน้าที่ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ในการลาพักกลับบ้านหรือหมุนเวียนสับเปลี่ยนกำลังพล ด้วยเครื่องบินเช่าเหมาลำเชิงพาณิชย์
อย่างไรก็ดี แหล่งข่าวระดับสูงจาก บริษัท สกาย วิว แอร์เวย์ จำกัด เผยว่า ‘อาร์ แอร์ไลน์’ ได้หยุดทำการบินมาตั้งแต่วันที่ 31 ธ.ค. 2560 เนื่องจากเครื่องบินแอร์บัสเอ 321-211 ซึ่งเช่ามาจากต่างประเทศได้ถูกยึดเครื่องบินคืนไป จึงทำให้ไม่มีเครื่องบินมาให้บริการ และช่วง 2 ปีที่ผ่านมา สายการบินประสบปัญหาเรื่องสภาพคล่องจากการบริหารงานที่ผิดพลาด ประกอบกับถูกคู่ค้าที่เป็นเอเยนต์จีนรายใหญ่ยกเลิกสัญญา เพราะยังไม่ได้รับอนุญาตจากกรมการบินของจีนในการบินเช่าเหมาลำ เหมือนเมื่อปี 2558
อีกทั้งการต่อสัญญากับ กอ.รมน. ครั้งล่าสุด ไม่ได้รวมค่าน้ำมัน ทำให้บริษัทขาดสภาพคล่องหนัก ก่อนหน้านั้น มีปัญหาค้างค่าเช่าเครื่องบินในรุ่นแอร์บัส A320-212 อีกด้วย และที่สำคัญ ยังมีการค้างชำระเงินเดือนแก่พนักงาน รวมเป็นวงเงินไม่ต่ำกว่า 15 ล้านบาท ตั้งแต่ปีที่แล้ว ปัจจุบัน พนักงานบางกลุ่ม อาทิ กัปตัน ลูกเรือ ได้ฟ้องไปที่ศาลแรงงานและเรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาคดี
ที่มา หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thansettakij.com/content/272521
R Airlines วิกฤติหนัก นักบินฟ้องเบี้ยวเงินเดือน
ปีกหักไปอีกราย สำหรับสายการบิน ‘อาร์ แอร์ไลน์’ ซึ่งดำเนินธุรกิจเที่ยวบินเช่าเหมาลำเส้นทางบินในประเทศและระหว่างประเทศ ก่อตั้งมาตั้งแต่ยุคธุรกิจแอร์ไลน์เฟื่องฟู ปี 2555 ภายใต้ชื่อ บริษัท สกาย วิว แอร์เวย์ จำกัด โดยมี ร.อ.รชฏ พิสิษฐบรรณกร อดีต ส.ส.พรรคไทยรักไทย เป็นเจ้าของ ปัจจุบันพบว่า ได้หยุดทำการบินมาตั้งแต่วันที่ 31 ธ.ค. 2560 ทั้งยังได้ยื่นเรื่องไปยังสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) เพื่อถอนการตรวจประเมิน เพื่อออกใบรับรองผู้ดำเนินการอากาศใหม่ AOC-Re-Certification และยังพบว่า ผลประกอบการที่ผ่านมาขาดทุนอย่างหนัก มีภาระหนี้สินพะรุงพะรัง รวมทั้งค้างจ่ายเงินเดือนนักบิน พนักงาน หนี้การค้า จนผู้ให้เช่าเครื่องบินได้ยึดคืน หลังติดค้างค่าเช่าและผิดสัญญา
นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า สายการบิน ‘อาร์ แอร์ไลน์’ ได้หยุดทำการบินมาสักพักหนึ่งแล้ว โดยได้แจ้งมายัง กพท. ว่า เกิดจากปัญหาไม่มีเครื่องบินบิน รวมถึงการขอยกเลิกการตรวจประเมินการออกใบรับรองเดินอากาศใหม่ (AOC) ออกไปก่อน
“หากสายการบินสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องเครื่องบินได้ และจะกลับมาทำการบินอีกครั้ง จะต้องนำเครื่องบินที่จัดหามาใหม่ เข้าตรวจสอบเพื่อออก AOC ใหม่ ให้ได้เสียก่อน โดยเฉพาะการทำการบินในเส้นทางบินระหว่างประเทศ เนื่องจาก ‘อาร์ แอร์ไลน์’ ยังมีใบประกอบกิจการการค้าขายในการเดินอากาศ (AOL) อยู่ แต่ก็ต้องเป็นไปตามกรอบเวลา” ผอ.กพท. กล่าว
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบพบว่า AOL ของสายการบิน ‘อาร์ แอร์ไลน์’ จะหมดอายุในเดือน ต.ค. ปี 2563 และผลประกอบการของสายการบินในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ประสบปัญหาการขาดทุนไม่ต่ำกว่า 474.5 ล้านบาท โดยผลประกอบการปี 2559 ขาดทุน 99.8 ล้านบาท มีเพียงปี 2558 เท่านั้น ที่มีกำไรแค่ 1.33 ล้านบาท, ปี 2557 ขาดทุน 204 ล้านบาท, ปี 2556 ขาดทุน 57.2 ล้านบาท และปี 2555 ขาดทุน 118.5 ล้านบาท
อีกทั้งนับจากวันที่ 1 ก.ย. 2560 ‘อาร์ แอร์ไลน์’ เป็น 1 ใน 12 สายการบิน ที่ถูกสั่งให้หยุดทำการบินเส้นทางบินระหว่างประเทศ เนื่องจากเป็นช่วงการแก้ปัญหาการปลดธงแดง ICAO จึงให้บริการเที่ยวบินเช่าเหมาลำได้เฉพาะเส้นทางบินในประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ให้บริการตามสัญญาที่ทำไว้กับกองทัพบก โดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ซึ่งให้บริการทหารที่ไปปฏิบัติหน้าที่ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ในการลาพักกลับบ้านหรือหมุนเวียนสับเปลี่ยนกำลังพล ด้วยเครื่องบินเช่าเหมาลำเชิงพาณิชย์
อย่างไรก็ดี แหล่งข่าวระดับสูงจาก บริษัท สกาย วิว แอร์เวย์ จำกัด เผยว่า ‘อาร์ แอร์ไลน์’ ได้หยุดทำการบินมาตั้งแต่วันที่ 31 ธ.ค. 2560 เนื่องจากเครื่องบินแอร์บัสเอ 321-211 ซึ่งเช่ามาจากต่างประเทศได้ถูกยึดเครื่องบินคืนไป จึงทำให้ไม่มีเครื่องบินมาให้บริการ และช่วง 2 ปีที่ผ่านมา สายการบินประสบปัญหาเรื่องสภาพคล่องจากการบริหารงานที่ผิดพลาด ประกอบกับถูกคู่ค้าที่เป็นเอเยนต์จีนรายใหญ่ยกเลิกสัญญา เพราะยังไม่ได้รับอนุญาตจากกรมการบินของจีนในการบินเช่าเหมาลำ เหมือนเมื่อปี 2558
อีกทั้งการต่อสัญญากับ กอ.รมน. ครั้งล่าสุด ไม่ได้รวมค่าน้ำมัน ทำให้บริษัทขาดสภาพคล่องหนัก ก่อนหน้านั้น มีปัญหาค้างค่าเช่าเครื่องบินในรุ่นแอร์บัส A320-212 อีกด้วย และที่สำคัญ ยังมีการค้างชำระเงินเดือนแก่พนักงาน รวมเป็นวงเงินไม่ต่ำกว่า 15 ล้านบาท ตั้งแต่ปีที่แล้ว ปัจจุบัน พนักงานบางกลุ่ม อาทิ กัปตัน ลูกเรือ ได้ฟ้องไปที่ศาลแรงงานและเรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาคดี
ที่มา หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ http://www.thansettakij.com/content/272521