http://www.matichon.co.th/news/47089
ผัสื่อข่าวรายงานว่า ธุรกิจการบินที่ปัจจุบันมีการแข่งขันรุนแรง ส่งผลให้บางสายการบินประสบปัญหาขาดทุนและหนี้สะสม รวมไปถึงการขาดแคลนนักบินอย่างหนัก ทำให้กระทรวงคมนาคมต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด โดยนายจุฬา สุขมานพ อธิบดีกรมท่าอากาศยาน (ทย.) และรักษาการผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) เปิดเผยว่า กพท.ได้ตรวจสอบสถานะทางการเงินของผู้ประกอบธุรกิจการบินในไทย รวม 50 บริษัท พบว่ามีผู้ประกอบการสายการบินจำนวน 4 ราย กำลังประสบปัญหาขาดสภาพคล่องอย่างหนัก ทั้งจากปัญหาการขาดทุน หนี้สินกับสถาบันการเงิน และหนี้ค้างชำระค่าธรรมเนียมสนามบินต่างๆ จำนวนมาก ประกอบด้วย 1.บริษัท ซิตี้ แอร์เวย์ จำกัด ผู้ให้บริการสายการบินซิตี้แอร์เวย์ 2.บริษัท สายการบิน เอเชียน จำกัด ผู้ให้บริการสายการบินเอเชียนแอร์ 3.บริษัท กานต์นิธิ เอวิเอชั่น จำกัด ผู้ให้บริการสายการบินกานต์ แอร์ และ 4.บริษัท เจ็ทเอเซีย แอร์เวย์ จำกัด ผู้ให้บริการเจ็ทเอเซีย แอร์เวย์
นายจุฬากล่าวว่า จากการประเมินเบื้องต้นพบว่าซิตี้ แอร์เวย์ มีความเสี่ยงมาก ดังนั้น เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ จึงลงนามสั่งให้ซิตี้ แอร์เวย์ หยุดทำการบินเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะแก้ปัญหาขาดทุนและหนี้ได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหายกเลิกเที่ยวบินจนทำให้ผู้โดยสารตกค้างที่สนามบินเหมือนที่ผ่านมาอีก ส่วนสายการบินเอเชียนแอร์ได้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว โดยศาลสั่งให้หยุดทำการบินตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ขณะนี้อยู่ระหว่างการนำทรัพย์สินของบริษัทออกจำหน่ายเพื่อใช้หนี้ ส่วนสายการบินกานต์แอร์ และเจ็ทเอเซีย แอร์เวย์ กทพ.กำลังติดตามฐานะทางการเงินอย่างใกล้ชิด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการตรวจสอบ 4 สายการบินดังกล่าว เป็นการเปิดให้บริการแบบเช่าเหมาลำ (ชาร์เตอร์ ไฟลต์) โดยสายการบินซิตี้ แอร์เวย์ ปัจจุบันหยุดบริการไปแล้ว 2.สายการบินกานต์แอร์ ปัจจุบันเปิดบริการเที่ยวบินราว 20 เที่ยวต่อสัปดาห์ โดยเปิดบริการเส้นทางบินในประเทศ เช่น เส้นทางเชียงราย-แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่-น่าน เชียงใหม่-ลำปาง เชียงใหม่-พิษณุโลก เชียงใหม่-อุบลราชธานี เชียงใหม่-ขอนแก่น ดอนเมือง-แม่สอด 3.สายการบินเจ็ทเอเซีย แอร์เวย์ เปิดบริการเส้นทางบิน สุวรรณภูมิ-นาริตะ ประเทศญี่ปุ่น โดยบินสัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 2 เที่ยวบิน และ 4.สายการบินเอเชียน แอร์ เคยทำการบินเส้นทางกรุงเทพฯ-นาริตะ
4 แอร์ไลน์หนี้ท่วม-สั่งห้ามบิน 2 แอร์ไลน์
ผัสื่อข่าวรายงานว่า ธุรกิจการบินที่ปัจจุบันมีการแข่งขันรุนแรง ส่งผลให้บางสายการบินประสบปัญหาขาดทุนและหนี้สะสม รวมไปถึงการขาดแคลนนักบินอย่างหนัก ทำให้กระทรวงคมนาคมต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด โดยนายจุฬา สุขมานพ อธิบดีกรมท่าอากาศยาน (ทย.) และรักษาการผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) เปิดเผยว่า กพท.ได้ตรวจสอบสถานะทางการเงินของผู้ประกอบธุรกิจการบินในไทย รวม 50 บริษัท พบว่ามีผู้ประกอบการสายการบินจำนวน 4 ราย กำลังประสบปัญหาขาดสภาพคล่องอย่างหนัก ทั้งจากปัญหาการขาดทุน หนี้สินกับสถาบันการเงิน และหนี้ค้างชำระค่าธรรมเนียมสนามบินต่างๆ จำนวนมาก ประกอบด้วย 1.บริษัท ซิตี้ แอร์เวย์ จำกัด ผู้ให้บริการสายการบินซิตี้แอร์เวย์ 2.บริษัท สายการบิน เอเชียน จำกัด ผู้ให้บริการสายการบินเอเชียนแอร์ 3.บริษัท กานต์นิธิ เอวิเอชั่น จำกัด ผู้ให้บริการสายการบินกานต์ แอร์ และ 4.บริษัท เจ็ทเอเซีย แอร์เวย์ จำกัด ผู้ให้บริการเจ็ทเอเซีย แอร์เวย์
นายจุฬากล่าวว่า จากการประเมินเบื้องต้นพบว่าซิตี้ แอร์เวย์ มีความเสี่ยงมาก ดังนั้น เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ จึงลงนามสั่งให้ซิตี้ แอร์เวย์ หยุดทำการบินเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะแก้ปัญหาขาดทุนและหนี้ได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหายกเลิกเที่ยวบินจนทำให้ผู้โดยสารตกค้างที่สนามบินเหมือนที่ผ่านมาอีก ส่วนสายการบินเอเชียนแอร์ได้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว โดยศาลสั่งให้หยุดทำการบินตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ขณะนี้อยู่ระหว่างการนำทรัพย์สินของบริษัทออกจำหน่ายเพื่อใช้หนี้ ส่วนสายการบินกานต์แอร์ และเจ็ทเอเซีย แอร์เวย์ กทพ.กำลังติดตามฐานะทางการเงินอย่างใกล้ชิด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการตรวจสอบ 4 สายการบินดังกล่าว เป็นการเปิดให้บริการแบบเช่าเหมาลำ (ชาร์เตอร์ ไฟลต์) โดยสายการบินซิตี้ แอร์เวย์ ปัจจุบันหยุดบริการไปแล้ว 2.สายการบินกานต์แอร์ ปัจจุบันเปิดบริการเที่ยวบินราว 20 เที่ยวต่อสัปดาห์ โดยเปิดบริการเส้นทางบินในประเทศ เช่น เส้นทางเชียงราย-แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่-น่าน เชียงใหม่-ลำปาง เชียงใหม่-พิษณุโลก เชียงใหม่-อุบลราชธานี เชียงใหม่-ขอนแก่น ดอนเมือง-แม่สอด 3.สายการบินเจ็ทเอเซีย แอร์เวย์ เปิดบริการเส้นทางบิน สุวรรณภูมิ-นาริตะ ประเทศญี่ปุ่น โดยบินสัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 2 เที่ยวบิน และ 4.สายการบินเอเชียน แอร์ เคยทำการบินเส้นทางกรุงเทพฯ-นาริตะ