กับเรื่องที่รัฐบาล และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ยังคงลังเลที่จะเสนอให้นายกฯออกมาตรการ ม.44 ช่วยเหลือผู้ประกอบการ ทีวีดิจิทัล ที่กำลัง “หืดจับ” จากปัจจัยลบรองด้านรุมถล่ม... แถมพ่วงด้วยการช่วยเหลือผู้ประกอบการมือถืออีก 2 รายที่เข้าประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ (MHz)…ซึ่งในส่วนของผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล...หลัง กสทช.ให้ใบอนุญาตประกอบการทีวีดิจิทัลและเปิดดำเนินการไปได้เพียงขวบปี ผู้ประกอบการหลายรายต่างอยู่ในสภาพย่ำแย่ รายที่มีสายป่านสั้นอย่าง “เจ๊ติ๋ม-ทีวีพูล” เจ้าของช่องไทยทีวี และโลก้า ก็ถึงกับต้องม้วนเสื่อกลับบ้านไปก่อนใคร...ด้วยเหตุผลที่ว่า...กสทช. ดำเนินการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบทีวีดิจิทัลล่าช้า ไม่เป็นไปตามแผนงาน ไม่เป็นไปตามที่เคยเชิญชวนผู้ประกอบการเข้ามาแข่งขันประมูลตั้งแต่ต้น จึงถือเป็นความรับผิดชอบของรัฐและกสทช. ....รัฐบาลจึงปัดฝุ่นมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล...เช่น ยกเว้นการจ่ายค่าธรรมเนียมทีวีดิจิทัล 3 ปี เอกชนจ่ายเฉพาะดอกเบี้ย 1.5% โดยกสทช.จะช่วยค่าเช่าโครงข่ายภาคพื้นให้ 50% เป็นเวลา 24 เดือนด้วย
ส่วนกรณี..ของผู้ประกอบการมือถือ 2 ราย ก็ด้วยเหตุที่ ผู้ประกอบการมือถือ 2 ราย ที่เข้าร่วมประมูลคลื่น 4จีที่ทำสถิติสูงสุดครั้งประวัติศาสตร์นั้นต้องแบกรับภาระจ่ายค่าธรรมเนียมคลื่น 4จี 900 สูงเกินกว่าพื้นฐาน...จากการที่มีบริษัทสื่อสารเข้ามาทุ่มราคาสู้ ดันราคาประมูลขึ้นไปอยู่ในระดับสูงกว่า 75,000 ล้านบาท...และในท้ายที่สุดก็ต้องทิ้งก่อนจะทิ้งใบอนุญาตไป ทำเอาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยเกือบเผชิญทางตัน จน กสทช.ต้องขอให้นายกฯในฐานะหัวหน้า คสช.ใช้ ม.44 ผ่าทางตันการประมูลให้ด้วยการเชื้อเชิญเอไอเอส เข้ามารับใบอนุญาตไปแทน…ดังนั้นหากบริษัทสื่อสารจะต้องจ่ายเงินค่าธรรมเนียมงวดสุดท้ายรวดก้อนเดียวกับ 60,000 ล้าน ก็คงมีสภาพไม่ต่างจากผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล... จึงได้ร้องขอให้รัฐผ่อนผัน การชำระค่าประมูลคลื่นงวดสุดท้ายออกไปเป็นการทยอยจ่าย 5 ปี ปีละ 10,000 ล้านบาทเศษ พร้อมดอกเบี้ย 1.5% เพื่อที่บริษัทจะมีเงินไปลงทุนขยายเครือข่ายได้...
แน่นอน...ว่าเรื่องแบบนี้ต้องมีการถูกตั้งคำถามจากสังคม...และยิ่งเจอคำท้วงติงจากองค์กรวิชาการอย่าง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนประเทศไทย หรือ TDRI… ที่ตั้งข้อสังเกตว่าแม้ 2 เอกชนจะจ่ายดอกเบี้ย 1.5% ต่อปี ...แต่ต่ำมาก... เพราะปกติกรณีการจ่ายค่าประมูลล่าช้าต้องคิดดอกเบี้ย 15% ต่อปี... ส่วนต่างดอกเบี้ยที่หดหายไปนั้น คิดเป็นมูลค่ารายละกว่า 15,000 ล้าน หรือรวมแล้วกว่า 30,000 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ยที่ ใช้คิดลด (Discount Rate)…แล้วยิ่งเจอทำทิ้งท้ายว่าหาก...คสช. จะมีมติยกผลประโยชน์ให้แก่ผู้ประกอบการทั้งสองราย... ก็คงทำให้ประชาชนอดตั้งข้อสังเกตไม่ได้ว่า แม้ว่า คสช. และรัฐบาลประยุทธ์จะแตกต่างจากรัฐบาลทักษิณ 1…!! เจอแบบนี้..รัฐบาลและคสช.
ก็ต้องแตะเบรกไว้ก่อน...
สถานการณ์ตอนนี้ก็ไม่รู้ว่า หากไม่ให้รัฐออกม.44 ช่วยเหลือผู้ประกอบการ ทั้งทีวีดิจิทัลและมือถือในห้วงที่ยังพอจะช่วยได้นี้ จะต้องรอให้ผีถึงป่าช้าก่อน หรืออย่างไรถึงจะยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ หากถึงเวลานั้นมาตรการช่วยเหลือที่ให้ไปจะไปมีความหมายอะไร...ดูอย่างบทเรียนที่เกิดขึ้นกับกรณีของ “เจ๊ติ่ม-ไทยทีวีและโลก้า” ก็เห็นกันอยู่สุดท้ายแล้วรัฐหรือคสช.ได้ประโยชน์อะไรกลับมาบ้าง ทั้งคลื่นความถี่ที่ต้องทิ้งเอาไว้อย่างนั้น เม็ดเงินผลประโยชน์เป็นพันล้าน หมื่นล้านได้กลับมาหรือไม่ ตรงกันข้ามกลายเป็นความสูญเสียของประเทศชาติโดยสิ้นเชิง!!และจะว่าไปมาตรการที่รัฐช่วยเหลือก็ใช่ว่าจะให้เปล่า รัฐยังคงได้เม็ดเงินค่าประมูลใบอนุญาตทั้งทีวีดิจิทัลและมือถือครบทุกบาททุกสตางค์ แถมยังได้ดอกเบี้ยตามอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้อีก เพียงแต่ระยะเวลาที่ได้ถูกยืดออกไปจากเดิม...โดยที่ธุรกิจเหล่านี้ยังคงมีศักยภาพที่จะเดินหน้าธุรกิจต่อไปได้...
และหากจะติงในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยที่รัฐยืดหนี้ให้ว่าไม่สมควรจะยึดดอกเบี้ยตามประกาศ ธปท.ว่าต่ำไปควรจะเป็นอัตราที่พอสมน้ำสมเนื้ออย่างที่ศาลใช้อิงเป็นเกณฑ์คือ 7.5% นั่นยังจะพอรับฟังได้ แต่ก็อีกนั่นแหละ อย่าลืมว่าเม็ดเงินที่เอกชนจะต้องจ่ายเข้ารัฐ ไม่ว่าจะก้อนเดียวทั้งหมด หรือทยอยจ่ายปีละ 10,000 ล้านบาทเศษนั้น ทุกรายต่างต้องระดมทุนกู้ยืมจากสถาบันการเงินหรือจากผู้ถือหุ้นด้วยกันทั้งสิ้น ต่างมีภาระที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยด้วยกันทั้งสิ้น หากยังต้องมาเจอรัฐและกสทช.ปล้นสะดมจะต้องจ่ายดอกเบี้ย 15% เอาด้วยอีก มันก็แทบไม่ต่างอะไรจากการซ้ำเติมผู้ประกอบการที่จ่ายค่าต๋ง ค่าธรรมเนียมแพงอยู่แล้ว…อย่างนี้แล้วก็สู้ทิ้งคลื่นความถี่เจ้ากรรม ไปรอประมูลคลื่นใหม่ 5จี ไปเลยไม่ดีกว่าหรือ?...
แล้วเมื่อถึงวันนั้นจริงๆ...ลองคิดดูอีกไหมว่า...ความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นมันมากมายขนาดไหนกัน...คนที่ออกมาขวางและทำให้ธุรกิจล้มและลากเอาระบบเศรษฐกิจทรุดฮวบไป...รับผิดชอบไหวไหม...???
ที่มา :
http://www.naewna.com/business/columnist/34756
ไม่กล้าตัดสินใจ...ก็ตายยกเข่ง...
ส่วนกรณี..ของผู้ประกอบการมือถือ 2 ราย ก็ด้วยเหตุที่ ผู้ประกอบการมือถือ 2 ราย ที่เข้าร่วมประมูลคลื่น 4จีที่ทำสถิติสูงสุดครั้งประวัติศาสตร์นั้นต้องแบกรับภาระจ่ายค่าธรรมเนียมคลื่น 4จี 900 สูงเกินกว่าพื้นฐาน...จากการที่มีบริษัทสื่อสารเข้ามาทุ่มราคาสู้ ดันราคาประมูลขึ้นไปอยู่ในระดับสูงกว่า 75,000 ล้านบาท...และในท้ายที่สุดก็ต้องทิ้งก่อนจะทิ้งใบอนุญาตไป ทำเอาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยเกือบเผชิญทางตัน จน กสทช.ต้องขอให้นายกฯในฐานะหัวหน้า คสช.ใช้ ม.44 ผ่าทางตันการประมูลให้ด้วยการเชื้อเชิญเอไอเอส เข้ามารับใบอนุญาตไปแทน…ดังนั้นหากบริษัทสื่อสารจะต้องจ่ายเงินค่าธรรมเนียมงวดสุดท้ายรวดก้อนเดียวกับ 60,000 ล้าน ก็คงมีสภาพไม่ต่างจากผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล... จึงได้ร้องขอให้รัฐผ่อนผัน การชำระค่าประมูลคลื่นงวดสุดท้ายออกไปเป็นการทยอยจ่าย 5 ปี ปีละ 10,000 ล้านบาทเศษ พร้อมดอกเบี้ย 1.5% เพื่อที่บริษัทจะมีเงินไปลงทุนขยายเครือข่ายได้...
แน่นอน...ว่าเรื่องแบบนี้ต้องมีการถูกตั้งคำถามจากสังคม...และยิ่งเจอคำท้วงติงจากองค์กรวิชาการอย่าง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนประเทศไทย หรือ TDRI… ที่ตั้งข้อสังเกตว่าแม้ 2 เอกชนจะจ่ายดอกเบี้ย 1.5% ต่อปี ...แต่ต่ำมาก... เพราะปกติกรณีการจ่ายค่าประมูลล่าช้าต้องคิดดอกเบี้ย 15% ต่อปี... ส่วนต่างดอกเบี้ยที่หดหายไปนั้น คิดเป็นมูลค่ารายละกว่า 15,000 ล้าน หรือรวมแล้วกว่า 30,000 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ยที่ ใช้คิดลด (Discount Rate)…แล้วยิ่งเจอทำทิ้งท้ายว่าหาก...คสช. จะมีมติยกผลประโยชน์ให้แก่ผู้ประกอบการทั้งสองราย... ก็คงทำให้ประชาชนอดตั้งข้อสังเกตไม่ได้ว่า แม้ว่า คสช. และรัฐบาลประยุทธ์จะแตกต่างจากรัฐบาลทักษิณ 1…!! เจอแบบนี้..รัฐบาลและคสช.
ก็ต้องแตะเบรกไว้ก่อน...
สถานการณ์ตอนนี้ก็ไม่รู้ว่า หากไม่ให้รัฐออกม.44 ช่วยเหลือผู้ประกอบการ ทั้งทีวีดิจิทัลและมือถือในห้วงที่ยังพอจะช่วยได้นี้ จะต้องรอให้ผีถึงป่าช้าก่อน หรืออย่างไรถึงจะยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ หากถึงเวลานั้นมาตรการช่วยเหลือที่ให้ไปจะไปมีความหมายอะไร...ดูอย่างบทเรียนที่เกิดขึ้นกับกรณีของ “เจ๊ติ่ม-ไทยทีวีและโลก้า” ก็เห็นกันอยู่สุดท้ายแล้วรัฐหรือคสช.ได้ประโยชน์อะไรกลับมาบ้าง ทั้งคลื่นความถี่ที่ต้องทิ้งเอาไว้อย่างนั้น เม็ดเงินผลประโยชน์เป็นพันล้าน หมื่นล้านได้กลับมาหรือไม่ ตรงกันข้ามกลายเป็นความสูญเสียของประเทศชาติโดยสิ้นเชิง!!และจะว่าไปมาตรการที่รัฐช่วยเหลือก็ใช่ว่าจะให้เปล่า รัฐยังคงได้เม็ดเงินค่าประมูลใบอนุญาตทั้งทีวีดิจิทัลและมือถือครบทุกบาททุกสตางค์ แถมยังได้ดอกเบี้ยตามอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้อีก เพียงแต่ระยะเวลาที่ได้ถูกยืดออกไปจากเดิม...โดยที่ธุรกิจเหล่านี้ยังคงมีศักยภาพที่จะเดินหน้าธุรกิจต่อไปได้...
และหากจะติงในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยที่รัฐยืดหนี้ให้ว่าไม่สมควรจะยึดดอกเบี้ยตามประกาศ ธปท.ว่าต่ำไปควรจะเป็นอัตราที่พอสมน้ำสมเนื้ออย่างที่ศาลใช้อิงเป็นเกณฑ์คือ 7.5% นั่นยังจะพอรับฟังได้ แต่ก็อีกนั่นแหละ อย่าลืมว่าเม็ดเงินที่เอกชนจะต้องจ่ายเข้ารัฐ ไม่ว่าจะก้อนเดียวทั้งหมด หรือทยอยจ่ายปีละ 10,000 ล้านบาทเศษนั้น ทุกรายต่างต้องระดมทุนกู้ยืมจากสถาบันการเงินหรือจากผู้ถือหุ้นด้วยกันทั้งสิ้น ต่างมีภาระที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยด้วยกันทั้งสิ้น หากยังต้องมาเจอรัฐและกสทช.ปล้นสะดมจะต้องจ่ายดอกเบี้ย 15% เอาด้วยอีก มันก็แทบไม่ต่างอะไรจากการซ้ำเติมผู้ประกอบการที่จ่ายค่าต๋ง ค่าธรรมเนียมแพงอยู่แล้ว…อย่างนี้แล้วก็สู้ทิ้งคลื่นความถี่เจ้ากรรม ไปรอประมูลคลื่นใหม่ 5จี ไปเลยไม่ดีกว่าหรือ?...
แล้วเมื่อถึงวันนั้นจริงๆ...ลองคิดดูอีกไหมว่า...ความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นมันมากมายขนาดไหนกัน...คนที่ออกมาขวางและทำให้ธุรกิจล้มและลากเอาระบบเศรษฐกิจทรุดฮวบไป...รับผิดชอบไหวไหม...???
ที่มา : http://www.naewna.com/business/columnist/34756