ลูกอายุ 12 ปี สามารถร้องขอให้ศาลสั่งให้ออกจากความเป็นลูกได้หรือไม่

เรื่องมีอยู่ว่า
บิดามารดาตกลงกันเป็นผู้ปกครองบุตรตามความเหมาะสม ผ่านการสลักหลังการหย่า ให้อีกฝ่ายเป็นผู้ปกครองบุตร โดยมีหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งกฏหมาย เพราะตอนนั้นมีแฟนใหม่ และยังไม่ลงตัว เพราะมาเจอแฟนคนใหม่กว่าเลยเปิดใจคบกันดู ตอนนี้ก็มีแฟนใหม่คนปัจจุบันคาดว่าน่าจะเป็นการถาวรแล้ว ก็คิดว่าน่าจะลงตัวพร้อมให้ความสุขแก่บุตรสาวได้แล้ว เพราะคบกันประมาณ 1 เดือนเศษในช่วงที่มีแฟนคนใหม่คนที่ 1 ไกลกันจึงมีปากเสียงกันบ่อยในมาทำงานต่างจังหวัดได้ไม่นานก็ตัดสินใจเปลี่ยนแฟนใหม่ดีกว่า ตอนนี้อยู่ด้วยกันได้ประมาณ 3 ปีแล้ว แม้แฟนใหม่คนที่ 2 นี้จะมีลูกติดมา 4 คน เป็นหญิง 3 คน เป็นชาย 1 คน แต่ก็ไม่ได้ดูแลอะไร เพราะแฟนเก่าของแฟนคนปัจจุบันเป็นคนดูแล ส่วนตอนนี้แฟนคนใหม่คนปัจจุบันไม่ได้ส่งเสียงอะไรจนเป็นเหตุให้บุตรสาวลำบาก อีกอย่าง ลูกๆ ของแฟนใหม่คนปัจจุบัน นานๆ จะแวะมาอยู่ด้วยเป็นครั้งคราว อยากให้อีกฝ่ายสบายใจ ไม่ต้องฟ้องร้องเรียกบุตรคืน ให้ถอนฟ้องไปสะ เพราะบุตรสาวสะเทือนใจมากๆ กับเหตุการที่เกิดขึ้น ที่สำคัญ คิดว่ามาอยู่ด้วยกันกับทางนี้ บุตรสาวจะได้ไม่ต้องไปรักษาอาการเจ็บป่วยต่อเนื่องอีกด้วย เพราะบุตรสาวหนีมาอยู่ด้วยกัน ก็จะไม่มีปัญหาเรื่องการควบคุมอารมณ์ไม่อยู่ การเป็นเด็กหน้าไหว้หลังหลอกกับใครอีก เพราะไม่ต้องให้บุตรสาวโกหกทางโน้น หรือใส่ร้ายทางโน้นอีก ยิ่งบุพการีทางโน้นประสบอุบัติเหตุ ก็น่าจะเป็นเหตุผลเพียงพอให้บุตรสาวมาอยู่ด้วยกันกับทางนี้ได้อย่างถูกต้องตามกฏหมาย จึงให้บุตรสาวลาออกจากทางโรงเรียน แล้วพาบุตรสาวหนีมาในที่สุด แต่อีกฝ่ายไม่ยอมหยุด ไปฟ้องศาล ทั้งๆ ที่ไม่ต้องถึงศาลก็ได้ ปล่อยลูกมาอยู่ไปเรื่อยๆ พอลูกโตก็รู้เรื่องเข้าใจความจริงเอง ว่าบุพการีทางโน้นอาจพิการ หรืออาจตายจนไม่สามารถติดตามมารับบุตรสาวคืนได้

ตอนนี้บุตรสาวอายุได้ 12 ปี ก็แจ้งให้สาธารณชนทราบว่าไม่ประสงค์ที่จะอยู่กับผู้ปกครองบุตรอีกต่อไป แถมใส่ร้ายผู้ปกครองต่างๆ นานา เพื่อยืนยันว่าบุตรสาวประสงค์จะมาอยู่กับทางนี้จริงๆ  ไม่โกหก พร้อมตัดขาดจากบุพากรี(ผู้ปกครองบุตร)อย่างเด็ดขาด
ถามบุตรสาวในตอนนี้ บุตรสาว ยืนยัน ไม่แวะไปเยี่ยม หรือโทรถามไถ่อีกฝ่ายเด็กขาด ไม่สนใจว่าบุพการี(ผู้ปกครองบุตร)จะพิการหรือเสียชีวิต  ซึ่งยืนยันได้ว่า ทางนี้ไม่เคยสอนให้บุตรสาวเนรคุณต่อทางโน้นเลย เป็นความคิดเห็นของบุตรสาวเองจริงๆ จึงขอร้องให้ทางนี้พาบุตรสาวหนีจากทางโน้นมาอยู่กับทางนี้เป็นการถาวร

คำถามก็คือ
หากบุตรสาวมีความประสงค์เช่นนี้ บุตรจะสามารถแถลงต่อศาล ในการขอออกจากความเป็นลูกของผู้ปกครองบุตรได้หรือไม่ ในช่วงที่ศาลเรียกไปไตร่สวนคดีความ "เรียกบุตรคืน" เพื่อให้ศาลตัดบุตรสาวออกจากการเป็นลูกของผู้ปกครองบุตร เช่นนี้สามารถทำได้หรือไม่ ?
หากทำได้ ต้องทำอย่างไร
เพราะจะได้หมดปัญหาในเรื่องการเกี่ียวข่องกันทั้งทางตรงและทางอ้อมกับผู้ปกครองบุตรอีก
ที่สำคัญ จะได้ไม่ต้องกังวลใจในการถูกฟ้องร้องคดีความต่างๆ และต้องมีเจ้าหน้าที่เข้ามาวุ่นวายกับครอบครัวด้วย
ขอคำแนะนำหน่อยสิ ลูกยืนยันชัดเจนผู้ปกครองบุตรพิการหรือตาย ก็จะไม่กลับไปหาโดยเด็ดขาด แม้จะรักแค่ไหนก็ตาม เพราะตัดสินใจแล้วที่จะอยู่กับทางนี้ไปตลอดชีวิต
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 9
เด็กมีการเข้าพบจิตแพทย์อยู่ ศาลอาจไม่ฟังแค่ว่า เด็กยืนยันต้องการอยู่กับใคร  และจะให้ความสำคัญถึงผลประโยชน์ที่เด็กจะได้รับด้วย เช่น การรักษาพยาบาล การศึกษา เพราะคนคุ้มครองเด็ก ไม่ได้มีแค่พ่อแม่นะ

เด็กมาเองก็จริง แต่ด้วยวัย ทำให้การตัดสินใจนั้นเป็นเพราะถูกล่อลวงชักจูงก็ได้ เช่น มาแล้วให้เงิน ให้ของ ให้อิสระไม่ต้องทำสิ่งที่ควรทำ อย่าง ไปเรียนหนังสือก็ได้  จะนอนดึกก็ได้ เพราะงั้นแม้ตัวเด็กจะยินยอมก็ตาม ศาลเลยไม่ได้ฟังกันแค่ความเห็นของเด็กน่ะ ใช้ประกอบน่ะ แต่ไม่ใช่ตัดสินเพราะแค่นี้แหล่ะ

คิดว่า คงมีนักจิตศาลเข้าร่วมฟังอยู่ และน่าจะมีนักสังคมสงเคราะห์ร่วมด้วย เพราะคดีความเกี่ยวกับเด็กด้วยนี่ รัฐจะให้การปกป้องร่วมด้วย  พวกนี้เขาเก่งค่ะ เด็กได้รับการดูแลไหม ถูกเลี้ยงดูปลูกฝังยังไง ถูกบังคับให้การหรือเปล่า  สุขภาพจิตเป็นยังไง ประวัติรักษาตั้งแต่เกิด  ประวัติการศึกษา เห็นบางที สืบกันชนิดลงพื้นที่หาพยานแวดล้อมยืนยันกันเลย อย่างนอกจากในครอบครัวแล้ว ในชุมชน เพื่อนบ้าน โรงเรียน โรงพยาบาล ข้อมูลเกี่ยวข้องกับเด็กเป็นยังไงบ้าง ข้อมูลสอดคล้องกันไหม มีความเป็นจริงตรงไหนบ้าง ไหนจะข้อมูลผู้ดูแล อาชีพการงาน รายได้ ความสามารถเลี้ยงดูอีกน่ะ  ศาลก็คงใช้เป็นข้อมูลร่วมด้วยน่ะ ยังไงเรื่องก็มาถึงตรงนี้แล้ว ก็รอตามกระบวนการแหล่ะค่ะ

ส่วนเรื่องพบจิตแพทย์  ถ้าจากเดิมมีนัดที่พบจิตแพทย์พร้อมกันพ่อแม่ลูกอยู่แล้ว ก็อาจขอนัดเพิ่มแยกมาพูดคุยต่างหากก็ได้ และก็อาการของลูก  อย่าพึ่งตัดสินเองว่า ไม่ควรรักษาค่ะ  เรื่องการเจ็บป่วยของลูก และได้รับการรักษาต่อเนื่อง ก็เป็นอีกหน้าที่ความรับผิดชอบที่ต้องมีต่อลูกค่ะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่