ขอนำมาจาก Facebook น่าสนใจมากครับ..
Cr: Teerakiat Kerdcharoen
หมดยุคของ "สตาร์ทอัพสายแอพ" (App Startups) แล้วครับ ยุคต่อไปเป็นยุคของ สตาร์ทอัพสายแข็ง (Deep Tech) ครับผม !!
.
https://ppantip.com/topic/37517672
เรื่องของ Deep Tech Startups หรือ สตาร์ทอัพที่มีความลุ่มลึกทางด้านเทคโนโลยีนั้น กำลังเป็นกระแสในประเทศที่มีความก้าวหน้าทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา จีน ยุโรป สิงคโปร์ ไต้หวัน อิสราเอล โดยในยุโรปเองนั้น Deep Tech เป็นกลุ่มที่มีการเติบโตทางด้านเงินลงทุนแซงหน้าพวก "App Startups" ไปแล้ว ซึ่งต่างจากประเทศไทย ที่ยังวนเวียนอยู่กับสตาร์ทอัพสายทำแอบพลิเคชั่น หรือ พวก Sharing Economy .. แต่คาดว่าอีกไม่นาน เทรนด์นี้ น่าจะมาถึงเมืองไทยครับ
.
- พวก "App Startups" จะไม่ค่อยมีนวัตกรรม แต่จะอาศัยเรื่องของการนำส่งบริการ หรือ เทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว โดยอาจมีการปรับปรุง หรือ ปรับจูน ให้แตกต่างขึ้นมา ไปสู่ผู้บริโภคในวงกว้าง โดยส่วนใหญ่ พวกสตาร์ทอัพเหล่านี้ จะอาศัยการมีโมเดลทางธุรกิจ (Business Model) ที่โดดเด่น เพื่อสร้างโอกาสใหม่ มากกว่าที่จะมีเทคโนโลยีที่ล้ำลึกอะไร
.
- แต่เหล่า "Deep Tech" จะมีนวัตกรรม มีเทคโนโลยีจริงๆ ที่สร้างความแตกต่าง แล้วสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในโลกจริง มีหลักการทางวิทยาศาสตร์ และ วิศวกรรมที่พิสูจน์ได้ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อวงการธุรกิจและอุตสาหกรรม
.
- ดังนั้น "Deep Tech" ส่วนใหญ่จึงมักผูกพันกับ "ห้องปฏิบัติการวิจัย" ไม่ว่าจะเป็นบริษัท หรือ มหาวิทยาลัย มีการพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม มาอย่างยาวนาน
.
- บริษัทวิจัย CB Insights ได้ทำการศึกษาสตาร์ทอัพที่กำลังจะเติบโตในปี 2018 และมีศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงโลก จำนวน 30 สตาร์ทอัพ ที่เรียกว่า Game Changers พบว่าในจำนวน 30 สตาร์ทอัพนี้ ไม่มีสตาร์ทอัพสายแอพเลย แต่กลับเป็น สตาร์ทอัพสายแข็งทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นบริษัทด้าน เทคโนโลยีระบบประสาท เทคโนโลยีการแพทย์ เทคโนโลยีก่อสร้าง เกษตรเชิงสังเคราะห์ เทคโนโลยีจรวด ไมโครชิพปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีการจำลองขนาดใหญ่ สตาร์ทอัพผลิตเนื้อสัตว์เทียม (เช่น ไข่ไม่ต้องมีไก่ ไก่ไม่ต้องมีไข่ เนื้อทูน่าจากพืช นมจากพืช เนยจากพืช หนังสัตว์จากเห็ด และอื่นๆ อีกมากมาย)
.
- หัวใจของ "Deep Tech" คืองานวิจัยจาก กลุ่มวิจัยต่างๆ ในมหาวิทยาลัย และ ศูนย์วิจัยต่างๆ ซึ่งทำให้ประเทศไทยอาจจะเสียเปรียบในเรื่องนี้ เพราะกลไกในการนำงานวิจัยจากมหาวิทยาลัย หรือ ศูนย์วิจัยต่างๆ ไปสู่การใช้ประโยชน์ หรือ ไปสร้างธุรกิจสตาร์ทอัพ ในบ้านเรานั่นค่อนข้างอ่อนแอ จึงไม่น่าแปลกใจอะไร ที่เมืองไทยยังคงอยู่ในยุค สตาร์ทอัพทำแอพ ซึ่งไม่ต้องใช้เทคโนโลยีหรืองานวิจัยมากมายอะไร นั่นเอง
.
Credit : Many Thanks to ....
- Data and Picture from CB Insights
#Startup_Thailand
สตาร์ทอัพสายแข็ง (Deep Tech) โดย Teerakiat Kerdcharoen 31/3/2561 สรายุทธ กันหลง
ขอนำมาจาก Facebook น่าสนใจมากครับ..
Cr: Teerakiat Kerdcharoen
หมดยุคของ "สตาร์ทอัพสายแอพ" (App Startups) แล้วครับ ยุคต่อไปเป็นยุคของ สตาร์ทอัพสายแข็ง (Deep Tech) ครับผม !!
.https://ppantip.com/topic/37517672
เรื่องของ Deep Tech Startups หรือ สตาร์ทอัพที่มีความลุ่มลึกทางด้านเทคโนโลยีนั้น กำลังเป็นกระแสในประเทศที่มีความก้าวหน้าทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา จีน ยุโรป สิงคโปร์ ไต้หวัน อิสราเอล โดยในยุโรปเองนั้น Deep Tech เป็นกลุ่มที่มีการเติบโตทางด้านเงินลงทุนแซงหน้าพวก "App Startups" ไปแล้ว ซึ่งต่างจากประเทศไทย ที่ยังวนเวียนอยู่กับสตาร์ทอัพสายทำแอบพลิเคชั่น หรือ พวก Sharing Economy .. แต่คาดว่าอีกไม่นาน เทรนด์นี้ น่าจะมาถึงเมืองไทยครับ
.
- พวก "App Startups" จะไม่ค่อยมีนวัตกรรม แต่จะอาศัยเรื่องของการนำส่งบริการ หรือ เทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว โดยอาจมีการปรับปรุง หรือ ปรับจูน ให้แตกต่างขึ้นมา ไปสู่ผู้บริโภคในวงกว้าง โดยส่วนใหญ่ พวกสตาร์ทอัพเหล่านี้ จะอาศัยการมีโมเดลทางธุรกิจ (Business Model) ที่โดดเด่น เพื่อสร้างโอกาสใหม่ มากกว่าที่จะมีเทคโนโลยีที่ล้ำลึกอะไร
.
- แต่เหล่า "Deep Tech" จะมีนวัตกรรม มีเทคโนโลยีจริงๆ ที่สร้างความแตกต่าง แล้วสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในโลกจริง มีหลักการทางวิทยาศาสตร์ และ วิศวกรรมที่พิสูจน์ได้ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อวงการธุรกิจและอุตสาหกรรม
.
- ดังนั้น "Deep Tech" ส่วนใหญ่จึงมักผูกพันกับ "ห้องปฏิบัติการวิจัย" ไม่ว่าจะเป็นบริษัท หรือ มหาวิทยาลัย มีการพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม มาอย่างยาวนาน
.
- บริษัทวิจัย CB Insights ได้ทำการศึกษาสตาร์ทอัพที่กำลังจะเติบโตในปี 2018 และมีศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงโลก จำนวน 30 สตาร์ทอัพ ที่เรียกว่า Game Changers พบว่าในจำนวน 30 สตาร์ทอัพนี้ ไม่มีสตาร์ทอัพสายแอพเลย แต่กลับเป็น สตาร์ทอัพสายแข็งทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นบริษัทด้าน เทคโนโลยีระบบประสาท เทคโนโลยีการแพทย์ เทคโนโลยีก่อสร้าง เกษตรเชิงสังเคราะห์ เทคโนโลยีจรวด ไมโครชิพปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีการจำลองขนาดใหญ่ สตาร์ทอัพผลิตเนื้อสัตว์เทียม (เช่น ไข่ไม่ต้องมีไก่ ไก่ไม่ต้องมีไข่ เนื้อทูน่าจากพืช นมจากพืช เนยจากพืช หนังสัตว์จากเห็ด และอื่นๆ อีกมากมาย)
.
- หัวใจของ "Deep Tech" คืองานวิจัยจาก กลุ่มวิจัยต่างๆ ในมหาวิทยาลัย และ ศูนย์วิจัยต่างๆ ซึ่งทำให้ประเทศไทยอาจจะเสียเปรียบในเรื่องนี้ เพราะกลไกในการนำงานวิจัยจากมหาวิทยาลัย หรือ ศูนย์วิจัยต่างๆ ไปสู่การใช้ประโยชน์ หรือ ไปสร้างธุรกิจสตาร์ทอัพ ในบ้านเรานั่นค่อนข้างอ่อนแอ จึงไม่น่าแปลกใจอะไร ที่เมืองไทยยังคงอยู่ในยุค สตาร์ทอัพทำแอพ ซึ่งไม่ต้องใช้เทคโนโลยีหรืองานวิจัยมากมายอะไร นั่นเอง
.
Credit : Many Thanks to ....
- Data and Picture from CB Insights
#Startup_Thailand