สวัสดีค่ะ วันนี้กระแสแต่งไทยกลับมาแรงอีกครั้ง จากที่เงียบไปบ้าง ยอมรับว่าผลมาจากงานอุ่นไอรักและต่อด้วยบุพเพสันนิวาสที่ปลุกกระแสให้ใครต่อใครหันมาแต่งไทยกัน แต่กว่าที่กระแสจะมาแรงอย่างวันนี้นั้น ก่อนหน้านั้นเป็นอย่างไรเราอยากมาเล่าเรื่องราวที่ผ่านมาผ่านการแต่งไทยของเราให้ทุกคนฟังค่ะ
ก่อนอื่นขอเริ่มต้นที่ภาพนี้ หลายคนอาจจะจำภาพนี้ได้ เรากับเพื่อนแต่งไทยขึ้นรถไฟฟ้าไปเที่ยวงานที่คลองผดุงกรุงเกษมค่ะ ภาพนี้ก็หลายปีมาแล้วนะคะ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ ซึ่งการแต่งไทยยังไม่เป็นกระแสสักเท่าไรนัก พอหลังจากภาพนี้หลายคนแชร์ไปลงสื่อต่างๆก็เริ่มเป็นกระแสขึ้นมามากขึ้นแล้วก็มีน้องแมสที่เป็นกระแสขึ้นมาอีกยิ่งแรงกันขึ้นไปใหญ่ กลุ่ม "แต่งไทยสไบงาม...สยามภูษานิยม" ในเฟสบุ๊คของเรามีคนแอดเข้าร่วมมากมายนับว่าเป็นกระแสที่ดีมาก แต่หลังจากนั้นก็ค่อยๆซาลงไปเรื่อยๆ
สิ่งที่เราอยากจะเล่าคือ ก่อนที่จะเป็นกระแสอย่างวันนี้นั้น หลายคนที่แต่งไทยมักถูกมองแปลกๆ หลายคนไม่เข้าใจว่าทำไมถึงต้องแต่ง? แต่งเพื่ออะไร?
เราเป็นคนเชียงใหม่ ที่เชียงใหม่มีการรณรงค์แต่งชุดพื้นเมืองทุกวันศุกร์ หลายโรงเรียนให้ความร่วมมือ ครูบาอาจารย์แต่งกันโดยมากเป็นการนุ่งซิ่นพื้นเมือง เรายังไม่รู้สึกแปลกแต่อย่างใด จนเรามาอยู่ชลบุรีและเข้ากรุงเทพบ่อยๆเราคิดถึงบ้านและอยากนุ่งซิ่นไปเที่ยว อยากแต่งไทย ทำไมไม่มีใครแต่ง แม้แต่สงกรานต์ก็น้อยเหลือเกิน จนเราไปเที่ยวพม่าราวๆปี ๒๕๕๕ หรือ ๒๕๕๖ เรานุ่งซิ่นไปเที่ยวกับเพื่อนๆที่ชอบการแต่งชุดพื้นเมืองเหมือนกัน ที่นี่ได้ใส่ซิ่นสวยๆอย่างสบายใจ ไม่มีใครมองแปลกเพราะการแต่งกายก็คล้ายๆกัน เราก็เริ่มสงสัยว่าทำไมเราจะนุ่งซิ่นได้ก็ต่อเมื่อไปเที่ยวประเทศเพื่อนบ้านเท่านั้นเหรอ ทำไมเราไม่สามารถแต่งในบ้านเราได้ล่ะ ทำไมแต่งแล้วคนมองแปลกๆ คำตอบก็คงจะเป็นเพราะ ยุควัธนธัม ที่การแต่งกายพื้นบ้านถูกจำกัด การนุ่งโจงกระเบนของชาวบ้าน นุ่งซิ่น เป็นสิ่งที่ไม่ศิวิไลซ์และตั้งแต่นั้นสิ่งเหล่านี้ก็หายไปจากชีวิตชาวบ้าน และได้รับการกลับมารื้อฟื้นอีกครั้งโดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่๙ทรงเริ่มรื้อฟื้นเป็นชุดไทยพระราชนิยม แต่กระนั้นชุดไทยก็อาจจะจำกัดอยู่กับงานพิธีการ ส่วนคนเฒ่าคนแก่เองก็ยังมีที่นุ่งซิ่นนุ่งโจงกระเบนกันอยู่ต่อไป
เมื่อเรารู้สึกว่าเราอยากแต่งไทยบ้าง แต่ก็ยังเขินๆที่จะแต่ง สิ่งแรกที่นึกถึงเลยคืองานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ที่เขาแต่งไทยกันทั้งเมือง เรากับเพื่อนก็เลยเริ่มต้นที่งานนี้ เราอยากนุ่งโจงกระเบนก็เลยไปหาซื้อผ้าโจงแบบที่คนแก่คนเฒ่าทางภาคกลางเขาใช่นุ่งกันจริงๆได้ผ้าลายไทยตราใบโพธิ์ขนาด 4 หลา (360ซม.)ที่ตลาดผ้าวัดกลาง จ.ชลบุรีมา ก็เอามาลองนุ่งเลยค่ะ จัดแจงสั่งซื้อสไบอะไรมา แล้วก็ได้แต่งไปเที่ยวงานที่ลพบุรีสมใจ สนุกมากและติดใจมาก
เมื่อมีครั้งแรกก็มีครั้งที่สอง งานสงกรานต์เป็นสถานีต่อไปที่เราคิดว่าแต่งไทยได้ไม่เคอะเขินแน่นอน เรากับเพื่อนก็แต่งไปเดินเล่นวัดสุทัศน์แล้วก็ไปเที่ยวสยามพารากอนกันต่อ สนุกดีแล้วก็เริ่มติดใจ เราอยากให้การแต่งเป็นแบบที่เข้ากับสมัยปัจจุบัน ไม่ใช่แต่งเพื่อเป็นการแสดงแบบหน้าผมต้องมาเต็มหรือเครื่องต้องเยอะอะไรแบบนั้น
ซึ่งจากที่แต่งไทยไปสยามพารากอนกระแสก็ดีมาก เรากับเพื่อนที่ชอบแนวเดียวกันเลยคิดตั้งกลุ่มขึ้นมาเพราะคิดว่าคงมีหลายคนที่ชอบเหมือนๆกันแต่อยู่กระจัดกระจายกันไปเพื่อชักชวนคนที่ชอบแบบเดียวมารวมกันก็เลยคิดกลุ่ม "แต่งไทยสไบงาม...สยามภูษานิยม" ขึ้นมา แล้วคนก็หลังไหลตามเข้ามาเรื่อยๆ เรามองดูกลุ่มเติบโตจากคนแค่ ๕๐๐ จนตอนนี้เป็นหมื่นกว่าแล้ว ยิ่งกระแสตอนนร้กำลังแรงกลุ่มก็ยิ่งเติบโตขึ้นเรื่อยๆค่ะ
เนื่องจากเราทำงานประจำอยู่ต่างจังหวัด เราอาจจะไม่ได้มีเวลาแต่งในชีวิตประจำวันมากนัก แต่ถ้ามีโอกาสก็จะต้องแต่งไปนั่นไปนี่บ้าง ยิ่งพอมีความนิยมขึ้นมาการแต่งไทยก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอีกต่อไป เคยคุยกับน้องๆที่เข้ามาในกลุ่มเขาก็บอกว่าตอนแรกๆก็มีแต่คนแซวว่าอย่าแต่งตอนกลางคืนมืดๆนะ ใจเสียหมด หรือสาวๆไซส์พิเศษบางคนก็กังวลว่าแต่งออกมาแล้วไม่สวย แต่ในกลุ่มเรามีหลากหลายมากช่วยกันแต่งช่วยกันแนะนำ พยายามรื้อฟื้นหาความรู้ เหมือนกับที่เมืองจีนตอนนี้มีกระแสการกลับมาแต่งชุด "ฮั่นฝู" ของกลุ่มเล็กๆที่มองว่า กี่เผ้านั้นไม่ใช่ชุดของชาวฮั่นทำไมชาวฮั่นไม่ใส่ฮั่นฝู หากไม่รื้อฟื้นของเหล่านี้ก็จะหลายไป
ต่อมาเราไปเข้าอบรมเป็นมัคคุเทศก์ แล้วที่พักเวลาเราออกไปต่างจังหวัดมีชาวอินเดียมาพักซึ่งผู้หญิงอินเดียเมื่อมาเที่ยวต่างเมืองเขาก็ยังคงห่มส่าหรีไปนั่นมานี่ตลอด เราก็มองว่าเอ แล้วทำไมเราไปเที่ยวจะแต่งมั่งไม่ได้นะ เรายังเคยเห็นคนจีนมาเที่ยววัดร่องขุ่นเอาชุดฮั่นฝูมาใส่ถ่ายรูปด้วยเลย เราไปญี่ปุ่นบ่อย (ไปทำงานนะคะ)ก็ได้เที่ยวบ้าง เลยคิดว่าน่าจะลองแต่งดู และหาชุดไทยพื้นเมืองที่สามารถหอบไปง่าย แต่งไม่ลำบากนักเอาไว้ไปเที่ยว
แบบชุดพื้นเมืองเจ้าดารารัศมีสวมเสื้อลูกไม้กับซิ่นต๋าแหล้มซึ่งเป็นที่นิยมของบรรดาเจ้านายคหบดีทางเหนือที่ได้รับอิทธิพลจากทางกรุงเทพก็เป็นแบบที่แต่งได้ง่าย (ทางเหนือจะเรียกซิ่นที่ทอลายขวางว่าซิ่นต๋าค่ะ)
บางครั้งก็อยากแต่งเต็มยศบ้าง ผ้าลายอย่างของ อาภรณ์งามโดย อ.พีรมน ชมธวัช
แต่สิ่งสำคัญสำหรับเราคือ ฮีตฮอย ทางเหนือเราต้องรักษาไว้ ดังนั้นเราจึงพยายามเน้นที่การนุ่งซิ่น เพราะเราเป็นคนเหนือ
ผืนนี้เป็นซิ่นต๋าทอจากผ้าฝ้าย
ผืนนี้ก็เป็นซิ่นต๋าทอจากผ้าฝ้ายเหมือนกัน ใส่สบายเพราะคุณสมบัติของผ้าฝ้ายคือใส่สบายระบายอากาศไม่ร้อน ผืนนี้บางคนอาจจะคิดว่าเรียบๆ แต่จริงๆแล้วตัวซิ่นใช้เทคนิคที่เรียกว่า "ปั่นไก" คือใช้เส้นใยฝ้ายสองสีปั่นเข้าเป็นเส้นเดียวกันเกิดเป็นลวดลายในตัว เป็นเทคนิคคล้ายๆผ้าหางกระรอกของทางโคราช
ภาพนี้เป็นตอนที่พาคุณแม่ไปเที่ยวญี่ปุ่นช่วงซากุระบาน เป็นซิ่นตีนจกดอยเต่าที่เรียกว่าซิ่นน้ำท่วมลายจันทร์หลวง
เราทำกลุ่มมาบางครั้งเจอคนมาบอกว่าชุดไทยแพง....เราจะว่าอย่างไรดี มันก็ไม่แปลกที่เขาจะคิดอย่างนั้น แต่เราอยากให้มองในแง่ของการสนับสนุนชาวบ้านในการทอผ้าท้องถิ่นของพวกเขา การทอผ้าซิ่นตีนจกแต่ละพื้นไม่ใช่ง่ายๆ กว่าจะได้สักผืนต้องนั่งหลังขดหลังแข็งปวดตาตั้งเท่าไหร่ เหล่านี้มันเป็นงานฝีมือ ถ้าเราหันมาช่วยกันซื้อช่างทอก็มีกำลังใจที่ผ้าของพวกเขาขายได้ ถ้าเราไม่มีกำลังทรัพย์พออาจจะไม่ต้องถึงขนาดซื้อผ้าทอมือผืนละหกเจ็ดพันก็ได้ ผ้าฝ้ายที่เรานุ่งก็ผืนละไม่กี่ร้อย หรือจะอุดหนุนผ้าพิมพ์ลายไทยแบบนี้ก็ได้ เป็นผ้าไทยเหมือนกัน โรงงานก็ของคนไทย ทำให้เกิดการจ้างงาน สนับสนุนคนไทย ผ้าเอมจิตร โขมพัตร ใบโพธิ์ หนุมาน ราคาไม่แพงผืนละไม่กี่ร้อย เลือกซื้อเลือกหากันได้
บางครั้งไปออกงานเราก็พยายามจะเน้นผ้าไทยหรือประยุกต์สไบมาออกงาน อย่างชุดนี้ผ้านุ่งเราเป็นผ้าหมักโคลนสุโขทัย ผ้านิ่มมากกกก ย้ำว่านิ่มมาก ใส่สบายลายสวยชาวยชาวบ้าน ราคาไม่แพงประมาณ 1200-1500 แต่ชาวบ้านทอมือทั้งผืน
เวลาเรารับพิเศษเป็นงานมัคคุเทศก์พาคนญี่ปุ่นเที่ยวเราก็จะพยายามนุ่งผ้าไทย เพื่อให้ชาวญี่ปุ่นได้เห็นผ้าสวยๆของไทย เขาชอบมาก บอกว่าผ้าสวย ผืนนี้ผ้าฝ้ายยกดอกลำพูนราคาก็ไม่แพงด้วยค่ะ
ผืนนี้เป็นตีนซิ่นของทางลาวค่ะ
อยากให้คนไทยหันมานิยมผ้าไทยกันเยอะๆ อาจจะไม่ต้องถึงขนาดแต่งไทยก็ได้ แค่คุณหันมานิยมผ้าทอพื้นเมืองผ้าพื้นบ้าน
ก็เป็นกำลังใจให้ช่างทอผ้าทั้งหลายแล้วค่ะ ชุดไทยบางคนอาจจะบอกว่าใส่แล้วร้อน ใส่แล้วคัน แต่ถ้าคุณใช้ผ้าที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติแล้วคุณจะรู้ว่าใส่สบายมากๆๆๆๆเลยค่ะ รวมถึงพวกเสื้อที่บ้นว่าร้อนกัน เพราะว่าบางครั้งช่างกลัวเสื้อไม่สวยไม่อยู่ทรงจัดการเอาไปอัดกาวให้ซะเลย ทรงสวยแต่ร้อนมากแบบนี้ก็มี เราไปเที่ยวสถานที่ต่างๆพวกโบราณสถานหรือเรือนเก่าเราก็แต่งไทยไปเข้ากับบรรยากาศและสนุกด้วยซึมซับบรรยากาศได้ดีมากเลยค่ะ
สถานทูตฝรั่งเศสกับยุครัชกาลที่๗
วัดไชยวัฒนารามก่อนกระแสละครบุพเพสันนิวาส ผ้านุ่งลายไทยตราหนุมานราคาไม่แพงผลิตโดยบริษัทของคนไทย
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติวังจันทรเกษม ของดีของงามที่นี่มากมายควรไปชมกันนะออเจ้า
เที่ยวภูเก็ตก้แต่งแบบสาวบาบ๋า ผ้าซิ่นปาเตีะผืนนี้ไม่แพงเลย ไม่ถึงร้อย
พระรามราชนิเวศน์
สุดท้ายตอนแต่งงานเราไปถ่ายพรีเวดดิ้งที่ฮังการี(สามีไปผลงานพอดี) เราก็เลือกนุ่งซิ่นกับเสื้อลูกไม้และให้สามีแต่งโจงกระเบนผ้าม่วงไหม เราแต่งให้เองทั้งหมด ไม่เปลืองเงินเช่าชุดแพงๆเลยค่ะ รูปก็ถ่ายเอาง่ายๆเพราะสถานที่สวยอยู่แล้ว
ขอฝากกระทู้นี้ให้กับคนที่กำลังเริ่มแต่งไทยทุกๆท่านด้วยนะคะ ค่อยๆปรับค่อยๆแต่งไปอย่าเพิ่งเบื่อ อย่าให้เป็นแค่กระแสละครแล้วจางหายไปกับสายลม
"ชุดไทยใครใส่ก็สวย" และชุดไทยเองก็มีหลายแบบไม่ได้มีแค่โจงกระเบนกับสไบหรือผ้านุ่งกับสไบ ชุดพื้นบ้านต่างๆก็ถือว่าเป็นชุดไทยได้เหมือนกัน เราสามารถ "เลือก" "รับ" "ปรับ" "ใช้" ให้เข้ากับสถานะการณ์และโอกาสรวมถึงกาลเทศะต่างๆกันไปได้เสมอ เราอาจจะไม่ต้องถึงขนาดใส่ชุดไทย แค่เราใช้ผ้าไทย จะฝ้ายจะไหมก็ส่งเสริมช่างทอได้เหมือนกันสวัสดีค่ะ
ว่างๆมาเยี่ยมเยียนกันได้ที่เพจ:
https://www.facebook.com/izuminomiya486/
กลุ่มและเพจในเฟสบุ๊ค: แต่งไทยสไบงาม...สยามภูษานิยม
บันทึกชุดไทย.....แต่งไทย(ไม่)ให้เป็นแค่กระแส
ก่อนอื่นขอเริ่มต้นที่ภาพนี้ หลายคนอาจจะจำภาพนี้ได้ เรากับเพื่อนแต่งไทยขึ้นรถไฟฟ้าไปเที่ยวงานที่คลองผดุงกรุงเกษมค่ะ ภาพนี้ก็หลายปีมาแล้วนะคะ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ ซึ่งการแต่งไทยยังไม่เป็นกระแสสักเท่าไรนัก พอหลังจากภาพนี้หลายคนแชร์ไปลงสื่อต่างๆก็เริ่มเป็นกระแสขึ้นมามากขึ้นแล้วก็มีน้องแมสที่เป็นกระแสขึ้นมาอีกยิ่งแรงกันขึ้นไปใหญ่ กลุ่ม "แต่งไทยสไบงาม...สยามภูษานิยม" ในเฟสบุ๊คของเรามีคนแอดเข้าร่วมมากมายนับว่าเป็นกระแสที่ดีมาก แต่หลังจากนั้นก็ค่อยๆซาลงไปเรื่อยๆ
สิ่งที่เราอยากจะเล่าคือ ก่อนที่จะเป็นกระแสอย่างวันนี้นั้น หลายคนที่แต่งไทยมักถูกมองแปลกๆ หลายคนไม่เข้าใจว่าทำไมถึงต้องแต่ง? แต่งเพื่ออะไร?
เราเป็นคนเชียงใหม่ ที่เชียงใหม่มีการรณรงค์แต่งชุดพื้นเมืองทุกวันศุกร์ หลายโรงเรียนให้ความร่วมมือ ครูบาอาจารย์แต่งกันโดยมากเป็นการนุ่งซิ่นพื้นเมือง เรายังไม่รู้สึกแปลกแต่อย่างใด จนเรามาอยู่ชลบุรีและเข้ากรุงเทพบ่อยๆเราคิดถึงบ้านและอยากนุ่งซิ่นไปเที่ยว อยากแต่งไทย ทำไมไม่มีใครแต่ง แม้แต่สงกรานต์ก็น้อยเหลือเกิน จนเราไปเที่ยวพม่าราวๆปี ๒๕๕๕ หรือ ๒๕๕๖ เรานุ่งซิ่นไปเที่ยวกับเพื่อนๆที่ชอบการแต่งชุดพื้นเมืองเหมือนกัน ที่นี่ได้ใส่ซิ่นสวยๆอย่างสบายใจ ไม่มีใครมองแปลกเพราะการแต่งกายก็คล้ายๆกัน เราก็เริ่มสงสัยว่าทำไมเราจะนุ่งซิ่นได้ก็ต่อเมื่อไปเที่ยวประเทศเพื่อนบ้านเท่านั้นเหรอ ทำไมเราไม่สามารถแต่งในบ้านเราได้ล่ะ ทำไมแต่งแล้วคนมองแปลกๆ คำตอบก็คงจะเป็นเพราะ ยุควัธนธัม ที่การแต่งกายพื้นบ้านถูกจำกัด การนุ่งโจงกระเบนของชาวบ้าน นุ่งซิ่น เป็นสิ่งที่ไม่ศิวิไลซ์และตั้งแต่นั้นสิ่งเหล่านี้ก็หายไปจากชีวิตชาวบ้าน และได้รับการกลับมารื้อฟื้นอีกครั้งโดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่๙ทรงเริ่มรื้อฟื้นเป็นชุดไทยพระราชนิยม แต่กระนั้นชุดไทยก็อาจจะจำกัดอยู่กับงานพิธีการ ส่วนคนเฒ่าคนแก่เองก็ยังมีที่นุ่งซิ่นนุ่งโจงกระเบนกันอยู่ต่อไป
เมื่อเรารู้สึกว่าเราอยากแต่งไทยบ้าง แต่ก็ยังเขินๆที่จะแต่ง สิ่งแรกที่นึกถึงเลยคืองานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ที่เขาแต่งไทยกันทั้งเมือง เรากับเพื่อนก็เลยเริ่มต้นที่งานนี้ เราอยากนุ่งโจงกระเบนก็เลยไปหาซื้อผ้าโจงแบบที่คนแก่คนเฒ่าทางภาคกลางเขาใช่นุ่งกันจริงๆได้ผ้าลายไทยตราใบโพธิ์ขนาด 4 หลา (360ซม.)ที่ตลาดผ้าวัดกลาง จ.ชลบุรีมา ก็เอามาลองนุ่งเลยค่ะ จัดแจงสั่งซื้อสไบอะไรมา แล้วก็ได้แต่งไปเที่ยวงานที่ลพบุรีสมใจ สนุกมากและติดใจมาก
เมื่อมีครั้งแรกก็มีครั้งที่สอง งานสงกรานต์เป็นสถานีต่อไปที่เราคิดว่าแต่งไทยได้ไม่เคอะเขินแน่นอน เรากับเพื่อนก็แต่งไปเดินเล่นวัดสุทัศน์แล้วก็ไปเที่ยวสยามพารากอนกันต่อ สนุกดีแล้วก็เริ่มติดใจ เราอยากให้การแต่งเป็นแบบที่เข้ากับสมัยปัจจุบัน ไม่ใช่แต่งเพื่อเป็นการแสดงแบบหน้าผมต้องมาเต็มหรือเครื่องต้องเยอะอะไรแบบนั้น
ซึ่งจากที่แต่งไทยไปสยามพารากอนกระแสก็ดีมาก เรากับเพื่อนที่ชอบแนวเดียวกันเลยคิดตั้งกลุ่มขึ้นมาเพราะคิดว่าคงมีหลายคนที่ชอบเหมือนๆกันแต่อยู่กระจัดกระจายกันไปเพื่อชักชวนคนที่ชอบแบบเดียวมารวมกันก็เลยคิดกลุ่ม "แต่งไทยสไบงาม...สยามภูษานิยม" ขึ้นมา แล้วคนก็หลังไหลตามเข้ามาเรื่อยๆ เรามองดูกลุ่มเติบโตจากคนแค่ ๕๐๐ จนตอนนี้เป็นหมื่นกว่าแล้ว ยิ่งกระแสตอนนร้กำลังแรงกลุ่มก็ยิ่งเติบโตขึ้นเรื่อยๆค่ะ
เนื่องจากเราทำงานประจำอยู่ต่างจังหวัด เราอาจจะไม่ได้มีเวลาแต่งในชีวิตประจำวันมากนัก แต่ถ้ามีโอกาสก็จะต้องแต่งไปนั่นไปนี่บ้าง ยิ่งพอมีความนิยมขึ้นมาการแต่งไทยก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอีกต่อไป เคยคุยกับน้องๆที่เข้ามาในกลุ่มเขาก็บอกว่าตอนแรกๆก็มีแต่คนแซวว่าอย่าแต่งตอนกลางคืนมืดๆนะ ใจเสียหมด หรือสาวๆไซส์พิเศษบางคนก็กังวลว่าแต่งออกมาแล้วไม่สวย แต่ในกลุ่มเรามีหลากหลายมากช่วยกันแต่งช่วยกันแนะนำ พยายามรื้อฟื้นหาความรู้ เหมือนกับที่เมืองจีนตอนนี้มีกระแสการกลับมาแต่งชุด "ฮั่นฝู" ของกลุ่มเล็กๆที่มองว่า กี่เผ้านั้นไม่ใช่ชุดของชาวฮั่นทำไมชาวฮั่นไม่ใส่ฮั่นฝู หากไม่รื้อฟื้นของเหล่านี้ก็จะหลายไป
ต่อมาเราไปเข้าอบรมเป็นมัคคุเทศก์ แล้วที่พักเวลาเราออกไปต่างจังหวัดมีชาวอินเดียมาพักซึ่งผู้หญิงอินเดียเมื่อมาเที่ยวต่างเมืองเขาก็ยังคงห่มส่าหรีไปนั่นมานี่ตลอด เราก็มองว่าเอ แล้วทำไมเราไปเที่ยวจะแต่งมั่งไม่ได้นะ เรายังเคยเห็นคนจีนมาเที่ยววัดร่องขุ่นเอาชุดฮั่นฝูมาใส่ถ่ายรูปด้วยเลย เราไปญี่ปุ่นบ่อย (ไปทำงานนะคะ)ก็ได้เที่ยวบ้าง เลยคิดว่าน่าจะลองแต่งดู และหาชุดไทยพื้นเมืองที่สามารถหอบไปง่าย แต่งไม่ลำบากนักเอาไว้ไปเที่ยว
แบบชุดพื้นเมืองเจ้าดารารัศมีสวมเสื้อลูกไม้กับซิ่นต๋าแหล้มซึ่งเป็นที่นิยมของบรรดาเจ้านายคหบดีทางเหนือที่ได้รับอิทธิพลจากทางกรุงเทพก็เป็นแบบที่แต่งได้ง่าย (ทางเหนือจะเรียกซิ่นที่ทอลายขวางว่าซิ่นต๋าค่ะ)
บางครั้งก็อยากแต่งเต็มยศบ้าง ผ้าลายอย่างของ อาภรณ์งามโดย อ.พีรมน ชมธวัช
แต่สิ่งสำคัญสำหรับเราคือ ฮีตฮอย ทางเหนือเราต้องรักษาไว้ ดังนั้นเราจึงพยายามเน้นที่การนุ่งซิ่น เพราะเราเป็นคนเหนือ
ผืนนี้เป็นซิ่นต๋าทอจากผ้าฝ้าย
ผืนนี้ก็เป็นซิ่นต๋าทอจากผ้าฝ้ายเหมือนกัน ใส่สบายเพราะคุณสมบัติของผ้าฝ้ายคือใส่สบายระบายอากาศไม่ร้อน ผืนนี้บางคนอาจจะคิดว่าเรียบๆ แต่จริงๆแล้วตัวซิ่นใช้เทคนิคที่เรียกว่า "ปั่นไก" คือใช้เส้นใยฝ้ายสองสีปั่นเข้าเป็นเส้นเดียวกันเกิดเป็นลวดลายในตัว เป็นเทคนิคคล้ายๆผ้าหางกระรอกของทางโคราช
ภาพนี้เป็นตอนที่พาคุณแม่ไปเที่ยวญี่ปุ่นช่วงซากุระบาน เป็นซิ่นตีนจกดอยเต่าที่เรียกว่าซิ่นน้ำท่วมลายจันทร์หลวง
เราทำกลุ่มมาบางครั้งเจอคนมาบอกว่าชุดไทยแพง....เราจะว่าอย่างไรดี มันก็ไม่แปลกที่เขาจะคิดอย่างนั้น แต่เราอยากให้มองในแง่ของการสนับสนุนชาวบ้านในการทอผ้าท้องถิ่นของพวกเขา การทอผ้าซิ่นตีนจกแต่ละพื้นไม่ใช่ง่ายๆ กว่าจะได้สักผืนต้องนั่งหลังขดหลังแข็งปวดตาตั้งเท่าไหร่ เหล่านี้มันเป็นงานฝีมือ ถ้าเราหันมาช่วยกันซื้อช่างทอก็มีกำลังใจที่ผ้าของพวกเขาขายได้ ถ้าเราไม่มีกำลังทรัพย์พออาจจะไม่ต้องถึงขนาดซื้อผ้าทอมือผืนละหกเจ็ดพันก็ได้ ผ้าฝ้ายที่เรานุ่งก็ผืนละไม่กี่ร้อย หรือจะอุดหนุนผ้าพิมพ์ลายไทยแบบนี้ก็ได้ เป็นผ้าไทยเหมือนกัน โรงงานก็ของคนไทย ทำให้เกิดการจ้างงาน สนับสนุนคนไทย ผ้าเอมจิตร โขมพัตร ใบโพธิ์ หนุมาน ราคาไม่แพงผืนละไม่กี่ร้อย เลือกซื้อเลือกหากันได้
บางครั้งไปออกงานเราก็พยายามจะเน้นผ้าไทยหรือประยุกต์สไบมาออกงาน อย่างชุดนี้ผ้านุ่งเราเป็นผ้าหมักโคลนสุโขทัย ผ้านิ่มมากกกก ย้ำว่านิ่มมาก ใส่สบายลายสวยชาวยชาวบ้าน ราคาไม่แพงประมาณ 1200-1500 แต่ชาวบ้านทอมือทั้งผืน
เวลาเรารับพิเศษเป็นงานมัคคุเทศก์พาคนญี่ปุ่นเที่ยวเราก็จะพยายามนุ่งผ้าไทย เพื่อให้ชาวญี่ปุ่นได้เห็นผ้าสวยๆของไทย เขาชอบมาก บอกว่าผ้าสวย ผืนนี้ผ้าฝ้ายยกดอกลำพูนราคาก็ไม่แพงด้วยค่ะ
ผืนนี้เป็นตีนซิ่นของทางลาวค่ะ
อยากให้คนไทยหันมานิยมผ้าไทยกันเยอะๆ อาจจะไม่ต้องถึงขนาดแต่งไทยก็ได้ แค่คุณหันมานิยมผ้าทอพื้นเมืองผ้าพื้นบ้าน
ก็เป็นกำลังใจให้ช่างทอผ้าทั้งหลายแล้วค่ะ ชุดไทยบางคนอาจจะบอกว่าใส่แล้วร้อน ใส่แล้วคัน แต่ถ้าคุณใช้ผ้าที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติแล้วคุณจะรู้ว่าใส่สบายมากๆๆๆๆเลยค่ะ รวมถึงพวกเสื้อที่บ้นว่าร้อนกัน เพราะว่าบางครั้งช่างกลัวเสื้อไม่สวยไม่อยู่ทรงจัดการเอาไปอัดกาวให้ซะเลย ทรงสวยแต่ร้อนมากแบบนี้ก็มี เราไปเที่ยวสถานที่ต่างๆพวกโบราณสถานหรือเรือนเก่าเราก็แต่งไทยไปเข้ากับบรรยากาศและสนุกด้วยซึมซับบรรยากาศได้ดีมากเลยค่ะ
สถานทูตฝรั่งเศสกับยุครัชกาลที่๗
วัดไชยวัฒนารามก่อนกระแสละครบุพเพสันนิวาส ผ้านุ่งลายไทยตราหนุมานราคาไม่แพงผลิตโดยบริษัทของคนไทย
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติวังจันทรเกษม ของดีของงามที่นี่มากมายควรไปชมกันนะออเจ้า
เที่ยวภูเก็ตก้แต่งแบบสาวบาบ๋า ผ้าซิ่นปาเตีะผืนนี้ไม่แพงเลย ไม่ถึงร้อย
พระรามราชนิเวศน์
สุดท้ายตอนแต่งงานเราไปถ่ายพรีเวดดิ้งที่ฮังการี(สามีไปผลงานพอดี) เราก็เลือกนุ่งซิ่นกับเสื้อลูกไม้และให้สามีแต่งโจงกระเบนผ้าม่วงไหม เราแต่งให้เองทั้งหมด ไม่เปลืองเงินเช่าชุดแพงๆเลยค่ะ รูปก็ถ่ายเอาง่ายๆเพราะสถานที่สวยอยู่แล้ว
ขอฝากกระทู้นี้ให้กับคนที่กำลังเริ่มแต่งไทยทุกๆท่านด้วยนะคะ ค่อยๆปรับค่อยๆแต่งไปอย่าเพิ่งเบื่อ อย่าให้เป็นแค่กระแสละครแล้วจางหายไปกับสายลม
"ชุดไทยใครใส่ก็สวย" และชุดไทยเองก็มีหลายแบบไม่ได้มีแค่โจงกระเบนกับสไบหรือผ้านุ่งกับสไบ ชุดพื้นบ้านต่างๆก็ถือว่าเป็นชุดไทยได้เหมือนกัน เราสามารถ "เลือก" "รับ" "ปรับ" "ใช้" ให้เข้ากับสถานะการณ์และโอกาสรวมถึงกาลเทศะต่างๆกันไปได้เสมอ เราอาจจะไม่ต้องถึงขนาดใส่ชุดไทย แค่เราใช้ผ้าไทย จะฝ้ายจะไหมก็ส่งเสริมช่างทอได้เหมือนกันสวัสดีค่ะ
ว่างๆมาเยี่ยมเยียนกันได้ที่เพจ: https://www.facebook.com/izuminomiya486/
กลุ่มและเพจในเฟสบุ๊ค: แต่งไทยสไบงาม...สยามภูษานิยม