โลกธรรม8 (ตอนที่2ได้ยศเสื่อมยศ)
อุ้ยเสี่ยวมินเขียน
2. ได้ยศเสื่อมยศ ยศหมายถึงความเติบโตในตำแหน่งหน้าที่การงาน เลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง มีความรับผิดชอบในหน้าที่มากขึ้น มีอำนาจใน
การวางแผน ประสานงาน ควบคุมผู้ร่วมงาน ส่งผลให้ได้รับเงินเดือน ผลตอบแทน การได้รับการยอมรับจากสังคมเพิ่มมากขึ้น
การได้มาซึ่งยศมีหลายสาเหตุได้แก่ ความสามารถของตนเอง (แก้ไขปัญหาเรื่องยากๆ ทำภารกิจสำเร็จ หรือดีเกินคาดหมาย)
ตำแหน่งมีการว่างงาน ( หัวหน้าจึงพิจารณาขีดความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งงาน) การสนับสนุนของหัวหน้างาน (ถูกใจ ต้องตา) ใช้วิธีการ
ไม่ชอบธรรม (ประจบเอาใจ ใช้เล่ห์เหลี่ยม โยนความผิด ขโมยผลงาน ทุจริต) ความชำนาญหรืออาวุโส (ประสบการณ์ที่สั่งสมมานาน) กฎหมายหรือกฎระเบียบ (เข้าองค์ประกอบตามหลักเกณฑ์เลื่อนขั้น) การสอบแข่งขันหรือสอบสัมภาษณ์ (ผ่านเกณฑ์วัดความรู้ความสามารถ บุคลิกตรงตาม
ต้องการ) ฯลฯ
ส่วนความเสื่อมยศมีหลายสาเหตุได้แก่ความไม่พอใจของหัวหน้างาน (ผิดพลาดบ่อย ไม่ฟังคำสั่ง โดดเด่นเกิน) วิธีการที่ทุจริต (ส่งผลให้มี
การตำหนิ ลดเงินเดือน ปลดออก ไล่ออก ดำเนินคดี ) เพื่อนร่วมงานไม่พอใจ (ผู้ร่วมงานอิจฉา หาวิธีกลั่นแกล้ง ใส่ร้าย ความแค้นส่วนตัว
ไม่ให้เกียรติ ขโมยความดีความชอบ) การทำงานไม่มีประสิทธิภาพ (อุปสรรคมาก เกินขีดความสามารถ) ความล้มเหลวขององค์กร
(บริษัทล้มละลาย องค์กรถูกยุบ) ประมาทเลินเล่อ (ทำงานผิดพลาดส่งผลเสียกับองค์กร) อุบัติเหตุ (พิการ เจ็บป่วย ขาดงานเกิน) ความซวย
( เพื่อนร่วมงานใส่ร้าย หัวหน้างานลำเอียง โดนทำร้ายร่างกาย) ฯลฯ
มีตัวอย่างการได้ยศเสื่อมยศ ตามเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ได้แก่ กรณีเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน)
โดยฟอลคอนเริ่มต้นอาชีพจากการเป็นล่ามเจรจาผู้ค้าต่างชาติให้เจ้าพระยาพระคลัง (โกษาเหล็ก) เนื่องด้วยเชี่ยวชาญหลายภาษา และพูดภาษาไทยได้คล่องปาก ครั้นต่อมาเขามีโอกาสได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงเป็นที่โปรดปรานเนื่องด้วย เก่งรอบรู้หลายเรื่อง จึงได้รับตำแหน่งเป็น
เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ในช่วงก่อนเสียชีวิต
ความโดดเด่นของฟอลคอน ทำให้ข้าราชการไม่พอใจ มีทั้งอิจฉาความสามารถ และกลัวเสียผลประโยชน์ ซึ่งจากบันทึกประวัติบางคนกล่าวว่า
เขามีนิสัยไม่ให้เกียรติข้าราชการ ขี้อิจฉา มักใหญ่ใฝ่สูง อีกพวกกล่าวว่าเขามีจิตใจดี จงรักภักดีสมเด็จพระนารายณ์ คอยอำนวยความสะดวกให้
คณะเผยแพร่ศาสนา (เรื่องนิสัยของฟอลคอนคงเป็นมุมมองของผู้ได้ประโยชน์และผู้เสียประโยชน์)
แต่ความรุ่งโรจน์ของเขาอยู่เพียงไม่นาน ครั้นปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ พระองค์ทรงป่วยจึงมอบหมายให้พระเพทราชาเป็นผู้สำเร็จ
ราชการแทน พระเพทราชามีความไม่พอใจฟอลคอนหลายเรื่องเช่นการพยายามชักจูงให้พระมหากษัตริย์เปลี่ยนศาสนา การเกรงกลัวชาวต่างชาติ
มายึดครองอยุธยา การไม่ให้เกียรติข้าราชการ (บางคนกล่าวว่าอาจไม่พอใจที่ฟอลคอนร่ำรวยเงินทอง)
โดยฟอลคอนหวั่นเกรงภัยจึงวางแผนนำทหารฝรั่งเศสลอบสังหารพระเพทราชา สนับสนุนพระปีย์เป็นกษัตริย์ครองนครอโยธยา แผนการนี้
พระเพทราชาล่วงรู้จึงรอดูสถานการณ์ ครั้นเมื่อเวลานัดหมายฝ่ายทหารฝรั่งเศสไม่มาตามนัดคงประเมินกำลังแล้วว่าได้ไม่คุ้มเสีย กลัวควบคุมสถานการณ์หลังจากนั้นไม่ได้
ฝ่ายสมเด็จพระเพทราชาจึงชิงความได้เปรียบใช้ข้ออ้างฟอลคอนและคณะก่อกบฎ นำตัวพระปีย์และฟอลคอนประหารชีวิต ครั้นพอสมเด็จ
พระนารายณ์มหาราชทราบข่าวจึงใจเสีย ร่างกายทรุดหนัก เป็นผลให้สิ้นสุดรัชกาล (ตาย)
โดยการได้ยศเสื่อมยศเป็นสัจธรรมคู่กับองค์กร เมื่อเราทำประโยชน์ให้องค์กรโดดเด่นจึงได้รับรางวัล (เลื่อนตำแหน่ง ปรับเงินเดือน คำชมเชย โบนัส สิ่งของ) แต่หากวันใดเราทำให้องค์กรได้รับผลเสีย จากรางวัลก็กลายเป็นบทลงโทษ (ตั้งแต่ตำหนิ พักงาน ลดเงินเดือน ลดตำแหน่ง ไล่ออก)
จึงมีหลักพิจารณาเพื่อป้องกันตนไม่ให้ประมาทในการทำงาน ดังนี้
1. ยิ่งมีตำแหน่งหน้าที่การงานมาก จึงต้องตรวจสอบความถูกต้อง โดยเฉพาะเรื่องที่มีผลกระทบต่อตนเอง องค์กร เพื่อนร่วมงาน เอกสาร สัญญา
การเงิน ต้องมีความรอบคอบใส่ใจเป็นพิเศษ
2. ให้เกียรติเพื่อนร่วมงาน หากไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ร่วมงาน จะทำให้เราทำงานยากลำบาก
3. พัฒนาความรู้ความสามารถของตนอยู่เสมอ ยิ่งตำแหน่งสูงต้องใช้ประสบการณ์ มีความสุขุมในการแก้ไขสถานการณ์
4. มีศิลป์ในการพูดกับหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน เพราะคำพูดทำให้เราประสบความสำเร็จ
5. ระมัดระวังตัว ผู้ร่วมงานบางคนอิจฉาความสามารถ ทำดีต่อหน้าลับหลังก็แทงข้างหลัง การพูดจาให้เสียหาย วิธีการดีที่สุดคือตั้งใจทำงานในหน้าที่ของตน ไม่ยุ่งวุ่นวายเรื่องผู้อื่น ระมัดระวังคำพูดและการกระทำที่อาจส่งผลเสียให้กับเรา
6. เมื่อเกิดความขัดแย้ง จึงต้องควบคุมอารมณ์ตน การใช้อารมณ์โต้เถียง หรือทำร้ายกันอาจเป็นเสียกับตัวเราในอนาคต
7. อดทนอดกลั้น เมื่อผู้ร่วมงานทำให้เราเสียหาย ตอบโต้ คุยกับเพื่อนร่วมงานเท่าที่จำเป็น
8. ประเมินความเสี่ยงองค์กร หากมีแนวโน้มมีความเสี่ยงต้องหางานไว้ล่วงหน้า
9. เมื่อทำงานผิดพลาด ควรยอมรับความผิดพลาด หาวิธีแก้ไขข้อผิดพลาด เพื่อไม่ให้เกิดซ้ำ
10. ใช้ชีวิตด้วยความมีสติไม่ประมาท หมั่นตรวจสุขภาพ ออกกำลังกาย ใช้ชีวิตให้มีความสุข
11. ฯลฯ มีวิธีการอีกมากตามประสบการณ์แต่ละคน
หลักธรรมการได้ยศเสื่อมยศเป็นหลักที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน เมื่อตัวเองได้ยศอย่าหลงยึดว่าจะประสบความสำเร็จเพราะบางอย่างเราไม่สามารถ
ควบคุมได้ เมื่อตัวเองเสื่อมยศอย่าคร่ำครวญโทษฟ้าและผู้อื่น แต่ควรตั้งหลักหาทางสู้ชีวิตอีกครั้ง นำข้อผิดพลาดแก้ไขพัฒนาตนเอง ซึ่งความสำเร็จ
บางครั้งก็ต้องอาศัยเวลา เราจึงต้องอดทน เพียรพยายามหาแนวทาง ใช้ชีวิตให้มีความสุข สู้ต่อไปจนกว่าจะประสบความสำเร็จ
เรื่องราวยังมีต่อโปรดติดตามตอน3 มีสรรเสริญมีนินทา เร็วๆนี้
ย้อนกลับไปอ่านตอนที่1
https://ppantip.com/topic/37510097
อ่านตอนที่3
https://ppantip.com/topic/37529565
อ่านตอนที่4
https://ppantip.com/topic/37529681
อ่านตอนจบ
https://ppantip.com/topic/37529714
โลกธรรม8 (ตอนที่2ได้ยศเสื่อมยศ) อุ้ยเสี่ยวมินเขียน
อุ้ยเสี่ยวมินเขียน
2. ได้ยศเสื่อมยศ ยศหมายถึงความเติบโตในตำแหน่งหน้าที่การงาน เลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง มีความรับผิดชอบในหน้าที่มากขึ้น มีอำนาจใน
การวางแผน ประสานงาน ควบคุมผู้ร่วมงาน ส่งผลให้ได้รับเงินเดือน ผลตอบแทน การได้รับการยอมรับจากสังคมเพิ่มมากขึ้น
การได้มาซึ่งยศมีหลายสาเหตุได้แก่ ความสามารถของตนเอง (แก้ไขปัญหาเรื่องยากๆ ทำภารกิจสำเร็จ หรือดีเกินคาดหมาย)
ตำแหน่งมีการว่างงาน ( หัวหน้าจึงพิจารณาขีดความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งงาน) การสนับสนุนของหัวหน้างาน (ถูกใจ ต้องตา) ใช้วิธีการ
ไม่ชอบธรรม (ประจบเอาใจ ใช้เล่ห์เหลี่ยม โยนความผิด ขโมยผลงาน ทุจริต) ความชำนาญหรืออาวุโส (ประสบการณ์ที่สั่งสมมานาน) กฎหมายหรือกฎระเบียบ (เข้าองค์ประกอบตามหลักเกณฑ์เลื่อนขั้น) การสอบแข่งขันหรือสอบสัมภาษณ์ (ผ่านเกณฑ์วัดความรู้ความสามารถ บุคลิกตรงตาม
ต้องการ) ฯลฯ
ส่วนความเสื่อมยศมีหลายสาเหตุได้แก่ความไม่พอใจของหัวหน้างาน (ผิดพลาดบ่อย ไม่ฟังคำสั่ง โดดเด่นเกิน) วิธีการที่ทุจริต (ส่งผลให้มี
การตำหนิ ลดเงินเดือน ปลดออก ไล่ออก ดำเนินคดี ) เพื่อนร่วมงานไม่พอใจ (ผู้ร่วมงานอิจฉา หาวิธีกลั่นแกล้ง ใส่ร้าย ความแค้นส่วนตัว
ไม่ให้เกียรติ ขโมยความดีความชอบ) การทำงานไม่มีประสิทธิภาพ (อุปสรรคมาก เกินขีดความสามารถ) ความล้มเหลวขององค์กร
(บริษัทล้มละลาย องค์กรถูกยุบ) ประมาทเลินเล่อ (ทำงานผิดพลาดส่งผลเสียกับองค์กร) อุบัติเหตุ (พิการ เจ็บป่วย ขาดงานเกิน) ความซวย
( เพื่อนร่วมงานใส่ร้าย หัวหน้างานลำเอียง โดนทำร้ายร่างกาย) ฯลฯ
มีตัวอย่างการได้ยศเสื่อมยศ ตามเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ได้แก่ กรณีเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน)
โดยฟอลคอนเริ่มต้นอาชีพจากการเป็นล่ามเจรจาผู้ค้าต่างชาติให้เจ้าพระยาพระคลัง (โกษาเหล็ก) เนื่องด้วยเชี่ยวชาญหลายภาษา และพูดภาษาไทยได้คล่องปาก ครั้นต่อมาเขามีโอกาสได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงเป็นที่โปรดปรานเนื่องด้วย เก่งรอบรู้หลายเรื่อง จึงได้รับตำแหน่งเป็น
เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ในช่วงก่อนเสียชีวิต
ความโดดเด่นของฟอลคอน ทำให้ข้าราชการไม่พอใจ มีทั้งอิจฉาความสามารถ และกลัวเสียผลประโยชน์ ซึ่งจากบันทึกประวัติบางคนกล่าวว่า
เขามีนิสัยไม่ให้เกียรติข้าราชการ ขี้อิจฉา มักใหญ่ใฝ่สูง อีกพวกกล่าวว่าเขามีจิตใจดี จงรักภักดีสมเด็จพระนารายณ์ คอยอำนวยความสะดวกให้
คณะเผยแพร่ศาสนา (เรื่องนิสัยของฟอลคอนคงเป็นมุมมองของผู้ได้ประโยชน์และผู้เสียประโยชน์)
แต่ความรุ่งโรจน์ของเขาอยู่เพียงไม่นาน ครั้นปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ พระองค์ทรงป่วยจึงมอบหมายให้พระเพทราชาเป็นผู้สำเร็จ
ราชการแทน พระเพทราชามีความไม่พอใจฟอลคอนหลายเรื่องเช่นการพยายามชักจูงให้พระมหากษัตริย์เปลี่ยนศาสนา การเกรงกลัวชาวต่างชาติ
มายึดครองอยุธยา การไม่ให้เกียรติข้าราชการ (บางคนกล่าวว่าอาจไม่พอใจที่ฟอลคอนร่ำรวยเงินทอง)
โดยฟอลคอนหวั่นเกรงภัยจึงวางแผนนำทหารฝรั่งเศสลอบสังหารพระเพทราชา สนับสนุนพระปีย์เป็นกษัตริย์ครองนครอโยธยา แผนการนี้
พระเพทราชาล่วงรู้จึงรอดูสถานการณ์ ครั้นเมื่อเวลานัดหมายฝ่ายทหารฝรั่งเศสไม่มาตามนัดคงประเมินกำลังแล้วว่าได้ไม่คุ้มเสีย กลัวควบคุมสถานการณ์หลังจากนั้นไม่ได้
ฝ่ายสมเด็จพระเพทราชาจึงชิงความได้เปรียบใช้ข้ออ้างฟอลคอนและคณะก่อกบฎ นำตัวพระปีย์และฟอลคอนประหารชีวิต ครั้นพอสมเด็จ
พระนารายณ์มหาราชทราบข่าวจึงใจเสีย ร่างกายทรุดหนัก เป็นผลให้สิ้นสุดรัชกาล (ตาย)
โดยการได้ยศเสื่อมยศเป็นสัจธรรมคู่กับองค์กร เมื่อเราทำประโยชน์ให้องค์กรโดดเด่นจึงได้รับรางวัล (เลื่อนตำแหน่ง ปรับเงินเดือน คำชมเชย โบนัส สิ่งของ) แต่หากวันใดเราทำให้องค์กรได้รับผลเสีย จากรางวัลก็กลายเป็นบทลงโทษ (ตั้งแต่ตำหนิ พักงาน ลดเงินเดือน ลดตำแหน่ง ไล่ออก)
จึงมีหลักพิจารณาเพื่อป้องกันตนไม่ให้ประมาทในการทำงาน ดังนี้
1. ยิ่งมีตำแหน่งหน้าที่การงานมาก จึงต้องตรวจสอบความถูกต้อง โดยเฉพาะเรื่องที่มีผลกระทบต่อตนเอง องค์กร เพื่อนร่วมงาน เอกสาร สัญญา
การเงิน ต้องมีความรอบคอบใส่ใจเป็นพิเศษ
2. ให้เกียรติเพื่อนร่วมงาน หากไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ร่วมงาน จะทำให้เราทำงานยากลำบาก
3. พัฒนาความรู้ความสามารถของตนอยู่เสมอ ยิ่งตำแหน่งสูงต้องใช้ประสบการณ์ มีความสุขุมในการแก้ไขสถานการณ์
4. มีศิลป์ในการพูดกับหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน เพราะคำพูดทำให้เราประสบความสำเร็จ
5. ระมัดระวังตัว ผู้ร่วมงานบางคนอิจฉาความสามารถ ทำดีต่อหน้าลับหลังก็แทงข้างหลัง การพูดจาให้เสียหาย วิธีการดีที่สุดคือตั้งใจทำงานในหน้าที่ของตน ไม่ยุ่งวุ่นวายเรื่องผู้อื่น ระมัดระวังคำพูดและการกระทำที่อาจส่งผลเสียให้กับเรา
6. เมื่อเกิดความขัดแย้ง จึงต้องควบคุมอารมณ์ตน การใช้อารมณ์โต้เถียง หรือทำร้ายกันอาจเป็นเสียกับตัวเราในอนาคต
7. อดทนอดกลั้น เมื่อผู้ร่วมงานทำให้เราเสียหาย ตอบโต้ คุยกับเพื่อนร่วมงานเท่าที่จำเป็น
8. ประเมินความเสี่ยงองค์กร หากมีแนวโน้มมีความเสี่ยงต้องหางานไว้ล่วงหน้า
9. เมื่อทำงานผิดพลาด ควรยอมรับความผิดพลาด หาวิธีแก้ไขข้อผิดพลาด เพื่อไม่ให้เกิดซ้ำ
10. ใช้ชีวิตด้วยความมีสติไม่ประมาท หมั่นตรวจสุขภาพ ออกกำลังกาย ใช้ชีวิตให้มีความสุข
11. ฯลฯ มีวิธีการอีกมากตามประสบการณ์แต่ละคน
หลักธรรมการได้ยศเสื่อมยศเป็นหลักที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน เมื่อตัวเองได้ยศอย่าหลงยึดว่าจะประสบความสำเร็จเพราะบางอย่างเราไม่สามารถ
ควบคุมได้ เมื่อตัวเองเสื่อมยศอย่าคร่ำครวญโทษฟ้าและผู้อื่น แต่ควรตั้งหลักหาทางสู้ชีวิตอีกครั้ง นำข้อผิดพลาดแก้ไขพัฒนาตนเอง ซึ่งความสำเร็จ
บางครั้งก็ต้องอาศัยเวลา เราจึงต้องอดทน เพียรพยายามหาแนวทาง ใช้ชีวิตให้มีความสุข สู้ต่อไปจนกว่าจะประสบความสำเร็จ
เรื่องราวยังมีต่อโปรดติดตามตอน3 มีสรรเสริญมีนินทา เร็วๆนี้
ย้อนกลับไปอ่านตอนที่1 https://ppantip.com/topic/37510097
อ่านตอนที่3 https://ppantip.com/topic/37529565
อ่านตอนที่4 https://ppantip.com/topic/37529681
อ่านตอนจบ https://ppantip.com/topic/37529714