*พนักงานคนนั้นไม่ใช่ผมนะครับ ออกความเห็นได้เต็มที่ครับ
มีบริษัทๆหนึ่ง มุ่งมั่นที่จะลดอุบัติเหตุการจราจรทางบกอย่างต่อเนื่อง
วันหนึ่ง มีพนักงานในบริษัทดังกล่าวได้ไปกินเลี้ยงสังสรรค์(นอกเวลางาน) โดยมีการดื่มสุราและขับขี่จักรยานยนต์ แต่เกิดอุบัติเหตุขึ้นมีผู้เสียชีวิต 1 คน เป็นเหตุให้พนักงานดังกล่าวถูกบริษัทเลิกจ้างโดยไม่รับค่าชดเชย
โดยบริษัทดังกล่าวอ้างความผิดดังนี้
1.) ความผิดทางอาญา ตามมาตรา 291 กระทำการโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
2.) ความผิดบริษัท ตามาตรา 119(4) ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 ฐานฝ่าฝืน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกรณีร้ายแรง
3.) ความผิดบริษัท ตามาตรา 583 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฐานจงใจฝ่าฝืน ระเบียบ ว่าด้วยระเบียบความปลอดภัยในการขับขี่ยานพาหนะ ถือเป็นความผิดร้ายแรง
การเลิกจ้างดังกล่าวเป็นธรรมหรือไม่ เมื่อความผิดที่พนักงานทำเป็นนอกเวลาจ้างงาน?
พนักงานสามารถฟ้องร้องเรียกค่าชดเชยได้หรือไม่ ในกรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม?
เลิกจ้างแบบนี้ เป็นธรรมหรือไม่?
มีบริษัทๆหนึ่ง มุ่งมั่นที่จะลดอุบัติเหตุการจราจรทางบกอย่างต่อเนื่อง
วันหนึ่ง มีพนักงานในบริษัทดังกล่าวได้ไปกินเลี้ยงสังสรรค์(นอกเวลางาน) โดยมีการดื่มสุราและขับขี่จักรยานยนต์ แต่เกิดอุบัติเหตุขึ้นมีผู้เสียชีวิต 1 คน เป็นเหตุให้พนักงานดังกล่าวถูกบริษัทเลิกจ้างโดยไม่รับค่าชดเชย
โดยบริษัทดังกล่าวอ้างความผิดดังนี้
1.) ความผิดทางอาญา ตามมาตรา 291 กระทำการโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
2.) ความผิดบริษัท ตามาตรา 119(4) ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 ฐานฝ่าฝืน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกรณีร้ายแรง
3.) ความผิดบริษัท ตามาตรา 583 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฐานจงใจฝ่าฝืน ระเบียบ ว่าด้วยระเบียบความปลอดภัยในการขับขี่ยานพาหนะ ถือเป็นความผิดร้ายแรง
การเลิกจ้างดังกล่าวเป็นธรรมหรือไม่ เมื่อความผิดที่พนักงานทำเป็นนอกเวลาจ้างงาน?
พนักงานสามารถฟ้องร้องเรียกค่าชดเชยได้หรือไม่ ในกรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม?