ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวันของมนุษย์มากขึ้น ภาคธุรกิจต่าง ๆ ได้คิดค้นนวัตกรรมมากมาย เพื่อมาตอบสนองความก้าวหน้าในศาสตร์สาขาต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านอุตสาหกรรม ซึ่งมีการใช้เทคโนโลยีร่วมในขั้นตอนการผลิตต่างๆ โดยเฉพาะการนำระบบอัตโนมัติ ต่อยอดมาสู่ระบบหุ่นยนต์ที่สามารถทำงานทดแทนแรงงานมนุษย์ได้
เราอยู่ในอยู่ในยุคที่ IoT, Big Data และ AI ถูกนำมาใช้ในระบบและสายการผลิต จึงไม่น่าแปลกใจว่าหลายๆฝ่ายต่างวิตกกังวลกันว่า หุ่นยนต์จะมาทดแทนแรงงานมนุษย์อย่างแน่นอน ในต่างประเทศบริษัทหลายๆแห่งได้มีการนำระบบอัตโนมัติมาใช้งาน เช่น Amazon GO (แอมะซอนโก) ร้านสะดวกซื้อ ที่ไม่ต้องมีแคชเชียร์แห่งแรกของบริษัทแอมะซอน ณ เมืองซีแอตเทิล โดยได้มีการทดลองให้บริการลูกค้าภายใต้คอนเซปที่ว่า
“เทคโนโลยีการช้อปปิ้งที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก ให้คุณไม่ต้องยืนเมื่อยรอในคิวอีกต่อไป”
คอนเซปต์การทำงานของร้านค้าแห่งนี้คือ ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการจะสามารถหยิบสินค้าต่าง ๆ บนชั้นวาง ลงกระเป๋าหรือถุงของตัวเองแล้วเดินออกจากร้านไปได้เลยโดยที่ไม่ต้องรอจ่ายเงิน ด้วยการใช้แอปพลิเคชันพร้อมระบบเทคโนโลยีติดกล้อง เซ็นเซอร์ รวมไปถึงปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่จะทำให้สินค้าซึ่งถูกหยิบขึ้นจากชั้นถูกเพิ่มลงไปใน “ตะกร้า” ของบัญชีออนไลน์ของลูกค้าโดยอัตโนมัติ รวมไปถึงลบออกในทันทีหากสินค้านั้นถูกวางกลับลงไปที่เดิมอีกด้วย
หรืออย่างประเทศจีน หลายคนอาจจะรู้จักอาลีบาบา (Alibaba) แต่ในความเป็นจริงแล้วธุรกิจค้าปลีกในจีนยังมีเจ้าใหญ่ไม่แพ้อาลีบาบาอีกรายหนึ่ง และถือว่าเป็นเบอร์ 2 ในตลาดอย่าง JD.com และล่าสุดเบอร์ 2 อย่าง JD ประกาศความร่วมมือกับ China Overseas Land & Investment ในการเปิดร้านสะดวกซื้อกว่าร้อยแห่ง และที่สำคัญร้านสะดวกซื้อที่ว่านี้ จะไม่ใช้พนักงานสำหรับการให้บริการ แต่ใช้เทคโนโลยีมาเป็นแคชเชียร์
ทั้งนี้ 'เทคโนโลยี' ที่ JD นำมาใช้นั้น จะมีสองส่วน ได้แก่ RFID และกล้องที่มีความสามารถในการจดจำใบหน้า กล่าวคือ ถ้ามีลูกค้าเข้ามาซื้อของในร้านค้าปลีกแห่งนี้ ระบบจะมีการติดตามพฤติกรรมการใช้งาน ไปจนถึงความเคลื่อนไหวของลูกค้าแต่ละคน แล้วดูว่ามีความสนใจในสินค้าชนิดใดเป็นพิเศษ ก่อนที่ JD จะยิงโฆษณาตามที่ลูกค้าสนใจ ซึ่งวิธีการนี้จะตรงกับกลุ่มเป้าหมาย และเป็นไปตามความต้องการของลูกค้าโดยตรง ที่สำหรับเทคโนโลยี RFI การจำใบหน้านี้ มิได้เป็นเทคโนโลยีที่มีราคาค่างวดแพงมากนัก ทำให้ร้านค้าปลีกขนาดเล็กเองก็สามารถนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้งานได้เช่นกัน
สำหรับประเทศไทย ล่าสุดมีข่าวว่า ร้าน “เซเว่น อีเลฟเว่น” (7-Eleven) จะเตรียมนำเทคโนโลยี AI “Facial Recognition” หรือ “ระบบจดจำใบหน้า” มาใช้สาขาของเซเว่นฯ ทั่วประเทศ เพื่อใช้วิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า และพนักงานโดยจะบันทึกและวิเคราะห์ครอบคลุมข้อมูลหลายด้าน เช่น
-พฤติกรรมลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการภายในร้าน
-จำนวนลูกค้าเข้าร้าน
-ระยะเวลาที่ลูกค้าอยู่ในร้าน
-การใช้เวลาหน้าชั้นวางสินค้า และจับอารมณ์ของลูกค้าเมื่อเดินผ่านชั้นวางสินค้า
-การให้บริการของพนักงาน
เพื่อนำข้อมูล (Big Data) ที่วิเคราะห์ออกมาแล้ว มาตอบสนองได้ตรงกับความต้องการของลูกค้า อาทิ เช่น การจัดโปรโมชั่น การนำสินค้าที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า ทำให้ร้านสาขา สามารถคาดการณ์การสต็อกสินค้าแต่ละประเภท แต่ละแบรนด์ได้ถูกต้อง แม่นยำมากขึ้น เพื่อทำให้การบริหารจัดการสินค้าภายในร้านสาขามีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
แต่สำหรับหลายๆคนที่มีความกังวลใจว่า เทคโนโลยี “Facial Recognition” จะเข้ามาละเมิดความเป็นส่วนตัวของบุคคลมากเกินไป นั้น ก็หายห่วงได้ เนื่องจากระบบจะจำเพียงเค้าโครงใบหน้าเท่านั้น ไม่ได้เป็นการจดจำทุกองค์ประกอบของใบหน้าคนเรา จึงแตกต่างจากเทคโนโลยีจดจำใบหน้า และสแกนใบหน้าที่ใช้สำหรับเข้ารหัสอุปกรณ์ หรือโปรแกรมต่างๆ นอกจากนี้ภาพหน้าของลูกค้า จะไม่ถูกจัดเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ หรืออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบถาวร และไม่เชื่อมโยงกับข้อมูลต่างๆ ของลูกค้า เช่น ชื่อ, หมายเลขโทรศัพท์, ที่อยู่ เพื่อความปลอดภัยของลูกค้า
เชือว่าในอนาคต กลุ่มธุรกิจการค้าในบ้านเราคงไม่ใช่มีแต่ "เซเว่น อีเลฟเว่น” (7-Eleven) เพียงเจ้าเดียวที่นำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ เนื่องจากพฤติกรรมของลูกค้าในยุคนี้เปลี่ยนไปจากเดิมมาก การที่ธุรกิจสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้เพียงอย่างเดียวจะไม่เพียงพออีกต่อไป แต่สิ่งที่ลูกค้าต้องการ คือ ความพึงพอใจที่เหนือความคาดหมาย ซึ่งคาดการณ์ว่าร้านค้าอัจฉริยะลักษณะนี้จะเข้ามาตอบโจทย์ และสร้างความพึงพอใจได้มากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน
เมื่อ "ปัญญาประดิษฐ์" ขยับเข้ามาใกล้ตัวเราเร็วกว่าที่คิด
เราอยู่ในอยู่ในยุคที่ IoT, Big Data และ AI ถูกนำมาใช้ในระบบและสายการผลิต จึงไม่น่าแปลกใจว่าหลายๆฝ่ายต่างวิตกกังวลกันว่า หุ่นยนต์จะมาทดแทนแรงงานมนุษย์อย่างแน่นอน ในต่างประเทศบริษัทหลายๆแห่งได้มีการนำระบบอัตโนมัติมาใช้งาน เช่น Amazon GO (แอมะซอนโก) ร้านสะดวกซื้อ ที่ไม่ต้องมีแคชเชียร์แห่งแรกของบริษัทแอมะซอน ณ เมืองซีแอตเทิล โดยได้มีการทดลองให้บริการลูกค้าภายใต้คอนเซปที่ว่า “เทคโนโลยีการช้อปปิ้งที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก ให้คุณไม่ต้องยืนเมื่อยรอในคิวอีกต่อไป”
คอนเซปต์การทำงานของร้านค้าแห่งนี้คือ ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการจะสามารถหยิบสินค้าต่าง ๆ บนชั้นวาง ลงกระเป๋าหรือถุงของตัวเองแล้วเดินออกจากร้านไปได้เลยโดยที่ไม่ต้องรอจ่ายเงิน ด้วยการใช้แอปพลิเคชันพร้อมระบบเทคโนโลยีติดกล้อง เซ็นเซอร์ รวมไปถึงปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่จะทำให้สินค้าซึ่งถูกหยิบขึ้นจากชั้นถูกเพิ่มลงไปใน “ตะกร้า” ของบัญชีออนไลน์ของลูกค้าโดยอัตโนมัติ รวมไปถึงลบออกในทันทีหากสินค้านั้นถูกวางกลับลงไปที่เดิมอีกด้วย
หรืออย่างประเทศจีน หลายคนอาจจะรู้จักอาลีบาบา (Alibaba) แต่ในความเป็นจริงแล้วธุรกิจค้าปลีกในจีนยังมีเจ้าใหญ่ไม่แพ้อาลีบาบาอีกรายหนึ่ง และถือว่าเป็นเบอร์ 2 ในตลาดอย่าง JD.com และล่าสุดเบอร์ 2 อย่าง JD ประกาศความร่วมมือกับ China Overseas Land & Investment ในการเปิดร้านสะดวกซื้อกว่าร้อยแห่ง และที่สำคัญร้านสะดวกซื้อที่ว่านี้ จะไม่ใช้พนักงานสำหรับการให้บริการ แต่ใช้เทคโนโลยีมาเป็นแคชเชียร์
ทั้งนี้ 'เทคโนโลยี' ที่ JD นำมาใช้นั้น จะมีสองส่วน ได้แก่ RFID และกล้องที่มีความสามารถในการจดจำใบหน้า กล่าวคือ ถ้ามีลูกค้าเข้ามาซื้อของในร้านค้าปลีกแห่งนี้ ระบบจะมีการติดตามพฤติกรรมการใช้งาน ไปจนถึงความเคลื่อนไหวของลูกค้าแต่ละคน แล้วดูว่ามีความสนใจในสินค้าชนิดใดเป็นพิเศษ ก่อนที่ JD จะยิงโฆษณาตามที่ลูกค้าสนใจ ซึ่งวิธีการนี้จะตรงกับกลุ่มเป้าหมาย และเป็นไปตามความต้องการของลูกค้าโดยตรง ที่สำหรับเทคโนโลยี RFI การจำใบหน้านี้ มิได้เป็นเทคโนโลยีที่มีราคาค่างวดแพงมากนัก ทำให้ร้านค้าปลีกขนาดเล็กเองก็สามารถนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้งานได้เช่นกัน
สำหรับประเทศไทย ล่าสุดมีข่าวว่า ร้าน “เซเว่น อีเลฟเว่น” (7-Eleven) จะเตรียมนำเทคโนโลยี AI “Facial Recognition” หรือ “ระบบจดจำใบหน้า” มาใช้สาขาของเซเว่นฯ ทั่วประเทศ เพื่อใช้วิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า และพนักงานโดยจะบันทึกและวิเคราะห์ครอบคลุมข้อมูลหลายด้าน เช่น
-พฤติกรรมลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการภายในร้าน
-จำนวนลูกค้าเข้าร้าน
-ระยะเวลาที่ลูกค้าอยู่ในร้าน
-การใช้เวลาหน้าชั้นวางสินค้า และจับอารมณ์ของลูกค้าเมื่อเดินผ่านชั้นวางสินค้า
-การให้บริการของพนักงาน
เพื่อนำข้อมูล (Big Data) ที่วิเคราะห์ออกมาแล้ว มาตอบสนองได้ตรงกับความต้องการของลูกค้า อาทิ เช่น การจัดโปรโมชั่น การนำสินค้าที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า ทำให้ร้านสาขา สามารถคาดการณ์การสต็อกสินค้าแต่ละประเภท แต่ละแบรนด์ได้ถูกต้อง แม่นยำมากขึ้น เพื่อทำให้การบริหารจัดการสินค้าภายในร้านสาขามีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
แต่สำหรับหลายๆคนที่มีความกังวลใจว่า เทคโนโลยี “Facial Recognition” จะเข้ามาละเมิดความเป็นส่วนตัวของบุคคลมากเกินไป นั้น ก็หายห่วงได้ เนื่องจากระบบจะจำเพียงเค้าโครงใบหน้าเท่านั้น ไม่ได้เป็นการจดจำทุกองค์ประกอบของใบหน้าคนเรา จึงแตกต่างจากเทคโนโลยีจดจำใบหน้า และสแกนใบหน้าที่ใช้สำหรับเข้ารหัสอุปกรณ์ หรือโปรแกรมต่างๆ นอกจากนี้ภาพหน้าของลูกค้า จะไม่ถูกจัดเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ หรืออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบถาวร และไม่เชื่อมโยงกับข้อมูลต่างๆ ของลูกค้า เช่น ชื่อ, หมายเลขโทรศัพท์, ที่อยู่ เพื่อความปลอดภัยของลูกค้า
เชือว่าในอนาคต กลุ่มธุรกิจการค้าในบ้านเราคงไม่ใช่มีแต่ "เซเว่น อีเลฟเว่น” (7-Eleven) เพียงเจ้าเดียวที่นำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ เนื่องจากพฤติกรรมของลูกค้าในยุคนี้เปลี่ยนไปจากเดิมมาก การที่ธุรกิจสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้เพียงอย่างเดียวจะไม่เพียงพออีกต่อไป แต่สิ่งที่ลูกค้าต้องการ คือ ความพึงพอใจที่เหนือความคาดหมาย ซึ่งคาดการณ์ว่าร้านค้าอัจฉริยะลักษณะนี้จะเข้ามาตอบโจทย์ และสร้างความพึงพอใจได้มากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน