ในทุกวันนี้ การผลิตไฟฟ้า ส่วนหนึ่งต้องมีการผลิตไฟฟ้าโดยใช้ Solar Cell บ้างละ ในอีกหลายๆประเทศที่ภูมิอากาศบางช่วงเต็มไปด้วยเมฆและฝน พลังงานจากแสงแดดใช้ไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร
ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้นักวิจัย จากมหาวิทยาลัยจากซูโจว ประเทศจีน จึงมีไอเดียใหม่ว่าจะผลิตแผงโซลาร์เซลล์ที่บวกความสามารถในการผลิตไฟฟ้าจากน้ำฝนให้สำเร็จเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
งานวิจัยนี้ถูกตีพิมพ์ในวารสาร ACS Nano เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่เพิ่งผ่านมานี้ว่าด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่า TENG (Triboelectric Nanogenerator) ซึ่งจะถูกเพิ่มเข้าไปในการผลิตแผงโซลาร์เซลล์จะช่วยเปลี่ยนพลังงานจากน้ำฝนเป็นพลังงานไฟฟ้าในช่วงที่สภาพอากาศนั้นมีฝนตกบ่อยเสียจนไม่สามารถได้รับแสงแดดเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าได้
ตัวผลิตกระแสไฟฟ้าแบบนาโน หรือ Nanogenerators นั้นเป็นเครื่องมือที่ใช้เปลี่ยนพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งสามารถทำได้ในระดับที่เล็กมากเพื่อให้ได้รับพลังงานจากน้ำฝนอย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้การผสานแผ่นเลเยอร์ของ TENG ทับลงบนแผ่นโซลาร์เซลล์เดิมด้วยวัสดุประเภทโพลิเมอร์ ทำให้ราคาไม่แพงมากและมีน้ำหนักที่เบามากด้วย ซึ่งช่วยให้แผ่นหลังคามีความประสิทธิภาพที่ดีและเหมาะสมในการใช้งานในพื้นที่ที่มีฝนตกชุกและแสงแดดไม่แรงตลอดปี
ท้ายที่สุดการพัฒนา TENG น่าจะเป็นหนึ่งในการพัฒนาพลังงานทางเลือก ตรงกับกระแสโลกที่คาดเดาว่าภายในปี ค.ศ. 2040 พลังงานที่ผลิตได้จากทั่วโลกจะมาจากพลังงานทางเลือกนั่นเอง
ขอบคุณแหล่งอ้างอิง
-
https://www.facebook.com/ardwarong/photos/a.409698355818015.1073741837.406167566171094/1635381756582996/?type=3
-
http://www.iflscience.com/physics/researchers-figured-out-how-to-generate-power-from-falling-raindrops-which-could-solve-the-biggest-problem-with-solar-energy/
นักวิทยาศาสตร์จีน สามารถผลิตไฟฟ้าจากสายฝน !
ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้นักวิจัย จากมหาวิทยาลัยจากซูโจว ประเทศจีน จึงมีไอเดียใหม่ว่าจะผลิตแผงโซลาร์เซลล์ที่บวกความสามารถในการผลิตไฟฟ้าจากน้ำฝนให้สำเร็จเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
งานวิจัยนี้ถูกตีพิมพ์ในวารสาร ACS Nano เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่เพิ่งผ่านมานี้ว่าด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่า TENG (Triboelectric Nanogenerator) ซึ่งจะถูกเพิ่มเข้าไปในการผลิตแผงโซลาร์เซลล์จะช่วยเปลี่ยนพลังงานจากน้ำฝนเป็นพลังงานไฟฟ้าในช่วงที่สภาพอากาศนั้นมีฝนตกบ่อยเสียจนไม่สามารถได้รับแสงแดดเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าได้
ตัวผลิตกระแสไฟฟ้าแบบนาโน หรือ Nanogenerators นั้นเป็นเครื่องมือที่ใช้เปลี่ยนพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งสามารถทำได้ในระดับที่เล็กมากเพื่อให้ได้รับพลังงานจากน้ำฝนอย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้การผสานแผ่นเลเยอร์ของ TENG ทับลงบนแผ่นโซลาร์เซลล์เดิมด้วยวัสดุประเภทโพลิเมอร์ ทำให้ราคาไม่แพงมากและมีน้ำหนักที่เบามากด้วย ซึ่งช่วยให้แผ่นหลังคามีความประสิทธิภาพที่ดีและเหมาะสมในการใช้งานในพื้นที่ที่มีฝนตกชุกและแสงแดดไม่แรงตลอดปี
ท้ายที่สุดการพัฒนา TENG น่าจะเป็นหนึ่งในการพัฒนาพลังงานทางเลือก ตรงกับกระแสโลกที่คาดเดาว่าภายในปี ค.ศ. 2040 พลังงานที่ผลิตได้จากทั่วโลกจะมาจากพลังงานทางเลือกนั่นเอง
ขอบคุณแหล่งอ้างอิง
- https://www.facebook.com/ardwarong/photos/a.409698355818015.1073741837.406167566171094/1635381756582996/?type=3
- http://www.iflscience.com/physics/researchers-figured-out-how-to-generate-power-from-falling-raindrops-which-could-solve-the-biggest-problem-with-solar-energy/