ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่จำเป็นต้องอยู่บ้านกันมากขึ้น ไม่ว่าจะ Work from home ปรับบ้านเป็น Home office บางบ้านมีผู้สูงอายุในวัยเกษียณ หรือแม้แต่เด็กเล็กๆ เมื่อต้องอาศัยอยู่ในบ้านมากขึ้น สิ่งอำนวยความสะดวกอย่างเครื่องใช้ไฟฟ้าก็ต้องใช้มากขึ้นด้วย (โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศ ที่แทบจะเปิดกันทั้งวัน เพราะอากาศบ้านเราก็ช่างร้อนซะเหลือเกิน เรียกได้ว่าผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์มีแต่คำว่าคุ้ม) เมื่อมีการใช้ไฟฟ้าในระหว่างวันเยอะขึ้น ส่งผลให้จำนวนค่าไฟเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้คนส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จึงหันมาสนใจติดโซลาร์ที่หลังคาบ้าน รวมถึงภาครัฐเองก็ให้ความสำคัญและเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถขายไฟส่วนเกินจากการใช้งานคืนภาครัฐได้ ดังนั้น การติดตั้งโซลาร์เซลล์จึงเป็นทางออกที่ช่วยลดค่าไฟได้อย่างดี รวมถึงเพิ่มความสุขในการใช้ชีวิตที่ต้องพักอาศัยอยู่บ้านในแต่ละวันได้อย่างหมดห่วงเรื่องค่าไฟที่เพิ่มขึ้นได้อีกด้วย
ในเมื่อใครๆก็อยากติดโซลาร์ แล้วมีข้อพิจารณาอะไรบ้างที่เจ้าของบ้านควรรู้ วันนี้ SCG HOME Expert มีคำแนะนำมาฝากกันครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้สำหรับใครที่ยังไม่ทราบว่า แล้วบ้านแบบไหนที่คุ้มค่ากับการติดโซลาร์ สามารถอ่านได้ที่ บ้านแบบไหนที่คุ้มค่ากับการลงทุนติดตั้งโซลาร์เซลล์ https://ppantip.com/topic/40213284
1.แผงโซลาร์เซลล์
หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่า การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ (Solar Cell) ไม่ใช่ว่าจะติดตั้งแบบไหนก็ได้ เพราะแผงโซลาร์ รวมไปถึงอุปกรณ์แปลงกระแสไฟ หรือ Inverter แต่ละยี่ห้อมีประสิทธิภาพที่แตกต่างกัน
ในตลาดแผงโซลาร์เซลล์นั้นมีหลายราคาเพราะมีหลายเกรดให้เลือกใช้ สุดท้ายแล้วเรื่องเกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์ ได้มีการชี้วัดคุณภาพเกี่ยวกับการลงทุนว่าลงทุนแล้วจะคุ้มทุนแค่ไหน ทำให้ Bloomberg ผู้ให้บริการด้านข้อมูล วิเคราะห์ทางด้านการเงินการลงทุน ได้จัดอันดับคุณภาพแผง Solar Cell ซึ่งมีระดับ Tier 1, Tier 2 และ Tier 3
ส่วนการให้คะแนนก็มาจากหลายปัจจัย เช่น ด้านประสิทธิภาพ ความยั่งยืนของบริษัทผู้ผลิตที่จะต้องมีประสบการณ์มากกว่า 5 ปี การลงทุนวิจัยและพัฒนาแผง การใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต และอีกหลายปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งยังมีแผงโซลาร์อีกจำนวนมากที่ไม่ติดแม้แต่ Tier 3 หรือวัดมาตรฐานใดเลย ดังนั้น เจ้าของบ้านไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านเทคนิคก็ได้ แต่จำง่ายๆว่า Tier 1 = ดีที่สุด โดยบริษัทฯผู้ที่รับติดตั้งโซลาร์เซลล์บางแบรนด์ถึงราคาจะไม่แพง แต่ก็ต้องศึกษาดูให้ดีว่า แบรนด์นั้นใช้แผงโซลาร์เซลล์นำเข้าจากประเทศอะไร น่าเชื่อถือไหม และได้รับรองมาตรฐานระดับสากลหรือไม่ หากมีการนำเข้าแผงจากบริษัทผู้ผลิตที่ติด Tier1 ก็ถือว่าได้แผงโซลาร์ที่ดีที่สุดแล้วครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้สามารถดูข้อมูลแบรนด์แผงโซลาร์เซลล์ที่ได้รับ Tier1 ได้ที่ https://review.solar/latest-tier-1-solar-panels-list-2020/ แต่น่าเสียดายที่ทาง Boomberg ไม่ได้เผยแพร่ข้อมูลบริษัทผู้ผลิตแผงโซลาร์ Tier2 และ Tier3 ไว้
2.อุปกรณ์แปลงกระแสไฟ หรือ Inverter
Inverter ถือเป็นหัวใจของระบบโซลาร์เซลล์ (Solar Cell) ถ้าใช้อุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน การทำงานไม่เสถียร จะส่งผลต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เช่น ไฟกระชาก ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเสียหาย นอกจากนี้ยังต้องเป็น Inverter ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก MEA, PEA และต้องเป็นที่ยอมรับในระดับสากลด้วย
3.ตรวจสอบสภาพหลังคาก่อนติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ (Roof Health Check)
ก่อนติดตั้งโซลาร์เซลล์การดูแค่ว่าทิศทางไหนเหมาะสมที่จะติดตั้งอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ บริษัทฯผู้รับติดตั้งควรมีการตรวจสอบสภาพหลังคาก่อนเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบหลังคารั่ว และสภาพโครงสร้างของหลังคาว่าสามารถรับน้ำหนักแผงโซลาร์ได้หรือไม่ เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง รวมถึงเมื่อตรวจพบปัญหารั่วซึม หรืออื่นๆ แล้วควรมีการแก้ไขปัญหาหลังคานั้นๆให้เรียบร้อยก่อน เพื่อให้หลังคาอยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมที่จะติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์มากที่สุด
4.ออกแบบระบบการติดโซลาร์เซลล์ โดยวิศวกร
เนื่องจากบ้านแต่ละหลังสามารถติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ได้จำนวนไม่เท่ากัน ซึ่งขึ้นอยู่กับพื้นที่ของหลังคา
โดยการติดตั้งโซลาร์เซลล์ให้บ้านแต่ละหลังนั้นจำเป็นต้องมีทีมวิศวกรเข้ามาช่วยคำนวณการติดตั้ง เพื่อให้เหมาะกับการใช้งานและความเหมาะสมของตัวบ้าน ทั้งทิศทางของการรับแสง ดูว่ามีแสงเงา เช่น จากต้นไม้ใหญ่ หรือจากบ้านข้างเคียงที่มีโครงสร้างหลายชั้น มาบดบังแผงโซลาร์หรือไม่ รวมถึงโครงสร้างสามารถรับน้ำหนักได้ดีไหม เพื่อให้สามารถผลิตไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงที่สุด และปลอดภัยต่อบ้านพักที่อยู่อาศัย
5.วิธีการติดตั้งระบบโซลาร์ (Solar)
โดยส่วนใหญ่แล้วบริการติดตั้งโซลาร์เซลล์ (Solar Cell) ของแบรนด์ทั่วๆ ไป มักจะเจาะกระเบื้องหลังคาเพื่อยึดแผงโซลาร์ (Solar) เข้ากับผืนหลังคาของบ้านหลังนั้นๆ แต่รู้หรือไม่ว่าวิธีการดังกล่าว ส่งผลเสียทำให้หลังคาเสี่ยงรั่วเป็นอย่างมาก แทนที่จะผลิตไฟฟ้าเพื่อลดค่าไฟได้อย่างสบายใจ กลับกลายเป็นปัญหาหลังคารั่วให้เจ้าของบ้านปวดหัวมากกว่าเดิม
ดังนั้น การติดตั้งระบบหลังคาโซลาร์เซลล์ (Solar Cell) ที่ดีที่สุดคือ ต้องไม่เจาะกระเบื้องหลังคา ซึ่งบางแบรนด์ได้ เลือกใช้ Solar FIX ยึดติดกับกระเบื้องหลังคาที่ผลิตมาตั้งแต่โรงงาน วิธีดำเนินการก็คือถอดกระเบื้องแผ่นเดิมออกแล้วแทนที่ด้วย Solar FIX ทำให้สามารถติดตั้งโซลาร์ (Solar) บนหลังคา หมดกังวลหลังคาเสี่ยงรั่วแน่นอน
6. การขออนุญาตจากภาครัฐ
ก่อนการติดตั้งหลังคาโซลาร์ (Solar) เจ้าของบ้านต้องดำเนินการขออนุญาตจากภาครัฐถึง 3 หน่วยงาน คือ
1.เขต หรือ เทศบาล
2.MEA หรือ PEA
3.คณะกรรมการกองกำกับกิจการพลังงาน
การเดินเอกสารขออนุญาตกับทางภาครัฐ ถึงแม้จะทำเองได้แต่ก็นับว่ามีความยุ่งยากและค่อนข้างใช้เวลา ในกระบวนการเหล่านี้ขึ้นอยู่กับบางแบรนด์ว่าช่วยดำเนินการให้หรือไม่ ซึ่งบางเจ้าก็ช่วยจัดการให้ฟรีถือเป็นอีกหนึ่ง Service ที่ให้กับเจ้าของบ้าน ทั้งสะดวกและสามารถใช้ไฟพลังงานแสงอาทิตย์ได้อย่างถูกกฏหมาย 100% และ
ข้อควรระวัง การไม่ขออนุญาตอย่างถูกต้อง มีความเสี่ยงที่ทางการไฟฟ้าเรียกเก็บค่าปรับหรือตัดไฟ เพราะถือเป็นเรื่องความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าไม่ควรมีไฟจากแหล่งอื่นไหลเข้าระบบ
7.การติดตั้งโดยช่างมืออาชีพ
ภาพ : Before ก่อนและหลังติดแผงโซลาร์เซลล์
ภาพ : After ก่อนและหลังติดแผงโซลาร์เซลล์
การติดตั้งควรดำเนินการโดยช่างมืออาชีพที่มีประสบการณ์และผ่านการฝึกอบรมเป็นอย่างดี เพราะนอกจากจะติดตั้งได้ตามมาตรฐานแล้ว หลังคาบ้านยังต้องดูดีและสวยงาม ซึ่งหลังจากติดตั้งจะเห็นได้ว่าดีไซน์ของหลังคายังคงดูสวยงามเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือค่าไฟถูกลงเยอะ
8.แอปพลิเคชั่นตรวจสอบการทำงานแบบง่ายๆ
การจะวัดผลคุณภาพของแผงโซลาร์เซลล์ว่ามีประสิทธิภาพในการทำงานมากน้อยแค่ไหนนั้น ในเบื้องต้นอาจจะดูจากบิลค่าไฟได้ว่าค่าไฟลดลงมากน้อยจากเดือนก่อนหน้าแค่ไหน แต่มีอีกวิธีหนึ่งที่ใช้วัดผลให้เห็นแบบเป็นรูปธรรมได้ คือ การตรวจสอบการทำงานผ่านแอปพลิเคชั่น(มีเฉพาะในบางแบรนด์เท่านั้น) ที่สามารถติดตามผลการผลิตไฟฟ้าของโซลาร์เซลล์และยอดเงินที่ช่วยประหยัดได้แบบ Real time ทั้งแบบรายวัน รายเดือน และรายปี รวมถึงเมื่อเจ้าของบ้านพบความผิดปกติในการผลิตไฟฟ้าของแผงโซลาร์ จะทำให้ทราบข้อมูลและเรียกบริษัทฯผู้รับบริการมาดูแลได้แบบทันที
9.บริการหลังการขาย
นับเป็นอีกหนึ่งข้อที่ต้องพิจารณาเป็นอย่างยิ่งครับ เนื่องจากแผงโซลาร์มีอายุการใช้งานที่ยาวนานประมาณ 20-25 ปี ขึ้นอยู่กับแต่ละรุ่นแต่ละแบรนด์ที่นำมาเลือกใช้ ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ทางเจ้าของบ้านควรพิจารณาจากบริษัทฯที่น่าเชื่อถือ และมั่นใจได้ว่าหากในอนาคตแผงโซลาร์มีปัญหาจะสามารถติดต่อบริษัทฯนั้นๆได้ ไม่ทิ้งงาน และพร้อมแก้ไขปัญหาได้ทุกเมื่อ ซึ่งการรับประกันอุปกรณ์และบริการหลังการขาย ได้แก่
1. รับประกันแผงโซลาร์ (Solar) และประสิทธิภาพการผลิตไฟ (Product & Performance)
2. รับประกัน Inverter
3. รับประกันการติดตั้ง
4. บริการตรวจสอบระบบ และล้างแผง
*ระยะเวลาในการรับประกันอุปกรณ์ และบริการหลังการขาย ขึ้นอยู่กับบริษัทฯผู้ให้บริการ เจ้าของบ้านควรสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมให้ครบถ้วนและชัดเจน ณ จุดขาย
10.แพ็กเกจและราคา
เมื่อพูดถึงแผงโซลาร์เซลล์ใครๆก็คิดว่าแพงใช่ไหมล่ะครับ แต่จริงๆแล้วบางเจ้าราคาเริ่มต้นไม่ถึงแสนก็มีให้เลือก แถมยังได้อุปกรณ์และบริการที่มีมาตรฐานอีกด้วย แต่การเลือกแพ็กเกจจะถูกหรือแพงนั้นก็ต้องดูลักษณะการใช้ไฟและจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า สามารถประเมินง่ายๆจากการใช้เครื่องปรับอากาศในตอนกลางวัน เช่น เปิดแอร์ 10,000 btus จำนวน 1 เครื่อง เท่ากับระบบโซลาร์ 1 kW. เป็นต้น หรือให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยประเมินให้ ก็จะได้แพ็กเกจที่เหมาะสมกับการใช้งานไฟฟ้าของแต่ละบ้านครับ
สำหรับหลังคาบ้าน หรืออาคารที่ตรวจสอบดูแล้วว่าไม่มีปัญหาหลังคารั่ว โครงสร้างหลังคาแข็งแรง และความลาดชันของหลังคาอยู่ที่ไม่เกิน 40 องศา ก็สามารถติดต่อกับทางบริษัทฯผู้ให้บริการดำเนินการได้เลย
หากท่านใดสนใจติดตั้งแผงโซลาร์สามารถดูรีวิวผู้ใช้งานจริง และลงทะเบียนปรึกษาผู้เชี่ยวชาญได้ฟรีที่
https://bit.ly/39HMHyY
10 ข้อที่เจ้าของบ้านควรรู้ ก่อนติดโซลาร์
ในเมื่อใครๆก็อยากติดโซลาร์ แล้วมีข้อพิจารณาอะไรบ้างที่เจ้าของบ้านควรรู้ วันนี้ SCG HOME Expert มีคำแนะนำมาฝากกันครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
1.แผงโซลาร์เซลล์
2.อุปกรณ์แปลงกระแสไฟ หรือ Inverter