คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
นายจ้างเข้าใจถูกที่ว่า อายุงานไม่ถึง 120 วัน นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยการเลิกจ้างตามมาตรา 118 แต่การเลิกจ้างนั้น นายจ้างจะอ่านกฎหมายเพียงมาตรา 118 เรื่องเงินชดเชยอย่างเดียวไม่ได้ ต้องอ่านมาตรา 17 เรื่องการบอกกล่าว และต้องอ่านมาตรา 49 พรบ.จัดตั้งศาลฯประกอบด้วย
กรณีเลิกจ้างแล้วให้หยุดงานทันทีโดยไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้านั้น หากลูกจ้างมิได้กระทำผิดตามมาตรา 119 หรือปพพ.มาตรา 583 นายจ้างต้องจ่ายเงินสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ต้องพิจารณารอบการจ่ายค่าจ้างประกอบไปด้วยครับ ค่าบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรา 17 พรบ.คุ้มครองแรงงานฉบับที่ 2 ปีพ.ศ. 2551 มิใช่การจ่าย 30 วันหรือบอกกล่าวล่วงหน้า 30 วันเสมอไป (ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า หรือการบอกกล่าวล่วงหน้า 30 วัน อยู่ในพรบ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 1 ปีพ.ศ. 2541 มาตรา 17 ซึ่งยกเลิกไปแล้วในปี 2551)
ดังนั้น ต้องพิจารณารอบการจ่ายค่าจ้างประกอบด้วย กรณีที่ท่านเจ้าของกระทู้แจ้งมาว่า กลางเดือนนายจ้างบอกปิดกิจการแล้วให้ยุติการทำงานทันที ผมสมมุติวันที่เป็นวันที่ 15 มีนาคม การบอกกล่าวเกิดขึ้นได้ 2 กรณี
1) กรณีนายจ้างจ่ายค่าจ้างเดือนละ 2 ครั้ง ทุกวันที่ 15 และวันที่ 30 การบอกกล่าวล่วงหน้าในวันที่ 15 ถือเป็นการบอกกล่าวล่วงหน้าของงวดการจ่ายค่าจ้างวันที่ 15 มีนาคม ซึ่งต้องให้มีผลในงวดการจ่ายค่าจ้างถัดไป คือวันที่ 30 มีนาคม ดังนั้น ให้นายจ้างจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นจำนวนเพียง 15 วัน (แต่หากบอกกล่าวเลยไปจากวันที่ครบกำหนดจ่ายค่าจ้างแม้แต่วันเดียว ต้องบวกเพิ่มอีก 15 วันทันที เช่น บอกกล่าววันที่ 16 เช่นนั้นต้องให้มีผลวันที่ 15 เมษายนทันที)
2) กรณีนายจ้างจ่ายค่าจ้างเดือนละครั้งทุกวันสิ้นเดือน การบอกกล่าวล่วงหน้าวันที่ 15 ถือเป็นเพียงการบอกกล่าวก่อนงวดการจ่ายค่าจ้างในวันที่ 31 มีนาคมเท่านั้น หากนายจ้างให้หยุดงานทันที ต้องจ่ายเงินแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคมถึงวันที่ 30 เมษายน เป็นจำนวนทั้งสิ้น 45 วัน
ดังนั้น การบอกกล่าวล่วงหน้า ต้องพิจารณารอบการจ่ายค่าจ้างประกอบ ถึงจะบอกได้ว่า ได้เงินแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรา 17 เป็นจำนวนทั้งสิ้นเท่าไรครับ
กรณีเลิกจ้างแล้วให้หยุดงานทันทีโดยไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้านั้น หากลูกจ้างมิได้กระทำผิดตามมาตรา 119 หรือปพพ.มาตรา 583 นายจ้างต้องจ่ายเงินสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ต้องพิจารณารอบการจ่ายค่าจ้างประกอบไปด้วยครับ ค่าบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรา 17 พรบ.คุ้มครองแรงงานฉบับที่ 2 ปีพ.ศ. 2551 มิใช่การจ่าย 30 วันหรือบอกกล่าวล่วงหน้า 30 วันเสมอไป (ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า หรือการบอกกล่าวล่วงหน้า 30 วัน อยู่ในพรบ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 1 ปีพ.ศ. 2541 มาตรา 17 ซึ่งยกเลิกไปแล้วในปี 2551)
ดังนั้น ต้องพิจารณารอบการจ่ายค่าจ้างประกอบด้วย กรณีที่ท่านเจ้าของกระทู้แจ้งมาว่า กลางเดือนนายจ้างบอกปิดกิจการแล้วให้ยุติการทำงานทันที ผมสมมุติวันที่เป็นวันที่ 15 มีนาคม การบอกกล่าวเกิดขึ้นได้ 2 กรณี
1) กรณีนายจ้างจ่ายค่าจ้างเดือนละ 2 ครั้ง ทุกวันที่ 15 และวันที่ 30 การบอกกล่าวล่วงหน้าในวันที่ 15 ถือเป็นการบอกกล่าวล่วงหน้าของงวดการจ่ายค่าจ้างวันที่ 15 มีนาคม ซึ่งต้องให้มีผลในงวดการจ่ายค่าจ้างถัดไป คือวันที่ 30 มีนาคม ดังนั้น ให้นายจ้างจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นจำนวนเพียง 15 วัน (แต่หากบอกกล่าวเลยไปจากวันที่ครบกำหนดจ่ายค่าจ้างแม้แต่วันเดียว ต้องบวกเพิ่มอีก 15 วันทันที เช่น บอกกล่าววันที่ 16 เช่นนั้นต้องให้มีผลวันที่ 15 เมษายนทันที)
2) กรณีนายจ้างจ่ายค่าจ้างเดือนละครั้งทุกวันสิ้นเดือน การบอกกล่าวล่วงหน้าวันที่ 15 ถือเป็นเพียงการบอกกล่าวก่อนงวดการจ่ายค่าจ้างในวันที่ 31 มีนาคมเท่านั้น หากนายจ้างให้หยุดงานทันที ต้องจ่ายเงินแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคมถึงวันที่ 30 เมษายน เป็นจำนวนทั้งสิ้น 45 วัน
ดังนั้น การบอกกล่าวล่วงหน้า ต้องพิจารณารอบการจ่ายค่าจ้างประกอบ ถึงจะบอกได้ว่า ได้เงินแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรา 17 เป็นจำนวนทั้งสิ้นเท่าไรครับ
แสดงความคิดเห็น
ถูกเลิกจ้างเพราะบริษัทปิดกิจการ ระหว่างช่วงทดลองงาน จะได้ค่าชดเชยหรือไม่?
**นายจ้างพูดเปรย ๆ ว่า เขามีสิทธิ์ไม่จ่ายค่าชดเชยอะไรให้เราเลยก็ได้ตามกฎหมาย เพราะเรายังทำงานไม่ครบ 120 วัน**
ตอนนี้ก็รอดูตอนสิ้นเดือนค่ะ ว่าเงินจะเข้าหรือไม่ เข้าเท่าไหร่
ถ้าเป็นกรณีปิดกิจการแบบนี้ แล้วเราโดนลอยแพแบบนี้ ไม่ทราบว่าเราจะได้ค่าชดเชยอะไรบ้างไหมคะ? วอนผู้รู้ช่วยทีค่ะ ขอบคุณล่วงหน้ามากมากค่ะ