สวัสดีครับ อ่านตอนแรกแล้วเป็นอย่างไรกันบ้าง ตอนที่ 2 มาแล้วครับ ตอนนี้ข้อมูลวิชาการจะเยอะหน่อย ทน ๆ อ่านหน่อยนะ
ลิ้งตอนที่ผ่านมา
บทนำ + ตอนที่ 1 : เลขสองตัว
https://ppantip.com/topic/37469933
======================================================================================
ตอนที่ 2 ลุง
“21”
ปิ๊กกับแฮมพูดขึ้นพร้อมกัน เพราะเลขยี่สิบเอ็ดหรือสองหนึ่งนี้เป็นเลขท้ายสองตัวของล็อตเตอรี่ที่แฮมซื้อมาและเป็นเลขที่ถูกรางวัลในงวดนี้
“ลุงนั่นบอกถูกจริง ๆ” แฮมพูดต่อ ตอนนี้เธอทั้งดีใจและประหลาดใจอย่างมาก
“อืม..” ปิ๊กพยักหน้าพลางครุ่นคิด แม้โอกาสที่จะถูกเลขท้ายสองตัวมันมีอยู่ แต่หากให้นับค่าความน่าจะเป็นไปในการถูกเลขท้ายสองตัวในแต่ละงวดคือ 1 ใน 100 หรือ 0.01 ซึ่งโอกาสที่จะถูกได้ก็ยังมีเปอร์เซ็นต์น้อยนิดอยู่ดี
“อย่าไปคิดมากเลยปิ๊ก” แฮมหันไปบอกเพื่อนร่างเล็ก “ตอนนี้เราโชคดีแล้ว ต่อให้มันฟลุ๊คมันก็ถือว่ามีโอกาสถูกหวยน่า”
“เข้าใจ” ปิ๊กบอก เขามองหน้าเพื่อนสาวหน้าเด็ก “แต่ฉันก็สงสัยนะ เพราะลุงแกก็บอกว่าจะให้เลขสองตัว แถมระบุด้วยว่าเป็นสองตัวล่าง แล้วเลขมันก็ออกตรงตามที่แกบอกอย่างไม่ผิดสักหลัก แบบนี้มองแล้วไม่ฟลุ๊คก็ต้องมีอะไรนอกเหนือจากนั้นแน่”
“เกินไปมั้งปิ๊ก คนบางคนมันมีเซ้นส์นะ ลุงแกอาจจะมีเซ้นส์ทางด้านนี้ก็ได้”
“ฉันไม่เชื่อ” ปิ๊กตอบ “เพราะถ้าลุงแกมีเซ้นส์ขนาดให้เลขหวยได้เนี่ย ทำไมแกไม่เล่นเองล่ะ ทำไมถึงยังอยู่แบบซอมซ่อแบบนั้น”
“เอ่อ... นั่นสิ” แฮมก็เหมือนจะหาคำตอบนี้ไม่ได้ “แล้วจะทำไงล่ะ”
“ก็มีแต่ไปถามลุงแกนั่นแหละ เพราะแกบอกว่าอยากได้เลขอีกก็มาหาได้” ปิ๊กตอบหน้าตาย
ยังไงถ้าพวกเธออยากได้เลขอีกก็มาเจอลุงได้ที่ใต้สะพานก่อนถึงสี่แยกนะ
ปิ๊กขบคิดถึงประโยคที่ลุงหนวดเครายาวพูดทิ้งท้าย แน่นอนว่าตอนนี้ปิ๊กกับแฮมมุ่งหน้าไปยังใต้สะพานที่ลุงนั่นบอกไว้
ล็อตเตอรี่ใบเลขท้ายสองตัวที่ถูกก็ยังไม่ได้เอาไปขึ้นเงิน
“นายไม่ต้องรีบขนาดนั้นหรอก” แฮมว่า เพราะตอนนี้ปิ๊กเดินค่อนข้างเร็วทีเดียว ทำให้เธอต้องรีบเดินตาม
“ฉันอยากรู้ว่าลุงนั่นรู้เลขหวยได้อย่างไร” ปิ๊กหันมาตอบ แล้วมุ่งหน้าเดินต่อโดยไม่สนแฮมที่ร่วมเดินตามอยู่
ยังดีที่ที่หมายของพวกเขาอยู่ไม่ไกล แฮมไม่ต้องลากเดินตามปิ๊กมากนัก
ที่ใต้สะพาน ปิ๊กและแฮมพบเห็นเพิงที่พักที่คาดว่าทำเองอยู่หลายหลัง ปิ๊กตรงเข้าไปยังหลังหนึ่งที่อยู่ใกล้ที่สุดโดยไม่รีรอ
แน่นอนว่าแฮมก็ต้องรีบตามมา
“มีใครอยู่ไหมครับ” ปิ๊กพูดที่ปากทางเข้าเพิ่งนั่น ตัวเขาเองก็รู้อยู่แล้วว่ามีคนอยู่ เพราะเพิงนี้ไม่ได้สร้างอย่างแข็งแรงนัก มีช่องที่มองเห็นข้างใน และเขาก็เห็นผู้อยู่ข้างในนั้น
แต่ว่าคนที่อยู่ข้างในไม่ใช่ลุงเครายาวที่ให้เลขเขามา เป็นชายวัยกลางคนเนื้อตัวมอมแมม
“มีอะไรไอ้หนู” ชายคนนั้นพูดกับปิ๊ก
“ผมมาหาคนน่ะครับ พี่รู้จักลุงที่เครายาว ๆ ไหม”
“เอ่อ..” ชายวัยกลางคนคิด “ไม่รู้สิ แถวนี้ก็มีคนเครายาวเยอะ ไปหาเอาข้างหน้าเถอะ”
ชายซ่อมซ่อไม่รอคำตอบจากปิ๊ก กลับเข้าเพิงตัวเองนอนต่อ
“ลุงแกจะอยู่ที่นี่จริง ๆ ไหมเนี่ย” แฮมพูดขึ้นมาบ้าง
“ไงก็ต้องลองหาดู” ปิ๊กบอก เขาเดินไปถามยังเพิงอื่นต่อ
แต่ว่าผู้ที่อยู่ในแต่ละเพิงไม่มีใครตอบอะไร คล้ายพวกเขาอยู่อย่างไม่สนใจใคร และไม่อยากให้ใครมาสนใจ
ทว่ามีอยู่เพิงหนึ่งที่ปิ๊กมองเข้าไปข้างในแล้วไม่เห็นผู้คน
แต่กลับเห็นสิ่งหนึ่งที่แปลกเกินไปที่จะมาอยู่ในเพิ่งซ่อมซ่อใต้สะพานอย่างนี้
เป็นหนังสือ
และมันไม่ใช่หนังสือธรรมดา เพราะเป็นหนังสือคณิตศาสตร์ฉบับภาษาอังกฤษที่ชื่อว่า
Disquisitiones Arithmeticae
หนังสือเกี่ยวกับทฤษฎีจำนวนของคาร์ล ฟรีดริช เกาส์ ผู้ได้รับฉายาว่า เจ้าชายแห่งคณิตศาสตร์
พอปิ๊กเห็นหนังสือนี้เขารีบหยิบมาดูทันที
ภายในเล่มนี้นำเสนอเกี่ยวกับเลขคณิตมอดุลาร์ (modular arithmetic) ที่เป็นระบบจำนวนภายใต้การหารแบบเหลือเศษ และบทพิสูจน์แรกของทฤษฎี ส่วนกลับกำลังสอง (quadratic reciprocity) ซึ่งย่อมเป็นที่สนใจสำหรับนักศึกษาสาขาคณิตศาสตร์อย่างปิ๊กอยู่แล้ว
แฮมมองดูเพื่อนหนุ่มที่เปลี่ยนไปสนใจหนังสือเล่มนั้นชั่วขณะ แล้วค่อยพูดขึ้นว่า
“หนังสือคณิตศาสตร์มาอยู่ในที่แบบนี้ด้วย ใครทิ้งกันนะ”
ปิ๊กเปิดอ่านไปสักพัก หันมาบอกแฮมว่า “ไม่ใช่ ไม่ใช่ใครทิ้งหรอก เพราะในเล่มนี้มีร่องรอยการอ่าน มีคั่นพร้อมทั้งโน้ตประกอบเป็นภาษาไทยด้วย แสดงว่าต้องเป็นหนังสือที่ใช้อ่านจริง ๆ”
“นายหมายความว่าคนอ่านคือ คนที่อยู่ในเพิงเก่า ๆ นี่หรือ?”
“ตอบไม่ได้หรอก แต่ถ้าไม่ใช่คนที่เกี่ยวข้องกับ Math ไม่มีทางมายุ่งกับหนังสืออย่างนี้แน่ ๆ เล่มนี้ไม่ใช่อ่านง่าย ๆ หรอกนะ”
“แล้วนายจะเอาไง ตกลงนายจะมาหาลุงใบ้หวย หรือว่าจะหาคนที่เกี่ยวข้องกับหนังสือเล่มนี้กันแน่” แฮมพูดขึ้นต่อ
“ก็ทั้งสองอย่างนั่นแหละ” ปิ๊กตอบ ตอนนี้เขาเริ่มอ่านหนังสือของเจ้าชายแห่งคณิตศาสตร์แล้ว
“เฮ้อ.. ถ้าทั้งสองอย่างเป็นคนเดียวกันก็ดี แต่มันก็ยากแหละ ใบ้หวยกับคณิตศาสตร์มันคงไม่เกี่ยวข้องกันอยู่แล้ว”
“พวกเธอมายุ่งอะไรในบ้านฉันเนี่ย!” มีเสียงหนึ่งพูดกับนักศึกษาทั้งสอง คนผู้นี้เดินมาพบเห็นทั้งสองคนวุ่นวายอยู่ที่เพิงของเขา
เมื่อทั้งสองหันหน้าไปก็พูดขึ้นพร้อมกัน เพราะว่าทั้งคู่รู้จักคน ๆ นี้
“ลุง!”
“อ้าว... พวกเธอเองหรือ” ลุงยิ้มให้กับพวกเขา น้ำเสียงเปลี่ยนเป็นมิตรมากขึ้น “มาหาลุงใช่ไหม คงถูกหวยล่ะสิ”
แฮมไม่ได้ตอบคำถามนี้ กลับถามว่า “นี่บ้านลุงหรือคะ”
“ใช่ มีอะไรหรือ”
“อ้อ... ไม่มีอะไรค่ะ” หญิงสาวท่าทางงง ๆ “เป็นคนเดียวกันจริง ๆ ด้วย”
“ลุงให้เลขถูกจริง ๆ ด้วย” แฮมพูดบอกกับชายสูงอายุ ตอนทั้งสองรวมทั้งปิ๊กไม่ได้อยู่ที่ใต้สะพานแล้ว พวกเขาย้ายมานั่งอยู่ที่สวนหย่อมที่อยู่ไม่ห่างกันนัก
ลุงยิ้ม “ก็ถือว่าโชคดีแหละ ซื้อล็อตเตอรี่มาแล้วใช่ไหม”
“ค่ะ เดี๋ยวว่าง ๆ หนูจะเอาไปขึ้นเงินค่ะ” แฮมบอก แถมมีทำท่าครุ่นคิดคล้ายกำลังคิดว่าเงินที่ได้จากการเสี่ยงโชคนี้จะเอาทำไรดี ซึ่งดูแล้วเธอน่าจะเอาไปกินเนื้อที่สุด
จะกินเนื้อไปถึงไหนกัน เป็นสัตว์กินเนื้อหรือเปล่าเนี่ย...
“แล้วลุงรู้เลขหวยนั่นได้อย่างไร” คราวนี้ปิ๊กถามบ้าง
ชายสูงอายุไม่พูดตอบทันที เขาจ้องมองชายนักศึกษา แววตาของคนหนุ่มผู้นี้แสดงความมุ่งมั่นที่อยากจะรู้คำตอบเสียจริง ๆ
“ดูท่า ไม่ตอบเธอคงไม่ได้สินะ”
ปิ๊กจ้องหน้ารอคอยคำตอบ แต่ก็ไม่ได้ตอบคำถามของลุง
“มันก็มาจากการคำนวณนั่นแหละ เธอเรียนสายคณิตศาสตร์ใช่ไหม คงรู้จัก Golden Section สินะ”
“รู้จักครับ” ปิ๊กพยักหน้า “สัดส่วน 0.618 : 1 ที่พบในอัตราส่วนหลาย ๆ อย่างใช่ไหมครับ”
“ไม่เบานี่ แบบนี้ก็ไม่ต้องอธิบายอะไรลึกมาก Golden Section นั้นจะมีความสัมพันธ์กับเลข Fibonacci”
แต่ว่ามีอยู่คนหนึ่งที่งงและไม่เข้าใจ
“เดี๋ยวค่ะลุง หนูไม่ได้เรียนสาขาคณิตนะคะ ช่วยอธิบายเพิ่มเติมได้ไหม เลขอะไรนั้น หนูเองก็อยากรู้” แฮมแทรกขึ้นมา
“ได้ ๆ เลข Fibonacci มันเป็นตัวเลขที่สร้างขึ้นจากการเริ่มต้นจาก 0 กับ 1 และต่อเนื่องด้วยเลขใหม่ที่เป็นผลรวมของสองเลขแรก คือ 0+1 =1,1+1 =2, 1+2 = 3, 2+3 = 5 ทำให้เกิดการเรียงลำดับ 1 ,2 ,3 ,5 ,8 ,13 ,21 ,34 ,55 ,89 ,144 ,233 ไปเรื่อย ๆ โดยตัวเลขเหล่านี้ปรากฏในพืชและดอกไม้หลายชนิด อย่างพอเรานับกลีบดอก จำนวนกลีบดอกจะเป็นเลข Fibonacci ทั้งนั้น รวมทั้งใบไม้บนลำต้นพืชก็วางตำแหน่งเป็นวงหมุนรอบต้นเป็นตัวเลข Fibonacci เหมือนกัน”
“งั้นหวยเลขท้าย 21 ก็มาจากเลข Fibonacci เหรอคะ” แฮมถาม
“ผมว่าคงไม่ใช่แค่นี้ใช่ไหมครับ เพราะหวยบางงวดก็ออกเป็นเลขอื่นที่ไม่ใช่เลข Fibonacci นั้นได้อยู่”
“ถูกต้อง มันไม่ใช่แค่นี้หรอก Golden Section กับ เลข Fibonacci มันแค่ส่วนประกอบที่ใช้คำนวณ เพราะมันเป็นตัวเลขที่ปรากฏในหลาย ๆ อย่างในโลกหรือจะเรียกว่าเป็นแค่องค์ประกอบก็ได้ แต่ตัวเลขที่สามารถบอกได้ทุกอย่างนั้นมันต้องมาจากการคำนวณในสมการที่มาจาก
ทฤษฎีทุกสิ่งทุกอย่าง Theory of Everything หรือที่ย่อว่า T.O.E”
“ทฤษฎีทุกสิ่งทุกอย่าง Theory of Everything มันคืออะไรครับ ผมไม่เคยได้ยิน” ปิ๊กรีบถามทันที
“ทฤษฎีนี้เธอที่เรียนสายคณิตศาสตร์อาจจะยังไม่รู้หรอก มันเกี่ยวข้องกับฟิสิกส์ด้วย มันเป็นทฤษฎีที่ไอน์สไตน์ใช้เวลาหลังจากคิดทฤษฎีสมพันธภาพได้แล้วคิดมันอยู่ตลอด แต่ก็ไม่สำเร็จเสียที”
“เว่อร์เปล่าลุง มันจะขนาดนั้นเชียวเหรอ?” แฮมสงสัย
“เธอคงไม่รู้หรอกว่านักคณิตศาสตร์ นักฟิสิกส์พยายามหาเรื่องนี้กันอยู่ตลอด ถ้าใครหาทฤษฎีนี้ได้สำเร็จจะเรียกได้ว่าสามารถอ่านความคิดของพระเจ้าได้เลยทีเดียว”
“ท่าจะบ้าแล้วลุง” ดูเหมือนแฮมจะไม่เชื่อ
“พวกเธอรู้จักทฤษฎีสตริงหรือเปล่า” ลุงถาม
“เคยได้ยิน” ปิ๊กบอก “ใช่ ทฤษฎีสตริงของนัมบุหรือเปล่าครับ”
“อันเดียวกันนั่นแหละ ลุงจะพูดถึงทฤษฎีสตริงคร่าว ๆ ด้วยละกันจะได้พอรู้กันบ้าง ทฤษฎีสตริงเสนอว่า จักรวาลคือ การประกอบเข้ากันของเส้นสายที่สั่นเกาะเกี่ยวกัน วกวนหลายมิติหลายระนาบไม่มีสิ้นสุด ก่อเกิดเป็นกฎแห่งจักรวาล มันสามารถใช้อธิบายอนุภาคพื้นฐานและปฏิกิริยาระหว่างอนุภาคได้ แถมยังอธิบายเรื่องของที่ว่าง-เวลาด้วย”
“แล้วสตริงอะไรเนี่ย เกี่ยวข้องกับทฤษฎีทุกสิ่งทุกอย่างอย่างไรค่ะ และมันเกี่ยวข้องอะไรกับหวย หนูงงไปหมดแล้ว” หญิงสาวถาม
“ใจเย็น ๆ นะ” ลุงหันไปบอกหญิงสาวด้วยท่าทางเป็นมิตร “ทฤษฎีนี้เป็นส่วนหนึ่งของ T.O.E.”
“ลุงจะบอกว่าลุงคิดทฤษฎี T.O.E ได้แล้วหรือครับ?” ปิ๊กถามขึ้นทันที
“มันก็ไม่เชิง แต่ตอนนี้มันพอจะตอบหลาย ๆ อย่างในชีวิตได้แล้ว”
“แบบนี้ลุงก็สบายเลยสิคะ ใช้หาเลขหวยได้เลย” แฮมว่า
“คงไม่เอาหรอก แล้วตอนนี้ลุงจะทำแบบนั้นก็ไม่ได้ด้วย”
“ทำไมล่ะคะ มันไม่มีใครว่าอะไรเราหรอก”
“ลุงขอไม่ตอบหนูละกันนะ”
ปิ๊กจ้องมองลุง “ผมว่าลุงคงไม่ใช่ลุงจรจัดธรรมดาแน่ ๆ ..ใช่ไหมครับ”
ลุงพยักหน้ายิ้ม ๆ แต่ก็ไม่ตอบอะไร
“แล้วหนูจะมาขอเลขลุงอีกได้ไหมคะ” แฮมถามขึ้นเลย ดูท่าเธออยากจะได้เลขไปซื้อหวยอีก
“ถ้าไม่บ่อยก็พอได้ แต่อย่าเอาเลยน่าจะดีกว่า จะได้ปลอดภัย”
“หือ.. ยังไงค่ะ?” แฮมงง
“ก็ช่วงนี้มีเจ้าพ่อใบ้หวยตายบ่อย ๆ ไงแฮม ถ้าแฮมรู้เลขแล้วถูกทุกงวด อาจจะมีเจ้ามือหวยมาฆ่าแบบในข่าวก็ได้นะ” ปิ๊กบอก เขาได้รับรู้ข่าวพวกนี้จากหนังสือพิมพ์บ้างแล้ว
“เอาเป็นว่าหากพวกเธอสนใจเรื่องคณิตศาสตร์หรือฟิสิกส์ก็แวะมาหาลุงได้เสมอ แต่อย่าบอกใครนะเรื่องที่ลุงรู้เรื่องพวกนี้”
“ครับ พวกเราสองคนจะไม่พูดเรื่องลุงเด็ดขาด” ปิ๊กบอก
“ลุงเชื่อพวกเธอ ปิ๊กเธอจะเอาหนังสือ Disquisitiones Arithmeticae ไปอ่านก็ได้นะ ลุงให้”
“ลุงให้ผมหรือครับ ขอบคุณมากเลย” หนุ่มร่างเล็กท่าจะดีใจ
“ตั้งใจอ่านละกัน” ลุงบอก จากนั้นก็ทำหน้าเข้มเล็กน้อยพูดขึ้นต่อ “ตัวเลขมันปนเปอยู่ในโลกของเราอยู่แล้ว ยิ่งเรารู้คำตอบของตัวเลขทั้งหลายในโลก เราก็จะสามารถบอกความเป็นไปของโลกได้ อย่างเช่น ในสวนนี้ มีต้นไม้ 30 ต้น ม้านั่ง 8 ตัว ประตู 2 บาน เสาไฟ 4 ต้น ตัวเลขพวกนี้เราก็สามารถเอามาคำนวณหาคำตอบในสิ่งอื่น ๆ ได้ ว่าง ๆ ก็ลองคิดดูล่ะ”
“ครับ งั้นพวกผมไม่รบกวนลุงล่ะ แล้วว่าง ๆ ผมจะมาหาใหม่นะครับ” เด็กหนุ่มว่า
“เดี๋ยวก่อนสิปิ๊ก เราลืมไปอย่างหนึ่งนะ” แฮมสอดขึ้นมา
“อะไรล่ะแฮม”
“เรายังไม่รู้ชื่อลุงเลย” แฮมตอบ แล้วหันหน้าไปทางชายสูงอายุ “ลุงรู้ชื่อพวกหนูแล้ว หนูยังไม่รู้ชื่อลุงเลย ลุงชื่อว่าอะไรหรือคะ”
ลุงมองทั้งสองค่อย ๆ คลี่ยิ้ม “เรียกลุงว่า ลุงอุ้ย ละกันนะ”
“ค่ะ (ครับ) ลุงอุ้ย”
(มีต่อครับ)
Lotto พลิกปริศนาเลขลึกลับ - ตอนที่ 2 : ลุง
ลิ้งตอนที่ผ่านมา
บทนำ + ตอนที่ 1 : เลขสองตัว
https://ppantip.com/topic/37469933
======================================================================================
ตอนที่ 2 ลุง
“21”
ปิ๊กกับแฮมพูดขึ้นพร้อมกัน เพราะเลขยี่สิบเอ็ดหรือสองหนึ่งนี้เป็นเลขท้ายสองตัวของล็อตเตอรี่ที่แฮมซื้อมาและเป็นเลขที่ถูกรางวัลในงวดนี้
“ลุงนั่นบอกถูกจริง ๆ” แฮมพูดต่อ ตอนนี้เธอทั้งดีใจและประหลาดใจอย่างมาก
“อืม..” ปิ๊กพยักหน้าพลางครุ่นคิด แม้โอกาสที่จะถูกเลขท้ายสองตัวมันมีอยู่ แต่หากให้นับค่าความน่าจะเป็นไปในการถูกเลขท้ายสองตัวในแต่ละงวดคือ 1 ใน 100 หรือ 0.01 ซึ่งโอกาสที่จะถูกได้ก็ยังมีเปอร์เซ็นต์น้อยนิดอยู่ดี
“อย่าไปคิดมากเลยปิ๊ก” แฮมหันไปบอกเพื่อนร่างเล็ก “ตอนนี้เราโชคดีแล้ว ต่อให้มันฟลุ๊คมันก็ถือว่ามีโอกาสถูกหวยน่า”
“เข้าใจ” ปิ๊กบอก เขามองหน้าเพื่อนสาวหน้าเด็ก “แต่ฉันก็สงสัยนะ เพราะลุงแกก็บอกว่าจะให้เลขสองตัว แถมระบุด้วยว่าเป็นสองตัวล่าง แล้วเลขมันก็ออกตรงตามที่แกบอกอย่างไม่ผิดสักหลัก แบบนี้มองแล้วไม่ฟลุ๊คก็ต้องมีอะไรนอกเหนือจากนั้นแน่”
“เกินไปมั้งปิ๊ก คนบางคนมันมีเซ้นส์นะ ลุงแกอาจจะมีเซ้นส์ทางด้านนี้ก็ได้”
“ฉันไม่เชื่อ” ปิ๊กตอบ “เพราะถ้าลุงแกมีเซ้นส์ขนาดให้เลขหวยได้เนี่ย ทำไมแกไม่เล่นเองล่ะ ทำไมถึงยังอยู่แบบซอมซ่อแบบนั้น”
“เอ่อ... นั่นสิ” แฮมก็เหมือนจะหาคำตอบนี้ไม่ได้ “แล้วจะทำไงล่ะ”
“ก็มีแต่ไปถามลุงแกนั่นแหละ เพราะแกบอกว่าอยากได้เลขอีกก็มาหาได้” ปิ๊กตอบหน้าตาย
ยังไงถ้าพวกเธออยากได้เลขอีกก็มาเจอลุงได้ที่ใต้สะพานก่อนถึงสี่แยกนะ
ปิ๊กขบคิดถึงประโยคที่ลุงหนวดเครายาวพูดทิ้งท้าย แน่นอนว่าตอนนี้ปิ๊กกับแฮมมุ่งหน้าไปยังใต้สะพานที่ลุงนั่นบอกไว้
ล็อตเตอรี่ใบเลขท้ายสองตัวที่ถูกก็ยังไม่ได้เอาไปขึ้นเงิน
“นายไม่ต้องรีบขนาดนั้นหรอก” แฮมว่า เพราะตอนนี้ปิ๊กเดินค่อนข้างเร็วทีเดียว ทำให้เธอต้องรีบเดินตาม
“ฉันอยากรู้ว่าลุงนั่นรู้เลขหวยได้อย่างไร” ปิ๊กหันมาตอบ แล้วมุ่งหน้าเดินต่อโดยไม่สนแฮมที่ร่วมเดินตามอยู่
ยังดีที่ที่หมายของพวกเขาอยู่ไม่ไกล แฮมไม่ต้องลากเดินตามปิ๊กมากนัก
ที่ใต้สะพาน ปิ๊กและแฮมพบเห็นเพิงที่พักที่คาดว่าทำเองอยู่หลายหลัง ปิ๊กตรงเข้าไปยังหลังหนึ่งที่อยู่ใกล้ที่สุดโดยไม่รีรอ
แน่นอนว่าแฮมก็ต้องรีบตามมา
“มีใครอยู่ไหมครับ” ปิ๊กพูดที่ปากทางเข้าเพิ่งนั่น ตัวเขาเองก็รู้อยู่แล้วว่ามีคนอยู่ เพราะเพิงนี้ไม่ได้สร้างอย่างแข็งแรงนัก มีช่องที่มองเห็นข้างใน และเขาก็เห็นผู้อยู่ข้างในนั้น
แต่ว่าคนที่อยู่ข้างในไม่ใช่ลุงเครายาวที่ให้เลขเขามา เป็นชายวัยกลางคนเนื้อตัวมอมแมม
“มีอะไรไอ้หนู” ชายคนนั้นพูดกับปิ๊ก
“ผมมาหาคนน่ะครับ พี่รู้จักลุงที่เครายาว ๆ ไหม”
“เอ่อ..” ชายวัยกลางคนคิด “ไม่รู้สิ แถวนี้ก็มีคนเครายาวเยอะ ไปหาเอาข้างหน้าเถอะ”
ชายซ่อมซ่อไม่รอคำตอบจากปิ๊ก กลับเข้าเพิงตัวเองนอนต่อ
“ลุงแกจะอยู่ที่นี่จริง ๆ ไหมเนี่ย” แฮมพูดขึ้นมาบ้าง
“ไงก็ต้องลองหาดู” ปิ๊กบอก เขาเดินไปถามยังเพิงอื่นต่อ
แต่ว่าผู้ที่อยู่ในแต่ละเพิงไม่มีใครตอบอะไร คล้ายพวกเขาอยู่อย่างไม่สนใจใคร และไม่อยากให้ใครมาสนใจ
ทว่ามีอยู่เพิงหนึ่งที่ปิ๊กมองเข้าไปข้างในแล้วไม่เห็นผู้คน
แต่กลับเห็นสิ่งหนึ่งที่แปลกเกินไปที่จะมาอยู่ในเพิ่งซ่อมซ่อใต้สะพานอย่างนี้
เป็นหนังสือ
และมันไม่ใช่หนังสือธรรมดา เพราะเป็นหนังสือคณิตศาสตร์ฉบับภาษาอังกฤษที่ชื่อว่า
Disquisitiones Arithmeticae
หนังสือเกี่ยวกับทฤษฎีจำนวนของคาร์ล ฟรีดริช เกาส์ ผู้ได้รับฉายาว่า เจ้าชายแห่งคณิตศาสตร์
พอปิ๊กเห็นหนังสือนี้เขารีบหยิบมาดูทันที
ภายในเล่มนี้นำเสนอเกี่ยวกับเลขคณิตมอดุลาร์ (modular arithmetic) ที่เป็นระบบจำนวนภายใต้การหารแบบเหลือเศษ และบทพิสูจน์แรกของทฤษฎี ส่วนกลับกำลังสอง (quadratic reciprocity) ซึ่งย่อมเป็นที่สนใจสำหรับนักศึกษาสาขาคณิตศาสตร์อย่างปิ๊กอยู่แล้ว
แฮมมองดูเพื่อนหนุ่มที่เปลี่ยนไปสนใจหนังสือเล่มนั้นชั่วขณะ แล้วค่อยพูดขึ้นว่า
“หนังสือคณิตศาสตร์มาอยู่ในที่แบบนี้ด้วย ใครทิ้งกันนะ”
ปิ๊กเปิดอ่านไปสักพัก หันมาบอกแฮมว่า “ไม่ใช่ ไม่ใช่ใครทิ้งหรอก เพราะในเล่มนี้มีร่องรอยการอ่าน มีคั่นพร้อมทั้งโน้ตประกอบเป็นภาษาไทยด้วย แสดงว่าต้องเป็นหนังสือที่ใช้อ่านจริง ๆ”
“นายหมายความว่าคนอ่านคือ คนที่อยู่ในเพิงเก่า ๆ นี่หรือ?”
“ตอบไม่ได้หรอก แต่ถ้าไม่ใช่คนที่เกี่ยวข้องกับ Math ไม่มีทางมายุ่งกับหนังสืออย่างนี้แน่ ๆ เล่มนี้ไม่ใช่อ่านง่าย ๆ หรอกนะ”
“แล้วนายจะเอาไง ตกลงนายจะมาหาลุงใบ้หวย หรือว่าจะหาคนที่เกี่ยวข้องกับหนังสือเล่มนี้กันแน่” แฮมพูดขึ้นต่อ
“ก็ทั้งสองอย่างนั่นแหละ” ปิ๊กตอบ ตอนนี้เขาเริ่มอ่านหนังสือของเจ้าชายแห่งคณิตศาสตร์แล้ว
“เฮ้อ.. ถ้าทั้งสองอย่างเป็นคนเดียวกันก็ดี แต่มันก็ยากแหละ ใบ้หวยกับคณิตศาสตร์มันคงไม่เกี่ยวข้องกันอยู่แล้ว”
“พวกเธอมายุ่งอะไรในบ้านฉันเนี่ย!” มีเสียงหนึ่งพูดกับนักศึกษาทั้งสอง คนผู้นี้เดินมาพบเห็นทั้งสองคนวุ่นวายอยู่ที่เพิงของเขา
เมื่อทั้งสองหันหน้าไปก็พูดขึ้นพร้อมกัน เพราะว่าทั้งคู่รู้จักคน ๆ นี้
“ลุง!”
“อ้าว... พวกเธอเองหรือ” ลุงยิ้มให้กับพวกเขา น้ำเสียงเปลี่ยนเป็นมิตรมากขึ้น “มาหาลุงใช่ไหม คงถูกหวยล่ะสิ”
แฮมไม่ได้ตอบคำถามนี้ กลับถามว่า “นี่บ้านลุงหรือคะ”
“ใช่ มีอะไรหรือ”
“อ้อ... ไม่มีอะไรค่ะ” หญิงสาวท่าทางงง ๆ “เป็นคนเดียวกันจริง ๆ ด้วย”
“ลุงให้เลขถูกจริง ๆ ด้วย” แฮมพูดบอกกับชายสูงอายุ ตอนทั้งสองรวมทั้งปิ๊กไม่ได้อยู่ที่ใต้สะพานแล้ว พวกเขาย้ายมานั่งอยู่ที่สวนหย่อมที่อยู่ไม่ห่างกันนัก
ลุงยิ้ม “ก็ถือว่าโชคดีแหละ ซื้อล็อตเตอรี่มาแล้วใช่ไหม”
“ค่ะ เดี๋ยวว่าง ๆ หนูจะเอาไปขึ้นเงินค่ะ” แฮมบอก แถมมีทำท่าครุ่นคิดคล้ายกำลังคิดว่าเงินที่ได้จากการเสี่ยงโชคนี้จะเอาทำไรดี ซึ่งดูแล้วเธอน่าจะเอาไปกินเนื้อที่สุด
จะกินเนื้อไปถึงไหนกัน เป็นสัตว์กินเนื้อหรือเปล่าเนี่ย...
“แล้วลุงรู้เลขหวยนั่นได้อย่างไร” คราวนี้ปิ๊กถามบ้าง
ชายสูงอายุไม่พูดตอบทันที เขาจ้องมองชายนักศึกษา แววตาของคนหนุ่มผู้นี้แสดงความมุ่งมั่นที่อยากจะรู้คำตอบเสียจริง ๆ
“ดูท่า ไม่ตอบเธอคงไม่ได้สินะ”
ปิ๊กจ้องหน้ารอคอยคำตอบ แต่ก็ไม่ได้ตอบคำถามของลุง
“มันก็มาจากการคำนวณนั่นแหละ เธอเรียนสายคณิตศาสตร์ใช่ไหม คงรู้จัก Golden Section สินะ”
“รู้จักครับ” ปิ๊กพยักหน้า “สัดส่วน 0.618 : 1 ที่พบในอัตราส่วนหลาย ๆ อย่างใช่ไหมครับ”
“ไม่เบานี่ แบบนี้ก็ไม่ต้องอธิบายอะไรลึกมาก Golden Section นั้นจะมีความสัมพันธ์กับเลข Fibonacci”
แต่ว่ามีอยู่คนหนึ่งที่งงและไม่เข้าใจ
“เดี๋ยวค่ะลุง หนูไม่ได้เรียนสาขาคณิตนะคะ ช่วยอธิบายเพิ่มเติมได้ไหม เลขอะไรนั้น หนูเองก็อยากรู้” แฮมแทรกขึ้นมา
“ได้ ๆ เลข Fibonacci มันเป็นตัวเลขที่สร้างขึ้นจากการเริ่มต้นจาก 0 กับ 1 และต่อเนื่องด้วยเลขใหม่ที่เป็นผลรวมของสองเลขแรก คือ 0+1 =1,1+1 =2, 1+2 = 3, 2+3 = 5 ทำให้เกิดการเรียงลำดับ 1 ,2 ,3 ,5 ,8 ,13 ,21 ,34 ,55 ,89 ,144 ,233 ไปเรื่อย ๆ โดยตัวเลขเหล่านี้ปรากฏในพืชและดอกไม้หลายชนิด อย่างพอเรานับกลีบดอก จำนวนกลีบดอกจะเป็นเลข Fibonacci ทั้งนั้น รวมทั้งใบไม้บนลำต้นพืชก็วางตำแหน่งเป็นวงหมุนรอบต้นเป็นตัวเลข Fibonacci เหมือนกัน”
“งั้นหวยเลขท้าย 21 ก็มาจากเลข Fibonacci เหรอคะ” แฮมถาม
“ผมว่าคงไม่ใช่แค่นี้ใช่ไหมครับ เพราะหวยบางงวดก็ออกเป็นเลขอื่นที่ไม่ใช่เลข Fibonacci นั้นได้อยู่”
“ถูกต้อง มันไม่ใช่แค่นี้หรอก Golden Section กับ เลข Fibonacci มันแค่ส่วนประกอบที่ใช้คำนวณ เพราะมันเป็นตัวเลขที่ปรากฏในหลาย ๆ อย่างในโลกหรือจะเรียกว่าเป็นแค่องค์ประกอบก็ได้ แต่ตัวเลขที่สามารถบอกได้ทุกอย่างนั้นมันต้องมาจากการคำนวณในสมการที่มาจาก ทฤษฎีทุกสิ่งทุกอย่าง Theory of Everything หรือที่ย่อว่า T.O.E”
“ทฤษฎีทุกสิ่งทุกอย่าง Theory of Everything มันคืออะไรครับ ผมไม่เคยได้ยิน” ปิ๊กรีบถามทันที
“ทฤษฎีนี้เธอที่เรียนสายคณิตศาสตร์อาจจะยังไม่รู้หรอก มันเกี่ยวข้องกับฟิสิกส์ด้วย มันเป็นทฤษฎีที่ไอน์สไตน์ใช้เวลาหลังจากคิดทฤษฎีสมพันธภาพได้แล้วคิดมันอยู่ตลอด แต่ก็ไม่สำเร็จเสียที”
“เว่อร์เปล่าลุง มันจะขนาดนั้นเชียวเหรอ?” แฮมสงสัย
“เธอคงไม่รู้หรอกว่านักคณิตศาสตร์ นักฟิสิกส์พยายามหาเรื่องนี้กันอยู่ตลอด ถ้าใครหาทฤษฎีนี้ได้สำเร็จจะเรียกได้ว่าสามารถอ่านความคิดของพระเจ้าได้เลยทีเดียว”
“ท่าจะบ้าแล้วลุง” ดูเหมือนแฮมจะไม่เชื่อ
“พวกเธอรู้จักทฤษฎีสตริงหรือเปล่า” ลุงถาม
“เคยได้ยิน” ปิ๊กบอก “ใช่ ทฤษฎีสตริงของนัมบุหรือเปล่าครับ”
“อันเดียวกันนั่นแหละ ลุงจะพูดถึงทฤษฎีสตริงคร่าว ๆ ด้วยละกันจะได้พอรู้กันบ้าง ทฤษฎีสตริงเสนอว่า จักรวาลคือ การประกอบเข้ากันของเส้นสายที่สั่นเกาะเกี่ยวกัน วกวนหลายมิติหลายระนาบไม่มีสิ้นสุด ก่อเกิดเป็นกฎแห่งจักรวาล มันสามารถใช้อธิบายอนุภาคพื้นฐานและปฏิกิริยาระหว่างอนุภาคได้ แถมยังอธิบายเรื่องของที่ว่าง-เวลาด้วย”
“แล้วสตริงอะไรเนี่ย เกี่ยวข้องกับทฤษฎีทุกสิ่งทุกอย่างอย่างไรค่ะ และมันเกี่ยวข้องอะไรกับหวย หนูงงไปหมดแล้ว” หญิงสาวถาม
“ใจเย็น ๆ นะ” ลุงหันไปบอกหญิงสาวด้วยท่าทางเป็นมิตร “ทฤษฎีนี้เป็นส่วนหนึ่งของ T.O.E.”
“ลุงจะบอกว่าลุงคิดทฤษฎี T.O.E ได้แล้วหรือครับ?” ปิ๊กถามขึ้นทันที
“มันก็ไม่เชิง แต่ตอนนี้มันพอจะตอบหลาย ๆ อย่างในชีวิตได้แล้ว”
“แบบนี้ลุงก็สบายเลยสิคะ ใช้หาเลขหวยได้เลย” แฮมว่า
“คงไม่เอาหรอก แล้วตอนนี้ลุงจะทำแบบนั้นก็ไม่ได้ด้วย”
“ทำไมล่ะคะ มันไม่มีใครว่าอะไรเราหรอก”
“ลุงขอไม่ตอบหนูละกันนะ”
ปิ๊กจ้องมองลุง “ผมว่าลุงคงไม่ใช่ลุงจรจัดธรรมดาแน่ ๆ ..ใช่ไหมครับ”
ลุงพยักหน้ายิ้ม ๆ แต่ก็ไม่ตอบอะไร
“แล้วหนูจะมาขอเลขลุงอีกได้ไหมคะ” แฮมถามขึ้นเลย ดูท่าเธออยากจะได้เลขไปซื้อหวยอีก
“ถ้าไม่บ่อยก็พอได้ แต่อย่าเอาเลยน่าจะดีกว่า จะได้ปลอดภัย”
“หือ.. ยังไงค่ะ?” แฮมงง
“ก็ช่วงนี้มีเจ้าพ่อใบ้หวยตายบ่อย ๆ ไงแฮม ถ้าแฮมรู้เลขแล้วถูกทุกงวด อาจจะมีเจ้ามือหวยมาฆ่าแบบในข่าวก็ได้นะ” ปิ๊กบอก เขาได้รับรู้ข่าวพวกนี้จากหนังสือพิมพ์บ้างแล้ว
“เอาเป็นว่าหากพวกเธอสนใจเรื่องคณิตศาสตร์หรือฟิสิกส์ก็แวะมาหาลุงได้เสมอ แต่อย่าบอกใครนะเรื่องที่ลุงรู้เรื่องพวกนี้”
“ครับ พวกเราสองคนจะไม่พูดเรื่องลุงเด็ดขาด” ปิ๊กบอก
“ลุงเชื่อพวกเธอ ปิ๊กเธอจะเอาหนังสือ Disquisitiones Arithmeticae ไปอ่านก็ได้นะ ลุงให้”
“ลุงให้ผมหรือครับ ขอบคุณมากเลย” หนุ่มร่างเล็กท่าจะดีใจ
“ตั้งใจอ่านละกัน” ลุงบอก จากนั้นก็ทำหน้าเข้มเล็กน้อยพูดขึ้นต่อ “ตัวเลขมันปนเปอยู่ในโลกของเราอยู่แล้ว ยิ่งเรารู้คำตอบของตัวเลขทั้งหลายในโลก เราก็จะสามารถบอกความเป็นไปของโลกได้ อย่างเช่น ในสวนนี้ มีต้นไม้ 30 ต้น ม้านั่ง 8 ตัว ประตู 2 บาน เสาไฟ 4 ต้น ตัวเลขพวกนี้เราก็สามารถเอามาคำนวณหาคำตอบในสิ่งอื่น ๆ ได้ ว่าง ๆ ก็ลองคิดดูล่ะ”
“ครับ งั้นพวกผมไม่รบกวนลุงล่ะ แล้วว่าง ๆ ผมจะมาหาใหม่นะครับ” เด็กหนุ่มว่า
“เดี๋ยวก่อนสิปิ๊ก เราลืมไปอย่างหนึ่งนะ” แฮมสอดขึ้นมา
“อะไรล่ะแฮม”
“เรายังไม่รู้ชื่อลุงเลย” แฮมตอบ แล้วหันหน้าไปทางชายสูงอายุ “ลุงรู้ชื่อพวกหนูแล้ว หนูยังไม่รู้ชื่อลุงเลย ลุงชื่อว่าอะไรหรือคะ”
ลุงมองทั้งสองค่อย ๆ คลี่ยิ้ม “เรียกลุงว่า ลุงอุ้ย ละกันนะ”
“ค่ะ (ครับ) ลุงอุ้ย”
(มีต่อครับ)