ยนย่านบ้านบุตั้ง ตีขัน
ขุกคิดเคยชมจรร แจ่มฟ้า
ยามยากหากปันกัน กินซีก ฉลีกแฮ
มีคู่ชูชื่นหน้า นุชปลื้มลืมเดิมฯ
นิราศสุพรรณ สุนทรภู่ ราว พ.ศ. 2384
ขันลงหิน งานศิลปะเครื่องใช้มากกว่า 200 ปี ตั้งแต่สมัยอยุธยาที่กำลังจะสูญไป...
หากกล่าวถึงขันลงหิน หลายท่านก็อาจไม่คุ้นเคย ตกลงมันคือ ขันที่ทำจากหิน หรืออะไรกันแน่ ลองมาอ่านตามกันไปสนุกๆครับ
ก่อนจะไปชมกระทู้กัน น้ำอุทัยทิพย์เย็นๆในขันลงหินให้ชื่นใจสักอึกมั้ยครับ
ขันลงหินนี้ตั้งต้นมาจากส่วนผสมของโลหะ 3 อย่าง คือ ทองแดง สำริด และดีบุก นำมาผ่านกระบวนการ กรรมวิธีต่างๆ
เพื่อเป็นภาชนะเครื่องใช้กัน เช่น จาน โถ ถ้วย ช้อน ส้อม และถาด เป็นต้น
ซึ่งอันที่จริงก็ต้องนับว่าเป็นภาชนะอันมีสกุลหรูหราราคาสูงทีเดียว ใช้เพื่อกาลมงคลต่างๆ เช่นตักบาตร ถวายเพล ใส่น้ำมนต์
และกาลปกติ ใช้เป็นของสูง เช่น ล้างหน้า ดื่ม แต่จะไม่นำมาตักน้ำล้างเท้า อันนี้นจะใช้กะลา
ด้วยกระบวนการ กรรมวิธีต่างๆ ความละเมียดของชิ้นงาน ทำให้จำนวนการผลิตไม่สามารถทำในเชิงอุตสาหกรรมใหญ่ได้
เนื่องจากเป็นงานที่ทำด้วยมือเกือบทุกขั้นตอน ทั้งนี้ได้เคยทดลองใช้เครื่องจักรในการผลิตแล้ว แต่ได้ผลไม่เป็นที่น่าพอใจ
จึงยังคงต้องใช้งานทำมือแบบประณีตต่อไป ขนาดทำด้วยมือ ยังมีเสียหายเลยครับ
ปัจจุบันเหลืออยู่เพียงแห่งเดียวที่ยังคงทำขันลงหินด้วยวิธีการดั้งเดิม คือ โรงงานขันลงหิน”เจียมแสงสัจจา”
มาถึงทายาทคนสุดท้ายที่จะดำเนินการผลิต และทีมช่างรุ่นสุดท้าย ซึ่งอายุแต่ละคนก็มากกว่า 60 ปีกันแล้วทั้งนั้น
โดยเป็นคนชุมชนบ้านบุ ชุมชนเก่าแก่ตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อย วัดทอง(สุวรรณารามราชวรวิหาร)
ไหนๆมาแล้วก็เดินส่องชุมชนริมน้ำสบายๆกันครับ
ซึ่งผมเองก็เป็นศิษย์บ้านมีดี อ.ป่อง น่วมมานา ได้เมตตาให้หมูทองแดงที่กระเบนเหน็บ โดยมีเพียงครูเดียวในการสักยันต์
วันนี้อาจารย์ไม่อยู่เลยไม่ได้แวะเข้าไปกราบ
แล้วก็มาถึงโรงงานขันลงหิน เจียม แสงสัจจา แล้วครับ
วันที่ผมไปเป็นวันอาทิตย์นะครับ โรงงานหยุด เลยไม่มีการทำขันให้ดู
ซึ่งขันลงหินที่ได้จากขั้นตอนการผลิตด้วยมือแบบดั้งเดิมชาวบ้านบุ มีคุณสมบัติของเนื้อภาชนะที่แกร่ง เนื้อผ่องใส ไม่ขุ่นมัวง่าย
น้ำหนักค่อนข้างมาก ผิวสัมผัสเนียน สามารถเก็บอุณหภูมิเย็นได้เป็นอย่างดี
เมื่อเคาะดูจะมีเสียงก้องกังวานใสขันลงหินกับทองเหลือง มองเผินๆอาจจะดูคล้าย แต่ไม่ใช่ครับ
ขั้นตอนการผลิตขันลงหิน สามารถแบ่งตามทักษะการช่างเป็น 7 ขั้นตอนการช่าง ดังนี้
1. ช่างตี เป็นการเริ่มต้นและสำคัญที่สุด เริ่มต้นจากการการหลอม การแผ่ และการตีขึ้นรูป
ขั้นตอนการแผ่และตีขึ้นรูปทางโรงงานเคยทดลองใช้เครื่องจักรในการผลิต แต่ไม่ได้ผลความละเอียดของชิ้นงานที่น่าพอใจ
ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ใช้แรงงานและทักษะสูงสุด
เริ่มจากหลอมทองแดง สำริด และดีบุก ตามสัดส่วน
หลอมแล้วเทใส่เบ้า จะได้เป็นแผ่นก่อน
แล้วตีบุกับแบบ
2. ช่างลาย ยิ่งเป็นขั้นตอนความละเอียด เพราะต้องคอยตีขันให้มีลักษณะผิวเสมอกัน
ไม่มีรอยบุบเนื่องจากไม่ใช่แบบรถยนต์ จึงไม่สามารถเคาะแล้วโป้วได้ ต้องเคาะจนเนียนได้รูปจริงๆ
3. ช่างกลึง กลึงเพื่อให้มีความเรียบเสมอกันและเป็นการขัดสีดำที่ติดอยู่บนขันให้ออกกลายเป็นสีทอง
ซึ่งการกลึงมีหลายรูปแบบแล้วแต่ความต้องการ เช่น ดำนอก ทองใน ช่างก็จะทำการกลึงเฉพาะด้านในของขัน
ซึ่งเรียกว่า การกลึงดำ หรือกลึงขาว คือการกลึงทั้งสองด้านในและนอกให้มีสีทอง
ซึ่งปัจจุบันใช้มอเตอร์ไฟฟ้าที่ติดกับภมรกลึงขันที่เป็นทรงคล้ายผีเสื้อ ในสมัยก่อนยังไม่มีมอเตอร์ไฟฟ้า
คนโบราณก็จะใช้ภมรแบบคันชักโยก โดยต้องใช้คนสองคนในการกลึง
คนหนึ่งเป็นคนโยกคันโยกให้ภมรหมุนโดยเชือกผูกปลายภมรไว้สองข้างดึงชัก สวนอีกคนเป็นคนกลึงขัน
โดยในการกลึงจะใช้เหล็กตะไบ ขูดเอาเนื้อสีดำออก
4. ช่างกรอ หรือ ช่างตะไบ เนื่องจากสมัยก่อนยังไม่มีเครื่องมือช่างแบบใช้ไฟฟ้าจึงต้องใช้มือช่างตะไปเอง
เป็นอีกง่ายที่ต้องอาศัยทักษะในการทำ ซึ่งการกรอ คือ การตกแต่งให้ปากของขันมีความเรียบเสมอกันนั่นเอง
แต่แม้ว่าปัจจุบันมีเครื่องมือช่างแบบใช้ไฟฟ้าปลายทางเก็บงานก็ยังคงใช้มือตะไบในส่วนที่ละเอียด
5. ช่างเจียร ในสมัยก่อนการทำขันลงหินยังไม่มีขั้นตอนนี้ในการทำ แต่เพื่อเพิ่มความละเอียดประณีตสวยงาม เงางาม
และตกแต่งลดรอยตำหนิบนผิวของขัน ด้วยเครื่องไม้เครื่องมือในปัจจุบันสามารถช่วยงานได้ จึงมีการเพิ่มขั้นตอนนี้เข้าไป
6. ช่างขัด เป็นขั้นตอนรองสุดท้ายในการทำขันลงหิน ในการขัดช่างจะทำการขัดขันโดยใช้หินเนื้อละเอียดขัดขันให้ขึ้นเงา
เพื่อให้เกิดความเงางามมากที่สุด เป็นขั้นตอนประณีตไม่ใช้แรงมาก แต่ใช้เวลามาก
ประมาณ 4 วัน กว่าจะได้ตามมาตรฐานที่โรงงานตั้งไว้ เมื่อขัดเสร็จแล้ว ขันที่ได้จะมีความสวยงาม
มีพื้นผิวที่เรียบเสมอกัน แต่หากว่าไม่ประสงค์จะแกะลาย ขั้นตอนนี้ก็จะถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายได้เลย
เพราะทุกอย่างพร้อมใช้งานเพียงยังไม่มีลวดลาดเท่านั้นเอง
7 ช่างแกะลาย ใช้วิธีสลักลายลงไปบนเนื้อขันลงหินด้านนอก โดยลายที่นิยมใช้ เช่น ลายกนกระย้า กนกกลีบบัว น้ำมะลิวัลย์
ในส่วนของลายแกะเทพพนมจะแกะลายเฉพาะใบใหญ่ขนาดพิเศษ ตั้งแต่ 9 นิ้วขึ้นไป เป็นต้น
โดยปัจจุบันโรงงานขันลงหิน”เจียมแสงสัจจา” มาถึงทายาทคนสุดท้ายที่จะดำเนินการผลิต และทีมช่างรุ่นสุดท้าย
ยังหาคนมาทดแทนสืบทอดไม่ได้ ต้องรอดูกันต่อไปว่าศาสตร์และศิลป์ขันลงหินที่ยังคงการผลิตด้วยวิธีการประณีตดั้งเดิม
จะยืนอยู่ต่อไปได้สักมากน้อยเพียงใด....สวัสดีครับ
ขันลงหิน ศิลปะไทยยาวนานกว่า 200 ปีที่กำลังจะสูญไป
ขุกคิดเคยชมจรร แจ่มฟ้า
ยามยากหากปันกัน กินซีก ฉลีกแฮ
มีคู่ชูชื่นหน้า นุชปลื้มลืมเดิมฯ
นิราศสุพรรณ สุนทรภู่ ราว พ.ศ. 2384
ขันลงหิน งานศิลปะเครื่องใช้มากกว่า 200 ปี ตั้งแต่สมัยอยุธยาที่กำลังจะสูญไป...
หากกล่าวถึงขันลงหิน หลายท่านก็อาจไม่คุ้นเคย ตกลงมันคือ ขันที่ทำจากหิน หรืออะไรกันแน่ ลองมาอ่านตามกันไปสนุกๆครับ
ก่อนจะไปชมกระทู้กัน น้ำอุทัยทิพย์เย็นๆในขันลงหินให้ชื่นใจสักอึกมั้ยครับ
ขันลงหินนี้ตั้งต้นมาจากส่วนผสมของโลหะ 3 อย่าง คือ ทองแดง สำริด และดีบุก นำมาผ่านกระบวนการ กรรมวิธีต่างๆ
เพื่อเป็นภาชนะเครื่องใช้กัน เช่น จาน โถ ถ้วย ช้อน ส้อม และถาด เป็นต้น
ซึ่งอันที่จริงก็ต้องนับว่าเป็นภาชนะอันมีสกุลหรูหราราคาสูงทีเดียว ใช้เพื่อกาลมงคลต่างๆ เช่นตักบาตร ถวายเพล ใส่น้ำมนต์
และกาลปกติ ใช้เป็นของสูง เช่น ล้างหน้า ดื่ม แต่จะไม่นำมาตักน้ำล้างเท้า อันนี้นจะใช้กะลา
ด้วยกระบวนการ กรรมวิธีต่างๆ ความละเมียดของชิ้นงาน ทำให้จำนวนการผลิตไม่สามารถทำในเชิงอุตสาหกรรมใหญ่ได้
เนื่องจากเป็นงานที่ทำด้วยมือเกือบทุกขั้นตอน ทั้งนี้ได้เคยทดลองใช้เครื่องจักรในการผลิตแล้ว แต่ได้ผลไม่เป็นที่น่าพอใจ
จึงยังคงต้องใช้งานทำมือแบบประณีตต่อไป ขนาดทำด้วยมือ ยังมีเสียหายเลยครับ
ปัจจุบันเหลืออยู่เพียงแห่งเดียวที่ยังคงทำขันลงหินด้วยวิธีการดั้งเดิม คือ โรงงานขันลงหิน”เจียมแสงสัจจา”
มาถึงทายาทคนสุดท้ายที่จะดำเนินการผลิต และทีมช่างรุ่นสุดท้าย ซึ่งอายุแต่ละคนก็มากกว่า 60 ปีกันแล้วทั้งนั้น
โดยเป็นคนชุมชนบ้านบุ ชุมชนเก่าแก่ตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อย วัดทอง(สุวรรณารามราชวรวิหาร)
ไหนๆมาแล้วก็เดินส่องชุมชนริมน้ำสบายๆกันครับ
ซึ่งผมเองก็เป็นศิษย์บ้านมีดี อ.ป่อง น่วมมานา ได้เมตตาให้หมูทองแดงที่กระเบนเหน็บ โดยมีเพียงครูเดียวในการสักยันต์
วันนี้อาจารย์ไม่อยู่เลยไม่ได้แวะเข้าไปกราบ
แล้วก็มาถึงโรงงานขันลงหิน เจียม แสงสัจจา แล้วครับ
วันที่ผมไปเป็นวันอาทิตย์นะครับ โรงงานหยุด เลยไม่มีการทำขันให้ดู
ซึ่งขันลงหินที่ได้จากขั้นตอนการผลิตด้วยมือแบบดั้งเดิมชาวบ้านบุ มีคุณสมบัติของเนื้อภาชนะที่แกร่ง เนื้อผ่องใส ไม่ขุ่นมัวง่าย
น้ำหนักค่อนข้างมาก ผิวสัมผัสเนียน สามารถเก็บอุณหภูมิเย็นได้เป็นอย่างดี
เมื่อเคาะดูจะมีเสียงก้องกังวานใสขันลงหินกับทองเหลือง มองเผินๆอาจจะดูคล้าย แต่ไม่ใช่ครับ
ขั้นตอนการผลิตขันลงหิน สามารถแบ่งตามทักษะการช่างเป็น 7 ขั้นตอนการช่าง ดังนี้
1. ช่างตี เป็นการเริ่มต้นและสำคัญที่สุด เริ่มต้นจากการการหลอม การแผ่ และการตีขึ้นรูป
ขั้นตอนการแผ่และตีขึ้นรูปทางโรงงานเคยทดลองใช้เครื่องจักรในการผลิต แต่ไม่ได้ผลความละเอียดของชิ้นงานที่น่าพอใจ
ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ใช้แรงงานและทักษะสูงสุด
เริ่มจากหลอมทองแดง สำริด และดีบุก ตามสัดส่วน
หลอมแล้วเทใส่เบ้า จะได้เป็นแผ่นก่อน
แล้วตีบุกับแบบ
2. ช่างลาย ยิ่งเป็นขั้นตอนความละเอียด เพราะต้องคอยตีขันให้มีลักษณะผิวเสมอกัน
ไม่มีรอยบุบเนื่องจากไม่ใช่แบบรถยนต์ จึงไม่สามารถเคาะแล้วโป้วได้ ต้องเคาะจนเนียนได้รูปจริงๆ
3. ช่างกลึง กลึงเพื่อให้มีความเรียบเสมอกันและเป็นการขัดสีดำที่ติดอยู่บนขันให้ออกกลายเป็นสีทอง
ซึ่งการกลึงมีหลายรูปแบบแล้วแต่ความต้องการ เช่น ดำนอก ทองใน ช่างก็จะทำการกลึงเฉพาะด้านในของขัน
ซึ่งเรียกว่า การกลึงดำ หรือกลึงขาว คือการกลึงทั้งสองด้านในและนอกให้มีสีทอง
ซึ่งปัจจุบันใช้มอเตอร์ไฟฟ้าที่ติดกับภมรกลึงขันที่เป็นทรงคล้ายผีเสื้อ ในสมัยก่อนยังไม่มีมอเตอร์ไฟฟ้า
คนโบราณก็จะใช้ภมรแบบคันชักโยก โดยต้องใช้คนสองคนในการกลึง
คนหนึ่งเป็นคนโยกคันโยกให้ภมรหมุนโดยเชือกผูกปลายภมรไว้สองข้างดึงชัก สวนอีกคนเป็นคนกลึงขัน
โดยในการกลึงจะใช้เหล็กตะไบ ขูดเอาเนื้อสีดำออก
4. ช่างกรอ หรือ ช่างตะไบ เนื่องจากสมัยก่อนยังไม่มีเครื่องมือช่างแบบใช้ไฟฟ้าจึงต้องใช้มือช่างตะไปเอง
เป็นอีกง่ายที่ต้องอาศัยทักษะในการทำ ซึ่งการกรอ คือ การตกแต่งให้ปากของขันมีความเรียบเสมอกันนั่นเอง
แต่แม้ว่าปัจจุบันมีเครื่องมือช่างแบบใช้ไฟฟ้าปลายทางเก็บงานก็ยังคงใช้มือตะไบในส่วนที่ละเอียด
5. ช่างเจียร ในสมัยก่อนการทำขันลงหินยังไม่มีขั้นตอนนี้ในการทำ แต่เพื่อเพิ่มความละเอียดประณีตสวยงาม เงางาม
และตกแต่งลดรอยตำหนิบนผิวของขัน ด้วยเครื่องไม้เครื่องมือในปัจจุบันสามารถช่วยงานได้ จึงมีการเพิ่มขั้นตอนนี้เข้าไป
6. ช่างขัด เป็นขั้นตอนรองสุดท้ายในการทำขันลงหิน ในการขัดช่างจะทำการขัดขันโดยใช้หินเนื้อละเอียดขัดขันให้ขึ้นเงา
เพื่อให้เกิดความเงางามมากที่สุด เป็นขั้นตอนประณีตไม่ใช้แรงมาก แต่ใช้เวลามาก
ประมาณ 4 วัน กว่าจะได้ตามมาตรฐานที่โรงงานตั้งไว้ เมื่อขัดเสร็จแล้ว ขันที่ได้จะมีความสวยงาม
มีพื้นผิวที่เรียบเสมอกัน แต่หากว่าไม่ประสงค์จะแกะลาย ขั้นตอนนี้ก็จะถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายได้เลย
เพราะทุกอย่างพร้อมใช้งานเพียงยังไม่มีลวดลาดเท่านั้นเอง
7 ช่างแกะลาย ใช้วิธีสลักลายลงไปบนเนื้อขันลงหินด้านนอก โดยลายที่นิยมใช้ เช่น ลายกนกระย้า กนกกลีบบัว น้ำมะลิวัลย์
ในส่วนของลายแกะเทพพนมจะแกะลายเฉพาะใบใหญ่ขนาดพิเศษ ตั้งแต่ 9 นิ้วขึ้นไป เป็นต้น
โดยปัจจุบันโรงงานขันลงหิน”เจียมแสงสัจจา” มาถึงทายาทคนสุดท้ายที่จะดำเนินการผลิต และทีมช่างรุ่นสุดท้าย
ยังหาคนมาทดแทนสืบทอดไม่ได้ ต้องรอดูกันต่อไปว่าศาสตร์และศิลป์ขันลงหินที่ยังคงการผลิตด้วยวิธีการประณีตดั้งเดิม
จะยืนอยู่ต่อไปได้สักมากน้อยเพียงใด....สวัสดีครับ