สงสัยหลักภาษาไทยครับ (เสียงสั้น-ยาว)

กระทู้คำถาม
เนื่องจากจขกท.กำลังจะเขียนลายมือใหม่​ (อันเก่าหวัดมาก สวยดี แต่ไม่อ่านไม่ออก555)
เลยหาอักษรไทยสวยๆ ไปเรื่อยๆ เขียนไปเขียนมา อ่านไปอ่านมา มาสะดุดเรื่อง คำเป็นคำตาย
และ ฯลฯ ในวิกิพีเดีย กอปรกับสมัยก่อน เคยสงสัยคำนึงมาตั้งนานแล้ว

1. นั่นคือคำที่ใช้สระอา
และมีไม้เอก แต่ออกเสียงสั้น เช่น "ท่าน"​ (อ่านว่า ทั่น) แต่กฎนี้ใช้ไม่ได้ เพราะคำว่า
"น่าน" ไม่ได้ออกเสียงว่า "นั่น" เลยเกิดข้อสงสัยมากมาย อีกทั้งคำว่า บัณฑิต ไม่ออกเสียงว่า บัน-ทิด
แต่กลับออกว่า บัน-ดิด
2. อีกเรื่องคือ ทำไมคำว่า สมมติ จึงไม่มีสระอุ (แล้วทำไมไม่ออกเสียงสระอิ ถ้าออก ก็ไม่ผิดใช่ไหมครับ
เหมือนคำว่า ขัดสมาธิ หรือ สมาธิ)

จริงๆมีสงสัยอีกมากมายครับ แต่หลายแหล่งก็หลายข้อมูล บางทีไม่ครบอีก ภาษาไทย เป็นภาษาพิศวงเสียจริง
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
ภาษาเป็นเรื่องของ ความเคยชินและการยอมรับของคนส่วนใหญ่

ส่วนกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ถูกกำหนดขึ้นเพื่ออธิบายปรากฏการณ์นั้น ซึ่งมีข้อยกเว้นมากมาย ถ้าเอากฎมาอธิบายข้อยกเว้นจะไม่รอด
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่