ไปเจอข่าวนี้มาเห็นว่าน่าสน เลยเอามากระจายกัน ขอก็อปเนื้อหามาหมดเลยละกัน
การลงบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนา “อากาศยานไร้คนขับ” หรือ “โดรน” (UAV: Unmanned Aerial Vehicle) ระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วท.) กับ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ถือเป็นการเริ่มต้นในการพัฒนาประเทศอย่างบูรณาการทั้งในเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง
Drone หรือ อากาศยานไร้คนขับเป็นนวัตกรรมอัจฉริยะที่ไม่ได้มีเพียงแค่ใช้ถ่ายภาพมุมสูงให้มีความสวยงาม แต่ยังสามารถต่อฐานเติมยอดในการนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในมิติต่างๆ โดยเฉพาะทางการทหาร ยกตัวอย่างเช่น สำรวจพื้นที่หรือปฏิบัติการแทนนักบินในพื้นที่เสี่ยงอันตราย
พล.ต.ศักดิ์สิทธิ์ เชื้อสมบูรณ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหาร กองทัพบก เผยว่า “ที่ผ่านมาเรามีการวิจัยมีการทดสอบเกี่ยวกับอากาศยานไร้คนขับมาโดยตลอด และได้มีการรับรองมาตรฐานของกองทัพบก อากาศยานไร้นักบิน ถือเป็นยุทโธปกรณ์ชนิดหนึ่ง ที่มีส่วนช่วยในเรื่องความมั่นคง ซึ่งเราจะใช้ในเรื่องของการเฝ้าตรวจ การลาดตระเวน สนามรบ การบินเพื่อปรับในเรื่องของปืนใหญ่ การตรวจสอบความเสียหายหรือแม้กระทั่ง ในเรื่องของภัยพิบัติต่างๆ เราก็สามารถใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล อีกส่วนที่สำคัญมากคือการนำไปใช้ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในเรื่องการลาดตระเวน และตรวจเส้นทาง ดังนั้นเราจึงได้มีการประสานมายัง วช.เพื่อร่วมมือกันในการทำงานวิจัย เพื่อที่จะต่อยอดให้มีประสิทธิภาพและนำไปสู่การใช้งานอย่างเป็นรูปธรรม”
สอดรับกับมุมคิดของ พล.ร.ต.ก่อเกียรติ ปั้นดี ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยและพัฒนา การทางทหารกองทัพเรือ เราได้พัฒนาอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก เรียกว่าโครงการ นารายณ์ ซึ่งเป็นอากาศยานที่เป็นปีกหมุนขนาดเล็ก ต่อมาร่วมกับสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ หรือ สปท. มีการพัฒนาอากาศยานลูกผสมระหว่าง ปีกหมุนกับปีกนิ่ง ขึ้นมา โดยเราเรียกโครงการนี้ว่า FUVEC เครื่องอากาศยานไร้นักบินปีกนิ่ง ขึ้น-ลงทางดิ่งที่ใช้ปฏิบัติการทางทะเล สามารถขึ้นลงในเรือได้ รวมทั้งร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือในการพัฒนาอากาศยานไร้คนขับ กับ วช. ภายใต้ชื่อโครงการ “MARCUS” เพื่อให้กองทัพเรือมีประสิทธิภาพและทันสมัย
ด้านพล.อ.ต.สฤษดิ์พร สุนทรกิจ ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัย ศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การบินและอวกาศ กองทัพอากาศ เผยว่า ทางกองทัพอากาศได้เริ่มวิจัยและพัฒนาเรื่องอากาศยานไร้คนขับมานานถึง 15 ปี ซึ่งนอกจากตัวอากาศยานแล้ว เรายังตั้งใจจะพัฒนาตัวเซ็นเซอร์ แอพพลิเคชันซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาสนับสนุนประเทศ ตอนนี้เรากำลังทำซอฟต์แวร์ เรื่องการสำรวจภูมิประเทศเพื่อแปลงภูมิประเทศเป็นภูมิประเทศดิจิตอล จากนั้นจะใช้ข้อมูลดิจิตอลในการวิเคราะห์ในการไหวของนํ้าและปริมาณนํ้า ซึ่งจะช่วยในการบริหารจัดการนํ้าของประเทศในภาพรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในเรื่องของความมั่นคงเรามีเซ็นเซอร์ตัวหนึ่งที่สามารถมองทะลุต้นไม้ลงไปได้ เพราะฉะนั้นในภารกิจของการรักษาความมั่นคง หรือการปราบปรามยาเสพติด ป้องกันการลักลอบขนสินค้าหนีภาษี ก็จะดำเนินการได้ง่ายขึ้น เพราะเราสามารถจะสแกนไปใต้ต้นไม้ ว่ามีผู้ที่ทำผิดกฎหมาย ผู้ไม่หวังดี อยู่ตรงนั้นหรือไม่ ในเรื่องของการช่วยเหลือเกษตรกรนั้นทางกองทัพอากาศก็ได้ใช้เทคนิคที่เรียกว่า มัลติสเปกตัม เซ็นเซอร์ โดยตัวเซ็นเซอร์จะประกอบด้วยตัวตรวจจับความถี่ เพราะฉะนั้นสามารถช่วยกระทรวงเกษตรฯในการแยกแยะพืชผลทางการเกษตร ว่ามีปริมาณการผลิตเท่าไร อยู่ในช่วงไหนของการผลิต ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาเรื่องผลผลิตที่ไม่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคอย่างถูกจุด”
ทั้งหมดถือเป็นการบูรณาการด้านการวิจัยและพัฒนาร่วมกันในการผลักดันการพัฒนา “อากาศยานไร้คนขับ”ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนา รวมถึงแลกเปลี่ยนความรู้ ทรัพยากร บุคลากร ให้สามารถนำไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างได้ผล ทันยุคทันสมัย และตอบโจทย์การบริหารจัดการประเทศได้อย่างสมบูรณ์
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,347 วันที่ 11 - 14 มีนาคม พ.ศ. 2561
ลิงค์ข่าว
http://www.thansettakij.com/content/266561
วช.จับมือ 3 เหล่าทัพ พัฒนาอากาศยานไร้คนขับ
การลงบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนา “อากาศยานไร้คนขับ” หรือ “โดรน” (UAV: Unmanned Aerial Vehicle) ระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วท.) กับ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ถือเป็นการเริ่มต้นในการพัฒนาประเทศอย่างบูรณาการทั้งในเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง
Drone หรือ อากาศยานไร้คนขับเป็นนวัตกรรมอัจฉริยะที่ไม่ได้มีเพียงแค่ใช้ถ่ายภาพมุมสูงให้มีความสวยงาม แต่ยังสามารถต่อฐานเติมยอดในการนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในมิติต่างๆ โดยเฉพาะทางการทหาร ยกตัวอย่างเช่น สำรวจพื้นที่หรือปฏิบัติการแทนนักบินในพื้นที่เสี่ยงอันตราย
พล.ต.ศักดิ์สิทธิ์ เชื้อสมบูรณ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหาร กองทัพบก เผยว่า “ที่ผ่านมาเรามีการวิจัยมีการทดสอบเกี่ยวกับอากาศยานไร้คนขับมาโดยตลอด และได้มีการรับรองมาตรฐานของกองทัพบก อากาศยานไร้นักบิน ถือเป็นยุทโธปกรณ์ชนิดหนึ่ง ที่มีส่วนช่วยในเรื่องความมั่นคง ซึ่งเราจะใช้ในเรื่องของการเฝ้าตรวจ การลาดตระเวน สนามรบ การบินเพื่อปรับในเรื่องของปืนใหญ่ การตรวจสอบความเสียหายหรือแม้กระทั่ง ในเรื่องของภัยพิบัติต่างๆ เราก็สามารถใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล อีกส่วนที่สำคัญมากคือการนำไปใช้ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในเรื่องการลาดตระเวน และตรวจเส้นทาง ดังนั้นเราจึงได้มีการประสานมายัง วช.เพื่อร่วมมือกันในการทำงานวิจัย เพื่อที่จะต่อยอดให้มีประสิทธิภาพและนำไปสู่การใช้งานอย่างเป็นรูปธรรม”
สอดรับกับมุมคิดของ พล.ร.ต.ก่อเกียรติ ปั้นดี ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยและพัฒนา การทางทหารกองทัพเรือ เราได้พัฒนาอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก เรียกว่าโครงการ นารายณ์ ซึ่งเป็นอากาศยานที่เป็นปีกหมุนขนาดเล็ก ต่อมาร่วมกับสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ หรือ สปท. มีการพัฒนาอากาศยานลูกผสมระหว่าง ปีกหมุนกับปีกนิ่ง ขึ้นมา โดยเราเรียกโครงการนี้ว่า FUVEC เครื่องอากาศยานไร้นักบินปีกนิ่ง ขึ้น-ลงทางดิ่งที่ใช้ปฏิบัติการทางทะเล สามารถขึ้นลงในเรือได้ รวมทั้งร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือในการพัฒนาอากาศยานไร้คนขับ กับ วช. ภายใต้ชื่อโครงการ “MARCUS” เพื่อให้กองทัพเรือมีประสิทธิภาพและทันสมัย
ด้านพล.อ.ต.สฤษดิ์พร สุนทรกิจ ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัย ศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การบินและอวกาศ กองทัพอากาศ เผยว่า ทางกองทัพอากาศได้เริ่มวิจัยและพัฒนาเรื่องอากาศยานไร้คนขับมานานถึง 15 ปี ซึ่งนอกจากตัวอากาศยานแล้ว เรายังตั้งใจจะพัฒนาตัวเซ็นเซอร์ แอพพลิเคชันซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาสนับสนุนประเทศ ตอนนี้เรากำลังทำซอฟต์แวร์ เรื่องการสำรวจภูมิประเทศเพื่อแปลงภูมิประเทศเป็นภูมิประเทศดิจิตอล จากนั้นจะใช้ข้อมูลดิจิตอลในการวิเคราะห์ในการไหวของนํ้าและปริมาณนํ้า ซึ่งจะช่วยในการบริหารจัดการนํ้าของประเทศในภาพรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในเรื่องของความมั่นคงเรามีเซ็นเซอร์ตัวหนึ่งที่สามารถมองทะลุต้นไม้ลงไปได้ เพราะฉะนั้นในภารกิจของการรักษาความมั่นคง หรือการปราบปรามยาเสพติด ป้องกันการลักลอบขนสินค้าหนีภาษี ก็จะดำเนินการได้ง่ายขึ้น เพราะเราสามารถจะสแกนไปใต้ต้นไม้ ว่ามีผู้ที่ทำผิดกฎหมาย ผู้ไม่หวังดี อยู่ตรงนั้นหรือไม่ ในเรื่องของการช่วยเหลือเกษตรกรนั้นทางกองทัพอากาศก็ได้ใช้เทคนิคที่เรียกว่า มัลติสเปกตัม เซ็นเซอร์ โดยตัวเซ็นเซอร์จะประกอบด้วยตัวตรวจจับความถี่ เพราะฉะนั้นสามารถช่วยกระทรวงเกษตรฯในการแยกแยะพืชผลทางการเกษตร ว่ามีปริมาณการผลิตเท่าไร อยู่ในช่วงไหนของการผลิต ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาเรื่องผลผลิตที่ไม่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคอย่างถูกจุด”
ทั้งหมดถือเป็นการบูรณาการด้านการวิจัยและพัฒนาร่วมกันในการผลักดันการพัฒนา “อากาศยานไร้คนขับ”ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนา รวมถึงแลกเปลี่ยนความรู้ ทรัพยากร บุคลากร ให้สามารถนำไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างได้ผล ทันยุคทันสมัย และตอบโจทย์การบริหารจัดการประเทศได้อย่างสมบูรณ์
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,347 วันที่ 11 - 14 มีนาคม พ.ศ. 2561
ลิงค์ข่าว http://www.thansettakij.com/content/266561