จากละครที่ต้องติดตามในตอนนี้สำหรับคนไทย คงหนีไม่พ้นเรื่องบุพเพสันนิวาส ซึ่งก็มีตัวละครใหม่ๆ ออกมาเรื่อยๆ ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดมีตัวตนบันทึกอยู่จริงในประวัติศาสตร์ ในขณะนี้คงเป็นที่ทราบแล้วสำหรับแฟนละคร นิยาย หรือคนชอบประวัติศาสตร์ มีขุนนางสำคัญในอยุธยาที่ออกมาตอนล่าสุด
คือ หลวงศรียศ(แก้ว) ซึ่งอยู่ในช่วงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ต่อมาหลวงศรียศ คือพระยาจุฬาราชมนตรี ที่สังกัดกรมท่าขวา มีหน้าที่ดูแลฝ่ายแขก(ชาติมุสลิม)ที่เข้ามาติดต่อค้าขายในอยุธยา อีกทั้งยังเป็นที่ปรึกษาแก่พระมหากษัตริย์ และกิจการศาสนาอิสลามในอยุธยา
เนื่องจากอยุธยามีชาวมุสลิมหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่กันมาก ทั้งเดิมและเข้ามาอาศัย ซึ่งคนสมัยก่อนเรียกมุสลิมทั้งหมดว่าแขก โดยไม่แยกชาติพันธุ์ ภาษา หรือวัฒนธรรม หากแต่คนนั้นนับถือศาสนาอิสลาม หรือศาสนามะหะหมัดตามคำที่คนสมัยก่อนเรียก ก็จะโดนเหมาเรียกเป็นพวกแขกหมด รวมทั้งชาวซิกส์และฮินดูที่ไม่ได้นับถืออิสลามด้วย โดยกลุ่มใหญ่ในอยุธยาในขณะนั้นคงไม่ใช่กลุ่มใครที่ไหนนอกจากแขกมลายู ซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ที่อยู่แต่เดิม ซึ่งแขกมลายูกลุ่มนี้ก็มาจากหลายพื้นที่ของคาบสมุทรมลายู เช่นแขกมักกะสัน แขกชวา(อินโด) แขกตานี(ปัตตานี) แขกท่าไทร(เมืองไทรบุรี) แขกปาหังฯลฯ และอีกส่วนคือมลายูเป็นเชลยถูกกวาดต้อนมาภายหลัง เช่น แขกแพ(ลูกหลานสุลต่านสุลัยมาน) นอกจากมลายูแล้ว ก็มีทั้งส่วนที่เป็นพ่อค้าเข้ามาเดินทางค้าขายไปมา และเข้ามาตั้งหลักหลักปักฐานด้วย เช่นแขกเปอร์เชีย หรุ่มโต้ระกี่(เติร์ก,ตุรกี) อินเดีย( แขกมะหงุ่น) อาหรับและอัฟริกา(แขกอาหรับ,แขกมัวร์) แขกจาม(จำปา) แขกหุย(จีน) แขกปะถ่าน(ปาทาน) เป็นต้น ดังนั้นกรมท่าขวาจึงมีส่วนสำคัญในการดูแลส่วนนี้
สำหรับหลวงศรียศ หรือพระยาจุฬาราชมนตรี (แก้ว) กรมท่าขวาผู้นี้ เป็นลูกของพระยาศรีเสาวลักษณ์(อากอ มูฮัมหมัด) มีศักดิ์เป็นหลานตาของเจ้าพระยาบวรราชนายก หรือเฉกอะหมัด อัลกุมมี่ ต้นตระกูลบุนนาค จุฬาราชมนตรีที่มีการบันทึกชื่อท่านแรกในสมัยนั้น เดิมเฉกอะหมัด เป็นคนเปอร์เชีย(อิหร่าน) เป็นมุสลิมชีอะห์สาย12อิหม่าม ท่านได้พำนักอยู่ในอินเดีย(มะหงุ่ล,โมกุล) ก่อนที่จะมารับราชการในราชสำนักอยุธยาในเวลาต่อมา
เนื่องจากปีที่เฉกอะหมัดเข้ามายังอยุธยาตรงกับแผ่นดินสมเด็จพระเอกาทศรถ และได้เข้ารับราชการเมื่อถึงแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เฉกอะหมัดจึงเป็นจุฬาราชมนตรีคนแรกที่สามารถสืบค้นตัวตนได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าเฉกอะหมัดเป็นปฐมจุฬาราชมนตรี เพราะก่อนหน้านั้น ราชทินนามจุฬาราชมนตรี หรือบ้างสะกดว่า จุลาราชมนตรี กรมท่าขวาหัวหน้าฝ่ายแขก มีปรากฏอยู่แล้วในกฏหมายที่ตราขึ้นนับแต่แผ่นดิน สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แต่ไม่ปรากฏว่าเป็นใครเท่านั้นเอง
ถึงแม้ตำแหน่งของจุฬาราชมนตรีจากอดีต-ปัจจุบันจะเปลี่ยนแปลงหน้าที่ไปตามเวลาและตามสถานการณ์ แต่ตำแหน่งนี้ก็ยังมีส่วนสำคัญกับประเทศชาติและบ้านเมืองอยู่เสมอมา ปัจจุบันจุฬาราชมนตรีที่มีการบันทึกชื่อตั้งแต่สมัยอยุธยา-รัตนโกสินทร์ทั้งสิ้น18ท่าน 2-15ท่านเป็นลูกหลานเฉกอะหมัด ซึ่งเป็นสายชีอะห์ทั้งหมด ส่วนท่านที่16-18 หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองปี2475 มีการเลือกตั้ง จึงมีมุสลิมสายซุนนี เข้ามาเป็นจุฬาราชมนตรีตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา เนื่องจากเป็นชนส่วนใหญ่ในประเทศ
“จุฬาราชมนตรี”ตำแหน่งขุนนางเก่าแก่ ที่มีมานาน
คือ หลวงศรียศ(แก้ว) ซึ่งอยู่ในช่วงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ต่อมาหลวงศรียศ คือพระยาจุฬาราชมนตรี ที่สังกัดกรมท่าขวา มีหน้าที่ดูแลฝ่ายแขก(ชาติมุสลิม)ที่เข้ามาติดต่อค้าขายในอยุธยา อีกทั้งยังเป็นที่ปรึกษาแก่พระมหากษัตริย์ และกิจการศาสนาอิสลามในอยุธยา
เนื่องจากอยุธยามีชาวมุสลิมหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่กันมาก ทั้งเดิมและเข้ามาอาศัย ซึ่งคนสมัยก่อนเรียกมุสลิมทั้งหมดว่าแขก โดยไม่แยกชาติพันธุ์ ภาษา หรือวัฒนธรรม หากแต่คนนั้นนับถือศาสนาอิสลาม หรือศาสนามะหะหมัดตามคำที่คนสมัยก่อนเรียก ก็จะโดนเหมาเรียกเป็นพวกแขกหมด รวมทั้งชาวซิกส์และฮินดูที่ไม่ได้นับถืออิสลามด้วย โดยกลุ่มใหญ่ในอยุธยาในขณะนั้นคงไม่ใช่กลุ่มใครที่ไหนนอกจากแขกมลายู ซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ที่อยู่แต่เดิม ซึ่งแขกมลายูกลุ่มนี้ก็มาจากหลายพื้นที่ของคาบสมุทรมลายู เช่นแขกมักกะสัน แขกชวา(อินโด) แขกตานี(ปัตตานี) แขกท่าไทร(เมืองไทรบุรี) แขกปาหังฯลฯ และอีกส่วนคือมลายูเป็นเชลยถูกกวาดต้อนมาภายหลัง เช่น แขกแพ(ลูกหลานสุลต่านสุลัยมาน) นอกจากมลายูแล้ว ก็มีทั้งส่วนที่เป็นพ่อค้าเข้ามาเดินทางค้าขายไปมา และเข้ามาตั้งหลักหลักปักฐานด้วย เช่นแขกเปอร์เชีย หรุ่มโต้ระกี่(เติร์ก,ตุรกี) อินเดีย( แขกมะหงุ่น) อาหรับและอัฟริกา(แขกอาหรับ,แขกมัวร์) แขกจาม(จำปา) แขกหุย(จีน) แขกปะถ่าน(ปาทาน) เป็นต้น ดังนั้นกรมท่าขวาจึงมีส่วนสำคัญในการดูแลส่วนนี้
สำหรับหลวงศรียศ หรือพระยาจุฬาราชมนตรี (แก้ว) กรมท่าขวาผู้นี้ เป็นลูกของพระยาศรีเสาวลักษณ์(อากอ มูฮัมหมัด) มีศักดิ์เป็นหลานตาของเจ้าพระยาบวรราชนายก หรือเฉกอะหมัด อัลกุมมี่ ต้นตระกูลบุนนาค จุฬาราชมนตรีที่มีการบันทึกชื่อท่านแรกในสมัยนั้น เดิมเฉกอะหมัด เป็นคนเปอร์เชีย(อิหร่าน) เป็นมุสลิมชีอะห์สาย12อิหม่าม ท่านได้พำนักอยู่ในอินเดีย(มะหงุ่ล,โมกุล) ก่อนที่จะมารับราชการในราชสำนักอยุธยาในเวลาต่อมา
เนื่องจากปีที่เฉกอะหมัดเข้ามายังอยุธยาตรงกับแผ่นดินสมเด็จพระเอกาทศรถ และได้เข้ารับราชการเมื่อถึงแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เฉกอะหมัดจึงเป็นจุฬาราชมนตรีคนแรกที่สามารถสืบค้นตัวตนได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าเฉกอะหมัดเป็นปฐมจุฬาราชมนตรี เพราะก่อนหน้านั้น ราชทินนามจุฬาราชมนตรี หรือบ้างสะกดว่า จุลาราชมนตรี กรมท่าขวาหัวหน้าฝ่ายแขก มีปรากฏอยู่แล้วในกฏหมายที่ตราขึ้นนับแต่แผ่นดิน สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แต่ไม่ปรากฏว่าเป็นใครเท่านั้นเอง
ถึงแม้ตำแหน่งของจุฬาราชมนตรีจากอดีต-ปัจจุบันจะเปลี่ยนแปลงหน้าที่ไปตามเวลาและตามสถานการณ์ แต่ตำแหน่งนี้ก็ยังมีส่วนสำคัญกับประเทศชาติและบ้านเมืองอยู่เสมอมา ปัจจุบันจุฬาราชมนตรีที่มีการบันทึกชื่อตั้งแต่สมัยอยุธยา-รัตนโกสินทร์ทั้งสิ้น18ท่าน 2-15ท่านเป็นลูกหลานเฉกอะหมัด ซึ่งเป็นสายชีอะห์ทั้งหมด ส่วนท่านที่16-18 หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองปี2475 มีการเลือกตั้ง จึงมีมุสลิมสายซุนนี เข้ามาเป็นจุฬาราชมนตรีตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา เนื่องจากเป็นชนส่วนใหญ่ในประเทศ