หลังจากที่ทุกๆคนได้ทำการซื้อรถยนต์ ทุกๆคนคงทราบดีว่ารายการต่อไปที่ต้องคำนึงถึงในระยะต่อๆมาก็การถ่ายน้ำมันเครื่อง ไม่ว่าคุณจะถ่ายที่ศูนย์บริการประจำยี่ห้อหรือเข้าอู่บริการก็ตาม ทีนี้เราจะมาช่วยแก้ข้อสงสัยกันว่า แล้วน้ำมันเครื่องที่เอามาใส่รถเนี่ยเป็นยังไง และเห็นนมีหลากหลายยี่ห้อเต็มทั่วท้องตลาด เทียบให้เห็นภาพเครื่องยนต์นั้นเปรียบเสือนหัวใจและน้ำมันเครื่องนั้นเปรียบเสมือนเลือก ยิ่งเลือดดีเท่าไหร่ก็ยิ่งดีกับหัวใจเท่านั้น
น้ำมันเครื่องแบ่งออกมาได้ 3 ประเภทโดยแบ่งเป็น
น้ำมันเครื่องธรรมดาที่ผลิตจากน้ำมันแร่
น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ เป็นการผสมผสานระหว่างพื้นฐานสังเคราะห์กับน้ำมันแร่ ในอัตราส่วนแตกต่างกัน
น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นที่มีพื้นฐานสังเคราะห์
น้ำมันเครื่องนั้นจะคำนึงมาจากคุณสมบัติจากการทนความร้อนที่จะให้ความหล่อลื่นของเครื่องยนยต์ และความหนืดช่วยเรื่องการป้องกันการสึกหรอของชิ้นส่วนภายใน
การทนความร้อน
ทั้ง 3 ตัวนี้จะต่างกันที่ความทนทานต่ออุณหภูมิที่สูง โดยแบบธรรมดาจะทนได้น้อยที่สุดทำให้อายุการใช้งานสั้นมาก ขยับขึ้นมาเป็นแบบกึ่งสังเคราะห์ที่ทดได้มากยิ่งขึ้น และ น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ที่ทนได้มากที่สุดและราคาขยับขึ้นไปตามลำดับ นะครับ
ความหนืด
ความหนืดของน้ำมันเครื่องนั้นจะเป็นสิ่งที่ช่วยเหลือในการป้องกันการสึกหรอของอุปกรณ์ภายใน
โดยแบบที่ความหนืดต่ำจะไม่เป็นสามารถคงสภาพเป็นฟิล์มบางป้องกันการกระแทกระหว่างชิ้นส่วนต่างๆ
คำถามที่จะเกิดขึ้นต่อมาคือ แล้วน้ำมันเครื่องที่ดีควรเป็นน้ำมันเครื่องที่มีความหนืดมากๆใช่ไหมถึงจะป้องกันชิ้นส่วนต่างๆได้ดี
คำตอบคือไม่ใช่นะครับเนื่องจากหากมีความหนืดมากเกินไป ตัวปั๊มที่เป็นตัวดูดน้ำมันเครื่องไปหล่อเลี้ยงเครื่องยนต์ก็จะไม่สามารถดูดขึ้นไปใช้งานได้
อ่าวแล้วสรุปว่าควรเลือกยังไงดีหละ?
ให้สังเกตจากการอ่านค่าที่ระบุอยู่ตรงขวดครับ จะมีการเขียนว่า SAE 10W-30 เป็นต้น
โดย SAE คือ ค่าความหนืดที่วิจัยมาจากสมาคมวิศวกรรมยานยนต์แห่งสหรัฐอเมริกา เลยถูกใช้มาเป็นมาตรฐานระดับความหนืด และก็แบ่งออกมาได้อีกเป็น 2 ประเภทคือแบบเกรดเดี่ยวและเกรดรวม
แบบเกรดเดี่ยว จะเป็นน้ำมันเครื่องประเภทที่ไม่สามารถยืดหยุ่นต่อสภาวะอากาศได้เช่นหากคุณอยู่ในประเทศที่หนาวเย็นตลอดปี ให้ใช้ SAE รุ่น 0W, 5W, 10W, 20W, 25W เป็นต้น ตัว W ก็เป็นตัวย่อของเขตหนาวนั่นเอง
แต่ถ้าหากไม่มี W ก็จะเป็นสำหรับเขตร้อน อย่าง SAE 20, 30, 40, 50 และ 60 เป็นต้น
สรุปได้ว่าตัวเลขยิ่งมากยิ่งเหมาะแก่อุณหภูมิที่สูงครับ
แบบเกรดรวม จะเหมาะสมแก่ประเทศที่มีทั้งร้อนทั้งเย็นด้วยกัน พัฒนามาให้มีความหนืดสูงทนทานต่อสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อยได้ดีจะมีการระบุตรงขวดว่า SAE 10W-30, 15W-40, 20W-50 คล้ายๆกับเอาเกรดเดี่ยวทั้ง 2 สภาวะอากาศเข้ามารวมและพัฒนาขึ้นมา
เพิ่มเติมจากคุณสมบัติของน้ำมันเครื่องนะครับ ที่นี้เราจะมาพูดถึงคุณภาพกันบ้างที่เรียกกันว่ามาตรฐาน API
โดยเครื่องยนต์นั้นถูกแบ่งออกมาเป็น 2 ประเภทได้แก่เครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินและเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซล
เครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซิน เช่นที่ระบุว่า API SN เป็นต้น API มีความหมายว่ามาตรฐานส่วน S (Station Service) คือเครื่องยนต์เบนซิน ตามด้วยอักษรเรียงตามตัวอังษรภาษาอังกฤษ A-N เรียงระดับความสูงของคุณภาพ โดย A จะต่ำสุดไล่เรียงตามลำดับไปถึง N
เช่น API SA, API SB, API SC, API SE จนถึง API SN
เครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซล จะเปลี่ยนจากตัว S กลายเป็นตัว C ที่ย่อมาจาก Commercial Service เรียงตามระดับคุณภาพตามนี้
API CA, CB, CC, CD, CD-II, CE, CF-4, CF, CF-2, CG-4, CH-4, CI-4, CI-4 PLUS และ CJ-4 ที่คุณภาพสูงที่สุด
และทั้งหมดนี้คือข้อมูลพื้นฐานของน้ำมันเครื่อง ผมหวังว่าข้อมูลเหล่านี้สามารถช่วยหลายๆคนตัดสินใจในการเลือกน้ำมันเครื่องที่ดีสำหรับรถยนต์ตัวเองครับ
แนะนำน้ำมันเครื่อง
น้ำมันเครื่องแบ่งออกมาได้ 3 ประเภทโดยแบ่งเป็น
น้ำมันเครื่องธรรมดาที่ผลิตจากน้ำมันแร่
น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ เป็นการผสมผสานระหว่างพื้นฐานสังเคราะห์กับน้ำมันแร่ ในอัตราส่วนแตกต่างกัน
น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นที่มีพื้นฐานสังเคราะห์
น้ำมันเครื่องนั้นจะคำนึงมาจากคุณสมบัติจากการทนความร้อนที่จะให้ความหล่อลื่นของเครื่องยนยต์ และความหนืดช่วยเรื่องการป้องกันการสึกหรอของชิ้นส่วนภายใน
การทนความร้อน
ทั้ง 3 ตัวนี้จะต่างกันที่ความทนทานต่ออุณหภูมิที่สูง โดยแบบธรรมดาจะทนได้น้อยที่สุดทำให้อายุการใช้งานสั้นมาก ขยับขึ้นมาเป็นแบบกึ่งสังเคราะห์ที่ทดได้มากยิ่งขึ้น และ น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ที่ทนได้มากที่สุดและราคาขยับขึ้นไปตามลำดับ นะครับ
ความหนืด
ความหนืดของน้ำมันเครื่องนั้นจะเป็นสิ่งที่ช่วยเหลือในการป้องกันการสึกหรอของอุปกรณ์ภายใน
โดยแบบที่ความหนืดต่ำจะไม่เป็นสามารถคงสภาพเป็นฟิล์มบางป้องกันการกระแทกระหว่างชิ้นส่วนต่างๆ
คำถามที่จะเกิดขึ้นต่อมาคือ แล้วน้ำมันเครื่องที่ดีควรเป็นน้ำมันเครื่องที่มีความหนืดมากๆใช่ไหมถึงจะป้องกันชิ้นส่วนต่างๆได้ดี
คำตอบคือไม่ใช่นะครับเนื่องจากหากมีความหนืดมากเกินไป ตัวปั๊มที่เป็นตัวดูดน้ำมันเครื่องไปหล่อเลี้ยงเครื่องยนต์ก็จะไม่สามารถดูดขึ้นไปใช้งานได้
อ่าวแล้วสรุปว่าควรเลือกยังไงดีหละ?
ให้สังเกตจากการอ่านค่าที่ระบุอยู่ตรงขวดครับ จะมีการเขียนว่า SAE 10W-30 เป็นต้น
โดย SAE คือ ค่าความหนืดที่วิจัยมาจากสมาคมวิศวกรรมยานยนต์แห่งสหรัฐอเมริกา เลยถูกใช้มาเป็นมาตรฐานระดับความหนืด และก็แบ่งออกมาได้อีกเป็น 2 ประเภทคือแบบเกรดเดี่ยวและเกรดรวม
แบบเกรดเดี่ยว จะเป็นน้ำมันเครื่องประเภทที่ไม่สามารถยืดหยุ่นต่อสภาวะอากาศได้เช่นหากคุณอยู่ในประเทศที่หนาวเย็นตลอดปี ให้ใช้ SAE รุ่น 0W, 5W, 10W, 20W, 25W เป็นต้น ตัว W ก็เป็นตัวย่อของเขตหนาวนั่นเอง
แต่ถ้าหากไม่มี W ก็จะเป็นสำหรับเขตร้อน อย่าง SAE 20, 30, 40, 50 และ 60 เป็นต้น
สรุปได้ว่าตัวเลขยิ่งมากยิ่งเหมาะแก่อุณหภูมิที่สูงครับ
แบบเกรดรวม จะเหมาะสมแก่ประเทศที่มีทั้งร้อนทั้งเย็นด้วยกัน พัฒนามาให้มีความหนืดสูงทนทานต่อสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อยได้ดีจะมีการระบุตรงขวดว่า SAE 10W-30, 15W-40, 20W-50 คล้ายๆกับเอาเกรดเดี่ยวทั้ง 2 สภาวะอากาศเข้ามารวมและพัฒนาขึ้นมา
เพิ่มเติมจากคุณสมบัติของน้ำมันเครื่องนะครับ ที่นี้เราจะมาพูดถึงคุณภาพกันบ้างที่เรียกกันว่ามาตรฐาน API
โดยเครื่องยนต์นั้นถูกแบ่งออกมาเป็น 2 ประเภทได้แก่เครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินและเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซล
เครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซิน เช่นที่ระบุว่า API SN เป็นต้น API มีความหมายว่ามาตรฐานส่วน S (Station Service) คือเครื่องยนต์เบนซิน ตามด้วยอักษรเรียงตามตัวอังษรภาษาอังกฤษ A-N เรียงระดับความสูงของคุณภาพ โดย A จะต่ำสุดไล่เรียงตามลำดับไปถึง N
เช่น API SA, API SB, API SC, API SE จนถึง API SN
เครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซล จะเปลี่ยนจากตัว S กลายเป็นตัว C ที่ย่อมาจาก Commercial Service เรียงตามระดับคุณภาพตามนี้
API CA, CB, CC, CD, CD-II, CE, CF-4, CF, CF-2, CG-4, CH-4, CI-4, CI-4 PLUS และ CJ-4 ที่คุณภาพสูงที่สุด
และทั้งหมดนี้คือข้อมูลพื้นฐานของน้ำมันเครื่อง ผมหวังว่าข้อมูลเหล่านี้สามารถช่วยหลายๆคนตัดสินใจในการเลือกน้ำมันเครื่องที่ดีสำหรับรถยนต์ตัวเองครับ