คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
เรื่องพวกนี้ มันน่าคิด น่าพูดคุยกันค่ะ จขกท. เราก็เคยได้รับฟังเรื่องพวกนี้มาบ้าง
ที่มันน่าสนใจสำหรับเรา เพราะปัจจุบัน สื่อทางอินเตอร์เน็ตต่างๆ เป็นที่นิยมมากๆ
การสื่อสารกันก็เลยใช้การพิมพ์ การเขียน การอ่าน มากกว่าการพูด การฟัง เหมือนยุคก่อนๆ
เรามองแบบนี้นะคะ
- จากที่ได้ยินได้ฟังพวกนักวิชาการต่างๆ หรือวาระต่างๆในสังคม ที่เค้าถกเถียงกันเรื่องนี้ว่า
ภาษาก็มีการปรับเปลี่ยน ประยุกต์ ไปตามกาลเวลา ตามสภาพปัจจัยต่างๆ ของสังคมค่ะ
ในยุคไซเบอร์ (อินเตอร์เน็ต) ก็จะมีคำศัพท์ใหม่ๆ เกิดขึ้นเรื่อยๆ บ่อยๆ และแพร่หลายได้ง่าย
และมีความนิยมใช้กันอยู่นานมากบ้างน้อยบ้าง อันนี้ เราว่า มันเป็นปกติค่ะ
- ส่วนคำเดิมๆ ภาษาเดิมๆ การรณรงค์ ให้ใช้คำสะกดที่ถูกต้อง เราว่า ก็เป็นเรื่องดีค่ะ
คงแบ่งการใช้เป็น 2 แบบ คือ 1. เป็นทางการ 2. ไม่เป็นทางการ
ซึ่งภาษาที่ใช้เป็นทางการ ก็คงไม่ยากที่จะขีดกรอบได้บ้างว่า อะไรประมาณไหน ควรใช้ภาษาเป็นทางการ
ส่วนที่ไม่เป็นทางการ อันนั้น ก็ไปบังคับอะไรยากค่ะ เพราะเป็นการสื่อสารเฉพาะกลุ่ม
หรือการเลือกที่จะพิมพ์คำสะกดแบบลัดสั้น เพราะสะดวกในการพิมพ์ ก็เป็นเรื่องที่ผู้ใช้ภาษาต้องพิจารณากันเองว่า
คุณจะใช้ภาษาแบบนี้กับใคร ในวาระใดๆ ค่ะ
เราว่ามันคล้ายการแต่งตัว คือ มันมีมารยาทสังคม มีกรอบที่ชัดเจนอยู่ประมาณนึง
ซึ่งกรอบก็มีการขยับขยาย เปลี่ยนแปลงได้ค่ะ แต่ที่ต้องยอมรับ คือมันมีกรอบของสังคมอยู่
ซึ่งมันก็ไปเกี่ยวกับคำว่า "กาลเทศะ" ด้วยมั้งคะ อะไรเหมาะกับเวลาไหน วาระไหน บุคคลไหน ฯลฯ
- การใช้คำผิด พิมพ์ผิดๆ พิมพ์ย่อๆ สั้นๆ บ่อยๆ จนเคยชิน จนติดเป็นนิสัย
ทำให้การใช้ภาษาที่ถูกต้อง (ตามกรอบของสังคม) มันเลือนลางไปมั้ย?
เราว่า มันก็มีส่วนค่ะ กับบางคน แต่เรื่องพวกนี้ เราว่า "มารยาทสังคม" หรือ กรอบธรรมเนียมปฏิบัติของสังคม
มันสั่งสมกันมา ผ่านยุคสมัย และมันเปลี่ยนไปได้ ตราบใดที่มันยังเป็นค่านิยมที่คนส่วนใหญ่ยังยึดถืออยู่
คนที่จะเข้าสังคม ก็ต้องปรับตัวอยู่ในกรอบพอสมควรค่ะ ภาษาทางการ ก็ยังจำเป็นอยู่ และก็คงมีคนมารณรงค์ด้วยวิธีต่างๆ กัน
แต่ keyword สำหรับเรา น่าจะเป็นคำว่า "กาลเทศะ" ค่ะ
ที่มันน่าสนใจสำหรับเรา เพราะปัจจุบัน สื่อทางอินเตอร์เน็ตต่างๆ เป็นที่นิยมมากๆ
การสื่อสารกันก็เลยใช้การพิมพ์ การเขียน การอ่าน มากกว่าการพูด การฟัง เหมือนยุคก่อนๆ
เรามองแบบนี้นะคะ
- จากที่ได้ยินได้ฟังพวกนักวิชาการต่างๆ หรือวาระต่างๆในสังคม ที่เค้าถกเถียงกันเรื่องนี้ว่า
ภาษาก็มีการปรับเปลี่ยน ประยุกต์ ไปตามกาลเวลา ตามสภาพปัจจัยต่างๆ ของสังคมค่ะ
ในยุคไซเบอร์ (อินเตอร์เน็ต) ก็จะมีคำศัพท์ใหม่ๆ เกิดขึ้นเรื่อยๆ บ่อยๆ และแพร่หลายได้ง่าย
และมีความนิยมใช้กันอยู่นานมากบ้างน้อยบ้าง อันนี้ เราว่า มันเป็นปกติค่ะ
- ส่วนคำเดิมๆ ภาษาเดิมๆ การรณรงค์ ให้ใช้คำสะกดที่ถูกต้อง เราว่า ก็เป็นเรื่องดีค่ะ
คงแบ่งการใช้เป็น 2 แบบ คือ 1. เป็นทางการ 2. ไม่เป็นทางการ
ซึ่งภาษาที่ใช้เป็นทางการ ก็คงไม่ยากที่จะขีดกรอบได้บ้างว่า อะไรประมาณไหน ควรใช้ภาษาเป็นทางการ
ส่วนที่ไม่เป็นทางการ อันนั้น ก็ไปบังคับอะไรยากค่ะ เพราะเป็นการสื่อสารเฉพาะกลุ่ม
หรือการเลือกที่จะพิมพ์คำสะกดแบบลัดสั้น เพราะสะดวกในการพิมพ์ ก็เป็นเรื่องที่ผู้ใช้ภาษาต้องพิจารณากันเองว่า
คุณจะใช้ภาษาแบบนี้กับใคร ในวาระใดๆ ค่ะ
เราว่ามันคล้ายการแต่งตัว คือ มันมีมารยาทสังคม มีกรอบที่ชัดเจนอยู่ประมาณนึง
ซึ่งกรอบก็มีการขยับขยาย เปลี่ยนแปลงได้ค่ะ แต่ที่ต้องยอมรับ คือมันมีกรอบของสังคมอยู่
ซึ่งมันก็ไปเกี่ยวกับคำว่า "กาลเทศะ" ด้วยมั้งคะ อะไรเหมาะกับเวลาไหน วาระไหน บุคคลไหน ฯลฯ
- การใช้คำผิด พิมพ์ผิดๆ พิมพ์ย่อๆ สั้นๆ บ่อยๆ จนเคยชิน จนติดเป็นนิสัย
ทำให้การใช้ภาษาที่ถูกต้อง (ตามกรอบของสังคม) มันเลือนลางไปมั้ย?
เราว่า มันก็มีส่วนค่ะ กับบางคน แต่เรื่องพวกนี้ เราว่า "มารยาทสังคม" หรือ กรอบธรรมเนียมปฏิบัติของสังคม
มันสั่งสมกันมา ผ่านยุคสมัย และมันเปลี่ยนไปได้ ตราบใดที่มันยังเป็นค่านิยมที่คนส่วนใหญ่ยังยึดถืออยู่
คนที่จะเข้าสังคม ก็ต้องปรับตัวอยู่ในกรอบพอสมควรค่ะ ภาษาทางการ ก็ยังจำเป็นอยู่ และก็คงมีคนมารณรงค์ด้วยวิธีต่างๆ กัน
แต่ keyword สำหรับเรา น่าจะเป็นคำว่า "กาลเทศะ" ค่ะ
แสดงความคิดเห็น
เป็นเหมือนกันไหม เมื่อเจอวันรุ่นไทย "ใช้ภาษาวิบัติ"
ใครเคยเป็นเหมือนผมบ้างหรือเปล่า เวลาเห็นกระทู้ หรือตามโพสต์ต่างๆ ที่มีการใช้ภาษาไทยที่ไม่ถูกต้องตามหลักภาษาไทยแล้วมันตะหงิดๆ ใจอยากไปแก้ให้เค้า ???
ทุกวันนี้ผมเสพ Content ต่างๆ กระทู้ ข่าว หรือโพสต์ค่อนข้างเยอะ เพราะจริงๆก็ติดโซเชียลพอสมควร ตอนนี้อายุ 30 กว่าแล้ว พอได้พบเจอการใช้ภาษาไทยที่มันไม่ถูกต้องก็รู้สึกแบบ ทำไมเด็กสมัยนี้มันพิมพ์แบบนี้ คุณครูสมศรีไม่สอนหรือไงว่าแบบไหนถูกหรือผิด
สำหรับการใช้คำศัพท์แบบ จุง / บ่องตง / มะรุ / ไรแว๊ / ไม๊ อะไรแบบนี้อ่านก็ยังพอให้อภัยได้ เข้าใจว่าเป็นภาษาที่เอาไว้แชตกันเพื่อความสนุกสนาน หรือเพื่อให้มันกระชับ หรือเป็นภาษาวัยรุ่นอะไรก็ตาม
แต่คำบางคำการใช้ตัวสะกดหรือสระผิด มันไม่เกี่ยวกับความเมามันป่ะ มันคือคำที่เป็นคำไทย ที่ควรใช้ให้ถูกอย่างวันก่อนผมเจอคนเขียนคำว่า "ปัญหา" แต่ใช้ "ปัณหา" (ตอนแรกจะอ่านว่าตัณหาอยู่ละ) 5555+ หรือคำว่า "อะไร" แต่ดันใช้เป็น "อะใร" แบบนี้ หรือไอ้ปัญหาการใช้ "ค่ะ และ คะ" นี่โคตรจะคลาสสิค
ยิ่งอ่านก็ยิ่งกลัวว่าในอนาคต ภาษาไทยที่ถูกต้องจะหายากกว่าครูภาษาไทยดีๆ สักคน
หากวัยรุ่นคนไหนมองว่าผมแก่ บ้าป่าวลุง หนักหัวลุงหรอ ผมก็ไม่ว่านะ แต่ส่วนตัวคิดว่าปัญหาด้านภาษาแบบนี้เป็นปัญหาระดับชาติ ที่ไม่ควรเกิดขึ้นเลยเพราะในวันนึงเราอาจจะไม่มีภาษาไทยที่เป็นต้นตำรับ ที่เราภาคภูมิใจเหมือนแต่ก่อน เหลือไว้แต่คำแสลงๆ ที่เด็กสมัยใหม่เอาไปปั่นเล่นจนกลายเป็นคำผิดๆ และภาษาไทยก็จะตายไปสักวัน....ถึงเวลาหรือยังที่เราจะจัดการกับมัน
ปล.ผมอาจมีพิมพ์ผิดหลักไปบ้าง พวกการเว้นวรรค หรือ การใช้คำ แต่ผมมั่นใจว่าภาษาที่ผมใช้ไม่ได้วิบัติจนเกินไปแน่นอน