สวัสดีครับ ผมเป็นนักศึกษาที่เพิ่งจบใหม่หมาด ๆ เมื่อต้นปีที่ผ่านมานี้เองครับ ผมใช้เวลาไปประมาณเดือนกว่า ๆ กับการพักผ่อน วางแผนอนาคตกับแฟน และหาข้อมูลเกี่ยวกับทั้งการเรียนต่อและการหางานทำ แล้วก็พบว่า สิ่งหนึ่งที่จำเป็นต่อการหางานเป็นอย่างมากคือหลักฐานที่แสดงถึงความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษอย่าง TOEIC ทั้งผมและแฟนจึงเริ่มหาข้อมูลและเตรียมตัวไปสอบ แล้วก็ได้ไปสอบมาแล้วครับเมื่อวันพุธที่ผ่านมา วันนี้จึงอยากจะมารีวิวประสบการณ์สอบ TOEIC เป็นครั้งแรก เพื่อให้ข้อมูลและคำแนะนำกับผู้ที่สนใจจะไปสอบ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่เคยไปสอบมาก่อน เอาล่ะครับ มาเริ่มกันเลย
ต้องบอกก่อนว่ารายละเอียดทั้งหมดที่ผมจะพูดถึงเป็นรายละเอียดของศูนย์สอบสาขากรุงเทพเท่านั้นนะครับ เพราะผมไปสอบมาที่นั่นครับ
มาครับ อย่างแรกที่ผมจะพูดถึงก็คือ
การจองที่นั่งสอบ ครับ
การจองที่นั่งสอบ TOEIC ทำได้สองช่องทาง คือ การโทรเข้าไปจองที่นั่งสอบ โดยเบอร์ติดต่อสำหรับสาขากรุงเทพ คือ 02-260-7061 และ 02-259-3990 และการ Walk-in เข้าไปจองเองที่อาคาร BB Building, ห้อง 1907 ชั้น 19 ครับ
ส่วนวันเวลาที่เปิดสอบเนี่ย จะเป็นวันจันทร์-เสาร์ แบ่งเป็นสองช่วงคือ ช่วงเช้า เริ่มสอบ 9.00น. และช่วงบ่าย เริ่มสอบ 13.00น. ครับ โดยจะมีบางวันเท่านั้นที่จะมีการเปิดสอบรอบพิเศษเป็นช่วงเย็น เริ่มสอบ 16.00น. ครับ
อันนี้ผมไม่ทราบข้อมูลที่แน่ชัดนะครับ ว่าโดยปกติแล้วสถานการณ์ของการจองที่นั่งสอบจะเป็นอย่างที่ผมเจอมาหรือไม่ หรือว่าผมดันไปจองช่วงที่คนตั้งใจมาสอบเยอะมากพอดี แต่สิ่งที่ผมเจอก็คือการโทรเข้าไปจองนั้นทำได้ยากมากกก เมื่อโทรเข้าไปจะพบกับเสียง Call-Center อัตโนมัติต่าง ๆ มากมาย แล้วก็จะจบด้วยการบอกให้เราต่อเบอร์ไปหา พนักงาน Call-Center โดยให้เลขมา 7 เบอร์ ก็คือ 101-107 เลยครับ สิ่งที่ต้องทำก็คือ กดไล่ไปทีละเบอร์จนกว่าจะติดนั่นแหละครับ แล้วถึงจะติดก็ต้องลุ้นอีกด้วยนะครับ ว่าเขาจะรับมั้ย 55555 ตอนนั้นเรียกได้ว่าโทรจนท้อเลยครับ นั่งกดอยู่กับแฟนสองคนทีละเบอร์ ๆ
ดังนั้นถ้าประสงค์จะจองที่นั่งสอบผ่านการโทรเข้าไป ผมขอแนะนำให้โทรไปล่วงหน้าสักหนึ่งสัปดาห์จะดีมากมากครับ
มาต่อกันที่
การเดินทางไปสอบ และ
รายละเอียดขั้นตอนต่าง ๆ ก่อนเริ่มสอบ นะครับ
สถานที่สอบ TOEIC สำหรับสาขากรุงเทพคือ อาคาร BB Building ชั้น 19 ครับ อาคารนี้จะตั้งอยู่ที่ถนน อโศกมนตรี โดยอาคารจะตั้งอยู่ด้านขวาของตึกแกรมมี่แบบติดติดกันเลยครับ
เมื่อไปถึงตึกจะพบกับร้าน EVEANDBOY ที่ตั้งอยู่หน้าตึกเลย ไม่ต้องตกใจครับ เดินเลียบไปทางข้าง ๆ ร้าน EVEANDBOY ตรงเข้าไปอีกหน่อยก็จะเจอทางเข้าตึกอยู่ด้านขวามือครับ เดินเข้าไปจะเจอกับพนักงานที่ยืนอยู่หน้าลิฟท์ ให้บอกเค้าได้เลยครับว่าจะมาสอบ TOEIC เค้าจะกดลิฟท์ชั้น 19 ให้ครับ
พอขึ้นมาถึงชั้น 19 ก็จะมีป้ายบอกทางไปที่ Center for Professional Assessment ให้เดินตามทางที่ป้ายบอกไปได้เลยครับ พอมาถึงก็จะมีเจ้าหน้าที่เชิญให้เราไปลงทะเบียนสอบก่อน ให้เตรียมบัตรปชช. และเงิน 1,500 ไว้แล้วเข้าไปทำตามขั้นตอนที่ทางศูนย์จัดไว้ได้เลยครับ(เช็คให้ดีนะครับว่ารูปในบัตรดูเหมือนกับหน้าเราในปัจจุบันหรือไม่ เพราะทางศูนย์สอบเค้าดูจะเข้มงวดกับเรื่องนี้มาก หากรูปในบัตรไม่ตรงกับหน้าปัจจุบันให้เตรียมบัตรอื่นที่รูปดูจะใกล้เคียงกว่าไปด้วยนะครับ) การลงทะเบียนนี่จะใช้เวลาสักพักนึงเลย โดยเฉพาะถ้ามีผู้สอบมากันเยอะแล้ว เพราะฉะนั้น เพื่อความแน่นอนปลอดภัย ผมแนะนำให้เดินทางไปถึงสถานที่สอบก่อนสัก 1 ชม. ได้จะกำลังดีครับ ทางศูนย์สอบจะให้เราไปลงทะเบียนได้ตั้งแต่เวลา 2 ชม. ก่อนถึงเวลาสอบจนถึงเวลาสอบครับ เช่น ถ้าไปสอบรอบเช้า เวลาลงทะเบียนก็จะเป็น 7.00น. - 9.00น. ครับ อ้อ สัมภาระทั้งหมด ทางศูนย์สอบไม่ให้เอาเข้าห้องสอบไปเลยนะครับนอกจากกระเป๋าตังอย่างเดียว โดยทางศูนย์สอบได้เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้สอบไว้ให้ครบถ้วนแล้วครับ ไม่ต้องเตรียมอะไรไปเองเลย
เมื่อถึงเวลาสักประมาณ 15 นาทีก่อนถึงเวลาสอบ เจ้าหน้าที่จะเรียกให้ผู้สอบไปต่อแถวหน้าห้องสอบของตัวเอง แล้วจะค่อย ๆ ปล่อยเข้าห้องสอบทีละคนครับ ก่อนเข้าห้องสอบก็จะมีการตรวจร่างกายอีกครั้งที่หน้าห้องสอบครับ พอตรวจร่างกายเสร็จ เจ้าหน้าที่ก็จะแจ้งที่นั่งสอบและชี้ตำแหน่งให้ เราก็เดินไปนั่งตามนั้นได้เลยครับ บนโต๊ะสอบจะมี ดินสอ 2 แท่ง ยางลบ 1 ก้อน และปากกา 1 ด้าม เอาไว้ให้ พร้อมกับกระดาษคำตอบ แผ่นพับอธิบายข้อสอบ และเอกสารแนะนำวิธีการฝนข้อมูลลงในกระดาษคำตอบครับ หากเราเข้าไปในห้องสอบก่อนถึงเวลาสอบ ก็จะมีเพลงน่ารัก ๆ เปิดคลอไปให้ฟังสลับกับเสียงคำบรรยายรายละเอียดข้อสอบเป็นภาษาอังกฤษครับ ซึ่งจะฟังง่ายกว่าเสียงในข้อสอบมากมากกก ไอเราฟังเสียงนี้ออกได้สบาย ๆ ก็เข้าใจผิดไปว่าจะทำข้อสอบได้ บ้าจริงงงง
มาถึงส่วนของ
รายละเอียดข้อสอบ และ
เทคนิคการทำข้อสอบ กันแล้วนะครับ
ข้อสอบจะแบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ ๆ ครับ คือ ส่วนของ การฟัง (Listening) และ การอ่าน (Reading)
มาเริ่มที่ส่วนของการฟังกันก่อนนะครับ ในส่วนนี้ก็จะแบ่งย่อย ๆ ไปอีก 4 ส่วนครับ คือ Photographs, Question Response, Conversations และ Talks ครับ
Photographs จะมีอยู่ 10 ข้อครับ โดยแต่ละข้อจะมีรูปภาพมาให้หนึ่งรูป และให้ฟังคำตอบ 4 ข้อ เป็นประโยค 4 ประโยคครับ ให้เลือกประโยคที่เกี่ยวข้องกับภาพที่ให้มามากที่สุด // ให้มองภาพให้ละเอียด หาลักษณะเด่นของภาพ แล้วรอฟังประโยคที่คลิกกับสิ่งที่เห็นครับ สิ่งที่จะช่วยได้มากก็คือคลังคำศัพท์ของเราครับ ควรมีเตรียมไว้ให้มากมาก ไม่งั้นจะเสี่ยงเสียคะแนนในส่วนนี้จากการไม่รู้คำศัพท์ของบางอย่างที่อยู่ในภาพนะครับ
Question Response จะมีอยู่ 30 ข้อครับ โดยในส่วนนี้จะไม่มีอะไรมาให้ในกระดาษคำถามเลยนะครับ แต่ละข้อจะเริ่มจากเสียงพูดที่เป็นประโยคคำถาม และเสียงพูดที่เป็นประโยคคำตอบ 3 ประโยค และให้เลือกประโยคที่เหมาะสมกับคำถามที่สุดครับ // หากฟังคำถามไม่ทัน หรือจับสำเนียงไม่ได้ ฟังไม่รู้เรื่อง ให้พยายามโฟกัสที่รูปแบบของประโยคคำถามให้ดีครับ ว่าเป็นคำถามแบบไหน ใช้ What, When, Where, Why, Who, Which, How, Do หรือ Can นำหน้าประโยค แล้วเลือกตอบคำตอบที่น่าจะเหมาะสมกับรูปแบบคำถามนั้น ๆ ให้มากที่สุดครับ เพราะข้อสอบส่วนใหญ่จะให้ตัวเลือกคำตอบที่ใช้กับประโยคคำถามคนละรูปแบบ แบบที่ค่อนข้างแยกได้ออกชัดเจนครับ
Conversations จะมีอยู่ 30 ข้อเช่นกันครับ ในส่วนนี้จะเป็นเสียงบทสนทนาระหว่างคนสองคนที่เป็นผู้ชายและผู้หญิงครับ โดยแต่ละบทสนทนาจะมีคำถามมาให้ 3 ข้อ พร้อมกับคำตอบ 4 ตัวเลือกต่อ 1 ข้อ ครับ อันนี้ก็ฟังแล้วตอบให้ตรงคำถามนั่นแหละครับไม่มีไรมาก // สิ่งที่อยากให้ทำก็คือ พยายามทำความเร็วให้ดีเพื่อให้มีเวลาไปสแกนคำถามของบทสนทนาต่อไป ก่อนที่เทปจะเริ่มเปิดให้ได้ครับ เพื่อให้เราพอจะทราบได้ว่า ควรจะโฟกัสส่วนไหนของบทสนทนา แล้วก็เพื่อความแน่นอน เราสามารถโน้ตสิ่งที่ฟังได้ระหว่างเทปเล่น หรือ Mark คำตอบเอาไว้ก่อนได้เลยนะครับ ผมแนะนำให้หาคำตอบให้ได้ครบทั้ง 3 ข้อค่อยไปฝนลงกระดาษคำตอบนะครับ ไม่งั้นช่วงเวลาที่เราไปฝนคำตอบเนี่ย เราอาจจะหลุดไปได้เลย ไม่ดีครับไม่ดี การฟังไม่ทันคือสิ่งที่เลวร้ายที่สุด เพราะเราทำได้แต่มั่วเท่านั้น แล้วต้องรีบมั่วด้วยนะครับ ไม่มีเวลาให้ใช้ทริคเสี่ยงดวงใดใดทั้งสิ้น 5555
Talks อันนี้ก็ 30 ข้อนะครับ ในส่วนนี้จะเป็นเสียงของการประกาศ การพูดบรรยาย หรืออะไรประมาณนี้ โดยที่มีคนพูดคนเดียวครับ แต่ละชุดเสียงก็จะมีคำถามมาให้ 3 ข้อ พร้อมกับคำตอบ 4 ตัวเลือกต่อ 1 ข้อ เช่นกันครับ // เทคนิคในส่วนนี้ก็จะเหมือนกันกับ Conversations เลยครับ ไม่ต่างกันเท่าไหร่
ข้อควรระวังก่อนการมาปะทะกับข้อสอบส่วนการฟังก็คือ เตรียมใจให้พร้อมกับความเร็วของมันครับ ตั้งสติให้ดีครับ ความเร็วเป็นเรื่องของปีศาจ การเตรียมตัวทำข้อสอบแบบฟังทีละข้อช้า ๆ ชิว ๆ ฟังไม่ทันก็กดฟังใหม่ ไม่เพียงพอต่อการเก็บคะแนนส่วนนี้ให้ได้เยอะ ๆ แน่แน่ครับ ฝึกทำแบบที่มันต่อเนื่องแล้วจับเวลาไปด้วยเลยจะดีกว่ามากมากครับ เพราะของจริงมันไม่มีเวลาให้หยุดพักเลยสักนิดเดียว นอกจากตอนพลิกหน้ากระดาษ 5555
มาถึงส่วนสุดท้ายกันแล้วนะครับ ส่วนของข้อสอบการอ่าน ในส่วนนี้ก็จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนย่อย ๆ ครับ คือ Incomplete Sentence, Text Completion และ Reading Comprehension ครับ
Incomplete Sentence จะมีอยู่ 40 ข้อ ครับ ลักษณะของข้อสอบก็จะเป็น ประโยคยาว ๆ มาให้ ประโยค มาพร้อมกับช่องว่างสักจุดนึงของประโยค แล้วให้เลือกคำที่จะมาเติมเต็มช่องว่างนั้นได้อย่างถูกต้องที่สุดจากตัวเลือก 4 ข้อครับ // ทำให้เร็ว ทำให้ไว ถ้าทำได้ ให้ล้านนึงงงงง รีบครับ เทคนิคคือทำให้เร็วที่สุด ตอบอันที่คิดว่าใช่ไปเลย ไม่ต้องนั่งทวนนั่งคิดซ้ำครับ เพราะถ้าเราไม่รีบจะทำให้เราทำพาร์ท Reading Comprehension ไม่ทัน ข้อสอบส่วนใหญ่จะวัดเรื่อง Part of Speech กับเรื่อง Tense หรือการผัน Verb เป็นหลักนะครับ แล้วก็มีเรื่อง Preposition Conjunction และอื่น ๆ นิดหน่อย ประปราย ฝึกทำมาให้เยอะ ๆ ครับ แล้วจะซึมซับวิธีการเช็คคำตอบได้อย่างรวดเร็วและมั่นใจเองครับ อาจจะดูแค่คำที่อยู่ก่อนและหลังช่องว่างนั้น ๆ เพื่อเช็ค Part of Speech หรือมองหาคำที่บ่งบอกเวลา เพื่อเช็ค Tense ของประโยคนั้นครับ
Text Completion จะมีอยู่ 12 ข้อ ครับ ลักษณะของข้อสอบก็จะเป็น ข้อความมาชุดนึง เป็นเรื่องราวเลยนะครับ แล้วก็จะมีช่องว่างเว้นอยู่เป็นระยะ ให้เราเลือกคำตอบจากตัวเลือก 4 ข้อ ต่อ 1 ช่องว่าง ไปเติมให้สมบูรณ์ครับ // ในส่วนนี้เทคนิคก็จะคล้าย ๆ กับส่วนของ Incomplete Sentence นะครับ ขอให้รีบทำให้ไวที่สุดเช่นกันนะครับ
Reading Comprehension จะมีอยู่ 48 ข้อ ครับ ลักษณะของข้อสอบก็จะคล้าย ๆ กับข้อสอบ Reading ทีเราเจอ ๆ กันมาตั้งแต่เด็ก ๆ นั่นแหละครับ แต่จะค่อนข้างยาวหน่อย ทำให้ต้องเสียเวลาไปเยอะมากกับแต่ละชุดข้อความ โดยในแต่ละชุดข้อความก็จะมีคำถามให้เรารับผิดชอบตอบมันอยู่ 3 ข้อ พร้อมกับคำตอบ 4 ตัวเลือกต่อข้อครับ เป็นคำถามที่เช็คว่าเราอ่านชุดข้อความนั้น ๆ เข้าใจมั้ย // เทคนิคของผมในส่วนนี้ก็คือการอ่านคำถามและตัวเลือกที่มีให้มาคร่าว ๆ ก่อนแล้วค่อยเริ่มไปสแกนหาคำตอบในชุดข้อความที่มีมาให้ครับ ซึ่งผมคิดว่าจริง ๆ แล้วความยากในการอ่านให้เข้าใจของชุดข้อความแต่ละชุดไม่ได้ยากเบอร์นั้น รวมไปถึงคำถามก็ค่อนข้างจะถามตรง ๆ ไม่ซับซ้อนครับ เพราะฉะนั้น เทคนิคก็คือต้องเผื่อเวลามาทำส่วนนี้ให้เยอะเค้าไว้เท่านั้นครับ ผมเชื่อว่าจะเป็นส่วนที่เก็บคะแนนได้ดีทีเดียว คือ ที่ผมดูจะพูดเรื่องทำไม่ทัน หรือให้รีบทำบ่อย ๆ ก็เพราะว่าผมก็ทำไม่ทันเนี่ยแหละครับ มีหลายชุดข้อความที่ไม่สามารถอ่านให้ละเอียดได้ทัน ต้องรีบอ่านและรีบตอบไปหลายข้อ นอกจากนั้นก็ยังมีที่ดิ่งไปเลยอยู่ด้วยเพราะเวลาจะหมดแล้ว เสียดายมากกกกกก
ข้อควรระวังที่ผมอยากจะเตือนมากที่สุดสำหรับผู้ที่ไม่เคยไปสอบแล้วกำลังจะไปสอบครั้งแรกเนี่ยก็คือ เรื่องทำเวลา เป็นหลักเลยครับ เพราะว่ามันสำคัญมากที่เราควรจะได้ใช้ความสามารถของเราอย่างเต็มที่ไปกับข้อสอบทุกข้อที่มีอยู่ในนั้น เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างความสามารถที่เรามีและฝึกฝนมาทั้งหมดให้เต็มประสิทธิภาพ แล้ววิธีการที่ผมคิดว่ามีประสิทธิภาพต่อการเพิ่มความเร็วในการทำข้อสอบได้ก็คือการฝึกทำข้อสอบนั้น ๆ ในรูปแบบเดียวกันและสถานการณ์เดียวกันกับที่จะเจอในการสอบจริงให้มากที่สุดครับ
หมดแล้วครับสำหรับรีวิวรายละเอียดต่าง ๆ ของการสอบ TOEIC และเทคนิคทั้งหลายที่ผมอยากจะแชร์ อ้อ ผมมี Application ที่มีตัวอย่างข้อสอบ TOEIC ให้ลองฝึกทำมาแนะนำให้ด้วยครับ เผื่อว่าใครหาช่องทางฝึกทำข้อสอบไม่ได้ เป็น App ที่ผมใช้แล้วชอบส่วนตัวเองอะนะครับ ก็คือ "CM TOEIC" กับ "TOEIC TEST" ครับ
ขอบคุณที่อ่านกันมาจนจบนะครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกคน ขอบคุณครับ
และนี่คือผลสอบที่ได้จากการสอบครั้งแรกของผม ต้องขอบคุณคนที่ไปสอบด้วยจริง ๆ ครับ ที่เป็นกำลังใจให้กันมาตลอด 555
รีวิวการสอบโทอิคครั้งแรก (อย่างละเอียด) กับผลคะแนน 760 คะแนน
ต้องบอกก่อนว่ารายละเอียดทั้งหมดที่ผมจะพูดถึงเป็นรายละเอียดของศูนย์สอบสาขากรุงเทพเท่านั้นนะครับ เพราะผมไปสอบมาที่นั่นครับ
มาครับ อย่างแรกที่ผมจะพูดถึงก็คือ การจองที่นั่งสอบ ครับ
การจองที่นั่งสอบ TOEIC ทำได้สองช่องทาง คือ การโทรเข้าไปจองที่นั่งสอบ โดยเบอร์ติดต่อสำหรับสาขากรุงเทพ คือ 02-260-7061 และ 02-259-3990 และการ Walk-in เข้าไปจองเองที่อาคาร BB Building, ห้อง 1907 ชั้น 19 ครับ
ส่วนวันเวลาที่เปิดสอบเนี่ย จะเป็นวันจันทร์-เสาร์ แบ่งเป็นสองช่วงคือ ช่วงเช้า เริ่มสอบ 9.00น. และช่วงบ่าย เริ่มสอบ 13.00น. ครับ โดยจะมีบางวันเท่านั้นที่จะมีการเปิดสอบรอบพิเศษเป็นช่วงเย็น เริ่มสอบ 16.00น. ครับ
อันนี้ผมไม่ทราบข้อมูลที่แน่ชัดนะครับ ว่าโดยปกติแล้วสถานการณ์ของการจองที่นั่งสอบจะเป็นอย่างที่ผมเจอมาหรือไม่ หรือว่าผมดันไปจองช่วงที่คนตั้งใจมาสอบเยอะมากพอดี แต่สิ่งที่ผมเจอก็คือการโทรเข้าไปจองนั้นทำได้ยากมากกก เมื่อโทรเข้าไปจะพบกับเสียง Call-Center อัตโนมัติต่าง ๆ มากมาย แล้วก็จะจบด้วยการบอกให้เราต่อเบอร์ไปหา พนักงาน Call-Center โดยให้เลขมา 7 เบอร์ ก็คือ 101-107 เลยครับ สิ่งที่ต้องทำก็คือ กดไล่ไปทีละเบอร์จนกว่าจะติดนั่นแหละครับ แล้วถึงจะติดก็ต้องลุ้นอีกด้วยนะครับ ว่าเขาจะรับมั้ย 55555 ตอนนั้นเรียกได้ว่าโทรจนท้อเลยครับ นั่งกดอยู่กับแฟนสองคนทีละเบอร์ ๆ
ดังนั้นถ้าประสงค์จะจองที่นั่งสอบผ่านการโทรเข้าไป ผมขอแนะนำให้โทรไปล่วงหน้าสักหนึ่งสัปดาห์จะดีมากมากครับ
มาต่อกันที่ การเดินทางไปสอบ และ รายละเอียดขั้นตอนต่าง ๆ ก่อนเริ่มสอบ นะครับ
สถานที่สอบ TOEIC สำหรับสาขากรุงเทพคือ อาคาร BB Building ชั้น 19 ครับ อาคารนี้จะตั้งอยู่ที่ถนน อโศกมนตรี โดยอาคารจะตั้งอยู่ด้านขวาของตึกแกรมมี่แบบติดติดกันเลยครับ
เมื่อไปถึงตึกจะพบกับร้าน EVEANDBOY ที่ตั้งอยู่หน้าตึกเลย ไม่ต้องตกใจครับ เดินเลียบไปทางข้าง ๆ ร้าน EVEANDBOY ตรงเข้าไปอีกหน่อยก็จะเจอทางเข้าตึกอยู่ด้านขวามือครับ เดินเข้าไปจะเจอกับพนักงานที่ยืนอยู่หน้าลิฟท์ ให้บอกเค้าได้เลยครับว่าจะมาสอบ TOEIC เค้าจะกดลิฟท์ชั้น 19 ให้ครับ
พอขึ้นมาถึงชั้น 19 ก็จะมีป้ายบอกทางไปที่ Center for Professional Assessment ให้เดินตามทางที่ป้ายบอกไปได้เลยครับ พอมาถึงก็จะมีเจ้าหน้าที่เชิญให้เราไปลงทะเบียนสอบก่อน ให้เตรียมบัตรปชช. และเงิน 1,500 ไว้แล้วเข้าไปทำตามขั้นตอนที่ทางศูนย์จัดไว้ได้เลยครับ(เช็คให้ดีนะครับว่ารูปในบัตรดูเหมือนกับหน้าเราในปัจจุบันหรือไม่ เพราะทางศูนย์สอบเค้าดูจะเข้มงวดกับเรื่องนี้มาก หากรูปในบัตรไม่ตรงกับหน้าปัจจุบันให้เตรียมบัตรอื่นที่รูปดูจะใกล้เคียงกว่าไปด้วยนะครับ) การลงทะเบียนนี่จะใช้เวลาสักพักนึงเลย โดยเฉพาะถ้ามีผู้สอบมากันเยอะแล้ว เพราะฉะนั้น เพื่อความแน่นอนปลอดภัย ผมแนะนำให้เดินทางไปถึงสถานที่สอบก่อนสัก 1 ชม. ได้จะกำลังดีครับ ทางศูนย์สอบจะให้เราไปลงทะเบียนได้ตั้งแต่เวลา 2 ชม. ก่อนถึงเวลาสอบจนถึงเวลาสอบครับ เช่น ถ้าไปสอบรอบเช้า เวลาลงทะเบียนก็จะเป็น 7.00น. - 9.00น. ครับ อ้อ สัมภาระทั้งหมด ทางศูนย์สอบไม่ให้เอาเข้าห้องสอบไปเลยนะครับนอกจากกระเป๋าตังอย่างเดียว โดยทางศูนย์สอบได้เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้สอบไว้ให้ครบถ้วนแล้วครับ ไม่ต้องเตรียมอะไรไปเองเลย
เมื่อถึงเวลาสักประมาณ 15 นาทีก่อนถึงเวลาสอบ เจ้าหน้าที่จะเรียกให้ผู้สอบไปต่อแถวหน้าห้องสอบของตัวเอง แล้วจะค่อย ๆ ปล่อยเข้าห้องสอบทีละคนครับ ก่อนเข้าห้องสอบก็จะมีการตรวจร่างกายอีกครั้งที่หน้าห้องสอบครับ พอตรวจร่างกายเสร็จ เจ้าหน้าที่ก็จะแจ้งที่นั่งสอบและชี้ตำแหน่งให้ เราก็เดินไปนั่งตามนั้นได้เลยครับ บนโต๊ะสอบจะมี ดินสอ 2 แท่ง ยางลบ 1 ก้อน และปากกา 1 ด้าม เอาไว้ให้ พร้อมกับกระดาษคำตอบ แผ่นพับอธิบายข้อสอบ และเอกสารแนะนำวิธีการฝนข้อมูลลงในกระดาษคำตอบครับ หากเราเข้าไปในห้องสอบก่อนถึงเวลาสอบ ก็จะมีเพลงน่ารัก ๆ เปิดคลอไปให้ฟังสลับกับเสียงคำบรรยายรายละเอียดข้อสอบเป็นภาษาอังกฤษครับ ซึ่งจะฟังง่ายกว่าเสียงในข้อสอบมากมากกก ไอเราฟังเสียงนี้ออกได้สบาย ๆ ก็เข้าใจผิดไปว่าจะทำข้อสอบได้ บ้าจริงงงง
มาถึงส่วนของ รายละเอียดข้อสอบ และ เทคนิคการทำข้อสอบ กันแล้วนะครับ
ข้อสอบจะแบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ ๆ ครับ คือ ส่วนของ การฟัง (Listening) และ การอ่าน (Reading)
มาเริ่มที่ส่วนของการฟังกันก่อนนะครับ ในส่วนนี้ก็จะแบ่งย่อย ๆ ไปอีก 4 ส่วนครับ คือ Photographs, Question Response, Conversations และ Talks ครับ
Photographs จะมีอยู่ 10 ข้อครับ โดยแต่ละข้อจะมีรูปภาพมาให้หนึ่งรูป และให้ฟังคำตอบ 4 ข้อ เป็นประโยค 4 ประโยคครับ ให้เลือกประโยคที่เกี่ยวข้องกับภาพที่ให้มามากที่สุด // ให้มองภาพให้ละเอียด หาลักษณะเด่นของภาพ แล้วรอฟังประโยคที่คลิกกับสิ่งที่เห็นครับ สิ่งที่จะช่วยได้มากก็คือคลังคำศัพท์ของเราครับ ควรมีเตรียมไว้ให้มากมาก ไม่งั้นจะเสี่ยงเสียคะแนนในส่วนนี้จากการไม่รู้คำศัพท์ของบางอย่างที่อยู่ในภาพนะครับ
Question Response จะมีอยู่ 30 ข้อครับ โดยในส่วนนี้จะไม่มีอะไรมาให้ในกระดาษคำถามเลยนะครับ แต่ละข้อจะเริ่มจากเสียงพูดที่เป็นประโยคคำถาม และเสียงพูดที่เป็นประโยคคำตอบ 3 ประโยค และให้เลือกประโยคที่เหมาะสมกับคำถามที่สุดครับ // หากฟังคำถามไม่ทัน หรือจับสำเนียงไม่ได้ ฟังไม่รู้เรื่อง ให้พยายามโฟกัสที่รูปแบบของประโยคคำถามให้ดีครับ ว่าเป็นคำถามแบบไหน ใช้ What, When, Where, Why, Who, Which, How, Do หรือ Can นำหน้าประโยค แล้วเลือกตอบคำตอบที่น่าจะเหมาะสมกับรูปแบบคำถามนั้น ๆ ให้มากที่สุดครับ เพราะข้อสอบส่วนใหญ่จะให้ตัวเลือกคำตอบที่ใช้กับประโยคคำถามคนละรูปแบบ แบบที่ค่อนข้างแยกได้ออกชัดเจนครับ
Conversations จะมีอยู่ 30 ข้อเช่นกันครับ ในส่วนนี้จะเป็นเสียงบทสนทนาระหว่างคนสองคนที่เป็นผู้ชายและผู้หญิงครับ โดยแต่ละบทสนทนาจะมีคำถามมาให้ 3 ข้อ พร้อมกับคำตอบ 4 ตัวเลือกต่อ 1 ข้อ ครับ อันนี้ก็ฟังแล้วตอบให้ตรงคำถามนั่นแหละครับไม่มีไรมาก // สิ่งที่อยากให้ทำก็คือ พยายามทำความเร็วให้ดีเพื่อให้มีเวลาไปสแกนคำถามของบทสนทนาต่อไป ก่อนที่เทปจะเริ่มเปิดให้ได้ครับ เพื่อให้เราพอจะทราบได้ว่า ควรจะโฟกัสส่วนไหนของบทสนทนา แล้วก็เพื่อความแน่นอน เราสามารถโน้ตสิ่งที่ฟังได้ระหว่างเทปเล่น หรือ Mark คำตอบเอาไว้ก่อนได้เลยนะครับ ผมแนะนำให้หาคำตอบให้ได้ครบทั้ง 3 ข้อค่อยไปฝนลงกระดาษคำตอบนะครับ ไม่งั้นช่วงเวลาที่เราไปฝนคำตอบเนี่ย เราอาจจะหลุดไปได้เลย ไม่ดีครับไม่ดี การฟังไม่ทันคือสิ่งที่เลวร้ายที่สุด เพราะเราทำได้แต่มั่วเท่านั้น แล้วต้องรีบมั่วด้วยนะครับ ไม่มีเวลาให้ใช้ทริคเสี่ยงดวงใดใดทั้งสิ้น 5555
Talks อันนี้ก็ 30 ข้อนะครับ ในส่วนนี้จะเป็นเสียงของการประกาศ การพูดบรรยาย หรืออะไรประมาณนี้ โดยที่มีคนพูดคนเดียวครับ แต่ละชุดเสียงก็จะมีคำถามมาให้ 3 ข้อ พร้อมกับคำตอบ 4 ตัวเลือกต่อ 1 ข้อ เช่นกันครับ // เทคนิคในส่วนนี้ก็จะเหมือนกันกับ Conversations เลยครับ ไม่ต่างกันเท่าไหร่
ข้อควรระวังก่อนการมาปะทะกับข้อสอบส่วนการฟังก็คือ เตรียมใจให้พร้อมกับความเร็วของมันครับ ตั้งสติให้ดีครับ ความเร็วเป็นเรื่องของปีศาจ การเตรียมตัวทำข้อสอบแบบฟังทีละข้อช้า ๆ ชิว ๆ ฟังไม่ทันก็กดฟังใหม่ ไม่เพียงพอต่อการเก็บคะแนนส่วนนี้ให้ได้เยอะ ๆ แน่แน่ครับ ฝึกทำแบบที่มันต่อเนื่องแล้วจับเวลาไปด้วยเลยจะดีกว่ามากมากครับ เพราะของจริงมันไม่มีเวลาให้หยุดพักเลยสักนิดเดียว นอกจากตอนพลิกหน้ากระดาษ 5555
มาถึงส่วนสุดท้ายกันแล้วนะครับ ส่วนของข้อสอบการอ่าน ในส่วนนี้ก็จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนย่อย ๆ ครับ คือ Incomplete Sentence, Text Completion และ Reading Comprehension ครับ
Incomplete Sentence จะมีอยู่ 40 ข้อ ครับ ลักษณะของข้อสอบก็จะเป็น ประโยคยาว ๆ มาให้ ประโยค มาพร้อมกับช่องว่างสักจุดนึงของประโยค แล้วให้เลือกคำที่จะมาเติมเต็มช่องว่างนั้นได้อย่างถูกต้องที่สุดจากตัวเลือก 4 ข้อครับ // ทำให้เร็ว ทำให้ไว ถ้าทำได้ ให้ล้านนึงงงงง รีบครับ เทคนิคคือทำให้เร็วที่สุด ตอบอันที่คิดว่าใช่ไปเลย ไม่ต้องนั่งทวนนั่งคิดซ้ำครับ เพราะถ้าเราไม่รีบจะทำให้เราทำพาร์ท Reading Comprehension ไม่ทัน ข้อสอบส่วนใหญ่จะวัดเรื่อง Part of Speech กับเรื่อง Tense หรือการผัน Verb เป็นหลักนะครับ แล้วก็มีเรื่อง Preposition Conjunction และอื่น ๆ นิดหน่อย ประปราย ฝึกทำมาให้เยอะ ๆ ครับ แล้วจะซึมซับวิธีการเช็คคำตอบได้อย่างรวดเร็วและมั่นใจเองครับ อาจจะดูแค่คำที่อยู่ก่อนและหลังช่องว่างนั้น ๆ เพื่อเช็ค Part of Speech หรือมองหาคำที่บ่งบอกเวลา เพื่อเช็ค Tense ของประโยคนั้นครับ
Text Completion จะมีอยู่ 12 ข้อ ครับ ลักษณะของข้อสอบก็จะเป็น ข้อความมาชุดนึง เป็นเรื่องราวเลยนะครับ แล้วก็จะมีช่องว่างเว้นอยู่เป็นระยะ ให้เราเลือกคำตอบจากตัวเลือก 4 ข้อ ต่อ 1 ช่องว่าง ไปเติมให้สมบูรณ์ครับ // ในส่วนนี้เทคนิคก็จะคล้าย ๆ กับส่วนของ Incomplete Sentence นะครับ ขอให้รีบทำให้ไวที่สุดเช่นกันนะครับ
Reading Comprehension จะมีอยู่ 48 ข้อ ครับ ลักษณะของข้อสอบก็จะคล้าย ๆ กับข้อสอบ Reading ทีเราเจอ ๆ กันมาตั้งแต่เด็ก ๆ นั่นแหละครับ แต่จะค่อนข้างยาวหน่อย ทำให้ต้องเสียเวลาไปเยอะมากกับแต่ละชุดข้อความ โดยในแต่ละชุดข้อความก็จะมีคำถามให้เรารับผิดชอบตอบมันอยู่ 3 ข้อ พร้อมกับคำตอบ 4 ตัวเลือกต่อข้อครับ เป็นคำถามที่เช็คว่าเราอ่านชุดข้อความนั้น ๆ เข้าใจมั้ย // เทคนิคของผมในส่วนนี้ก็คือการอ่านคำถามและตัวเลือกที่มีให้มาคร่าว ๆ ก่อนแล้วค่อยเริ่มไปสแกนหาคำตอบในชุดข้อความที่มีมาให้ครับ ซึ่งผมคิดว่าจริง ๆ แล้วความยากในการอ่านให้เข้าใจของชุดข้อความแต่ละชุดไม่ได้ยากเบอร์นั้น รวมไปถึงคำถามก็ค่อนข้างจะถามตรง ๆ ไม่ซับซ้อนครับ เพราะฉะนั้น เทคนิคก็คือต้องเผื่อเวลามาทำส่วนนี้ให้เยอะเค้าไว้เท่านั้นครับ ผมเชื่อว่าจะเป็นส่วนที่เก็บคะแนนได้ดีทีเดียว คือ ที่ผมดูจะพูดเรื่องทำไม่ทัน หรือให้รีบทำบ่อย ๆ ก็เพราะว่าผมก็ทำไม่ทันเนี่ยแหละครับ มีหลายชุดข้อความที่ไม่สามารถอ่านให้ละเอียดได้ทัน ต้องรีบอ่านและรีบตอบไปหลายข้อ นอกจากนั้นก็ยังมีที่ดิ่งไปเลยอยู่ด้วยเพราะเวลาจะหมดแล้ว เสียดายมากกกกกก
ข้อควรระวังที่ผมอยากจะเตือนมากที่สุดสำหรับผู้ที่ไม่เคยไปสอบแล้วกำลังจะไปสอบครั้งแรกเนี่ยก็คือ เรื่องทำเวลา เป็นหลักเลยครับ เพราะว่ามันสำคัญมากที่เราควรจะได้ใช้ความสามารถของเราอย่างเต็มที่ไปกับข้อสอบทุกข้อที่มีอยู่ในนั้น เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างความสามารถที่เรามีและฝึกฝนมาทั้งหมดให้เต็มประสิทธิภาพ แล้ววิธีการที่ผมคิดว่ามีประสิทธิภาพต่อการเพิ่มความเร็วในการทำข้อสอบได้ก็คือการฝึกทำข้อสอบนั้น ๆ ในรูปแบบเดียวกันและสถานการณ์เดียวกันกับที่จะเจอในการสอบจริงให้มากที่สุดครับ
หมดแล้วครับสำหรับรีวิวรายละเอียดต่าง ๆ ของการสอบ TOEIC และเทคนิคทั้งหลายที่ผมอยากจะแชร์ อ้อ ผมมี Application ที่มีตัวอย่างข้อสอบ TOEIC ให้ลองฝึกทำมาแนะนำให้ด้วยครับ เผื่อว่าใครหาช่องทางฝึกทำข้อสอบไม่ได้ เป็น App ที่ผมใช้แล้วชอบส่วนตัวเองอะนะครับ ก็คือ "CM TOEIC" กับ "TOEIC TEST" ครับ
ขอบคุณที่อ่านกันมาจนจบนะครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกคน ขอบคุณครับ
และนี่คือผลสอบที่ได้จากการสอบครั้งแรกของผม ต้องขอบคุณคนที่ไปสอบด้วยจริง ๆ ครับ ที่เป็นกำลังใจให้กันมาตลอด 555