เรื่องพริก ในสมัยอยุธยาและขอม
.
เรื่องความเผ็ดร้อนนอกจากการทานหมากพลูจะมีฤทธิ์ฝาดและเข็ดฟันแล้วลิ้นก็ชาปร่าด้วยหมากพลูที่รับประทานเข้าไป ดังนั้นการทานพริกที่เผ็ดก็ยังช่วยเพิ่มความเผ็ดร้อนเพิ่มรสชาติในปาก
1.ทั้งนี้ลาลูแบร์ได้บันทึกเกี่ยวกับอาหารที่ชาวสยามบริโภคว่า “รับประทานน้ำพริก” เป็นเครื่องจิ้ม ประกอบกับตำรายาพระโอสถสมเด็จพระนารายณ์นั้นก็ได้กล่าวถึง “พริก” ในส่วนยาไทยดังนั้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้นชาวสยามรู้จักพริกเรียบร้อยแล้ว
.
2.สำทับด้วยโองการดำน้ำลุยเพลิง ลักษณะพยานในกฎหมายตราสามดวงที่กล่าวถึง “พริกเทศ” ตัวอย่างการลุยเพลิงในขุนช้างขุนแผนคือ
.
โองการดำน้ำ
“ให้โจทก์จำเลยหาผ้าขาวบาง....มาปูกลางศาลทั้งสองรองบัตรพลี
หมากพลูใส่กระทง....ประจงเจียน ทั้งูปเทียนดอกไม้บายศรี
เครื่องตั้งสังเวยกรุงพาลี....มีมะกรูดส้มป่อยกระแจะจันทร์
ผ้าขาวนุ่งผ้าขาวห่มพรมลาด....เสื่อสาดสายสิญจน์ให้จัดสรร
ห้อข้าวแกงใหม่และหม้อกรัณฑ์....ข้าตะไคร้หอมกระเทียมพริกแห้ง
ครกสากคนใช้ไก่พะแนง....ทั้งสองแห่งจัดหาให้เหมือนกัน
.
3.ส่วนวารสารพืชพรรณในวรรคดีไทย ระบุว่า “พริก- Capsicum Frutescens Linn.) พบในตำราพระโอสถพระนารายณ์ (2202) และกฎหมายพิสูจน์ดำน้ำลุยเพลิง (อู่ทอง 1899) ใช้คำว่า “พริกเทศ” แสดงว่าพริกพื้นเมืองของไทยมีมาก่อนแล้ว (ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
.
ในส่วนข้อ 2-3 ได้กล่าวถึงกฎหมายตราสามดวงสมัยพระเจ้าอู่ทองแล้วถ้าอ่านผลงานวิเคราห์ของ “จิตร ภูมิศักดิ์” ที่วิเคราว่าการร่างกฎหมายดังกล่าวนั้นควรจะตรากฎหมายขึ้นมาก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาคือ มาก่อนปี 1893
.
4.จารึกปราสาทและจารึกปันเตียรเมียโจต (มีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 18) เป็นจารึกอักษรขอม กล่าวถึงการสร้างปราสาทเพื่อเป็นอโรคสถานให้มีข้าทาสชายหญิงประจำและแจกผ้าลาย เครื่องเทศรวมทั้ง “ผงพริก” ซึ่งแปลไปทาง “ดีปลี” มากกว่าหากแต่ยังมีข้อความพบว่ามีการแจก “พริกขี้หนู”
เรื่อง พริก ก่อนและช่วงกรุงศรีอยุธยา
.
เรื่องความเผ็ดร้อนนอกจากการทานหมากพลูจะมีฤทธิ์ฝาดและเข็ดฟันแล้วลิ้นก็ชาปร่าด้วยหมากพลูที่รับประทานเข้าไป ดังนั้นการทานพริกที่เผ็ดก็ยังช่วยเพิ่มความเผ็ดร้อนเพิ่มรสชาติในปาก
1.ทั้งนี้ลาลูแบร์ได้บันทึกเกี่ยวกับอาหารที่ชาวสยามบริโภคว่า “รับประทานน้ำพริก” เป็นเครื่องจิ้ม ประกอบกับตำรายาพระโอสถสมเด็จพระนารายณ์นั้นก็ได้กล่าวถึง “พริก” ในส่วนยาไทยดังนั้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้นชาวสยามรู้จักพริกเรียบร้อยแล้ว
.
2.สำทับด้วยโองการดำน้ำลุยเพลิง ลักษณะพยานในกฎหมายตราสามดวงที่กล่าวถึง “พริกเทศ” ตัวอย่างการลุยเพลิงในขุนช้างขุนแผนคือ
.
โองการดำน้ำ
“ให้โจทก์จำเลยหาผ้าขาวบาง....มาปูกลางศาลทั้งสองรองบัตรพลี
หมากพลูใส่กระทง....ประจงเจียน ทั้งูปเทียนดอกไม้บายศรี
เครื่องตั้งสังเวยกรุงพาลี....มีมะกรูดส้มป่อยกระแจะจันทร์
ผ้าขาวนุ่งผ้าขาวห่มพรมลาด....เสื่อสาดสายสิญจน์ให้จัดสรร
ห้อข้าวแกงใหม่และหม้อกรัณฑ์....ข้าตะไคร้หอมกระเทียมพริกแห้ง
ครกสากคนใช้ไก่พะแนง....ทั้งสองแห่งจัดหาให้เหมือนกัน
.
3.ส่วนวารสารพืชพรรณในวรรคดีไทย ระบุว่า “พริก- Capsicum Frutescens Linn.) พบในตำราพระโอสถพระนารายณ์ (2202) และกฎหมายพิสูจน์ดำน้ำลุยเพลิง (อู่ทอง 1899) ใช้คำว่า “พริกเทศ” แสดงว่าพริกพื้นเมืองของไทยมีมาก่อนแล้ว (ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
.
ในส่วนข้อ 2-3 ได้กล่าวถึงกฎหมายตราสามดวงสมัยพระเจ้าอู่ทองแล้วถ้าอ่านผลงานวิเคราห์ของ “จิตร ภูมิศักดิ์” ที่วิเคราว่าการร่างกฎหมายดังกล่าวนั้นควรจะตรากฎหมายขึ้นมาก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาคือ มาก่อนปี 1893
.
4.จารึกปราสาทและจารึกปันเตียรเมียโจต (มีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 18) เป็นจารึกอักษรขอม กล่าวถึงการสร้างปราสาทเพื่อเป็นอโรคสถานให้มีข้าทาสชายหญิงประจำและแจกผ้าลาย เครื่องเทศรวมทั้ง “ผงพริก” ซึ่งแปลไปทาง “ดีปลี” มากกว่าหากแต่ยังมีข้อความพบว่ามีการแจก “พริกขี้หนู”