คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
เรื่องความสัมพันธ์กับชาติตะวันตก ต้องคิดต่อไปครับว่าถ้าสมเด็จพระนารายณ์สวรรคตแล้วใครจะเป็นทายาทราชวงศ์ปราสาททองต่อ เพราะพระองค์ไม่มีพระโอรสอย่างเป็นทางการ มีแต่พระธิดาคือเจ้าฟ้ากรมหลวงโยธาเทพ
พระอนุชาทั้งสองพระองค์ซึ่งหลักฐานร่วมสมัยหลายชิ้นของฝรั่งเศสถือว่าเป็นผู้ชอบธรรมมากที่สุดไม่เคยมีอำนาจอย่างแท้จริงเพราะสมเด็จพระนารายณ์ไม่ทรงไว้วางพระทัย ถูกสั่งห้ามออกขุนนาง ยากต่อการมีฐานอำนาจสนับสนุน นอกจากนี้ปรากฏในหลักฐานของทางฝรั่งเศสว่าไม่เคยมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับฟอลคอน ก็ยากที่ฟอลคอนจะเข้ามามีอิทธิพลเหนือได้ ดุลอำนาจควรอยู่ไปที่ขุนนางไทยมากกว่า
ซึ่งจริงๆ ตอนพระเพทราชาก่อรัฐประหารสมเด็จพระนารายณ์ก็แสดงออกด้วยว่าทรงสนับสนุนพระอนุชาทั้งสอง ทำให้มีผู้ร่วมมือด้วยจำนวนมาก และการกวาดล้างและขับไล่ฝรั่งเศสก็ยังเกิดขึ้นอยู่ก่อนที่จะจับพระอนุชามาสำเร็จโทษ ดังนั้นต่อให้พระอนุชาทั้งสองไม่ถูกสำเร็จโทษ การขับไล่ฝรั่งเศสและจับฟอลคอนประหารก็ยังคงเกิดขึ้นตามเดิมครับ เพราะผู้มีอำนาจตัวจริงคือพระเพทราชาครับ
พระอนุชาทั้งสองก็ทรงพิการ ยากจะทำอะไรมากได้ เจ้าฟ้าอภัยทศองค์โตทรงเป็นง่อย พระสติคุ้มดีคุ้มร้าย ส่วนเจ้าฟ้าน้อยทรงถูกลงอาญาจนเป็นใบ้ (บางแห่งก็ว่าแกล้งใบ้)
ถ้าเจ้าฟ้ากรมหลวงโยธาเทพได้เป็นรัชทายาท โดยอาจจะได้อภิเษกกับเจ้าฟ้าน้อย ซึ่งหลักฐานฝรั่งเศสบางชิ้นได้อ้างว่าสมเด็จพระนารายณ์ทรงมีพินัยกรรมตามนั้น ผลก็ไม่น่าต่างจากเดิมเพราะมีหลักฐานชัดเจนว่ากรมหลวงโยธาเทพไม่โปรดชาวฝรั่งเศสและฟอลคอนที่เข้ามามีอิทธิพลมากเกินไปเช่นเดียวกัน และนอกจากนี้ก็ทรงร่วมมือกับพระเพทราชาในการขับไล่ฝรั่งเศสด้วย เพราะทรงหวังว่าเจ้าฟ้าน้อยจะได้ราชสมบัติสืบต่อ แต่การกลับผิดคาดคือเจ้าฟ้าน้อยกลับถูกจับสำเร็จโทษและพระเพทราชาครองแผ่นดินเสียเองครับ
ส่วนหม่อมปีที่เป็นโอรสบุญธรรม และหลายแห่งร่ำลือว่าเป็นพระโอรสลับ แม้จะเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระนารายณ์ แต่หลักฐานร่วมสมัยก็ระบุว่าไม่ได้มีอำนาจอย่างแท้จริง ขุนนางหลายคนก็ไม่ได้ชอบเพราะเคยมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม พิจารณาแล้วก็ไม่น่ามีอำนาจมาต้านทานพระเพทราชาได้ เพราะปรากฏหลักฐานอยู่ว่าในช่วงที่สมเด็จพระนารายณ์ทรงพระประชวร กลุ่มของหม่อมปีซ่องสุมกำลังอยู่ในแถบพิษณุโลก แต่เมื่อพระเพทราชาแจ้งให้สมเด็จพระนารายณ์ทราบ หม่อมปีก็ต้องสลายกำลังลงไป
และตามหลักฐานจริงๆ ราชวงศ์บ้านพลูหลวงก็ไม่ได้ปิดกั้นตนเองจากชาติตะวันตกเลย แม้ว่าจะขับไล่ฝรั่งเศส แต่ชาวดัตช์ที่เป็นศัตรูของฝรั่งเศสก็ยังได้รับราชการในราชสำนักอยู่มาก
การค้ากับชาติตะวันตกค่อนข้างซบเซาลงไปบ้าง ซึ่งจริงๆ ก็เริ่มซบเซามาตั้งแต่ปลายรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์แล้ว เนื่องจากราชสำนักในเวลานั้นมีนโยบายผูกขาดสินค้าโดยฟอลคอน ทำให้สามารถแสวงหากำไรเข้าท้องพระคลังได้มหาศาล แต่เพราะพ่อค้าต่างประเทศเสียผลประโยชน์ ทำให้ต่างประเทศต้องไปหาตลาดปล่อยสินค้าที่ถูกกว่าอยุทธยาแทน จึงมีหลักฐานว่าสำเภาต่างประเทศที่เข้ามาน้อยลงไปมาก ดังนั้นถ้าสมเด็จพระนารายณ์และฟอลคอนยังกุมอำนาจและใช้นโยบายตามเดิม การค้าต่างประเทศก็มีแต่จะซบเซาลง
หลังจากที่พระเพทราชาได้ราชสมบัติก็ทำให้สัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศสชะงักไประยะหนึ่ง แม้จะมีความพยายามฟื้นฟูความสัมพันธ์ต่อมาในสมัยพระเพทราชาและพระเจ้าเสือ แต่ก็ไม่ได้เจริญเหมือนครั้งสมเด็จพระนารายณ์ ส่วนหนึ่งเกิดจากสถานการณ์ของต่างประเทศในสมัยด้วย ปัจจัยหนึ่งคือเมืองพอนดิเชอร์รีซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญของฝรั่งเศสในอินเดีย ถูกบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ยึดใน พ.ศ.๒๒๓๗ และในยุโรปตอนนั้นมีสงครามใหญ่ติดต่อกันคือ 'สงครามมหาสัมพันธมิตร' (War of the Grand Alliance) กับ 'สงครามสืบราชบัลลังก์สเปน' (War of the Spanish Succession) ทำให้รัฐบาลชาติตะวันตกส่วนใหญ่ไม่ได้มีเวลาสนใจการค้าในแถบตะวันออกมากนัก บวกกับชาติยุโรปก็ทำกำไรในแถบนี้ได้ไม่ค่อยดีนัก ทำให้ในสมัยหลังจะเป็นพ่อค้าเอกชนรายย่อยที่เข้ามาทำการค้ามากกว่าครับ ดังนั้นการจะมุ่งหวังให้อยุทธยาเจริญโดยอาศัยฝรั่งเศสเป็นไปได้ยาก
ตามหลักฐานจริงๆ ราชวงศ์บ้านพลูหลวงก็ไม่ได้ปิดกั้นตนเองจากชาติตะวันตกเลย แม้ว่าจะขับไล่ฝรั่งเศส แต่ชาวดัตช์ที่เป็นศัตรูของฝรั่งเศสก็ยังได้รับราชการในราชสำนักอยู่มากครับ
การค้ากับชาติตะวันตกค่อนข้างซบเซาลงไปบ้าง ซึ่งจริงๆ ก็เริ่มซบเซามาตั้งแต่ปลายรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์แล้ว เนื่องจากราชสำนักในเวลานั้นมีนโยบายผูกขาดสินค้าโดยฟอลคอน ทำให้สามารถแสวงหากำไรเข้าท้องพระคลังได้มหาศาล แต่เพราะพ่อค้าต่างประเทศเสียผลประโยชน์ ทำให้ต่างประเทศต้องไปหาตลาดปล่อยสินค้าที่ถูกกว่าอยุทธยาแทน จึงมีหลักฐานว่าสำเภาต่างประเทศที่เข้ามาน้อยลงไปมาก ดังนั้นถ้าสมเด็จพระนารายณ์และฟอลคอนยังกุมอำนาจและใช้นโยบายตามเดิม การค้าต่างประเทศก็มีแต่จะซบเซาลง
หลังจากที่พระเพทราชาได้ราชสมบัติก็ทำให้สัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศสชะงักไประยะหนึ่ง แม้จะมีความพยายามฟื้นฟูความสัมพันธ์ต่อมาในสมัยพระเพทราชาและพระเจ้าเสือ แต่ก็ไม่ได้เจริญเหมือนครั้งสมเด็จพระนารายณ์ ส่วนหนึ่งเกิดจากสถานการณ์ของต่างประเทศในสมัยด้วย ปัจจัยหนึ่งคือเมืองพอนดิเชอร์รีซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญของฝรั่งเศสในอินเดีย ถูกบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ยึดใน พ.ศ.๒๒๓๗ และในยุโรปตอนนั้นมีสงครามใหญ่ติดต่อกันคือ 'สงครามมหาสัมพันธมิตร' (War of the Grand Alliance) กับ 'สงครามสืบราชบัลลังก์สเปน' (War of the Spanish Succession) ทำให้รัฐบาลชาติตะวันตกส่วนใหญ่ไม่ได้มีเวลาสนใจการค้าในแถบตะวันออกมากนัก บวกกับชาติยุโรปก็ทำกำไรในแถบนี้ได้ไม่ค่อยดีนัก ทำให้ในสมัยหลังจะเป็นพ่อค้าเอกชนรายย่อยที่เข้ามาทำการค้ามากกว่า ดังนั้นการจะมุ่งหวังให้อยุทธยาเจริญโดยอาศัยฝรั่งเศสเป็นไปได้ยากครับ
ซึ่งก็ปรากฏว่าการค้าขายกับตะวันตกยังคงมีมาโดยตลอดโดยกรุงศรีอยุทธยาไม่เคยกีดกัน และเจ้านายสมัยอยุทธยาตอยปลายก็ยังสนใจในการหาผลประโยชน์จากการค้าต่างประเทศ ปรากฏในหลักฐานร่วมสมัยของดัตช์ว่าพระเจ้าเสือเมื่อครั้งเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงมีสิทธิในการทำการค้าสำเภาด้วยพระองค์เองกับ เมืองท่าของชายฝั่งโคโรมันเดรลในอินเดีย ญี่ปุ่น และปัตตาเวีย
จึงปรากฏในเอกสารสมัยหลังว่าอยุทธยาตอนปลายนั้นก็ยังคงเป็นเมืองท่าที่มีเรือสินค้าจากหัวเมืองและต่างประเทศมาค้าขายอยู่เสมอ
ทางอยุทธยาเองหันไปทำการค้ากับจีนในสมัยพระเจ้าท้ายสระมากขึ้น เพราะตั้งแต่ปลายรัชสมัยคังซี ที่มณฑลกวางตุ้งและฝูเจี้ยนมีภัยธรรมชาติมากทำให้ขาดแคลนข้าว ซึ่งไทยเองก็นำข้าวไปค้าสำเภาให้จีนโดยไม่ต้องเสียภาษี ทำกำไรเข้าท้องพระคลังอย่างมหาศาล เศรษฐกิจของอยุทธยาในสมัยนั้นก็นับว่าดีพอสมควรโดยไม่ต้องทำการค้ากับตะวันตกเป็นหลัก และปรากฏว่าไทยเองก็มีสั่งซื้อสินค้าจากจีนจำนวนมากอย่างพวกเครื่องกระเบื้อง นอกจากนี้ด้วยสภาวะสังคมในเวลานั้นจึงดึงดูดให้ชาวจีนเข้ามาในระบบราชการจำนวนมากครับ
ดังนั้น ในแง่ของความสัมพันธ์กับตะวันตก ถ้าพระราชวงศ์ปราสาททองอย่างพระอนุชาหรือเจ้าฟ้ากรมหลวงโยธาเทพได้ราชสมบัติ ก็คงไม่มีอะไรแตกต่างจากเดิมมากครับ และเหตุการณ์ในอนาคต ก็ขึ้นอยู่กับการเลือกดำเนินนโยบายในรัชกาลต่อๆ ไป
พระอนุชาทั้งสองพระองค์ซึ่งหลักฐานร่วมสมัยหลายชิ้นของฝรั่งเศสถือว่าเป็นผู้ชอบธรรมมากที่สุดไม่เคยมีอำนาจอย่างแท้จริงเพราะสมเด็จพระนารายณ์ไม่ทรงไว้วางพระทัย ถูกสั่งห้ามออกขุนนาง ยากต่อการมีฐานอำนาจสนับสนุน นอกจากนี้ปรากฏในหลักฐานของทางฝรั่งเศสว่าไม่เคยมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับฟอลคอน ก็ยากที่ฟอลคอนจะเข้ามามีอิทธิพลเหนือได้ ดุลอำนาจควรอยู่ไปที่ขุนนางไทยมากกว่า
ซึ่งจริงๆ ตอนพระเพทราชาก่อรัฐประหารสมเด็จพระนารายณ์ก็แสดงออกด้วยว่าทรงสนับสนุนพระอนุชาทั้งสอง ทำให้มีผู้ร่วมมือด้วยจำนวนมาก และการกวาดล้างและขับไล่ฝรั่งเศสก็ยังเกิดขึ้นอยู่ก่อนที่จะจับพระอนุชามาสำเร็จโทษ ดังนั้นต่อให้พระอนุชาทั้งสองไม่ถูกสำเร็จโทษ การขับไล่ฝรั่งเศสและจับฟอลคอนประหารก็ยังคงเกิดขึ้นตามเดิมครับ เพราะผู้มีอำนาจตัวจริงคือพระเพทราชาครับ
พระอนุชาทั้งสองก็ทรงพิการ ยากจะทำอะไรมากได้ เจ้าฟ้าอภัยทศองค์โตทรงเป็นง่อย พระสติคุ้มดีคุ้มร้าย ส่วนเจ้าฟ้าน้อยทรงถูกลงอาญาจนเป็นใบ้ (บางแห่งก็ว่าแกล้งใบ้)
ถ้าเจ้าฟ้ากรมหลวงโยธาเทพได้เป็นรัชทายาท โดยอาจจะได้อภิเษกกับเจ้าฟ้าน้อย ซึ่งหลักฐานฝรั่งเศสบางชิ้นได้อ้างว่าสมเด็จพระนารายณ์ทรงมีพินัยกรรมตามนั้น ผลก็ไม่น่าต่างจากเดิมเพราะมีหลักฐานชัดเจนว่ากรมหลวงโยธาเทพไม่โปรดชาวฝรั่งเศสและฟอลคอนที่เข้ามามีอิทธิพลมากเกินไปเช่นเดียวกัน และนอกจากนี้ก็ทรงร่วมมือกับพระเพทราชาในการขับไล่ฝรั่งเศสด้วย เพราะทรงหวังว่าเจ้าฟ้าน้อยจะได้ราชสมบัติสืบต่อ แต่การกลับผิดคาดคือเจ้าฟ้าน้อยกลับถูกจับสำเร็จโทษและพระเพทราชาครองแผ่นดินเสียเองครับ
ส่วนหม่อมปีที่เป็นโอรสบุญธรรม และหลายแห่งร่ำลือว่าเป็นพระโอรสลับ แม้จะเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระนารายณ์ แต่หลักฐานร่วมสมัยก็ระบุว่าไม่ได้มีอำนาจอย่างแท้จริง ขุนนางหลายคนก็ไม่ได้ชอบเพราะเคยมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม พิจารณาแล้วก็ไม่น่ามีอำนาจมาต้านทานพระเพทราชาได้ เพราะปรากฏหลักฐานอยู่ว่าในช่วงที่สมเด็จพระนารายณ์ทรงพระประชวร กลุ่มของหม่อมปีซ่องสุมกำลังอยู่ในแถบพิษณุโลก แต่เมื่อพระเพทราชาแจ้งให้สมเด็จพระนารายณ์ทราบ หม่อมปีก็ต้องสลายกำลังลงไป
และตามหลักฐานจริงๆ ราชวงศ์บ้านพลูหลวงก็ไม่ได้ปิดกั้นตนเองจากชาติตะวันตกเลย แม้ว่าจะขับไล่ฝรั่งเศส แต่ชาวดัตช์ที่เป็นศัตรูของฝรั่งเศสก็ยังได้รับราชการในราชสำนักอยู่มาก
การค้ากับชาติตะวันตกค่อนข้างซบเซาลงไปบ้าง ซึ่งจริงๆ ก็เริ่มซบเซามาตั้งแต่ปลายรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์แล้ว เนื่องจากราชสำนักในเวลานั้นมีนโยบายผูกขาดสินค้าโดยฟอลคอน ทำให้สามารถแสวงหากำไรเข้าท้องพระคลังได้มหาศาล แต่เพราะพ่อค้าต่างประเทศเสียผลประโยชน์ ทำให้ต่างประเทศต้องไปหาตลาดปล่อยสินค้าที่ถูกกว่าอยุทธยาแทน จึงมีหลักฐานว่าสำเภาต่างประเทศที่เข้ามาน้อยลงไปมาก ดังนั้นถ้าสมเด็จพระนารายณ์และฟอลคอนยังกุมอำนาจและใช้นโยบายตามเดิม การค้าต่างประเทศก็มีแต่จะซบเซาลง
หลังจากที่พระเพทราชาได้ราชสมบัติก็ทำให้สัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศสชะงักไประยะหนึ่ง แม้จะมีความพยายามฟื้นฟูความสัมพันธ์ต่อมาในสมัยพระเพทราชาและพระเจ้าเสือ แต่ก็ไม่ได้เจริญเหมือนครั้งสมเด็จพระนารายณ์ ส่วนหนึ่งเกิดจากสถานการณ์ของต่างประเทศในสมัยด้วย ปัจจัยหนึ่งคือเมืองพอนดิเชอร์รีซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญของฝรั่งเศสในอินเดีย ถูกบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ยึดใน พ.ศ.๒๒๓๗ และในยุโรปตอนนั้นมีสงครามใหญ่ติดต่อกันคือ 'สงครามมหาสัมพันธมิตร' (War of the Grand Alliance) กับ 'สงครามสืบราชบัลลังก์สเปน' (War of the Spanish Succession) ทำให้รัฐบาลชาติตะวันตกส่วนใหญ่ไม่ได้มีเวลาสนใจการค้าในแถบตะวันออกมากนัก บวกกับชาติยุโรปก็ทำกำไรในแถบนี้ได้ไม่ค่อยดีนัก ทำให้ในสมัยหลังจะเป็นพ่อค้าเอกชนรายย่อยที่เข้ามาทำการค้ามากกว่าครับ ดังนั้นการจะมุ่งหวังให้อยุทธยาเจริญโดยอาศัยฝรั่งเศสเป็นไปได้ยาก
ตามหลักฐานจริงๆ ราชวงศ์บ้านพลูหลวงก็ไม่ได้ปิดกั้นตนเองจากชาติตะวันตกเลย แม้ว่าจะขับไล่ฝรั่งเศส แต่ชาวดัตช์ที่เป็นศัตรูของฝรั่งเศสก็ยังได้รับราชการในราชสำนักอยู่มากครับ
การค้ากับชาติตะวันตกค่อนข้างซบเซาลงไปบ้าง ซึ่งจริงๆ ก็เริ่มซบเซามาตั้งแต่ปลายรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์แล้ว เนื่องจากราชสำนักในเวลานั้นมีนโยบายผูกขาดสินค้าโดยฟอลคอน ทำให้สามารถแสวงหากำไรเข้าท้องพระคลังได้มหาศาล แต่เพราะพ่อค้าต่างประเทศเสียผลประโยชน์ ทำให้ต่างประเทศต้องไปหาตลาดปล่อยสินค้าที่ถูกกว่าอยุทธยาแทน จึงมีหลักฐานว่าสำเภาต่างประเทศที่เข้ามาน้อยลงไปมาก ดังนั้นถ้าสมเด็จพระนารายณ์และฟอลคอนยังกุมอำนาจและใช้นโยบายตามเดิม การค้าต่างประเทศก็มีแต่จะซบเซาลง
หลังจากที่พระเพทราชาได้ราชสมบัติก็ทำให้สัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศสชะงักไประยะหนึ่ง แม้จะมีความพยายามฟื้นฟูความสัมพันธ์ต่อมาในสมัยพระเพทราชาและพระเจ้าเสือ แต่ก็ไม่ได้เจริญเหมือนครั้งสมเด็จพระนารายณ์ ส่วนหนึ่งเกิดจากสถานการณ์ของต่างประเทศในสมัยด้วย ปัจจัยหนึ่งคือเมืองพอนดิเชอร์รีซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญของฝรั่งเศสในอินเดีย ถูกบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ยึดใน พ.ศ.๒๒๓๗ และในยุโรปตอนนั้นมีสงครามใหญ่ติดต่อกันคือ 'สงครามมหาสัมพันธมิตร' (War of the Grand Alliance) กับ 'สงครามสืบราชบัลลังก์สเปน' (War of the Spanish Succession) ทำให้รัฐบาลชาติตะวันตกส่วนใหญ่ไม่ได้มีเวลาสนใจการค้าในแถบตะวันออกมากนัก บวกกับชาติยุโรปก็ทำกำไรในแถบนี้ได้ไม่ค่อยดีนัก ทำให้ในสมัยหลังจะเป็นพ่อค้าเอกชนรายย่อยที่เข้ามาทำการค้ามากกว่า ดังนั้นการจะมุ่งหวังให้อยุทธยาเจริญโดยอาศัยฝรั่งเศสเป็นไปได้ยากครับ
ซึ่งก็ปรากฏว่าการค้าขายกับตะวันตกยังคงมีมาโดยตลอดโดยกรุงศรีอยุทธยาไม่เคยกีดกัน และเจ้านายสมัยอยุทธยาตอยปลายก็ยังสนใจในการหาผลประโยชน์จากการค้าต่างประเทศ ปรากฏในหลักฐานร่วมสมัยของดัตช์ว่าพระเจ้าเสือเมื่อครั้งเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงมีสิทธิในการทำการค้าสำเภาด้วยพระองค์เองกับ เมืองท่าของชายฝั่งโคโรมันเดรลในอินเดีย ญี่ปุ่น และปัตตาเวีย
จึงปรากฏในเอกสารสมัยหลังว่าอยุทธยาตอนปลายนั้นก็ยังคงเป็นเมืองท่าที่มีเรือสินค้าจากหัวเมืองและต่างประเทศมาค้าขายอยู่เสมอ
ทางอยุทธยาเองหันไปทำการค้ากับจีนในสมัยพระเจ้าท้ายสระมากขึ้น เพราะตั้งแต่ปลายรัชสมัยคังซี ที่มณฑลกวางตุ้งและฝูเจี้ยนมีภัยธรรมชาติมากทำให้ขาดแคลนข้าว ซึ่งไทยเองก็นำข้าวไปค้าสำเภาให้จีนโดยไม่ต้องเสียภาษี ทำกำไรเข้าท้องพระคลังอย่างมหาศาล เศรษฐกิจของอยุทธยาในสมัยนั้นก็นับว่าดีพอสมควรโดยไม่ต้องทำการค้ากับตะวันตกเป็นหลัก และปรากฏว่าไทยเองก็มีสั่งซื้อสินค้าจากจีนจำนวนมากอย่างพวกเครื่องกระเบื้อง นอกจากนี้ด้วยสภาวะสังคมในเวลานั้นจึงดึงดูดให้ชาวจีนเข้ามาในระบบราชการจำนวนมากครับ
ดังนั้น ในแง่ของความสัมพันธ์กับตะวันตก ถ้าพระราชวงศ์ปราสาททองอย่างพระอนุชาหรือเจ้าฟ้ากรมหลวงโยธาเทพได้ราชสมบัติ ก็คงไม่มีอะไรแตกต่างจากเดิมมากครับ และเหตุการณ์ในอนาคต ก็ขึ้นอยู่กับการเลือกดำเนินนโยบายในรัชกาลต่อๆ ไป
แสดงความคิดเห็น
อยากถามนักโบราณคดีหรือคนที่สนใจประวัติศาสตร์ว่า หลังจากรัชสมัยพระนารายณ์ฯ หากยังติดต่อกับต่างชาติอยู่จะเป็นอย่างไรบ้าง
เลยสงสัยว่ายุคทองแห่งอยุธยาอย่างสมัยพระนารายณ์มหาราช ที่มีการติดต่อกับต่างชาติมากโดยเฉพาะประเทศฝรั่งเศสนี่เจริญรุ่งเรื่องขนาดไหนคะ
และอยากจะลองชวนมาวิเคราะห์ว่า ถ้าหากสมมติไม่มีการปฏิวัติจากพระเพทราชา และไม่มีการตัดสัมพันธไมตรีกับประเทศฝรั่งเศส
บ้านเมืองหลังจากนั้นจะเป็นอย่างไรบ้าง
ส่วนตัวคิดคร่าวๆว่า จะได้เทคโนโลยี การศึกษา วัฒนธรรมมาจากฝรั่งเศสมากขึ้น อาจมีการส่งรัชทายาทหรือขุนนางไปเรียน
เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส และคาดว่าอาจจะมีการสัมพันธ์กับประเทศทางฝรั่งยุโรปอื่นๆด้วย คิดว่าประเทศไทยคงมีอำนาจในการต่อรองทางการค้า หรือเป็นเมืองท่าที่ดีได้