หมาหวงก้าง เป็นสุภาษิตหมายถึง คนที่หวงของที่ตนไม่มีสิทธิ์ คนที่กันท่าคนอื่นในสิ่งที่ตนไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้ว หรือใช้ประโยชน์ไม่ได้
ในขณะที่
หมาในรางหญ้า หมายถึง คนที่หวงแหนสิ่งที่ตนเองกินหรือใช้ไม่ได้ แต่ไม่ยอมให้คนอื่นกินหรือใช้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เปลว สีเงินได้กล่าวไว้ในบทความ "'มหาเศรษฐีบนทางประเทศ'" ส่วนหนึ่งว่า
เรื่องที่ดิน "ผืนนั้น-ผืนนี้" อย่างมักกะสัน ปล่อยทิ้งร้าง ไม่เกิดประโยชน์เป็นร้อยปี
พอจะเอามาทำประโยชน์ "หมาในรางหญ้า" มากันใหญ่
จะให้ใครพัฒนา คำก็ขายสมบัติชาติ สองคำก็ประเคนให้นายทุน!
คิดแค่นี้ มันง่ายดี แต่พอใครมาเป็นรัฐบาล ก็ค่อนขอด
ไม่เห็นลงทุนพัฒนาบ้านเมือง เหมือนบ้านอื่น-เมืองอื่นเขาบ้างเลย
หรือไม่ก็ บ้านโน้น-เมืองนี้ เขาพัฒนาไปถึงไหนๆ แต่เมืองไทยไม่มีอะไรกระดิก?
ก็จะกระดิกได้ไง......
พอรัฐบาลจะทำอะไร เฮ้ยๆ มันขายชาติ เฮ้ยๆ มันทำลายสิ่งแวดล้อม เฮ้ยๆ มันเอาสมบัติชาติประเคนนายทุน!
พูดกันยังกะว่า แผ่นดินคือขนมในห่อใบตอง จะแซะ-จะหิ้วเอาแผ่นดินตรงนั้นไปจากประเทศไทยได้
ปัญหาจริงๆ มันมีอยู่ว่า...........
คนพูดและคนฟัง ส่วนมาก "ไม่ได้ศัพท์แล้วจับมาโวย"!
ในกฎหมาย ทุกการเช่า-การลงทุน มีเงื่อนไข มีกรอบกติกาอยู่ แต่ไม่อ่าน ชอบรักชาติแบบดิบๆ
ตัวอย่าง ล่าสุด ในด้านไม่อ่าน-ไม่ศึกษาให้เข้าใจ แล้วนำออกโพนทะนา
พาดหัวใหญ่โต "ประกาศใช้เป็นกฎหมายแล้ว ห้ามวิจารณ์ศาลรัฐธรรมนูญ"
แต่พออ่านเนื้อความตาม พ.ร.บ.เขาบอกว่า.......
(1) ห้ามไม่ให้วิจารณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญ ด้วยคำหยาบคาย เสียดสี หรืออาฆาตมาดร้าย......"
เห็นมั้ย คนละเรื่องกันเลย........
เขาไม่ได้ห้ามวิจารณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญ
ให้วิจารณ์ได้............
แต่ห้ามไม่ให้ใช้คำหยาบคาย เสียดสี อาฆาตมาดร้าย ในการวิจารณ์
น้ำตื้น สวะลอย
น้ำลึก เท่านั้น จะมีซุงลอย!
บ้านเมืองจะพัฒนาให้ก้าวหน้าได้ สาธุชนทั้งหลาย ใช้ซุง อย่ามุ่งปริมาณสวะ.
สำนวนทั้งสองสำนวน เรียกได้ว่า มีความหมายแทบจะใกล้เคียงกันมาก กับ ที่ดินมักกะสัน
ที่ดิน “มักกะสัน” ทำเลทองของ “ร.ฟ.ท. - การรถไฟแห่งประเทศไทย” ด้วยศักยภาพของพื้นที่ที่ใกล้รถไฟฟ้าใต้ดิน และแอร์พอร์ตลิงก์ อีกทั้งยังกำหนดให้เป็นเกตเวย์ “อีอีซี-ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก”
ทำให้เวลานี้ “มักกะสัน” มีพื้นที่รอพัฒนา 497 ไร่ กำลังเป็นที่จับจ้องตาเป็นมันของนักลงทุนไทย-เทศ
สภาพในปัจจุบัน ที่ดินมักกะสัน แทบจะเป็นพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์ไม่คุ้มค่ากับพื้นที่ใจกลางเมืองของกรุงเทพมหานครเลย ไม่ว่าจะเป็นบริเวณแอร์พอร์ตลิงก์ สถานีมักกะสัน ที่อยู่ห่างจากจุดเชื่อมต่อการคมนาคมทุกชนิด ไม่ใกล้ป้ายรถเมล์ ไม่ใกล้ทางลงรถไฟฟ้า MRT ไม่ใกล้อะไรเลยที่จะเอื้อประโยชน์ให้คนอยากเข้ามาใช้บริการ จนทำให้การเดินทางไม่สะดวก ทำให้ไม่มีคนเข้ามาใช้บริการ กลายเป็นพื้นที่รกร้าง และกลายเป็นจุดทิ้งขยะของคนในบริเวณนั้น
หรือ บริเวณโรงซ่อมรถไฟมักกะสัน ที่เป็นพื้นที่ซ่อมบำรุงรถไฟไทยในปัจจุบัน และเป็นที่พักของพนักงานการรถไฟ
การรถไฟแห่งประเทศไทย ไม่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาที่ดินที่ครอบครอง ที่ดินที่มีอยู่แล้วไม่ได้ใช้ประโยชน์ ก็ควรคืนให้หลวง ให้กระทรวงการคลัง นำพื้นที่ไปใช้พัฒนา และปลดหนี้จำนวนมหาศาลของการรถไฟไทยในปัจจุบัน
ล่าสุดบอร์ดอีอีซี กำหนดให้สถานีมักกะสันเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อการเดินทางรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เนื่องจากปัจจุบันสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป และการปรับบทบาทของสถานีมักกะสันให้เป็นจุดเชื่อมต่อรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา หนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานของอีอีซี
สำหรับที่ดินมักกะสัน มีที่รอพัฒนา 497 ไร่ แบ่งเป็น 4 โซน
• พัฒนาในเชิงพาณิชย์ เฟส 1 : 140 ไร่
• พัฒนาในเชิงพาณิชย์ เฟส 2 : 177 ไร่
• สวนสาธารณะ : 150 ไร่
• พิพิธภัณฑ์ : 30 ไร่
หมาหวงก้าง และหมาในรางหญ้า
ในขณะที่ หมาในรางหญ้า หมายถึง คนที่หวงแหนสิ่งที่ตนเองกินหรือใช้ไม่ได้ แต่ไม่ยอมให้คนอื่นกินหรือใช้ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สำนวนทั้งสองสำนวน เรียกได้ว่า มีความหมายแทบจะใกล้เคียงกันมาก กับ ที่ดินมักกะสัน
ที่ดิน “มักกะสัน” ทำเลทองของ “ร.ฟ.ท. - การรถไฟแห่งประเทศไทย” ด้วยศักยภาพของพื้นที่ที่ใกล้รถไฟฟ้าใต้ดิน และแอร์พอร์ตลิงก์ อีกทั้งยังกำหนดให้เป็นเกตเวย์ “อีอีซี-ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก”
ทำให้เวลานี้ “มักกะสัน” มีพื้นที่รอพัฒนา 497 ไร่ กำลังเป็นที่จับจ้องตาเป็นมันของนักลงทุนไทย-เทศ
สภาพในปัจจุบัน ที่ดินมักกะสัน แทบจะเป็นพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์ไม่คุ้มค่ากับพื้นที่ใจกลางเมืองของกรุงเทพมหานครเลย ไม่ว่าจะเป็นบริเวณแอร์พอร์ตลิงก์ สถานีมักกะสัน ที่อยู่ห่างจากจุดเชื่อมต่อการคมนาคมทุกชนิด ไม่ใกล้ป้ายรถเมล์ ไม่ใกล้ทางลงรถไฟฟ้า MRT ไม่ใกล้อะไรเลยที่จะเอื้อประโยชน์ให้คนอยากเข้ามาใช้บริการ จนทำให้การเดินทางไม่สะดวก ทำให้ไม่มีคนเข้ามาใช้บริการ กลายเป็นพื้นที่รกร้าง และกลายเป็นจุดทิ้งขยะของคนในบริเวณนั้น
หรือ บริเวณโรงซ่อมรถไฟมักกะสัน ที่เป็นพื้นที่ซ่อมบำรุงรถไฟไทยในปัจจุบัน และเป็นที่พักของพนักงานการรถไฟ
การรถไฟแห่งประเทศไทย ไม่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาที่ดินที่ครอบครอง ที่ดินที่มีอยู่แล้วไม่ได้ใช้ประโยชน์ ก็ควรคืนให้หลวง ให้กระทรวงการคลัง นำพื้นที่ไปใช้พัฒนา และปลดหนี้จำนวนมหาศาลของการรถไฟไทยในปัจจุบัน
ล่าสุดบอร์ดอีอีซี กำหนดให้สถานีมักกะสันเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อการเดินทางรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เนื่องจากปัจจุบันสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป และการปรับบทบาทของสถานีมักกะสันให้เป็นจุดเชื่อมต่อรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา หนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานของอีอีซี
• พัฒนาในเชิงพาณิชย์ เฟส 1 : 140 ไร่
• พัฒนาในเชิงพาณิชย์ เฟส 2 : 177 ไร่
• สวนสาธารณะ : 150 ไร่
• พิพิธภัณฑ์ : 30 ไร่