ปวดคอชาร้าวลงแขน รักษาได้อย่างไร

ในผู้ที่อายุมากและผ่านการใช้งานคอมานานจะมีการเสื่อมของข้อต่างๆบริเวณคอเกิดขึ้น
เช่นเดียวกับข้อต่อบริเวณอื่นๆในร่างกาย โดยเริ่มจากการเสื่อมของหมอนรองกระดูก
                                  พบว่าในระยะเริ่มต้นจะมีการแห้งของเจลที่อยู่ในหมอนรองกระดูกร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง
ของโปรตีนที่มีส่วนช่วยในการกระจายแรงของหมอนรองกระดูก ทำให้กระดูกต้องรับแรงกระทำมากขึ้น เกิดการฉีกขาดของโครงสร้าง
และผิวข้อต่อถูกทำลาย ทำให้ความมั่นคงของข้อต่อลดลง และความเว้าของแนวกระดูกสันหลังช่วงคอลดลง



                    อาการและอาการแสดง
                                   ผู้ป่วยมักมาด้วยอาการปวดบริเวณคอ โดยไม่สามารถระบุตำแหน่งได้อย่างแน่ชัด
ในผู้ป่วยบางรายจะไม่มีอาการปวดคอแต่จะปวดบริเวณท้ายทอย หัวไหล่ หรือทรวงอกทางด้านหน้า  
อาการปวดมักจะเป็นมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวและอาการจะลดเมื่อพัก  
                                   ซึ่งอาการที่มักจะมีร่วมกับการปวดคอ ได้แก่ ปวดศีรษะ ปวดร้าวไปหัวไหล่และแขน
เวียนศีรษะ ซึ่งจะส่งผลให้การทำงานของกล้ามเนื้อระดับคอ  สะบัก ไหล่ และหลังส่วนอก มีความบกพร่อง
                                   จากสาเหตุดังกล่าวพบว่าในคนไข้บางรายมีการจำกัดการเคลื่อนไหว, กล้ามเนื้อคอ สะบัก และไหล่
เกิดการฝ่อลีบ อ่อนแรงและมีอาการล้า โดยลักษณะที่สังเกตได้ในผู้ป่วยที่ปวดคอได้แก่ มีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ
ของกระดูกสันหลังส่วนคอ มีจุดกดเจ็บบริเวณคอและบ่ารวมไปถึงสะบัก ในรายที่มีอาการมากๆจะมีอาการชาบริเวณแขนร่วมด้วย
รวมไปถึงการทรงท่าที่ผิดปกติของคอ เช่นคอยื่นไปข้างหน้า เป็นต้น


                                   การรักษาทางกายภาพบำบัด
                                                   1. ใส่ปลอกดามคอ เพื่อจำกัดการเคลื่อนในรายที่มีอาการปวดมากๆ
                                                   2. ลดอาการปวดและจุดกดเจ็บโดยการใช้อัลตร้าซาวด์, การวางแผ่นร้อน,
                                                       การใช้กระแสไฟฟ้าหรือใช้เทคนิคการติดเทปลดปวด
                                                   3. ลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อและเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อต่อโดยการใช้ manual technique
                                                   4. ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ
                                                   5. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและปรับท่าทางให้ถูกต้อง




บทความโดย ฟิสิคอลคลินิกกายภาพบำบัด
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่