โรคยอดฮิตที่ชื่อว่า HNP หรือ Herniated nucleus pulposus หรือชื่อที่เรารู้จักกันทั่วๆไปว่าโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน
โรคนี้เกิดจากหมอนรองกระดูกมีการฉีกขาดทำให้สารน้ำที่อยู่ในหมอนรองกระดูกเคลื่อนออกมาจนกดทับเส้นประสาท
ส่วนใหญ่จะพบบริเวณข้อต่อกระดูกสันหลัง L4-L5 และ L5-S1 มักพบในผู้ป่วยอายุระหว่าง 21-50 ปี
โดยมีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเช่น การยกของหนัก อุบัติเหตุ และการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลัง เป็นต้น
อาการและอาการแสดง
1. ปวดหลังร้าวลงขา จะมีอาการปวดมากขึ้นเมื่อนั่งหรือก้ม หรือไอจาม แต่อาการจะดีขึ้นเมื่อยืนหรือเดิน
2. ชา ตามแนวของเส้นประสาท (Dermatome)
3. กล้ามเนื้อของขาที่เส้นประสาทถูกกดทับ อ่อนแรง
โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยที่เป็นโรค HNP อาการจะดีขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัด วิธีการรักษาโดยไม่ผ่าตัดได้แก่
1.การทำกายภาพบำบัด เช่น การขยับข้อต่อ(Mobilization), การดึงหลัง (Traction), การทำ Ultrasound
การกระตุ้นไฟฟ้า และการบริหารกล้ามเนื้อหลัง เป็นต้น
2.การให้ยาแก้ปวดและยาคลายกล้ามเนื้อ
3.การฉีดสเตียรอยด์เข้าโพรงกระดูกสันหลังเพื่อลดการอักเสบของเส้นประสาท
หากผู้ป่วยมีอาการปวดรุนแรงมาก ร่วมกับกล้ามเนื้ออ่อนแรง และทำการรักษาโดยวิธีการไม่ผ่าตัดแล้วอาการไม่ดีขึ้น
แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อทำการผ่าตัดค่ะ
บทความโดย ฟิสิคอลคลินิกกายภาพบำบัด
อาการและการรักษาโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนกดทับเส้นประสาท
โรคนี้เกิดจากหมอนรองกระดูกมีการฉีกขาดทำให้สารน้ำที่อยู่ในหมอนรองกระดูกเคลื่อนออกมาจนกดทับเส้นประสาท
ส่วนใหญ่จะพบบริเวณข้อต่อกระดูกสันหลัง L4-L5 และ L5-S1 มักพบในผู้ป่วยอายุระหว่าง 21-50 ปี
โดยมีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเช่น การยกของหนัก อุบัติเหตุ และการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลัง เป็นต้น
อาการและอาการแสดง
1. ปวดหลังร้าวลงขา จะมีอาการปวดมากขึ้นเมื่อนั่งหรือก้ม หรือไอจาม แต่อาการจะดีขึ้นเมื่อยืนหรือเดิน
2. ชา ตามแนวของเส้นประสาท (Dermatome)
3. กล้ามเนื้อของขาที่เส้นประสาทถูกกดทับ อ่อนแรง
โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยที่เป็นโรค HNP อาการจะดีขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัด วิธีการรักษาโดยไม่ผ่าตัดได้แก่
1.การทำกายภาพบำบัด เช่น การขยับข้อต่อ(Mobilization), การดึงหลัง (Traction), การทำ Ultrasound
การกระตุ้นไฟฟ้า และการบริหารกล้ามเนื้อหลัง เป็นต้น
2.การให้ยาแก้ปวดและยาคลายกล้ามเนื้อ
3.การฉีดสเตียรอยด์เข้าโพรงกระดูกสันหลังเพื่อลดการอักเสบของเส้นประสาท
หากผู้ป่วยมีอาการปวดรุนแรงมาก ร่วมกับกล้ามเนื้ออ่อนแรง และทำการรักษาโดยวิธีการไม่ผ่าตัดแล้วอาการไม่ดีขึ้น
แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อทำการผ่าตัดค่ะ
บทความโดย ฟิสิคอลคลินิกกายภาพบำบัด