3 มีนาคม วันสัตว์ป่าและพืชป่าโลก
กรมอุทยานฯ ร่วมกับกลุ่มเอ็นจีโอ เชิญชาวไทยเป็นสายตรวจโซเชียลปกป้องสัตว์ป่าของแผ่นดิน
#ร่วมสืบช่วยสัตว์ #ปกป้องสัตว์ป่าของแผ่นดิน #WildWatchTH
เนื่องในวันที่ 3 มีนาคมของทุกปีเป็นวันสัตว์ป่าและพืชป่าโลก กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ร่วมกับกลุ่มองค์กรไม่แสวงผลกำไรด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า เผยแพร่สื่อรณรงค์บนโซเชียลมีเดียอย่างเฟซบุ้คภายใต้แนวคิด “ร่วมปกป้องสัตว์่ป่าของแผ่นดิน” พร้อมเชิญชวนคนไทยทุกคนร่วมกันทำหน้าที่สายตรวจโซเชียล เป็นหูเป็นตา และแจ้งเจ้าหน้าที่เมื่อพบเห็นการล่า ค้า และครอบครองสัตว์ป่าผิดกฎหมายผ่านสายด่วนกรมอุทยานฯ 1362
การณรณรงค์ผ่านโซเชียลมีเดียในครั้งนี้ริเริ่มจากกรณีที่นายเปรมชัย กรรณสูตร ประธานบริหารบริษัทอิตาเลียนไทย และพวกตกเป็นผู้ต้องหาลักลอบล่าสัตว์ป่าคุ้มครอง ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ซึ่งทำให้คนไทยส่วนใหญ่ไม่พอใจ และหันมาสนใจในประเด็นการปกป้องสัตว์ป่าที่เป็นมรดกทางธรรมชาติของประเทศ มากยิ่งขึ้น โดยการรณรงค์ดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากองค์กรไม่แสวงผลกำไรประกอบไปด้วย สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย, มูลนิธิฟรีแลนด์ (Freeland), มูลนิธิโลกสีเขียว (Green World Foundation), องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ(IUCN), มูลนิธิรักสัตว์ป่า (Love Wildlife Foundation), กลุ่มเนเจอร์ เพลิน (Nature Play and Learn), มูลนิธิสืบนาคะเสถียร (Seub Nakhasathien Foundation), เครือข่ายเฝ้าระวังการค้าสัตว์ป่าและพืชป่า ทราฟฟิค (TRAFFIC), องค์กรไวล์ดเอด (WildAid) และองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF)
เพจกลุ่มบนเฟซบุ้คทั้งที่เป็นแบบเปิดสาธารณะ และแบบกลุ่มปิด คือช่องทางบนโลกออนไลน์ที่สามารถพบเห็นการลักลอบล่า ค้า และครอบครองสัตว์ป่าผิดกฎหมายอย่างเปิดเผย โดยคนไทยบางส่วนอาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่าสัตว์ที่ตัวเองได้มา หรือซื้อหามานั้นเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ซึ่งการครอบครองถือว่าผิดกฎหมาย
ในปีงบประมาณ 2560 ที่ผ่านมา ชุดปฏิบัติการพิเศษเพื่อปราบปรามการกระทำผิดด้านสัตว์ป่าของกรมอุทยานฯ ที่มีชื่อว่า ทีมเหยี่ยวดง ได้จับกุมการกระทำความผิดด้านสัตว์ป่า จำนวน 40คดี ผู้ต้องหาจำนวน 41 คน ยึดสัตว์ป่าจำนวน 1,161ตัว ซากของสัตว์ป่า จำนวน 255ซาก และผลิตภัณฑ์จำนวน 360 ชิ้น
สื่อรณรงค์ที่ได้เผยแพร่บนโซเชียลมีเดียตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคมเป็นต้นไป ประกอบไปด้วยข้อมูลที่น่าสนใจของสัตว์ 6 ชนิดที่มักตกเป็นเหยื่อของการค้าและครอบครองโดยผิดกฎหมายมากที่สุดโดย เป้าหมายของการรณรงค์ก็เพื่อให้ความรู้
ด้านกฎหมายกับประชาชนที่ใช้โซเชียลมีเดีย ว่าสัตว์บางประเภทที่คนนิยมหาซื้อมาเลี้ยง หรือหาผลประโยชน์นั้น คือสัตว์ป่าคุ้มครอง ที่ไม่สามารถนำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงหรือขายได้
และเชิญชวนให้ช่วยกันสืบและจับภาพหน้าจอที่แสดงถึงการกระทำผิดกฎหมาย รวมถึงรายละเอียดผู้ค้า และแจ้งมาที่สายด่วน 1362 , เฟซบุ้ค สายด่วน 1362 @1362DNP หรือ เฟซบุ้ค บก.ปทส. Greencop - Thailand @NEDPolice และเฟซบุ้ค ชุดปฏิบัติการพิเศษเหยี่ยวดง @DNP.WILDHAWK
ทั้งนี้การเป็นสายสืบโซเชียลอย่างปลอดภัยนั้น มีข้อควรระวังดังนี้
● อย่าถาม ทัก แชท คอมเม้นท์ หรือขอเป็นเพื่อนกับผู้กระทำผิด
● อย่าทำให้ผู้ลักลอบค้า ผู้ซื้อ หรือผู้ครอบครองสัตว์ป่าสงสัยพฤติกรรมของคุณ
● อย่าล่อซื้อเพื่อเก็บหลักฐาน เพราะถือเป็นการสนับสนุนการค้าและคุณอาจถูกดำเนินคดี
● อย่ากระทำการใดๆ ที่ทำให้ตัวเองตกอยู่ในความเสี่ยง
ชวนคนไทยเป็นสายตรวจโซเชียล ปกป้องสัตว์ป่าของแผ่นดิน
3 มีนาคม วันสัตว์ป่าและพืชป่าโลก
กรมอุทยานฯ ร่วมกับกลุ่มเอ็นจีโอ เชิญชาวไทยเป็นสายตรวจโซเชียลปกป้องสัตว์ป่าของแผ่นดิน
#ร่วมสืบช่วยสัตว์ #ปกป้องสัตว์ป่าของแผ่นดิน #WildWatchTH
เนื่องในวันที่ 3 มีนาคมของทุกปีเป็นวันสัตว์ป่าและพืชป่าโลก กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ร่วมกับกลุ่มองค์กรไม่แสวงผลกำไรด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า เผยแพร่สื่อรณรงค์บนโซเชียลมีเดียอย่างเฟซบุ้คภายใต้แนวคิด “ร่วมปกป้องสัตว์่ป่าของแผ่นดิน” พร้อมเชิญชวนคนไทยทุกคนร่วมกันทำหน้าที่สายตรวจโซเชียล เป็นหูเป็นตา และแจ้งเจ้าหน้าที่เมื่อพบเห็นการล่า ค้า และครอบครองสัตว์ป่าผิดกฎหมายผ่านสายด่วนกรมอุทยานฯ 1362
การณรณรงค์ผ่านโซเชียลมีเดียในครั้งนี้ริเริ่มจากกรณีที่นายเปรมชัย กรรณสูตร ประธานบริหารบริษัทอิตาเลียนไทย และพวกตกเป็นผู้ต้องหาลักลอบล่าสัตว์ป่าคุ้มครอง ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ซึ่งทำให้คนไทยส่วนใหญ่ไม่พอใจ และหันมาสนใจในประเด็นการปกป้องสัตว์ป่าที่เป็นมรดกทางธรรมชาติของประเทศ มากยิ่งขึ้น โดยการรณรงค์ดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากองค์กรไม่แสวงผลกำไรประกอบไปด้วย สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย, มูลนิธิฟรีแลนด์ (Freeland), มูลนิธิโลกสีเขียว (Green World Foundation), องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ(IUCN), มูลนิธิรักสัตว์ป่า (Love Wildlife Foundation), กลุ่มเนเจอร์ เพลิน (Nature Play and Learn), มูลนิธิสืบนาคะเสถียร (Seub Nakhasathien Foundation), เครือข่ายเฝ้าระวังการค้าสัตว์ป่าและพืชป่า ทราฟฟิค (TRAFFIC), องค์กรไวล์ดเอด (WildAid) และองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF)
เพจกลุ่มบนเฟซบุ้คทั้งที่เป็นแบบเปิดสาธารณะ และแบบกลุ่มปิด คือช่องทางบนโลกออนไลน์ที่สามารถพบเห็นการลักลอบล่า ค้า และครอบครองสัตว์ป่าผิดกฎหมายอย่างเปิดเผย โดยคนไทยบางส่วนอาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่าสัตว์ที่ตัวเองได้มา หรือซื้อหามานั้นเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ซึ่งการครอบครองถือว่าผิดกฎหมาย
ในปีงบประมาณ 2560 ที่ผ่านมา ชุดปฏิบัติการพิเศษเพื่อปราบปรามการกระทำผิดด้านสัตว์ป่าของกรมอุทยานฯ ที่มีชื่อว่า ทีมเหยี่ยวดง ได้จับกุมการกระทำความผิดด้านสัตว์ป่า จำนวน 40คดี ผู้ต้องหาจำนวน 41 คน ยึดสัตว์ป่าจำนวน 1,161ตัว ซากของสัตว์ป่า จำนวน 255ซาก และผลิตภัณฑ์จำนวน 360 ชิ้น
สื่อรณรงค์ที่ได้เผยแพร่บนโซเชียลมีเดียตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคมเป็นต้นไป ประกอบไปด้วยข้อมูลที่น่าสนใจของสัตว์ 6 ชนิดที่มักตกเป็นเหยื่อของการค้าและครอบครองโดยผิดกฎหมายมากที่สุดโดย เป้าหมายของการรณรงค์ก็เพื่อให้ความรู้
ด้านกฎหมายกับประชาชนที่ใช้โซเชียลมีเดีย ว่าสัตว์บางประเภทที่คนนิยมหาซื้อมาเลี้ยง หรือหาผลประโยชน์นั้น คือสัตว์ป่าคุ้มครอง ที่ไม่สามารถนำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงหรือขายได้
และเชิญชวนให้ช่วยกันสืบและจับภาพหน้าจอที่แสดงถึงการกระทำผิดกฎหมาย รวมถึงรายละเอียดผู้ค้า และแจ้งมาที่สายด่วน 1362 , เฟซบุ้ค สายด่วน 1362 @1362DNP หรือ เฟซบุ้ค บก.ปทส. Greencop - Thailand @NEDPolice และเฟซบุ้ค ชุดปฏิบัติการพิเศษเหยี่ยวดง @DNP.WILDHAWK
ทั้งนี้การเป็นสายสืบโซเชียลอย่างปลอดภัยนั้น มีข้อควรระวังดังนี้
● อย่าถาม ทัก แชท คอมเม้นท์ หรือขอเป็นเพื่อนกับผู้กระทำผิด
● อย่าทำให้ผู้ลักลอบค้า ผู้ซื้อ หรือผู้ครอบครองสัตว์ป่าสงสัยพฤติกรรมของคุณ
● อย่าล่อซื้อเพื่อเก็บหลักฐาน เพราะถือเป็นการสนับสนุนการค้าและคุณอาจถูกดำเนินคดี
● อย่ากระทำการใดๆ ที่ทำให้ตัวเองตกอยู่ในความเสี่ยง