ธรรมยาตรามีในสมัยพุทธกาลไหม ?
มีการโปรยดอกไม้แบบเว่อร์วังอลังการด้วยไหม ?
แล้วกล่าวสาธุกันตลอดทางล่ะ..อย่างนี้ก็ได้ด้วยหรือ ?
ผู้เขียนเชื่อว่า..ผู้อ่านที่เปิดมาอ่านบทความนี้ ต้องสนใจกิจกรรมธรรมยาตราของวัดพระธรรมกายไม่ทางลบ ก็ทางบวก !!!
ไม่ว่าผู้อ่านจะคิดอย่างไรกับกิจกรรมนี้ ผู้เขียนก็คงห้ามหรือเปลี่ยนความคิดอะไรของใครไม่ได้
แต่เมื่อมีเหตุที่ต้องมาเจอบทความนี้แล้ว ก็อยากให้ได้มุมมองอะไรใหม่ ๆ ไป เพื่อจะได้เข้าใจเรื่องราวแท้จริงของธรรมยาตราในสมัยพุทธกาล
ถ้าผู้อ่านเป็นคนชอบอ่านพระไตรปิฎก ก็จะรู้ทันทีว่า วัดพระธรรมกายไม่ได้ซี้ซั้วทำโครงการนี้จากการมโนขึ้นมาเอง เพราะธรรมยาตรา ถือเป็นพุทธประเพณีที่มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลจริง ๆ และที่สำคัญพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงเป็นผู้นำเดินธรรมยาตราด้วยพระองค์เองอีกด้วย
ดังนั้นการที่วัดพระธรรมกายจัดกิจกรรมตามอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำตามพุทธประเพณี ก็ไม่ใช่สิ่งผิดประการใดเลย อีกทั้งยังเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องสืบสานด้วยซ้ำ เพราะก่อนหน้านี้ แทบจะไม่มีใครสนใจพุทธประเพณีอันดีงามนี้เลย แม้จะมีหลายองค์กรจัดกิจกรรมแบบนี้ขึ้น แต่ก็ยังเป็นกระแสที่เงียบมาก
จนกระทั่งวันหนึ่ง วัดพระธรรมกายทำโครงการนี้ขึ้นมา แม้จะโดนด่าในเบื้องต้น ก็ถือเป็นสิ่งดีมาก เพราะกลายเป็นกระแสที่ทำให้ทั้งประเทศหันกลับมามองและศึกษาว่า..จริง ๆ แล้วธุดงค์หรือธรรมยาตราคืออะไรกันแน่ ? และเมื่อศึกษา ถกเถียงกันแล้ว ประชาชนก็จะได้ความรู้เพิ่ม ส่วนวัดพระธรรมกายก็ได้นำไปพัฒนาให้ดีขึ้น โดยปีนี้ทางวัดได้เน้นกิจกรรมในพื้นที่ เพิ่มกิจกรรมสาธารณประโยชน์ มอบทุนการศึกษา ซึ่งถือว่า..โครงการนี้เข้ามาฟื้นฟูทดแทนส่วนที่หายไปของสังคมไทยอย่างแท้จริง
ธรรมยาตรามีในสมัยพุทธกาลไหม ?
มี และมีหลายครั้งด้วย ซึ่งธรรมยาตราในสมัยพุทธกาลก็ไม่ได้ทำกันแบบเล็ก ๆ อย่างที่เราคิด อย่างในครั้งที่พระองค์เสด็จไปโปรดพระประยูรญาติและชาวเมือง พระองค์ทรงนำพระภิกษุมากถึง ๒๐,๐๐๐ รูป เสด็จธรรมยาตราออกจากกรุงราชคฤห์ไปกรุงกบิลพัสดุ์ โดยเดินทางไกลถึงวันละ ๑ โยชน์ (๑๖ กิโลเมตร) เป็นเวลานานถึง ๒ เดือน ซึ่งผู้เขียนก็มาคิดเล่น ๆ ว่า ถ้าสมัยนั้นมีกินเนสเวิลด์เรคคอร์ด ก็คงมีบันทึกไว้ว่า..มีธรรมยาตรายาวที่สุดในโลก เพราะระยะทางราว ๙๙๒ กิโลเมตรเลยทีเดียว (ซึ่งมากกว่าวัดพระธรรมกายเดินมาก) !!!
ครั้นพอไปถึงแล้ว พระประยูรญาติและชาวเมืองทั้งหมดแห่กันออกมาทำการต้อนรับ พากันถือดอกไม้และของหอมออกไปรับเสด็จกันจำนวนมหาศาล ทำให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสามารถรวมคนจำนวนมากมาฟังพระองค์ได้ในคราวเดียว
เท่านั้นยังไม่พอ พระพุทธองค์ยังทรงแสดงปาฏิหาริย์ครั้งยิ่งใหญ่ คือพระองค์ทรงเสด็จจงกรมเหนือรัตนจงกรมในอากาศ ทำให้ทุกคนตื่นตาตื่นใจมาก เพื่อสยบทิฐิพระประยูรญาติก่อนแล้วค่อยโปรดสอน… (อ่านเพิ่มเติมใน อรรถกถา ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ รัตนจงกรมกัณฑ์)
ส่วนธรรมยาตราที่โด่งดังมากอีกครั้ง ก็คือ หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดชฎิล ๓ พี่น้องและบริวารจนบรรลุอรหัตผลกันหมดแล้ว พระองค์ก็ทรงพาพระสาวกใหม่ทั้ง ๑,๐๐๓ รูป ธรรมยาตราเดินทางเข้าเมืองราชคฤห์ เพื่อโปรดพระเจ้าพิมพิสาร และเมื่อข่าวการเสด็จพร้อมด้วยพระสาวกจำนวนมากดังขจรขจายไปทั่วสารทิศ ก็ทำให้พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบ จึงรีบเสด็จมาเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมพราหมณ์และคหบดีชาวมคธมากถึง ๑๒ นหุต จึงเป็นเหตุให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เทศน์โปรดคนได้คราวละจำนวนมาก ๆ ไม่ใช่ลำพังแค่พระเจ้าพิมพิสารเพียงองค์เดียว ซึ่งถือเป็นยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระศาสนาที่ได้ผลมากจริงๆ… (อ่านเพิ่มเติมที่ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ ทรงเทศนาโปรดพระเจ้าพิมพิสาร เสด็จพระนครราชคฤห์ครั้งแรก )
มีการโปรยดอกไม้แบบเว่อร์วังอลังการด้วยไหม ?
มี และมียิ่งกว่าที่วัดพระธรรมกายทำอีก เพราะในครั้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนำเหล่าภิกษุสงฆ์ 500 รูป ธรรมยาตราไปโปรดชาวเมืองเวสาลีช่วงที่ประสบภัยพิบัติร้ายแรง ครั้งนั้นพระเจ้าพิมพิสารก็ทรงมีรับสั่งให้ปรับพื้นที่เส้นทางเสด็จ และเตรียมการอย่างมโหฬารสั่งให้สร้างวิหารซึ่งใช้เป็นที่ประทับในทุก ๆ ๑ โยชน์ และเมื่อถึงวันที่พระพุทธองค์เสด็จ พระเจ้าพิมพิสารก็ทรงตั้งขบวนรับเสด็จ โดยจัดให้มีการโปรยดอกไม้ 5 สีแบบจัดหนัก คือ โปรยสูงถึงหัวเข่ากันทีเดียว ซึ่งถือว่าการต้อนรับพระพุทธองค์ในครั้งนั้น ได้ทำแบบจัดเต็ม จัดแบบอลังการงานสร้าง เพราะประชาชนทั้งเมืองต้องมาช่วยกัน เพื่อไม่ให้ขาดตกบกพร่องเลยทีเดียว… (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน อรรถกถา ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ รัตนสูตรในขุททกปาฐะ พรรณนารัตนสูตร ,อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ปกิณณกวรรคที่ ๒๑ ปกิณณกวรรควรรณนา ๑. เรื่องบุรพกรรมของพระองค์ )
แล้วกล่าวสาธุกันตลอดทางล่ะ..อย่างนี้ก็ได้ด้วยหรือ ?
สมัยก่อนเขาจะเรียกการกล่าวสาธุแสดงความเคารพกันเป็นทอด ๆ ตลอดทางอย่างนี้ว่า “สาธุกีฬา” ซึ่งเรื่องนี้มีปรากฏชัดเจนในสมัยของพระเจ้าอชาตศัตรู ครั้งที่พระองค์ได้จัดงานมหกรรมครั้งยิ่งใหญ่ โดยให้ทำการอัญเชิญพระบรมธาตุ แล้วกล่าวสาธุแสดงความเคารพเลื่อมใสกันเป็นทอด ๆ ซึ่งเรียกกันว่า “สาธุกีฬา” และประชาชนผู้เลื่อมใสก็จะเก็บดอกไม้มาบูชาพระบรมธาตุ ตลอดระยะทางยาวถึง ๒๕ โยชน์ คือ ตั้งแต่กรุงกุสินาราจนถึงกรุงราชคฤห์ โดยทำสาธุกีฬานี้ตลอดต่อเนื่องนานถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วันกันเลยทีเดียว… (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร)
หากเราเปิดใจให้กว้าง จะพบว่า..การจัดธรรมยาตราทำให้เกิดสิ่งดีงามบนผืนแผ่นดินไทยมากมาย เพราะเป็นกิจกรรมที่ให้ทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน เพราะพระภิกษุก็ได้ฝึกสติและมีศีลาจารวัตรที่งดงาม ส่วนญาติโยมในพื้นที่ ก็ได้เข้าวัดมาฟังเทศน์ ฟังธรรม นั่งสมาธิ บำเพ็ญกิจกรรมช่วยกันทำความสะอาดวัดวาอารามที่ปู่ย่าตายายเราร่วมสร้างกันมา เพื่อสืบสานพุทธประเพณีอันดีงามนี้ให้ดำรงอยู่คู่สังคมไทยต่อไป…
cr. ร.ลิ่วเฉลิมวงศ์
ธรรมยาตรามีในสมัยพุทธกาลไหม ?
ธรรมยาตรามีในสมัยพุทธกาลไหม ?
มีการโปรยดอกไม้แบบเว่อร์วังอลังการด้วยไหม ?
แล้วกล่าวสาธุกันตลอดทางล่ะ..อย่างนี้ก็ได้ด้วยหรือ ?
ผู้เขียนเชื่อว่า..ผู้อ่านที่เปิดมาอ่านบทความนี้ ต้องสนใจกิจกรรมธรรมยาตราของวัดพระธรรมกายไม่ทางลบ ก็ทางบวก !!!
ไม่ว่าผู้อ่านจะคิดอย่างไรกับกิจกรรมนี้ ผู้เขียนก็คงห้ามหรือเปลี่ยนความคิดอะไรของใครไม่ได้
แต่เมื่อมีเหตุที่ต้องมาเจอบทความนี้แล้ว ก็อยากให้ได้มุมมองอะไรใหม่ ๆ ไป เพื่อจะได้เข้าใจเรื่องราวแท้จริงของธรรมยาตราในสมัยพุทธกาล
ถ้าผู้อ่านเป็นคนชอบอ่านพระไตรปิฎก ก็จะรู้ทันทีว่า วัดพระธรรมกายไม่ได้ซี้ซั้วทำโครงการนี้จากการมโนขึ้นมาเอง เพราะธรรมยาตรา ถือเป็นพุทธประเพณีที่มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลจริง ๆ และที่สำคัญพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงเป็นผู้นำเดินธรรมยาตราด้วยพระองค์เองอีกด้วย
ดังนั้นการที่วัดพระธรรมกายจัดกิจกรรมตามอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำตามพุทธประเพณี ก็ไม่ใช่สิ่งผิดประการใดเลย อีกทั้งยังเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องสืบสานด้วยซ้ำ เพราะก่อนหน้านี้ แทบจะไม่มีใครสนใจพุทธประเพณีอันดีงามนี้เลย แม้จะมีหลายองค์กรจัดกิจกรรมแบบนี้ขึ้น แต่ก็ยังเป็นกระแสที่เงียบมาก
จนกระทั่งวันหนึ่ง วัดพระธรรมกายทำโครงการนี้ขึ้นมา แม้จะโดนด่าในเบื้องต้น ก็ถือเป็นสิ่งดีมาก เพราะกลายเป็นกระแสที่ทำให้ทั้งประเทศหันกลับมามองและศึกษาว่า..จริง ๆ แล้วธุดงค์หรือธรรมยาตราคืออะไรกันแน่ ? และเมื่อศึกษา ถกเถียงกันแล้ว ประชาชนก็จะได้ความรู้เพิ่ม ส่วนวัดพระธรรมกายก็ได้นำไปพัฒนาให้ดีขึ้น โดยปีนี้ทางวัดได้เน้นกิจกรรมในพื้นที่ เพิ่มกิจกรรมสาธารณประโยชน์ มอบทุนการศึกษา ซึ่งถือว่า..โครงการนี้เข้ามาฟื้นฟูทดแทนส่วนที่หายไปของสังคมไทยอย่างแท้จริง
ธรรมยาตรามีในสมัยพุทธกาลไหม ?
มี และมีหลายครั้งด้วย ซึ่งธรรมยาตราในสมัยพุทธกาลก็ไม่ได้ทำกันแบบเล็ก ๆ อย่างที่เราคิด อย่างในครั้งที่พระองค์เสด็จไปโปรดพระประยูรญาติและชาวเมือง พระองค์ทรงนำพระภิกษุมากถึง ๒๐,๐๐๐ รูป เสด็จธรรมยาตราออกจากกรุงราชคฤห์ไปกรุงกบิลพัสดุ์ โดยเดินทางไกลถึงวันละ ๑ โยชน์ (๑๖ กิโลเมตร) เป็นเวลานานถึง ๒ เดือน ซึ่งผู้เขียนก็มาคิดเล่น ๆ ว่า ถ้าสมัยนั้นมีกินเนสเวิลด์เรคคอร์ด ก็คงมีบันทึกไว้ว่า..มีธรรมยาตรายาวที่สุดในโลก เพราะระยะทางราว ๙๙๒ กิโลเมตรเลยทีเดียว (ซึ่งมากกว่าวัดพระธรรมกายเดินมาก) !!!
ครั้นพอไปถึงแล้ว พระประยูรญาติและชาวเมืองทั้งหมดแห่กันออกมาทำการต้อนรับ พากันถือดอกไม้และของหอมออกไปรับเสด็จกันจำนวนมหาศาล ทำให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสามารถรวมคนจำนวนมากมาฟังพระองค์ได้ในคราวเดียว
เท่านั้นยังไม่พอ พระพุทธองค์ยังทรงแสดงปาฏิหาริย์ครั้งยิ่งใหญ่ คือพระองค์ทรงเสด็จจงกรมเหนือรัตนจงกรมในอากาศ ทำให้ทุกคนตื่นตาตื่นใจมาก เพื่อสยบทิฐิพระประยูรญาติก่อนแล้วค่อยโปรดสอน… (อ่านเพิ่มเติมใน อรรถกถา ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ รัตนจงกรมกัณฑ์)
ส่วนธรรมยาตราที่โด่งดังมากอีกครั้ง ก็คือ หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดชฎิล ๓ พี่น้องและบริวารจนบรรลุอรหัตผลกันหมดแล้ว พระองค์ก็ทรงพาพระสาวกใหม่ทั้ง ๑,๐๐๓ รูป ธรรมยาตราเดินทางเข้าเมืองราชคฤห์ เพื่อโปรดพระเจ้าพิมพิสาร และเมื่อข่าวการเสด็จพร้อมด้วยพระสาวกจำนวนมากดังขจรขจายไปทั่วสารทิศ ก็ทำให้พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบ จึงรีบเสด็จมาเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมพราหมณ์และคหบดีชาวมคธมากถึง ๑๒ นหุต จึงเป็นเหตุให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เทศน์โปรดคนได้คราวละจำนวนมาก ๆ ไม่ใช่ลำพังแค่พระเจ้าพิมพิสารเพียงองค์เดียว ซึ่งถือเป็นยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระศาสนาที่ได้ผลมากจริงๆ… (อ่านเพิ่มเติมที่ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ ทรงเทศนาโปรดพระเจ้าพิมพิสาร เสด็จพระนครราชคฤห์ครั้งแรก )
มีการโปรยดอกไม้แบบเว่อร์วังอลังการด้วยไหม ?
มี และมียิ่งกว่าที่วัดพระธรรมกายทำอีก เพราะในครั้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนำเหล่าภิกษุสงฆ์ 500 รูป ธรรมยาตราไปโปรดชาวเมืองเวสาลีช่วงที่ประสบภัยพิบัติร้ายแรง ครั้งนั้นพระเจ้าพิมพิสารก็ทรงมีรับสั่งให้ปรับพื้นที่เส้นทางเสด็จ และเตรียมการอย่างมโหฬารสั่งให้สร้างวิหารซึ่งใช้เป็นที่ประทับในทุก ๆ ๑ โยชน์ และเมื่อถึงวันที่พระพุทธองค์เสด็จ พระเจ้าพิมพิสารก็ทรงตั้งขบวนรับเสด็จ โดยจัดให้มีการโปรยดอกไม้ 5 สีแบบจัดหนัก คือ โปรยสูงถึงหัวเข่ากันทีเดียว ซึ่งถือว่าการต้อนรับพระพุทธองค์ในครั้งนั้น ได้ทำแบบจัดเต็ม จัดแบบอลังการงานสร้าง เพราะประชาชนทั้งเมืองต้องมาช่วยกัน เพื่อไม่ให้ขาดตกบกพร่องเลยทีเดียว… (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน อรรถกถา ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ รัตนสูตรในขุททกปาฐะ พรรณนารัตนสูตร ,อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ปกิณณกวรรคที่ ๒๑ ปกิณณกวรรควรรณนา ๑. เรื่องบุรพกรรมของพระองค์ )
แล้วกล่าวสาธุกันตลอดทางล่ะ..อย่างนี้ก็ได้ด้วยหรือ ?
สมัยก่อนเขาจะเรียกการกล่าวสาธุแสดงความเคารพกันเป็นทอด ๆ ตลอดทางอย่างนี้ว่า “สาธุกีฬา” ซึ่งเรื่องนี้มีปรากฏชัดเจนในสมัยของพระเจ้าอชาตศัตรู ครั้งที่พระองค์ได้จัดงานมหกรรมครั้งยิ่งใหญ่ โดยให้ทำการอัญเชิญพระบรมธาตุ แล้วกล่าวสาธุแสดงความเคารพเลื่อมใสกันเป็นทอด ๆ ซึ่งเรียกกันว่า “สาธุกีฬา” และประชาชนผู้เลื่อมใสก็จะเก็บดอกไม้มาบูชาพระบรมธาตุ ตลอดระยะทางยาวถึง ๒๕ โยชน์ คือ ตั้งแต่กรุงกุสินาราจนถึงกรุงราชคฤห์ โดยทำสาธุกีฬานี้ตลอดต่อเนื่องนานถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วันกันเลยทีเดียว… (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร)
หากเราเปิดใจให้กว้าง จะพบว่า..การจัดธรรมยาตราทำให้เกิดสิ่งดีงามบนผืนแผ่นดินไทยมากมาย เพราะเป็นกิจกรรมที่ให้ทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน เพราะพระภิกษุก็ได้ฝึกสติและมีศีลาจารวัตรที่งดงาม ส่วนญาติโยมในพื้นที่ ก็ได้เข้าวัดมาฟังเทศน์ ฟังธรรม นั่งสมาธิ บำเพ็ญกิจกรรมช่วยกันทำความสะอาดวัดวาอารามที่ปู่ย่าตายายเราร่วมสร้างกันมา เพื่อสืบสานพุทธประเพณีอันดีงามนี้ให้ดำรงอยู่คู่สังคมไทยต่อไป…
cr. ร.ลิ่วเฉลิมวงศ์