ความหมายและที่มาของคำว่า “ธรรมกาย”
ธรรมกาย คือกายภายในที่มีอยู่ในกายของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ไม่จำกัดว่าจะเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา พรหม อรูปพรหม ล้วนต่างมีธรรมกายอยู่ภายในทั้งสิ้น แต่ภพภูมิที่สามารถเข้าถึง ธรรมกาย ได้นั้น จะต้องเป็นเวไนยสัตว์ที่อยู่ในสุขคติภูมิเท่านั้น จึงจะสามารถเข้าถึงได้
คำว่าธรรมกายนี้ หลวงพ่อท่านกล่าวไว้ในพระธรรมเทศนาเรื่องพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณว่า ท่านมิได้เป็นผู้บัญญัติขึ้นเอง แต่มีคำนี้ปรากฏอยู่แล้วในพระไตรปิฎก หลวงพ่อได้อธิบายที่มาไว้ดังนี้
“...พระสิทธัตถะ ทรงกระทำความเพียรอยู่ถึง ๖ พรรษา จึงพบรัตนะอันลี้ลับซับซ้อน อยู่ในองค์พระคือพระธรรมกาย มีสัณฐานเหมือนพระปฏิมากร เกตุดอกบัวตูม มีสีใสเหมือนกระจก ปรากฏอยู่ในศูนย์กลางกาย ที่ว่านี้มีหลักฐานอยู่ในอัคคัญญสูตร ที่พระองค์ตรัสแก่วาเสฎฐสามเณรว่า ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฎฺฐา อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปิ ในพระสุตตันตปิฎก ฑีฆนิกาย ปาฎิกวรรค ยืนยันความว่าดูกรวาเสฎฐสามเณร “คำว่าธรรมกายนี้ เป็นชื่อของพระตถาคตโดยแท้
เรื่องพระวักกลินั้น เมื่อระลึกถึงคตวามในอัคคัญญสูตรนี้ ประกอบแล้ว ย่อมส่องความให้เห็นว่า ที่พระองค์ตรัสว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา” นั้น หมายความว่า ผู้ใดเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ผู้นั้นได้ชื่อว่าเห็นเรา คือตถาคตนั่นเอง มิใช่อื่นไกลหรือพูดให้เข้าใจง่ายกว่านี้ ก็ว่า ผู้ใดเห็นดวงธรรมที่ว่านี้ ผู้นั้นเห็นพระพุทธเจ้า หรืออีกอย่างหนึ่งว่า ผู้ใดเห็นธรรมกาย ผู้นั้นเห็นพระพุทธเจ้า
ทำไมจึงหมายความเช่นนั้นก็เพราะว่า ขณะนั้นพระวักกลิก็อยู่ใกล้ๆ กับพระพุทธองค์ หากจะแลดูด้วยลูกตาธรรมดา ทำไมจะไม่เห็นพระองค์ เพราะไม่ปรากฏว่าพระวักกลินั้นตาพิการ เมื่อเช่นนี้ไฉนพระองค์จะตรัสเช่นนั้นเล่า ที่ตรัสเช่นนั้น จึงตีความหมายได้ว่า ที่แลเห็นด้วยตาธรรมดานนั้น เห็นแต่เปลือกของพระองค์ ก็คือกายพระสิตถัตถะที่ออกบวช ซึ่งมิได้อยู่ในความหมายแห่งคำว่าเรา และยังตรัสว่าเป็นที่เปื่อยเน่าด้วย นั่นคือกายพระสิตธัตถะที่ออกบวช ก็คือกายภายนอกนั่น คำว่าเราในที่นี้จึงสันนิษฐานได้ว่า หมายถึงกาภายในซึ่งมิใช่กายเปื่อยเน่า กายภายในซึ่งมิใช่กายเปื่อยเน่า กายภายในคืออะไรเล่า ก็คือธรรมกายนั่นเอง จะเห็นได้อย่างไร ข้อนี้ตอบไม่ยาก เมื่อได้บำเพ็ญกิจภาวนาถูกส่วนแล้ว ท่านจะเห็นด้วยตาของท่านเอง คือเห็นด้วยตาธรรมกาย (ตาของกายละเอียด) ไม่ใช่ตาธรรมดา
พระดำรัสของพระองค์ดังยกขึ้นมากกล่าวนั้นเป็นปัญหาธรรมมีนัยลึกซึ้งอยู่ อันผู้มิได้ปฏิบัติธรรมแล้ว เข้าใจได้ยาก แต่ถ้าผู้ปฏิบัติได้แล้ว จะตอบปัญหานี้ได้ด้วยตนเองอย่างง่ายดาย ไม่ต้องไปถามใคร...”
พระวักกลินั้นออกบวชด้วยความติดใจในพระรูปพระโฉมอันงดงามของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่เลื่อมใสในพระธรรมคำสอน ไม่ว่าพระพุทธเจ้าจะเสด็จไปประทับ ณ ที่ใด พระวักกลิจะติดตามไปคอยเฝ้าดูพระพุทธองค์ทุกพระอิริยาบถ ด้วยความประทับใจ
พระพุทธองค์ทรงทราบดี แต่ก็มิได้ทรงว่ากล่าวแต่ประการใด เพราะเห็นว่ายังไม่ถึงเวลา เมื่อทรงเห็นว่าญาณของพระวักกลิแก่กล้าแล้ว จึงตรัสว่า อเปหิ วกฺกลิ กึเต วกฺกลิ อิมินา ปูติกาเยน ทิฏฺเฐน จงถอยออกไป วักกลิ ร่างกายตถาคตเป็นของเปื่อยเน่า โย โข วกฺกลิ ธมฺมํ ปสฺสติ โส มํ ปสฺสติ โย มํ ปสฺสติ โส ธมฺมํ ปสฺสติ แน่ะสำแดงวักกลิ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ ผู้ตถาคตคือธรรมกาย พระวักกลิเสียใจที่พระพุทธเจ้าไม่ให้โอกาสได้ใกล้ชิดอีกต่อไป ทั้งมีพระวาจาตัดรอนจึงคิดจะไปกระโดดหน้าผา ฆ่าตัวตาย พระพุทธองค์ทรงติดตามไปแสดงธรรมโปรด จนพระวักกลิบรรลุธรรม
พระเดชพระคุณพระธรรมทัศนาธร ได้อธิบายเพิ่มเติมเรื่องพระวักกลิกับธรรมกายของหลวงพ่อ ไว้ดังนี้
“การที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสกับพระวักกลิว่า ถ้าบุคคลผู้ใดเห็นธรรม นั่นจึงจะเห็นตถาคต พระตถาคตอยู่ที่ธรรมใน เป็นเครื่องยืนยันว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องการที่จะให้คนรู้จักพระองค์ท่านเห็นพระองค์ท่านให้ลึกซึ้งเข้าไปถึงธรรม เมื่อรวมความกับที่พระองค์ตอบกับวาเสฎฐพราหมณ์ว่า คำว่าธรรมกายเป็นชื่อของตถาคต จึงน่าจะจับใจความได้ว่าธรรมนั้นคือองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้พระธรรม พระธรรมเสกสรรปั้นให้พระองค์เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อบุคคลเราจะระลึกถึงพระองค์ท่าน ก็ควรจะระลึกถึงพระธรรม พระเดชพระคุณที่อยู่ในหีบ จึงได้ตั้งเป็นสถาบันของคณะวิปัสสนานี้ไว้ เพื่อให้บรรดาประชาชนได้เข้าถึงธรรมกาย คือองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า”
มีคำว่า ธรรมกาย ปรากฏอยู่อีกหลายแห่งจาก หลักฐานในคัมภีร์
(๑) พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า พระองค์เป็นธรรมกาย
“ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฏฺฐา อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปิ พฺรหฺมกาโย อิติปิ ธมฺมภูโต อิติปิ พฺรหฺมภูโต อิติปิ”
“วาเสฏฐะและภารทวาชะ คำว่า ธรรมกาย ก็ดี พรหมกาย ก็ดี ธรรมภูต ก็ดี พรหมภูต ก็ดี เป็นชื่อของตถาคต”
ที.ปา.๑๑/๕๕/๙๒
(๒) พระแม่น้ามหาปชาบดีโคตมี ผู้เป็นพระอรหันต์ แสดงว่าตนเป็นธรรมกาย
“อหํ สุคต เต มาตา ตุวํ ธีร ปิตา มม
สทฺธมฺมสุขโท นาถ ตยา ชาตมฺหิ โคตม.
สํวทฺธิโตยํ สุคต รูปกาโย มยา ตว
อานนฺทิโย ธมฺมกาโย มม สํวทฺธิโต ตยา.
มุหุตฺตํ ตณฺหาสมนํ ขีรํ ตฺวํ ปายิโต มยา
ตยาหํ สนฺตมจฺจนฺตํ ธมฺมขีรมฺปิ ปายิตา.
พนฺธนารกฺขเน มยฺหํ อนโณ ตฺวํ มหามุเน.”
“ข้าแต่พระสุคตเจ้า หม่อมฉันเป็นมารดาของพระองค์
ข้าแต่พระธีรเจ้า พระองค์เป็นพระบิดาของหม่อมฉัน
ข้าแต่พระโลกนาถ พระองค์เป็นผู้ประทานความสุขอันเกิดจากพระสัทธรรมให้หม่อมฉัน
ข้าแต่พระโคดม หม่อมฉันเป็นผู้อันพระองค์ให้เกิด.
ข้าแต่พระสุคตเจ้า รูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันทำให้เจริญเติบโต.
ธรรมกาย อันน่าเพลิดเพลินของหม่อมฉัน อันพระองค์ทำให้เจริญเติบโตแล้ว.
หม่อมฉันให้พระองค์ดูดดื่มน้ำนมอันระงับเสียได้ซึ่งความอยากชั่วครู่ แม้น้ำนมคือพระสัทธรรม
อันสงบระงับล่วงส่วน พระองค์ก็ให้หม่อมฉันดูดดื่มแล้ว.
ข้าแต่พระมหามุนี ในการผูกมัดและรักษา พระองค์ชื่อว่ามิได้เป็นหนี้หม่อมฉัน.”
ขุ.อป.๓๓/๑๕๓/๒๘๔
(๓) พระสรภังคเถระ ผู้เป็นพระอรหันต์ กล่าวถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ว่า ทรงอุบัติเป็นธรรมกาย ผู้คงที่
“เมื่อก่อนเราผู้ชื่อว่าสรภังคะ ไม่เคยได้เห็นโรคคืออุปาทานขันธ์ ๕ ได้ครบบริบูรณ์ทั้งสิ้น. โรคนั้นอันเราผู้ทำตามพระดำรัสของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ได้เห็นแล้ว. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า พระวิปัสสี พระสิขี พระเวสสภู พระกกุสันโธ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ ได้เสด็จไปแล้วโดยทางใดแล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมก็ได้เสด็จไปแล้วโดยทางนั้น. พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์นี้ ทรงปราศจากตัณหา ไม่ทรงถือมั่น ทรงหยั่งถึงความสิ้นกิเลส เสด็จอุบัติแท้โดย ธรรมกาย ผู้คงที่ ทรงเอ็นดูอนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลาย ได้ทรงแสดงธรรมคืออริยสัจ ๔ อันได้แก่ ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ทางเป็นที่สิ้นทุกข์ เป็นทางไม่เป็นไปแห่งทุกข์ อันไม่มีที่สุดในสงสาร เพราะกายนี้แตกและเพราะความสิ้นชีวิตนี้ การเกิดในภพใหม่อย่างอื่นมิได้มี. เราเป็นผู้หลุดพ้นแล้วจากสรรพกิเลสและภพทั้งปวง.”
(๔) ตรัสว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย มีธรรมกายมาก ได้ตรัสแก่พระอานนท์เวเทหมุนี ซึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค เมื่อประทับอยู่ในวิหารเชตวันว่า “ได้ทราบว่า พระปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้ามีจริงหรือ เพราะเหตุไร ท่านเหล่านั้นจึงได้เป็นพระปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นปราชญ์ ?” ว่า
“วิสุทฺธสีลา ... มหนฺตธมฺมา พหุธมฺมกายา ...”
“นักปราชญ์เหล่าใด มีศีลบริสุทธิ์ มีปัญญาหมดจดดี มีจิตตั้งมั่น ประกอบความเพียร เจริญวิปัสสนา... ไม่บรรลุความเป็นสาวกในพระศาสนาของพระชินเจ้า (นักปราชญ์เหล่านั้นย่อมเป็นสยัมภูปัจเจกชินเจ้า) มีธรรมใหญ่ มีธรรมกายมาก...”
ขุ.อป.๓๒/๒/๒๐
(๕) ปฐมสมโพธิกถา ตอนมารพันธปริวรรต ปริเฉทที่ ๒๘ หน้า ๕๐๙ ความว่า
หลังพุทธปรินิพพานมีพระสาวกองค์หนึ่ง ชื่ออุปคุตต์มหาเถระ เป็นพระอรหันต์ บรรลุอภิญญา ๖ มีฤทธานุภาพมาก สามารถปราบพญามารให้ละพยศได้ จนเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย แล้วปรารถนาพุทธภูมิ พระอุปคุตต์มหาเถระ ได้ขอร้องได้ขอร้องให้พญามารเนรมิตพระรูปกายของพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยอัครสาวกซ้ายขวาดังนี้
"ท่านจงได้อนุเคราะห์แก่อาตมา ด้วยสมเด็จพระศาสดา บังเกิดในโลก เสด็จเข้าสู่พระปรินิพพานเสียแล้ว เราได้เห็นแต่ธรรมกายบมิได้เห็นซึ่งพระสรีรกาย ท่านจงสงเคราะห์นฤมิตพระรูปกายแห่งพระศาสดาจารย์ พร้อมด้วยอาการทั้งปวงสำแดงแก่เรา ให้เห็นประจักษ์กับทั้งพระอัครสาวกทั้งคู่ให้ปรากฏ…"
อ้างอิง
http://www.watpaknam.org/
ธรรมบท เรื่อง กรณีธรรมกาย #001 ความหมายและที่มาของคำว่า “ธรรมกาย”
ธรรมกาย คือกายภายในที่มีอยู่ในกายของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ไม่จำกัดว่าจะเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา พรหม อรูปพรหม ล้วนต่างมีธรรมกายอยู่ภายในทั้งสิ้น แต่ภพภูมิที่สามารถเข้าถึง ธรรมกาย ได้นั้น จะต้องเป็นเวไนยสัตว์ที่อยู่ในสุขคติภูมิเท่านั้น จึงจะสามารถเข้าถึงได้
คำว่าธรรมกายนี้ หลวงพ่อท่านกล่าวไว้ในพระธรรมเทศนาเรื่องพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณว่า ท่านมิได้เป็นผู้บัญญัติขึ้นเอง แต่มีคำนี้ปรากฏอยู่แล้วในพระไตรปิฎก หลวงพ่อได้อธิบายที่มาไว้ดังนี้
“...พระสิทธัตถะ ทรงกระทำความเพียรอยู่ถึง ๖ พรรษา จึงพบรัตนะอันลี้ลับซับซ้อน อยู่ในองค์พระคือพระธรรมกาย มีสัณฐานเหมือนพระปฏิมากร เกตุดอกบัวตูม มีสีใสเหมือนกระจก ปรากฏอยู่ในศูนย์กลางกาย ที่ว่านี้มีหลักฐานอยู่ในอัคคัญญสูตร ที่พระองค์ตรัสแก่วาเสฎฐสามเณรว่า ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฎฺฐา อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปิ ในพระสุตตันตปิฎก ฑีฆนิกาย ปาฎิกวรรค ยืนยันความว่าดูกรวาเสฎฐสามเณร “คำว่าธรรมกายนี้ เป็นชื่อของพระตถาคตโดยแท้
เรื่องพระวักกลินั้น เมื่อระลึกถึงคตวามในอัคคัญญสูตรนี้ ประกอบแล้ว ย่อมส่องความให้เห็นว่า ที่พระองค์ตรัสว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา” นั้น หมายความว่า ผู้ใดเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ผู้นั้นได้ชื่อว่าเห็นเรา คือตถาคตนั่นเอง มิใช่อื่นไกลหรือพูดให้เข้าใจง่ายกว่านี้ ก็ว่า ผู้ใดเห็นดวงธรรมที่ว่านี้ ผู้นั้นเห็นพระพุทธเจ้า หรืออีกอย่างหนึ่งว่า ผู้ใดเห็นธรรมกาย ผู้นั้นเห็นพระพุทธเจ้า
ทำไมจึงหมายความเช่นนั้นก็เพราะว่า ขณะนั้นพระวักกลิก็อยู่ใกล้ๆ กับพระพุทธองค์ หากจะแลดูด้วยลูกตาธรรมดา ทำไมจะไม่เห็นพระองค์ เพราะไม่ปรากฏว่าพระวักกลินั้นตาพิการ เมื่อเช่นนี้ไฉนพระองค์จะตรัสเช่นนั้นเล่า ที่ตรัสเช่นนั้น จึงตีความหมายได้ว่า ที่แลเห็นด้วยตาธรรมดานนั้น เห็นแต่เปลือกของพระองค์ ก็คือกายพระสิตถัตถะที่ออกบวช ซึ่งมิได้อยู่ในความหมายแห่งคำว่าเรา และยังตรัสว่าเป็นที่เปื่อยเน่าด้วย นั่นคือกายพระสิตธัตถะที่ออกบวช ก็คือกายภายนอกนั่น คำว่าเราในที่นี้จึงสันนิษฐานได้ว่า หมายถึงกาภายในซึ่งมิใช่กายเปื่อยเน่า กายภายในซึ่งมิใช่กายเปื่อยเน่า กายภายในคืออะไรเล่า ก็คือธรรมกายนั่นเอง จะเห็นได้อย่างไร ข้อนี้ตอบไม่ยาก เมื่อได้บำเพ็ญกิจภาวนาถูกส่วนแล้ว ท่านจะเห็นด้วยตาของท่านเอง คือเห็นด้วยตาธรรมกาย (ตาของกายละเอียด) ไม่ใช่ตาธรรมดา
พระดำรัสของพระองค์ดังยกขึ้นมากกล่าวนั้นเป็นปัญหาธรรมมีนัยลึกซึ้งอยู่ อันผู้มิได้ปฏิบัติธรรมแล้ว เข้าใจได้ยาก แต่ถ้าผู้ปฏิบัติได้แล้ว จะตอบปัญหานี้ได้ด้วยตนเองอย่างง่ายดาย ไม่ต้องไปถามใคร...”
พระวักกลินั้นออกบวชด้วยความติดใจในพระรูปพระโฉมอันงดงามของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่เลื่อมใสในพระธรรมคำสอน ไม่ว่าพระพุทธเจ้าจะเสด็จไปประทับ ณ ที่ใด พระวักกลิจะติดตามไปคอยเฝ้าดูพระพุทธองค์ทุกพระอิริยาบถ ด้วยความประทับใจ
พระพุทธองค์ทรงทราบดี แต่ก็มิได้ทรงว่ากล่าวแต่ประการใด เพราะเห็นว่ายังไม่ถึงเวลา เมื่อทรงเห็นว่าญาณของพระวักกลิแก่กล้าแล้ว จึงตรัสว่า อเปหิ วกฺกลิ กึเต วกฺกลิ อิมินา ปูติกาเยน ทิฏฺเฐน จงถอยออกไป วักกลิ ร่างกายตถาคตเป็นของเปื่อยเน่า โย โข วกฺกลิ ธมฺมํ ปสฺสติ โส มํ ปสฺสติ โย มํ ปสฺสติ โส ธมฺมํ ปสฺสติ แน่ะสำแดงวักกลิ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ ผู้ตถาคตคือธรรมกาย พระวักกลิเสียใจที่พระพุทธเจ้าไม่ให้โอกาสได้ใกล้ชิดอีกต่อไป ทั้งมีพระวาจาตัดรอนจึงคิดจะไปกระโดดหน้าผา ฆ่าตัวตาย พระพุทธองค์ทรงติดตามไปแสดงธรรมโปรด จนพระวักกลิบรรลุธรรม
พระเดชพระคุณพระธรรมทัศนาธร ได้อธิบายเพิ่มเติมเรื่องพระวักกลิกับธรรมกายของหลวงพ่อ ไว้ดังนี้
“การที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสกับพระวักกลิว่า ถ้าบุคคลผู้ใดเห็นธรรม นั่นจึงจะเห็นตถาคต พระตถาคตอยู่ที่ธรรมใน เป็นเครื่องยืนยันว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องการที่จะให้คนรู้จักพระองค์ท่านเห็นพระองค์ท่านให้ลึกซึ้งเข้าไปถึงธรรม เมื่อรวมความกับที่พระองค์ตอบกับวาเสฎฐพราหมณ์ว่า คำว่าธรรมกายเป็นชื่อของตถาคต จึงน่าจะจับใจความได้ว่าธรรมนั้นคือองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้พระธรรม พระธรรมเสกสรรปั้นให้พระองค์เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อบุคคลเราจะระลึกถึงพระองค์ท่าน ก็ควรจะระลึกถึงพระธรรม พระเดชพระคุณที่อยู่ในหีบ จึงได้ตั้งเป็นสถาบันของคณะวิปัสสนานี้ไว้ เพื่อให้บรรดาประชาชนได้เข้าถึงธรรมกาย คือองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า”
มีคำว่า ธรรมกาย ปรากฏอยู่อีกหลายแห่งจาก หลักฐานในคัมภีร์
(๑) พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า พระองค์เป็นธรรมกาย
“ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฏฺฐา อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปิ พฺรหฺมกาโย อิติปิ ธมฺมภูโต อิติปิ พฺรหฺมภูโต อิติปิ”
“วาเสฏฐะและภารทวาชะ คำว่า ธรรมกาย ก็ดี พรหมกาย ก็ดี ธรรมภูต ก็ดี พรหมภูต ก็ดี เป็นชื่อของตถาคต”
ที.ปา.๑๑/๕๕/๙๒
(๒) พระแม่น้ามหาปชาบดีโคตมี ผู้เป็นพระอรหันต์ แสดงว่าตนเป็นธรรมกาย
“อหํ สุคต เต มาตา ตุวํ ธีร ปิตา มม
สทฺธมฺมสุขโท นาถ ตยา ชาตมฺหิ โคตม.
สํวทฺธิโตยํ สุคต รูปกาโย มยา ตว
อานนฺทิโย ธมฺมกาโย มม สํวทฺธิโต ตยา.
มุหุตฺตํ ตณฺหาสมนํ ขีรํ ตฺวํ ปายิโต มยา
ตยาหํ สนฺตมจฺจนฺตํ ธมฺมขีรมฺปิ ปายิตา.
พนฺธนารกฺขเน มยฺหํ อนโณ ตฺวํ มหามุเน.”
“ข้าแต่พระสุคตเจ้า หม่อมฉันเป็นมารดาของพระองค์
ข้าแต่พระธีรเจ้า พระองค์เป็นพระบิดาของหม่อมฉัน
ข้าแต่พระโลกนาถ พระองค์เป็นผู้ประทานความสุขอันเกิดจากพระสัทธรรมให้หม่อมฉัน
ข้าแต่พระโคดม หม่อมฉันเป็นผู้อันพระองค์ให้เกิด.
ข้าแต่พระสุคตเจ้า รูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันทำให้เจริญเติบโต.
ธรรมกาย อันน่าเพลิดเพลินของหม่อมฉัน อันพระองค์ทำให้เจริญเติบโตแล้ว.
หม่อมฉันให้พระองค์ดูดดื่มน้ำนมอันระงับเสียได้ซึ่งความอยากชั่วครู่ แม้น้ำนมคือพระสัทธรรม
อันสงบระงับล่วงส่วน พระองค์ก็ให้หม่อมฉันดูดดื่มแล้ว.
ข้าแต่พระมหามุนี ในการผูกมัดและรักษา พระองค์ชื่อว่ามิได้เป็นหนี้หม่อมฉัน.”
ขุ.อป.๓๓/๑๕๓/๒๘๔
(๓) พระสรภังคเถระ ผู้เป็นพระอรหันต์ กล่าวถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ว่า ทรงอุบัติเป็นธรรมกาย ผู้คงที่
“เมื่อก่อนเราผู้ชื่อว่าสรภังคะ ไม่เคยได้เห็นโรคคืออุปาทานขันธ์ ๕ ได้ครบบริบูรณ์ทั้งสิ้น. โรคนั้นอันเราผู้ทำตามพระดำรัสของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ได้เห็นแล้ว. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า พระวิปัสสี พระสิขี พระเวสสภู พระกกุสันโธ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ ได้เสด็จไปแล้วโดยทางใดแล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมก็ได้เสด็จไปแล้วโดยทางนั้น. พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์นี้ ทรงปราศจากตัณหา ไม่ทรงถือมั่น ทรงหยั่งถึงความสิ้นกิเลส เสด็จอุบัติแท้โดย ธรรมกาย ผู้คงที่ ทรงเอ็นดูอนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลาย ได้ทรงแสดงธรรมคืออริยสัจ ๔ อันได้แก่ ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ทางเป็นที่สิ้นทุกข์ เป็นทางไม่เป็นไปแห่งทุกข์ อันไม่มีที่สุดในสงสาร เพราะกายนี้แตกและเพราะความสิ้นชีวิตนี้ การเกิดในภพใหม่อย่างอื่นมิได้มี. เราเป็นผู้หลุดพ้นแล้วจากสรรพกิเลสและภพทั้งปวง.”
(๔) ตรัสว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย มีธรรมกายมาก ได้ตรัสแก่พระอานนท์เวเทหมุนี ซึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค เมื่อประทับอยู่ในวิหารเชตวันว่า “ได้ทราบว่า พระปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้ามีจริงหรือ เพราะเหตุไร ท่านเหล่านั้นจึงได้เป็นพระปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นปราชญ์ ?” ว่า
“วิสุทฺธสีลา ... มหนฺตธมฺมา พหุธมฺมกายา ...”
“นักปราชญ์เหล่าใด มีศีลบริสุทธิ์ มีปัญญาหมดจดดี มีจิตตั้งมั่น ประกอบความเพียร เจริญวิปัสสนา... ไม่บรรลุความเป็นสาวกในพระศาสนาของพระชินเจ้า (นักปราชญ์เหล่านั้นย่อมเป็นสยัมภูปัจเจกชินเจ้า) มีธรรมใหญ่ มีธรรมกายมาก...”
ขุ.อป.๓๒/๒/๒๐
(๕) ปฐมสมโพธิกถา ตอนมารพันธปริวรรต ปริเฉทที่ ๒๘ หน้า ๕๐๙ ความว่า
หลังพุทธปรินิพพานมีพระสาวกองค์หนึ่ง ชื่ออุปคุตต์มหาเถระ เป็นพระอรหันต์ บรรลุอภิญญา ๖ มีฤทธานุภาพมาก สามารถปราบพญามารให้ละพยศได้ จนเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย แล้วปรารถนาพุทธภูมิ พระอุปคุตต์มหาเถระ ได้ขอร้องได้ขอร้องให้พญามารเนรมิตพระรูปกายของพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยอัครสาวกซ้ายขวาดังนี้
"ท่านจงได้อนุเคราะห์แก่อาตมา ด้วยสมเด็จพระศาสดา บังเกิดในโลก เสด็จเข้าสู่พระปรินิพพานเสียแล้ว เราได้เห็นแต่ธรรมกายบมิได้เห็นซึ่งพระสรีรกาย ท่านจงสงเคราะห์นฤมิตพระรูปกายแห่งพระศาสดาจารย์ พร้อมด้วยอาการทั้งปวงสำแดงแก่เรา ให้เห็นประจักษ์กับทั้งพระอัครสาวกทั้งคู่ให้ปรากฏ…"
อ้างอิง http://www.watpaknam.org/