หากจะนับย้อนไปหลายร้อยปี แบบเรียนไทยเล่มที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่ประวัติศาสตร์จะค้นพบในตอนนี้ “จินดามณี” ของพระมหาราชครู แห่งยุคสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นตำราเรียนเล่มที่เก่าแก่ที่สุด แต่ถึงกระนั้นก็ยังพบว่าจินดามณีเป็นแบบเรียนที่ยากเกินไป ไม่น่าจะใช่แบบเรียนสำหรับปฐมศึกษา จึงมีการตั้งข้อสันนิษฐานว่า น่าจะมีเล่มที่ง่ายกว่านี้อยู่ แต่ยังไม่มีการค้นพบ
จินดามณี เนื้อหาข้างในอ่านเข้าใจยาก
จนกระทั่งส่งต่อมายังยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นก็มีหนังสือเรียนสำหรับเจ้านายเล็กๆ ได้เล่าเรียนกันในรั้ววัง เช่น ปฐมมาลา, ปฐม ก กา,กาพย์พระไชยสุริยา(ของสุนทรภู่),จินดามณี ฉบับใหม่ ระยะเวลาล่วงเลยเข้าสู่ยุคล่าอาณานิคม ทำให้สยามเตรียมวางรากฐานของประเทศด้วยการศึกษาอย่างมีแบบแผน
ตัวอย่างหนังสือจินดามณี ตำราเรียนไทยเล่มแรก
จากมูลบทบรรพกิจถึง ตาหวังหลังโก่ง แบบเรียนรวมชาติ (พศ.2414-2461)
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปีพ.ศ.2414 ได้มีการก่อตั้งโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ มีพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)เป็นอาจารย์ใหญ่และได้มีการแต่งแบบเรียนหลวง 6 เล่ม สำหรับเรียน 3 ปี ประกอบด้วย มูลบทบรรพกิจ,วาหนิติ์นิกร,อักษรประโยค ,สังคโยคพิธาน,ไวพจน์พิจารณ์,พิศาลการัณฑ์ มุ่งเน้นการอ่านออกเขียนได้ เป็นตำราเรียนที่มีตัวอักษรล้วนๆ ไม่มีภาพประกอบ ค่อนข้างอ่านยาก เข้าใจยากสำหรับเด็กและผู้เริ่มเรียนรู้
ด้านในของหนังสือมูลบทบรรพกิจ เนื้อหาล้วนๆ
แบบเรียนหลวง 6 เล่ม โดย พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
ต่อมาได้มีการปฏิรูปการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจ จัดตั้งกระทรวงขึ้น 12 กระทรวง หนึ่งในนั้นมีกระทรวงธรรมการดูแลเรื่องการเรียนการสอน โดยมีกรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นเสนาบดี ก่อนที่จะมีการกำหนดหลักสูตรการศึกษาครั้งแรกอย่างเป็นรูปแบบในราชอาณาจักรสยามในปี 2435 เรียกหลักสูตรนี้ว่า “กฎพิกัดสำหรับการศึกษา” มีการจัดตั้งกองแบบเรียนทำหน้าที่กำกับดูแลเนื้อหา พิมพ์ตำราเรียนหลวง
ปี 2443 ม.ร.ว.เปีย มาลากุลได้เขียนตำราเรียนชื่อ แบบเรียนสมบัติผู้ดี เน้นการนำพระพุทธศาสนามาปรับใช้ ต่อมาก็มีการเขียนแบบเรียนธรรมจริยา2เล่ม โดยพี่น้องเทพหัสดิน ซึ่งเนื้อหามีการนำตัวอย่างในชีวิตประจำวันเข้าไปอยู่ในแบบเรียนด้วย แม้จะมีหลักสูตรแล้วแต่ปัญหาของการศึกษาไทยในยุคนั้นยังไม่หมด เนื่องจากเด็กวัด ลูกชาวบ้านต้องช่วยพ่อแม่ทำนา ทำไร่ มีเวลาเรียนแค่ปีละ3 เดือนเท่านั้น จึงได้มีการปรับปรุงแบบเรียนขึ้นและเรียกว่า แบบเรียนเร็ว ใช้เวลาเรียนน้อยลง มีเรื่องสั้นๆให้ได้เข้าใจง่ายๆมากกว่าการท่องจำอย่างเดิม เช่น ตาโป๋ขาเป๋ ตาหวังหลังโก่ง
ฟ.ฮีแลร์ ฝรั่งผู้แตกฉานภาษาไทย จนถึงกับเขียนแบบเรียน “ดรุณศึกษา”
ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น มีชาวต่างชาติคคนหนึ่งชื่อ ฟ.ฮีแลร์ หรือ เจษฎาธิการฮีแลร์ เป็นนักบวชคณะภราดาเซนต์คาเบรียล เจ้าของสมญานาม “ปราชญ์แห่งอัสสัมชัญ” ได้รับการยกย่องในด้านความแตกฉานภาษาไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากท่านเป็นชาวฝรั่งเศสมาแต่กำเนิด จนเมื่อได้มาอยู่ที่ประเทศไทย และได้แต่งหนังสือชื่อดรุณศึกษา สำหรับสอนนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญ ในปี 2454
ฟ.ฮีแลร์ ฝรั่งผู้แตกฉานภาษาไทย
เมื่อความทราบถึงกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ทรงเรียกตรวจต้นฉบับและเป็นที่ปรึกษาช่วยตรวจแก้จนได้หนังสือเรียนที่มีชื่อว่า ดรุณศึกษา เนื้อหามีภาพประกอบสวยงาม บทเรียนเข้าใจง่าย ซึ่งดรุณศึกษาพิมพ์ต่อเนื่องถึงปัจจุบันพิมพ์ 114 ปี จำนวนพิมพ์61 ครั้ง เป็นแบบเรียนที่ยังจัดพิมพ์และมีอายุยืน
ดรุณศึกษา แบบเรียนไทยแต่ฝรั่งแต่ง ปัจจุบันยังพิมพ์อยู่
สังเกตได้ว่าในยุคนี้แบบเรียนไทยเพิ่งจะเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง มีการลองผิดลองถูกและการปรับให้เข้ากับผู้เรียนที่เป็นลูกชาวบ้านจริงๆ นำการศึกษาจากในวังพยายามมาปรับใช้ให้กับคนในยุคนั้นให้เข้าใจถึงการอ่านออกเขียนได้ ในยุคนั้นวัดกลายเป็นสถานศึกษา พระเป็นครู ความผูกพันกับชาวบ้านระหว่างวัด นอกจากจะเป็นศูนย์รวมศรัทธาแล้วยังเป็นสถานที่ให้วิชาความรู้ด้วย โดยเมื่อเริ่มพัฒนาได้ไม่นานการศึกษาไทยก็เปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคที่ทองของการศึกษาในช่วงรัชกาลที่ 6 ซึ่งจะนำเสนอในตอนต่อไป รออ่านกันนะ
ขอบพระคุณ ข้อมูลจาก MThai
https://news.mthai.com/general-news/393291.html
สามารถติดตามข้อมูล เพิ่มเติมได้อีก
ระลึกชาติแบบเรียน EP.2 – ‘พ่อหลีพี่หนูหล่อ’ แบบเรียนไทยยุคชาติผู้ดี
https://news.mthai.com/general-news/396295.html
ระลึกชาติในแบบเรียนEP.3 : กำเนิด ‘ป้ากะปู่ กู้อีจู้’กับ’ปัญญา เรณู’
https://news.mthai.com/general-news/397585.html
สาระจากละคร : แบบเรียนจุดเริ่มต้นมาจากไหน ?
จินดามณี เนื้อหาข้างในอ่านเข้าใจยาก
จนกระทั่งส่งต่อมายังยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นก็มีหนังสือเรียนสำหรับเจ้านายเล็กๆ ได้เล่าเรียนกันในรั้ววัง เช่น ปฐมมาลา, ปฐม ก กา,กาพย์พระไชยสุริยา(ของสุนทรภู่),จินดามณี ฉบับใหม่ ระยะเวลาล่วงเลยเข้าสู่ยุคล่าอาณานิคม ทำให้สยามเตรียมวางรากฐานของประเทศด้วยการศึกษาอย่างมีแบบแผน
ตัวอย่างหนังสือจินดามณี ตำราเรียนไทยเล่มแรก
จากมูลบทบรรพกิจถึง ตาหวังหลังโก่ง แบบเรียนรวมชาติ (พศ.2414-2461)
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปีพ.ศ.2414 ได้มีการก่อตั้งโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ มีพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)เป็นอาจารย์ใหญ่และได้มีการแต่งแบบเรียนหลวง 6 เล่ม สำหรับเรียน 3 ปี ประกอบด้วย มูลบทบรรพกิจ,วาหนิติ์นิกร,อักษรประโยค ,สังคโยคพิธาน,ไวพจน์พิจารณ์,พิศาลการัณฑ์ มุ่งเน้นการอ่านออกเขียนได้ เป็นตำราเรียนที่มีตัวอักษรล้วนๆ ไม่มีภาพประกอบ ค่อนข้างอ่านยาก เข้าใจยากสำหรับเด็กและผู้เริ่มเรียนรู้
ด้านในของหนังสือมูลบทบรรพกิจ เนื้อหาล้วนๆ
แบบเรียนหลวง 6 เล่ม โดย พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
ต่อมาได้มีการปฏิรูปการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจ จัดตั้งกระทรวงขึ้น 12 กระทรวง หนึ่งในนั้นมีกระทรวงธรรมการดูแลเรื่องการเรียนการสอน โดยมีกรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นเสนาบดี ก่อนที่จะมีการกำหนดหลักสูตรการศึกษาครั้งแรกอย่างเป็นรูปแบบในราชอาณาจักรสยามในปี 2435 เรียกหลักสูตรนี้ว่า “กฎพิกัดสำหรับการศึกษา” มีการจัดตั้งกองแบบเรียนทำหน้าที่กำกับดูแลเนื้อหา พิมพ์ตำราเรียนหลวง
ปี 2443 ม.ร.ว.เปีย มาลากุลได้เขียนตำราเรียนชื่อ แบบเรียนสมบัติผู้ดี เน้นการนำพระพุทธศาสนามาปรับใช้ ต่อมาก็มีการเขียนแบบเรียนธรรมจริยา2เล่ม โดยพี่น้องเทพหัสดิน ซึ่งเนื้อหามีการนำตัวอย่างในชีวิตประจำวันเข้าไปอยู่ในแบบเรียนด้วย แม้จะมีหลักสูตรแล้วแต่ปัญหาของการศึกษาไทยในยุคนั้นยังไม่หมด เนื่องจากเด็กวัด ลูกชาวบ้านต้องช่วยพ่อแม่ทำนา ทำไร่ มีเวลาเรียนแค่ปีละ3 เดือนเท่านั้น จึงได้มีการปรับปรุงแบบเรียนขึ้นและเรียกว่า แบบเรียนเร็ว ใช้เวลาเรียนน้อยลง มีเรื่องสั้นๆให้ได้เข้าใจง่ายๆมากกว่าการท่องจำอย่างเดิม เช่น ตาโป๋ขาเป๋ ตาหวังหลังโก่ง
ฟ.ฮีแลร์ ฝรั่งผู้แตกฉานภาษาไทย จนถึงกับเขียนแบบเรียน “ดรุณศึกษา”
ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น มีชาวต่างชาติคคนหนึ่งชื่อ ฟ.ฮีแลร์ หรือ เจษฎาธิการฮีแลร์ เป็นนักบวชคณะภราดาเซนต์คาเบรียล เจ้าของสมญานาม “ปราชญ์แห่งอัสสัมชัญ” ได้รับการยกย่องในด้านความแตกฉานภาษาไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากท่านเป็นชาวฝรั่งเศสมาแต่กำเนิด จนเมื่อได้มาอยู่ที่ประเทศไทย และได้แต่งหนังสือชื่อดรุณศึกษา สำหรับสอนนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญ ในปี 2454
ฟ.ฮีแลร์ ฝรั่งผู้แตกฉานภาษาไทย
เมื่อความทราบถึงกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ทรงเรียกตรวจต้นฉบับและเป็นที่ปรึกษาช่วยตรวจแก้จนได้หนังสือเรียนที่มีชื่อว่า ดรุณศึกษา เนื้อหามีภาพประกอบสวยงาม บทเรียนเข้าใจง่าย ซึ่งดรุณศึกษาพิมพ์ต่อเนื่องถึงปัจจุบันพิมพ์ 114 ปี จำนวนพิมพ์61 ครั้ง เป็นแบบเรียนที่ยังจัดพิมพ์และมีอายุยืน
ดรุณศึกษา แบบเรียนไทยแต่ฝรั่งแต่ง ปัจจุบันยังพิมพ์อยู่
สังเกตได้ว่าในยุคนี้แบบเรียนไทยเพิ่งจะเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง มีการลองผิดลองถูกและการปรับให้เข้ากับผู้เรียนที่เป็นลูกชาวบ้านจริงๆ นำการศึกษาจากในวังพยายามมาปรับใช้ให้กับคนในยุคนั้นให้เข้าใจถึงการอ่านออกเขียนได้ ในยุคนั้นวัดกลายเป็นสถานศึกษา พระเป็นครู ความผูกพันกับชาวบ้านระหว่างวัด นอกจากจะเป็นศูนย์รวมศรัทธาแล้วยังเป็นสถานที่ให้วิชาความรู้ด้วย โดยเมื่อเริ่มพัฒนาได้ไม่นานการศึกษาไทยก็เปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคที่ทองของการศึกษาในช่วงรัชกาลที่ 6 ซึ่งจะนำเสนอในตอนต่อไป รออ่านกันนะ
ขอบพระคุณ ข้อมูลจาก MThai
https://news.mthai.com/general-news/393291.html
สามารถติดตามข้อมูล เพิ่มเติมได้อีก
ระลึกชาติแบบเรียน EP.2 – ‘พ่อหลีพี่หนูหล่อ’ แบบเรียนไทยยุคชาติผู้ดี
https://news.mthai.com/general-news/396295.html
ระลึกชาติในแบบเรียนEP.3 : กำเนิด ‘ป้ากะปู่ กู้อีจู้’กับ’ปัญญา เรณู’
https://news.mthai.com/general-news/397585.html