........ข้าแต่...พระบิดา..............ผู้ผ่านฟ้า...ทิพาลัย
พระนาม...ระบือไกล..................คนกราบไหว้...ทั่วหน้ากัน
........ต่างคน...ปรนนิบัติ...........ตามดำรัส...พระทรงธรรม์
เหมือนอย่าง...ชาวสวรรค์...........สนองสรรพ...(พะ)บัญชา
.......ข้าวปลา...กระยาหาร.........ขอประทาน...เลี้ยงชีวา
บาปกรรม...ที่ทำมา....................กรุณา...ให้อภัย
.......ผู้ใด...ได้ล่วงสิทธิ์.............ลูกยกผิด...ไม่ว่าใคร
ขอทรง...เอื้ออวยชัย..................ให้พ้นภัย...ผจญเทอญ
ฟ. ฮีแลร์
ฟ.ฮีแลร์ หรือ เจษฎาธิการฮีแลร์ เป็นศาสนนามของ ฟรังซัว ดูเวอเนท์ (ฝรั่งเศส: Fronçois Touvenet)
ฟ. ย่อมาจากภาษาฝรั่งเศส frère ที่ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Brother ซึ่งบัญญัติศัพท์เป็นภาษาไทย เจษฎาจารย์ หรือ ภารดา นั่นเอง
ด้วยความตั้งใจจริง ท่านพยายามฟังเด็กไทยท่อง “มูลบทบรรพกิจ” อยู่เป็นประจำ ถึงกับหลงใหลจังหวะจะโคนและลีลาแห่งภาษาไทย
เกิดมุมานะเรียนรู้ภาษาไทยจนถึงแต่งตำราสอนเด็กได้ และตำราที่ว่านั้นก็คือ “ดรุณศึกษา” นั่นเอง
จากฝีไม้ลายมือในการแต่งหนังสือของท่านนั้น ทำให้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพโปรดเชิญเข้าเป็นสมาชิกของ สมาคมวรรณคดี
เมื่อวันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2475 ณ ราชบัณฑิตสภา
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ข้าแต่พระบิดา (กาพย์ยานี ๑๑) ฟ. ฮีแลร์
พระนาม...ระบือไกล..................คนกราบไหว้...ทั่วหน้ากัน
........ต่างคน...ปรนนิบัติ...........ตามดำรัส...พระทรงธรรม์
เหมือนอย่าง...ชาวสวรรค์...........สนองสรรพ...(พะ)บัญชา
.......ข้าวปลา...กระยาหาร.........ขอประทาน...เลี้ยงชีวา
บาปกรรม...ที่ทำมา....................กรุณา...ให้อภัย
.......ผู้ใด...ได้ล่วงสิทธิ์.............ลูกยกผิด...ไม่ว่าใคร
ขอทรง...เอื้ออวยชัย..................ให้พ้นภัย...ผจญเทอญ
ฟ. ฮีแลร์
ฟ.ฮีแลร์ หรือ เจษฎาธิการฮีแลร์ เป็นศาสนนามของ ฟรังซัว ดูเวอเนท์ (ฝรั่งเศส: Fronçois Touvenet)
ฟ. ย่อมาจากภาษาฝรั่งเศส frère ที่ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Brother ซึ่งบัญญัติศัพท์เป็นภาษาไทย เจษฎาจารย์ หรือ ภารดา นั่นเอง
ด้วยความตั้งใจจริง ท่านพยายามฟังเด็กไทยท่อง “มูลบทบรรพกิจ” อยู่เป็นประจำ ถึงกับหลงใหลจังหวะจะโคนและลีลาแห่งภาษาไทย
เกิดมุมานะเรียนรู้ภาษาไทยจนถึงแต่งตำราสอนเด็กได้ และตำราที่ว่านั้นก็คือ “ดรุณศึกษา” นั่นเอง
จากฝีไม้ลายมือในการแต่งหนังสือของท่านนั้น ทำให้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพโปรดเชิญเข้าเป็นสมาชิกของ สมาคมวรรณคดี
เมื่อวันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2475 ณ ราชบัณฑิตสภา
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี