ว่าด้วยเรื่องทรงผมของแม่หญิงแลคุณหญิงทั้งหลายในบุพเพสันนิวาส

สงสัยมาตั้งแต่ตอนแรกๆ แล้วค่ะ ทำไมทรงผมของแม่หญิงในละครถึงต่างกันคะ

แม่การะเกดก็มีทรงผมสองแบบ
แบบแรกตอนมาถึงอยุธยาแรกๆ น่าจะเป็นทรงผมของสตรีทางหัวเมืองเหนือรึเปล่า?
แบบที่สองคือปัจจุบัน

แต่แม่หญิงจันทร์วาด ทำไมทรงผมเป็นมวยเกล้าสูง

ไหนจะบรรดาคุณหญิงฉากที่วัดอีกค่ะ
คุณหญิงจำปาก็ทรงหนึ่ง คุณหญิงนิ่ม(แม่จันทร์วาด)ก็อีกทรงนึง กลุ่มคุณหญิงมนุษย์ป้าก็มีหลายทรง
เป็นเพราะยศขุนนางของทางครอบครัวรึเปล่าคะ ทำให้ไว้ทรงได้ต่างกัน?
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ผมคิดว่าภาพใน คห. 1 ที่แชร์ๆ กันอาจจะคลาดเคลื่อนครับ

เท่าที่ศึกษามา ผมทรงมหาดไทย (หรือ หลักแจว) ใช้เป็นคำเรียกทรงผมของผู้ชายเท่านั้นครับ ไม่เคยพบเห็นว่าใช้เรียกผมผู้หญิง

ทรงผมผู้หญิงโบราณเรียกว่า ผมปีก แม้แต่ภาพที่อ้างว่าเป็นผมมหาดไทยทรงนั้นก็เรียกว่าผมปีกครับ

ผมปีกมีหลายแบบคือ
๑. ด้านบนไว้สั้น กันไรจุกให้ขาว รอบโกนหัว
๒. ด้านบนไว้สั้น กันไรจุกให้ขาว รอบโกนหัว ไว้จอนหูยาว ไล้ด้วยขึ้ผึ้งจนแข็ง
๓. ด้านบนไว้ยาวแต่ไม่มาก พอแสกได้ รอบไว้ยาวประบ่า (คือภาพที่อ้างว่าเป็นผมมหาดไทยครับ)


ส่วนทรงเกล้ามวยสูงอย่างโซงขโดงที่จันทร์วาดไว้ ในช่วงรัชกาลพระเจ้าปราสาททองถึงสมเด็จพระนารายณ์ยังปรากฏว่าสตรีไว้ผมทรงนี้กันอยู่ครับ ดังที่พบในสมุดภาพไตรภูมิกรุงศรีอยุธยา หมายเลข ๖ ซึ่งประมาณอายุว่าเขียนขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททองถึงสมเด็จพระนารายณ์ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่