https://www.bloomberg.com/news/articles/2018-02-14/most-miserable-economies-of-2018-stay-haunted-by-inflation-beast
ขออธิบายถึงที่มาของ ดัชนีความทุกข์ยาก(Misery index) ในบทความของ Bloomberg ที่อ้างถึงนะครับ ว่าดัชนีตัวนี้เกิดจากนักเศรษฐศาสตร์ชื่อ Arthur Okun เพื่อเอามาใช้วัดระดับความเป็นอยู่โดยมีสูตรคือ
Misery index = อัตราเงินเฟ้อ(inflation rate) + อัตราการว่างงาน(unemployment rate)
สมการนี้มีรากฐานมาจากความเชื่อที่ว่าตัวเลขดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจมหภาคในยุคก่อนปี 1970 จำพวก GDP หรืออะไรในกลุ่มนั้นมันไม่เพียงพอที่จะบอกระดับความอยู่ดีกินดีของคนในประเทศได้ จึงเอาอัตราเงินเฟ้อ และอัตราการว่างงานมาคำนวณแทนเพราะมันเกี่ยวกับคนโดยตรง
{
https://study.com/academy/lesson/misery-index-purpose-calculation.html }
และทั้งสองตัวแปรนั้นก็มีวิธีคำนวณเพื่อหาที่มาเหมือนกัน อย่างอัตราเงินเฟ้อของไทยคิดมาจากดัชนีราคาสินค้าผู้บริโภค ซึ่งผมขอชี้แจงไว้คร่าวๆแค่นี้เพราะยังไม่มีการตั้งข้อสังเกตุมา
{
https://thailandinvestmentforum.com/2017/10/02/inflationoct17/ }
แต่อัตราการว่างงานของไทยเค้ามีชี้แจงในตัวบทความไว้เลยว่า "Thailand again claimed “least miserable” status, though the nation’s unique way of calculating unemployment makes" นั่นแปลว่าที่มาของอัตราการว่างงานในประเทศไทยมันไม่เหมือนชาวบ้านเค้าอย่างมาก
จากสูตร
Unemployment rate = (Unemployed worker / Total labor force) x 100
ซึ่งตัวแปรแต่ละตัวก็มีนิยามของมันโดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศ(International Labour Organization) ซึ่งกำหนดไว้เพื่อที่ทุกคนจะได้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน แล้วเอาตัวเลขมาประเมินเปรียบเทียบกันได้
{
http://www.ilo.org/ilostat-files/Documents/description_UR_EN.pdf }
แน่ล่ะเมื่อมีตัวชี้วัดวัดผลงานของรัฐบาลแบบนี้ด้วย ทุกประเทศต่างก็พยามแก้สมการให้ตัวเลขมันออกมาดูดีขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา และนักเศรษฐศาสตร์เค้าก็รู้อยู่แก่ใจแหละว่าใคร
มาก
น้อย
แบ้งค์ชาติไทยยังพูดเองเลยว่าวิธีคำนวณอัตราการว่างงานของเรามันก็เหมือนคนอื่นน้า แต่วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลมาต่างหากที่แตกต่างไป {อันนี้หาลิ้งข่าวอ้างอิงไม่เจอ} ซึ่งมันทำให้ผมนึกถึงเรื่อง ช้างเผือกงาดำ หรือที่เท่าแมวดิ้นตายในนิทานศรีธนญชัยที่ได้เรียนมาสมัยตอนเป็นเด็ก ในขณะที่เด็กต่างประเทศอย่างอังกฤษเค้าได้เรียนเรื่อง King arthur เรื่องของเกียรติจากกฏของพวกอัศวิน หรือนิยายที่ดัดแปลงมาจากคำสอนในคัมภีร์ไบเบิลเพื่อให้เด็กเห็นภาพ แล้วเอาไปใช้ได้จริง ไม่ใช่แค่สอบอย่างที่เมื่อก่อนมีสอบนักธรรมชั้นตรีด้วยก็ได้กระดาษมาใบนึงล่ะ ไม่ก็มีแต่เรื่องกู้ชาติ หรือเอาตัวรอดยังไงให้ได้โดยไม่สนใคร ซึ่งอันหลังนี้ผมขอนอกเรื่องไว้เท่านี้ เพราะประเด็นอื่นผมดูแล้วเป็นความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่ได้มีอยู่ในบทความของ Bloomberg ที่อ้างถึงครับ
*หมายเหตุ*
ตอนแรกไม่ได้จะตั้งกระทู้แต่ไปเม้นในโพสนี้
https://www.facebook.com/nickfuang/posts/548566175500164?comment_id=549263468763768&reply_comment_id=552079898482125¬if_id=1519672941019134¬if_t=comment_approvals_enroll&ref=notif
แล้วโดนเจ้าของโพสแจ้งว่าเป็นสแปม อุตส่าห์ไปหาแหล่งข้อมูลมาชี้แจงคนเค้าจะได้มีความเข้าใจมากขึ้น เสียดาย
ความจริงเกี่ยวกับดัชนีความทุกข์ยาก(Misery Index) ที่ไทยต่ำสุดในโลก
ขออธิบายถึงที่มาของ ดัชนีความทุกข์ยาก(Misery index) ในบทความของ Bloomberg ที่อ้างถึงนะครับ ว่าดัชนีตัวนี้เกิดจากนักเศรษฐศาสตร์ชื่อ Arthur Okun เพื่อเอามาใช้วัดระดับความเป็นอยู่โดยมีสูตรคือ
Misery index = อัตราเงินเฟ้อ(inflation rate) + อัตราการว่างงาน(unemployment rate)
สมการนี้มีรากฐานมาจากความเชื่อที่ว่าตัวเลขดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจมหภาคในยุคก่อนปี 1970 จำพวก GDP หรืออะไรในกลุ่มนั้นมันไม่เพียงพอที่จะบอกระดับความอยู่ดีกินดีของคนในประเทศได้ จึงเอาอัตราเงินเฟ้อ และอัตราการว่างงานมาคำนวณแทนเพราะมันเกี่ยวกับคนโดยตรง
{ https://study.com/academy/lesson/misery-index-purpose-calculation.html }
และทั้งสองตัวแปรนั้นก็มีวิธีคำนวณเพื่อหาที่มาเหมือนกัน อย่างอัตราเงินเฟ้อของไทยคิดมาจากดัชนีราคาสินค้าผู้บริโภค ซึ่งผมขอชี้แจงไว้คร่าวๆแค่นี้เพราะยังไม่มีการตั้งข้อสังเกตุมา
{ https://thailandinvestmentforum.com/2017/10/02/inflationoct17/ }
แต่อัตราการว่างงานของไทยเค้ามีชี้แจงในตัวบทความไว้เลยว่า "Thailand again claimed “least miserable” status, though the nation’s unique way of calculating unemployment makes" นั่นแปลว่าที่มาของอัตราการว่างงานในประเทศไทยมันไม่เหมือนชาวบ้านเค้าอย่างมาก
จากสูตร
Unemployment rate = (Unemployed worker / Total labor force) x 100
ซึ่งตัวแปรแต่ละตัวก็มีนิยามของมันโดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศ(International Labour Organization) ซึ่งกำหนดไว้เพื่อที่ทุกคนจะได้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน แล้วเอาตัวเลขมาประเมินเปรียบเทียบกันได้
{ http://www.ilo.org/ilostat-files/Documents/description_UR_EN.pdf }
แน่ล่ะเมื่อมีตัวชี้วัดวัดผลงานของรัฐบาลแบบนี้ด้วย ทุกประเทศต่างก็พยามแก้สมการให้ตัวเลขมันออกมาดูดีขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา และนักเศรษฐศาสตร์เค้าก็รู้อยู่แก่ใจแหละว่าใครมากน้อย
แบ้งค์ชาติไทยยังพูดเองเลยว่าวิธีคำนวณอัตราการว่างงานของเรามันก็เหมือนคนอื่นน้า แต่วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลมาต่างหากที่แตกต่างไป {อันนี้หาลิ้งข่าวอ้างอิงไม่เจอ} ซึ่งมันทำให้ผมนึกถึงเรื่อง ช้างเผือกงาดำ หรือที่เท่าแมวดิ้นตายในนิทานศรีธนญชัยที่ได้เรียนมาสมัยตอนเป็นเด็ก ในขณะที่เด็กต่างประเทศอย่างอังกฤษเค้าได้เรียนเรื่อง King arthur เรื่องของเกียรติจากกฏของพวกอัศวิน หรือนิยายที่ดัดแปลงมาจากคำสอนในคัมภีร์ไบเบิลเพื่อให้เด็กเห็นภาพ แล้วเอาไปใช้ได้จริง ไม่ใช่แค่สอบอย่างที่เมื่อก่อนมีสอบนักธรรมชั้นตรีด้วยก็ได้กระดาษมาใบนึงล่ะ ไม่ก็มีแต่เรื่องกู้ชาติ หรือเอาตัวรอดยังไงให้ได้โดยไม่สนใคร ซึ่งอันหลังนี้ผมขอนอกเรื่องไว้เท่านี้ เพราะประเด็นอื่นผมดูแล้วเป็นความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่ได้มีอยู่ในบทความของ Bloomberg ที่อ้างถึงครับ
*หมายเหตุ*
ตอนแรกไม่ได้จะตั้งกระทู้แต่ไปเม้นในโพสนี้
https://www.facebook.com/nickfuang/posts/548566175500164?comment_id=549263468763768&reply_comment_id=552079898482125¬if_id=1519672941019134¬if_t=comment_approvals_enroll&ref=notif
แล้วโดนเจ้าของโพสแจ้งว่าเป็นสแปม อุตส่าห์ไปหาแหล่งข้อมูลมาชี้แจงคนเค้าจะได้มีความเข้าใจมากขึ้น เสียดาย