คมความคิด เติ้งเสี่ยวผิง
......................................
คมคิดเติ้งเสี่ยวผิง ตกผลึกจากความเป็นนักปฏิวัติและนักปฏิรูปเกือบทั้งชีวิต ผ่านบททดสอบทางประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ของชาติ แม้ท่านจะจากโลกนี้ไปแล้ว แต่ภูมิความคิดหลายอย่างยังก้องกังวาน น่าศึกษาและสามารถนำมาปรับใช้ได้ในปัจจุบัน
"ไม่ว่าแมวขาวหรือแมวดำ ขอเพียงจับหนูได้ก็คือแมวที่ดี"
ประโยคยอดนิยมของท่านผู้นำเติ้งที่คุ้นหูกันเป็นอย่างดีนี้ ท่านได้กล่าวอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1962 ซึ่งขณะนั้น จีนกำลังประสบกับปัญหาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ และบรรดาผู้บริหารของประเทศต่างระดมความคิดเพื่อแก้วิกฤติที่เกิดขึ้น ทัศนะของเติ้งขณะนั้นคือ "ในการจะฟื้นคืนอุตสาหกรรมเกษตร มวลชนจำนวนมากเรียกร้องขอได้รับการจัดสรรพื้นที่ทำกินของตนเอง และผลการสำรวจยังได้สนับสนุนแนวคิดนี้ ซึ่งในช่วงระยะก้าวผ่านของแต่ละยุคสมัย หากวิธีการใดเป็นผลดีแก่อุตสาหกรรมการเกษตร ก็ให้ใช้วิธีการนั้น กล่าวคือ ควรยึดแนวทางการปฏิบัติตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ไม่ใช่คิดหรือปฏิบัติกันอย่างสูตรตายตัว"
"ปลดปล่อยความคิด ยึดติดความจริง"
ในบรรดาทฤษฎีด้านสังคมนิยมแบบฉบับจีนของเติ้งเสี่ยวผิง "การปลดปล่อยความคิด ยึดติดความจริง" ถือเป็นแก่นแกนความคิดสูงสุด ที่สะท้อนทัศนะการพัฒนาและปรัชญาองค์รวมของเติ้ง การจะนำพาประเทศจีนสู่ความทันสมัยนั้น เติ้งมองว่า ต้องก่อเกิดจากความคิดที่ทันสมัยก่อน นั้นคือต้องคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลตามหลักวิทยาศาสตร์ เคารพกฎแห่งการพัฒนาของสรรพสิ่ง ตลอดจนยึดมั่นแนวคิดการพัฒนาที่เป็นจริงเชิงปฏิบัติ เป็นไปอย่างรอบด้าน และมีความเป็นมหาชน รัฐบุรุษเติ้งยังเห็นว่า เนื่องจากจีนปิดประเทศไปนาน บวกกับความบอบช้ำภายในจากการปฏิวัติวัฒนธรรม ดังนั้น ยิ่งความคิดถูกปลดปล่อยจากพันธนาการต่างๆ มากเท่าไร การปฏิรูปประเทศก็จะยิ่งก้าวหน้ามากเท่านั้น การเพิ่มกำลังการผลิตของชาติ จำเป็นต้องอาศัยนโยบายปฏิรูปและเปิดกว้าง บนแนวทางการปฏิบัติที่เป็นจริง ดังคำกล่าวของจีนที่ว่า "การปฏิบัติคือมาตรฐานเพียงหนึ่งเดียวที่จะทดสอบสัจธรรม"
"เคารพความรู้ เคารพความสามารถของบุคคล"
เติ้งเสี่ยวผิงเสนอทัศนะว่า กุญแจดอกสำคัญที่จะพาประเทศจีนก้าวสู่ความทันสมัยได้สำเร็จนั้น คือ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ซึ่งอาศัยพัฒนาการด้านการศึกษาเป็นรากฐาน การพูดเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้เกิดความทันสมัยได้ จำเป็นจะต้องมีความรู้ ความสามารถ หากไม่มีความรู้ ความสามารถของคนก็ไม่เกิด ดังนั้น จึงต้องพัฒนาวิทยาศาสตร์ควบคู่กับการศึกษา อีกทั้งต้องส่งเสริมให้อุตสาหกรรม และธุรกิจต่างๆ สร้างหน่วยงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขึ้น พร้อมๆ กับส่งเสริมให้มีบุคลากรด้านนี้ด้วย นอกจากนั้น ควรให้ความสำคัญและเคารพความสามารถของคนทุกคน โดยไม่จำกัดว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ใช้กำลังกายหรือกำลังสมอง เพราะทั้งสองฝ่ายต่างเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ
ถามว่าในอดีตที่ผ่านมาประเทศไทยมีใครบ้าง ที่ทำเพื่อประเทศชาติเหมือนคน ๆ นี้
คมความคิด เติ้งเสี่ยวผิง
......................................
คมคิดเติ้งเสี่ยวผิง ตกผลึกจากความเป็นนักปฏิวัติและนักปฏิรูปเกือบทั้งชีวิต ผ่านบททดสอบทางประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ของชาติ แม้ท่านจะจากโลกนี้ไปแล้ว แต่ภูมิความคิดหลายอย่างยังก้องกังวาน น่าศึกษาและสามารถนำมาปรับใช้ได้ในปัจจุบัน
"ไม่ว่าแมวขาวหรือแมวดำ ขอเพียงจับหนูได้ก็คือแมวที่ดี"
ประโยคยอดนิยมของท่านผู้นำเติ้งที่คุ้นหูกันเป็นอย่างดีนี้ ท่านได้กล่าวอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1962 ซึ่งขณะนั้น จีนกำลังประสบกับปัญหาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ และบรรดาผู้บริหารของประเทศต่างระดมความคิดเพื่อแก้วิกฤติที่เกิดขึ้น ทัศนะของเติ้งขณะนั้นคือ "ในการจะฟื้นคืนอุตสาหกรรมเกษตร มวลชนจำนวนมากเรียกร้องขอได้รับการจัดสรรพื้นที่ทำกินของตนเอง และผลการสำรวจยังได้สนับสนุนแนวคิดนี้ ซึ่งในช่วงระยะก้าวผ่านของแต่ละยุคสมัย หากวิธีการใดเป็นผลดีแก่อุตสาหกรรมการเกษตร ก็ให้ใช้วิธีการนั้น กล่าวคือ ควรยึดแนวทางการปฏิบัติตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ไม่ใช่คิดหรือปฏิบัติกันอย่างสูตรตายตัว"
"ปลดปล่อยความคิด ยึดติดความจริง"
ในบรรดาทฤษฎีด้านสังคมนิยมแบบฉบับจีนของเติ้งเสี่ยวผิง "การปลดปล่อยความคิด ยึดติดความจริง" ถือเป็นแก่นแกนความคิดสูงสุด ที่สะท้อนทัศนะการพัฒนาและปรัชญาองค์รวมของเติ้ง การจะนำพาประเทศจีนสู่ความทันสมัยนั้น เติ้งมองว่า ต้องก่อเกิดจากความคิดที่ทันสมัยก่อน นั้นคือต้องคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลตามหลักวิทยาศาสตร์ เคารพกฎแห่งการพัฒนาของสรรพสิ่ง ตลอดจนยึดมั่นแนวคิดการพัฒนาที่เป็นจริงเชิงปฏิบัติ เป็นไปอย่างรอบด้าน และมีความเป็นมหาชน รัฐบุรุษเติ้งยังเห็นว่า เนื่องจากจีนปิดประเทศไปนาน บวกกับความบอบช้ำภายในจากการปฏิวัติวัฒนธรรม ดังนั้น ยิ่งความคิดถูกปลดปล่อยจากพันธนาการต่างๆ มากเท่าไร การปฏิรูปประเทศก็จะยิ่งก้าวหน้ามากเท่านั้น การเพิ่มกำลังการผลิตของชาติ จำเป็นต้องอาศัยนโยบายปฏิรูปและเปิดกว้าง บนแนวทางการปฏิบัติที่เป็นจริง ดังคำกล่าวของจีนที่ว่า "การปฏิบัติคือมาตรฐานเพียงหนึ่งเดียวที่จะทดสอบสัจธรรม"
"เคารพความรู้ เคารพความสามารถของบุคคล"
เติ้งเสี่ยวผิงเสนอทัศนะว่า กุญแจดอกสำคัญที่จะพาประเทศจีนก้าวสู่ความทันสมัยได้สำเร็จนั้น คือ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ซึ่งอาศัยพัฒนาการด้านการศึกษาเป็นรากฐาน การพูดเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้เกิดความทันสมัยได้ จำเป็นจะต้องมีความรู้ ความสามารถ หากไม่มีความรู้ ความสามารถของคนก็ไม่เกิด ดังนั้น จึงต้องพัฒนาวิทยาศาสตร์ควบคู่กับการศึกษา อีกทั้งต้องส่งเสริมให้อุตสาหกรรม และธุรกิจต่างๆ สร้างหน่วยงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขึ้น พร้อมๆ กับส่งเสริมให้มีบุคลากรด้านนี้ด้วย นอกจากนั้น ควรให้ความสำคัญและเคารพความสามารถของคนทุกคน โดยไม่จำกัดว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ใช้กำลังกายหรือกำลังสมอง เพราะทั้งสองฝ่ายต่างเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ