กระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เตือนนายจ้างห้ามหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ลูกจ้าง ฝ่าฝืนมีโทษจำคุก ไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(กสร.) เปิดเผยว่ากสร.ให้ความสำคัญกับการดูแลแรงงานไทย และแรงงานต่างด้าวในทุกด้าน เพื่อให้แรงงานทุกคนได้รับการคุ้มครองอย่างเท่าเทียม เข้าถึงสิทธิตามกฎหมาย ที่ผ่านมายังพบว่ามีสถานประกอบการบางแห่งมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนในเรื่องของการหักค่าจ้าง โดยมีการหักค่าจ้างจากลูกจ้างเพื่อเป็นค่าอาหาร ค่าชุดทำงานเป็นต้น ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย ในเรื่องนี้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541ได้กำหนดห้ามนายจ้างหักค่าจ้าง ค่าทำงานล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดจากลูกจ้าง เว้นแต่เป็นกรณีที่กฎหมายกำหนด เช่น ชำระค่าภาษี ชำระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์ เป็นต้น กรณีที่นายจ้างไม่ปฏิบัติก็จะมีความผิดตามกฎหมายโดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ ได้สั่งการให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด หากพบว่ามีการฝ่าฝืนให้ดำเนินการตามกฎหมายทันที
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับนายจ้าง ลูกจ้าง และที่มีข้อสงสัยสอบถามได้ที่ กองคุ้มครองแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 7020, 0 2246 3096 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 ถึง 10 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด หรือหมายเลขโทรศัพท์สายด่วน 1506 กด 3
ที่มา
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_761542
เตือนนายจ้างไว้เลย! พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ห้ามหักค่าจ้าง-โอที ฝ่าฝืนเจอคุก 6 เดือน
นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(กสร.) เปิดเผยว่ากสร.ให้ความสำคัญกับการดูแลแรงงานไทย และแรงงานต่างด้าวในทุกด้าน เพื่อให้แรงงานทุกคนได้รับการคุ้มครองอย่างเท่าเทียม เข้าถึงสิทธิตามกฎหมาย ที่ผ่านมายังพบว่ามีสถานประกอบการบางแห่งมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนในเรื่องของการหักค่าจ้าง โดยมีการหักค่าจ้างจากลูกจ้างเพื่อเป็นค่าอาหาร ค่าชุดทำงานเป็นต้น ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย ในเรื่องนี้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541ได้กำหนดห้ามนายจ้างหักค่าจ้าง ค่าทำงานล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดจากลูกจ้าง เว้นแต่เป็นกรณีที่กฎหมายกำหนด เช่น ชำระค่าภาษี ชำระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์ เป็นต้น กรณีที่นายจ้างไม่ปฏิบัติก็จะมีความผิดตามกฎหมายโดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ ได้สั่งการให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด หากพบว่ามีการฝ่าฝืนให้ดำเนินการตามกฎหมายทันที
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับนายจ้าง ลูกจ้าง และที่มีข้อสงสัยสอบถามได้ที่ กองคุ้มครองแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 7020, 0 2246 3096 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 ถึง 10 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด หรือหมายเลขโทรศัพท์สายด่วน 1506 กด 3
ที่มา https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_761542