สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 8
เวลาทางการให้ข่าว ชอบบอกว่าค่าน้ำหน่วยละ 9.5 บาท แต่อพาร์ทเม้นต์ เก็บ 18.0 บาท แพงเกิน
ไป กำไรเกือบเท่าตัว ไม่ทราบว่าก่อนให้ข่าว หาข้อมูลมาก่อนหรือเปล่าว่า ค่าน้ำ 9.5 บาทต่อหน่วย นั้น
สำหรับ ธุรกิจที่ใช้น้ำไม่เกิน 10 หน่วย หมายถึงว่ามีคนเช่าพัก 3 คน ก็ใช้น้ำเกินแล้ว ถ้ามี ห้องให้เช่า
ประมาณ 40 ห้องอยู่กันห้องละ 2 คน ก็ใช้น้ำเกิน 200 หน่วยแล้ว การประปาคิดค่าน้ำหน่วยละ 15.81 บาท
VAT อีก 7.0% ต้นทุนรวม16.91 บาท ยังไม่รวมค่าไฟฟ้าที่ใช้กับปั๊มน้ำ ถ้าเป็นตึกสูงหน่อยปั๊มก็กินไฟมาก
ถามจริงๆว่ากำไรเยอะหรือ? คนพักอาศัยทั่วไปชอบไปเทียบกับค่าน้ำประปาที่บ้านหน่วยละ 10 บาทก็รู้สึกแพง
แต่ถ้าเป็นตึกเล็กๆ 2 - 3 ชั้นมีไม่กี่ห้อง คิดราคา 18 บาทต่อหน่วยอาจจะแพงไปจริง เพราะต้นทุนถูกว่าตึกใหญ่
ประเด็นที่น่าเป็นห่วงของเจ้าของอพาร์ทเม้นต์ ไม่ใช่ค่าน้ำค่าไฟฟ้าหรอก ที่น่าเป็นห่วงคือ ถ้าผู้เช่าค้างค่าเช่า
แล้วไม่ยอมออก เจ้าของทำอะไรไม่ได้เลยจะไปล๊อคห้องเช่าก็ทำไม่ได้แล้ว ต้องฟ้องศาลอย่างเดียว
ซึ่งกว่าจะบังคับคดีได้ก็คงเกิน 6 เดือน ถ้ากู้มาทำ ก็ถือว่าโชคร้ายไปก็แล้วกัน ค่าทนายรวมกับค่าบังคับคดีใน
กรุงเทพก็น่าจะไม่ต่ำกว่า 30,000 บาทดอกเบี้ยก็ต้องจ่ายทุกเดือน ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างก็ต้องจ่ายเต็ม
เงินประกัน 1 เดือนจะพอความเสียหายได้อย่างไร ถ้าเจอห้วหมอจริงๆ อาจจะต้องจ้างออกก็ได้ แล้วอย่าบอกเลยว่าให้ไป
ตามยึดทรัยพ์ผู้เช่า เพราะว่าไม่คุ้มค่าใช้จ่ายหรอกและก็ไม่มีอะไรให้ยึดด้วย สิ่งที่ทำได้ก็คงทำได้แค่ทำใจ
ที่มีหน่วยงานราชการที่มองปัญหาด้านเดียว คือคุ้มครองผู้บริโภค แต่ไม่คุ้มครองผู้ประกอบการเลย แต่ยังกล้า
ใช้คำว่า "เป็นธรรม" อีก
ไป กำไรเกือบเท่าตัว ไม่ทราบว่าก่อนให้ข่าว หาข้อมูลมาก่อนหรือเปล่าว่า ค่าน้ำ 9.5 บาทต่อหน่วย นั้น
สำหรับ ธุรกิจที่ใช้น้ำไม่เกิน 10 หน่วย หมายถึงว่ามีคนเช่าพัก 3 คน ก็ใช้น้ำเกินแล้ว ถ้ามี ห้องให้เช่า
ประมาณ 40 ห้องอยู่กันห้องละ 2 คน ก็ใช้น้ำเกิน 200 หน่วยแล้ว การประปาคิดค่าน้ำหน่วยละ 15.81 บาท
VAT อีก 7.0% ต้นทุนรวม16.91 บาท ยังไม่รวมค่าไฟฟ้าที่ใช้กับปั๊มน้ำ ถ้าเป็นตึกสูงหน่อยปั๊มก็กินไฟมาก
ถามจริงๆว่ากำไรเยอะหรือ? คนพักอาศัยทั่วไปชอบไปเทียบกับค่าน้ำประปาที่บ้านหน่วยละ 10 บาทก็รู้สึกแพง
แต่ถ้าเป็นตึกเล็กๆ 2 - 3 ชั้นมีไม่กี่ห้อง คิดราคา 18 บาทต่อหน่วยอาจจะแพงไปจริง เพราะต้นทุนถูกว่าตึกใหญ่
ประเด็นที่น่าเป็นห่วงของเจ้าของอพาร์ทเม้นต์ ไม่ใช่ค่าน้ำค่าไฟฟ้าหรอก ที่น่าเป็นห่วงคือ ถ้าผู้เช่าค้างค่าเช่า
แล้วไม่ยอมออก เจ้าของทำอะไรไม่ได้เลยจะไปล๊อคห้องเช่าก็ทำไม่ได้แล้ว ต้องฟ้องศาลอย่างเดียว
ซึ่งกว่าจะบังคับคดีได้ก็คงเกิน 6 เดือน ถ้ากู้มาทำ ก็ถือว่าโชคร้ายไปก็แล้วกัน ค่าทนายรวมกับค่าบังคับคดีใน
กรุงเทพก็น่าจะไม่ต่ำกว่า 30,000 บาทดอกเบี้ยก็ต้องจ่ายทุกเดือน ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างก็ต้องจ่ายเต็ม
เงินประกัน 1 เดือนจะพอความเสียหายได้อย่างไร ถ้าเจอห้วหมอจริงๆ อาจจะต้องจ้างออกก็ได้ แล้วอย่าบอกเลยว่าให้ไป
ตามยึดทรัยพ์ผู้เช่า เพราะว่าไม่คุ้มค่าใช้จ่ายหรอกและก็ไม่มีอะไรให้ยึดด้วย สิ่งที่ทำได้ก็คงทำได้แค่ทำใจ
ที่มีหน่วยงานราชการที่มองปัญหาด้านเดียว คือคุ้มครองผู้บริโภค แต่ไม่คุ้มครองผู้ประกอบการเลย แต่ยังกล้า
ใช้คำว่า "เป็นธรรม" อีก
ความคิดเห็นที่ 32
ทำอพาร์ทเมนต์อยู่ครับ ขอแยกเป็นข้อๆ
- ค่าเช่าล่วงหน้าเก็บได้ 1 เดือน ---> ปกติเก็บอยู่ ----> ส่วนนี้กันผู้เช่าหนีหายออกไปเฉยๆไม่กลับมาครับ แต่ถ้าอยู่ไม่ครบเดือนปกติจะคืนให้คิดเป็นจำนวนวันที่ไม่ได้อยู่พัก
- ค่าประกันห้องพัก คิดได้ไม่เกิน 50%ของราคาค่าเช่า ---> ปกติเก็บเท่าค่าเช่า 1 เดือน ----> ส่วนนี้เดือนสุดท้ายจะคืนให้กับผู้เช่าหลังจากออกจากที่พัก หักค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอุปกรณ์เสียหาย ( ที่เคยเจออุปกรณ์เสียบางอย่างมากกว่าเงินส่วนนี้ เช่นเคยเจอ ประตูห้องน้ำหักครึ่ง ค่าประตู 1700 + ค่าติดตั้ง 500 ก็เกินจากค่าประกันแล้ว, บางครั้งก็ให้อุปกรณ์ชำรุด โต๊ะข้างเตียงหัก เปียกจนยุ่ย เฟอร์นิเจอร์ต่างๆก็เกินกว่าค่าประกันแล้ว ครั้นจะเรียกเก็บกับผู้เช่าก็ยาก จนแทบจะเป็นไปไม่ได้เพราะผู้เช่าออกไปแล้ว)
- ค่าไฟฟ้า ---> ปกติเก็บ 7 บาท/หน่วย ----> ต้นทุนประมาณ 5.6 บาท + 0.392 บาท VAT = 5.992 บาท ----> ค่าไฟฟ้ากำไร 1 บาท/หน่วย เหมือนจะเยอะ แต่ต้นทุนค่าไฟฟ้าไม่ได้เท่ากันทุกเดือน เนื่องจากไฟฟ้าจากหม้อแปลงจะคิดเรทจากจำนวนการใช้ไฟฟ้าทั้งหมดในตึกในแต่ละเดือน เป็นเรทก้าวหน้า บางครั้งก็ถัวๆกันไป กำไรจากค่าไฟฟ้าจ่ายเป็นค่าไฟทางเดิน ค่าปั๊มน้ำ ก็แทบจะไม่เหลือหรือถัวๆกันไปบางเดือน
- ค่าน้ำ ---> ปกติเก็บ 25 บาท/หน่วย ----> ต้นทุนบวกภาษี 25-26 บาท ไม่ได้กำไร พื้นที่ใช้น้ำไม่ได้อยู่ในเขตเทศบาล ราคาค่าน้ำแพงมากขนาดนี้เลย ยิ่งเดือนไหนใช้เยอะ เรทขึ้นไปถึง 27-28 บาท/หน่วย ขณะที่ในพื้นที่เทศบาล 15 บาท/หน่วย
- ค่าภาษีโรงเรือน ---> 12.5% ----> อันนี้ผู้ให้เช่ารับผิดชอบเองทั้งหมด ดูแล้วอาจไม่มาก แต่จริงๆคือค่าเช่า 1.5 เดือนของทั้งปี
- ค่าภาษีส่วนบุคคล ----> ตามเรทที่รัฐกำหนด ผู้ให้เช่าเป็นคนรับผิดชอบ
- ค่าพนักงาน / ค่า รปภ -----> ผู้ให้เช่าเป็นผู้รับผิดชอบ
บางครั้งต้องดูทั้ง 2 ฝ่ายด้วย การกำหนดออกกฎหมายบางข้อเพื่อผู้บริโภคก็ดีครับ แต่ก็ต้องดูอีกฝั่งนึงด้วยว่าเหมาะสมไหม จากผมก็เคยพักอพาร์ทเมนต์สมัยเรียนหนังสือกับทำงานมาเป็น 10 ปี ถ้ามองจากผู้เช่าเราก็จะเห็นทางมุมนึง แต่พอมาเป็นผู้ให้เช่าก็จะเห็นอีกมุมนึง อยากให้ทางผู้ออกกฎหมายสำรวจข้อมูลที่เป็นจริง และกำหนดกฎหมายที่ทั้ง 2 ฝ่ายจะไปด้วยกันได้
- ค่าเช่าล่วงหน้าเก็บได้ 1 เดือน ---> ปกติเก็บอยู่ ----> ส่วนนี้กันผู้เช่าหนีหายออกไปเฉยๆไม่กลับมาครับ แต่ถ้าอยู่ไม่ครบเดือนปกติจะคืนให้คิดเป็นจำนวนวันที่ไม่ได้อยู่พัก
- ค่าประกันห้องพัก คิดได้ไม่เกิน 50%ของราคาค่าเช่า ---> ปกติเก็บเท่าค่าเช่า 1 เดือน ----> ส่วนนี้เดือนสุดท้ายจะคืนให้กับผู้เช่าหลังจากออกจากที่พัก หักค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอุปกรณ์เสียหาย ( ที่เคยเจออุปกรณ์เสียบางอย่างมากกว่าเงินส่วนนี้ เช่นเคยเจอ ประตูห้องน้ำหักครึ่ง ค่าประตู 1700 + ค่าติดตั้ง 500 ก็เกินจากค่าประกันแล้ว, บางครั้งก็ให้อุปกรณ์ชำรุด โต๊ะข้างเตียงหัก เปียกจนยุ่ย เฟอร์นิเจอร์ต่างๆก็เกินกว่าค่าประกันแล้ว ครั้นจะเรียกเก็บกับผู้เช่าก็ยาก จนแทบจะเป็นไปไม่ได้เพราะผู้เช่าออกไปแล้ว)
- ค่าไฟฟ้า ---> ปกติเก็บ 7 บาท/หน่วย ----> ต้นทุนประมาณ 5.6 บาท + 0.392 บาท VAT = 5.992 บาท ----> ค่าไฟฟ้ากำไร 1 บาท/หน่วย เหมือนจะเยอะ แต่ต้นทุนค่าไฟฟ้าไม่ได้เท่ากันทุกเดือน เนื่องจากไฟฟ้าจากหม้อแปลงจะคิดเรทจากจำนวนการใช้ไฟฟ้าทั้งหมดในตึกในแต่ละเดือน เป็นเรทก้าวหน้า บางครั้งก็ถัวๆกันไป กำไรจากค่าไฟฟ้าจ่ายเป็นค่าไฟทางเดิน ค่าปั๊มน้ำ ก็แทบจะไม่เหลือหรือถัวๆกันไปบางเดือน
- ค่าน้ำ ---> ปกติเก็บ 25 บาท/หน่วย ----> ต้นทุนบวกภาษี 25-26 บาท ไม่ได้กำไร พื้นที่ใช้น้ำไม่ได้อยู่ในเขตเทศบาล ราคาค่าน้ำแพงมากขนาดนี้เลย ยิ่งเดือนไหนใช้เยอะ เรทขึ้นไปถึง 27-28 บาท/หน่วย ขณะที่ในพื้นที่เทศบาล 15 บาท/หน่วย
- ค่าภาษีโรงเรือน ---> 12.5% ----> อันนี้ผู้ให้เช่ารับผิดชอบเองทั้งหมด ดูแล้วอาจไม่มาก แต่จริงๆคือค่าเช่า 1.5 เดือนของทั้งปี
- ค่าภาษีส่วนบุคคล ----> ตามเรทที่รัฐกำหนด ผู้ให้เช่าเป็นคนรับผิดชอบ
- ค่าพนักงาน / ค่า รปภ -----> ผู้ให้เช่าเป็นผู้รับผิดชอบ
บางครั้งต้องดูทั้ง 2 ฝ่ายด้วย การกำหนดออกกฎหมายบางข้อเพื่อผู้บริโภคก็ดีครับ แต่ก็ต้องดูอีกฝั่งนึงด้วยว่าเหมาะสมไหม จากผมก็เคยพักอพาร์ทเมนต์สมัยเรียนหนังสือกับทำงานมาเป็น 10 ปี ถ้ามองจากผู้เช่าเราก็จะเห็นทางมุมนึง แต่พอมาเป็นผู้ให้เช่าก็จะเห็นอีกมุมนึง อยากให้ทางผู้ออกกฎหมายสำรวจข้อมูลที่เป็นจริง และกำหนดกฎหมายที่ทั้ง 2 ฝ่ายจะไปด้วยกันได้
ความคิดเห็นที่ 30
ค่าน้ำในบิลประปาเดือนล่าสุด ของบ้านผมที่มีห้องเช่าไม่กี่ห้อง
ใช้น้ำ 37,000 ลิตร คือ 37 หน่วยยูนิต
ในบิลค่าน้ำ 700.50 บาท ค่าบริการทั่วไป 30.00 บาท ภาษี 51.14 บาท รวมบิล 781.64 บาท
สรุปว่า ค่าน้ำประปาต่อหน่วยคือ 21.12 บาท ครับ
คิดว่าหลายคนยังไม่รู้ว่า ค่าน้ำประปาเก็บในอัตราก้าวหน้า ยิ่งใช้เยอะยิ่งแพง
หลายคนยังไม่รู้ว่ายิ่งเป็นระบบหลายชั้นต้องใช้ปั๊มน้ำ ดูดขึ้นชั้นบนอีกเดือนหลายร้อยไปถึงหลายพัน ในระบบใหญ่
สรุปให้เก็บต่ำว่า 20 บ. คือขาดทุนแน่ๆ สำหรับค่าน้ำประปา ไม่รวมค่าไฟฟ้าที่ใช้ปั๊มดูดน้ำขึ้นชั้นบน
ใช้น้ำ 37,000 ลิตร คือ 37 หน่วยยูนิต
ในบิลค่าน้ำ 700.50 บาท ค่าบริการทั่วไป 30.00 บาท ภาษี 51.14 บาท รวมบิล 781.64 บาท
สรุปว่า ค่าน้ำประปาต่อหน่วยคือ 21.12 บาท ครับ
คิดว่าหลายคนยังไม่รู้ว่า ค่าน้ำประปาเก็บในอัตราก้าวหน้า ยิ่งใช้เยอะยิ่งแพง
หลายคนยังไม่รู้ว่ายิ่งเป็นระบบหลายชั้นต้องใช้ปั๊มน้ำ ดูดขึ้นชั้นบนอีกเดือนหลายร้อยไปถึงหลายพัน ในระบบใหญ่
สรุปให้เก็บต่ำว่า 20 บ. คือขาดทุนแน่ๆ สำหรับค่าน้ำประปา ไม่รวมค่าไฟฟ้าที่ใช้ปั๊มดูดน้ำขึ้นชั้นบน
แสดงความคิดเห็น
ธรุกิจห้องเช่าจ๋อย.."ห้ามเก็บค่าเช่าล่วงหน้าเกิน 1 เดือน"หมดสัญญาคืนเงินใน 7 วัน ห้ามเก็บค่าน้ำ ค่าไฟเกินที่กำหนด
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศ คณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2561 เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมระหว่างผู้เช่าและเจ้าของที่พักอาศัย
สาระสำคัญของประกาศฉบับนี้ คือ มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการเข้าไปควบคุมบรรดาผู้ให้บริการห้องพักต่าง ๆ อาทิ ห้องพัก บ้าน อาคารชุด และ อพาร์ทเมนต์ แต่ไม่รวมถึงหอพัก หรือ โรงแรม ที่เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก และกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
โดยห้ามเจ้าของธุรกิจเรียกเก็บเงินค่าเช่าล่วงหน้าเกิน 1 เดือน และ ห้ามเก็บค่าน้ำ ค่าไฟ เกินกว่าที่ทางการไฟฟ้าประกาศไว้ กำหนดให้เรียกเก็บเงินประกันได้ 50% ของอัตราค่าเช่ารายเดือน เพื่อไม่ให้เจ้าของห้องพักเอาเปรียบคนเช่า และ หากสัญญาเช่าสิ้นสุดลง ผู้ให้เช่าต้องคืนเงินประกันผู้เช่าทันทีภายใน 7 วัน เว้นแต่ผู้เช่าจะทำความเสียหายไว้
ถ้าใครไม่ทำตาม ต้องถูกลงโทษจำคุก 1 ปี พร้อมปรับเงินไม่เกิน 100,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ โดยกฎหมายดังกล่าวจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.61 เป็นต้นไป
พลตำรวจตรี ประสิทธิ์ เฉลิมวุฒิศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผยว่า ในช่วงที่กฎหมาย ยังไม่มีผลบังคับใช้ ทาง สคบ.จะประชาสัมพันธ์ให้เจ้าของห้องพัก หรือคนเช่า ได้รับรู้ข้อมูลของกฎหมาย เพื่อผู้ให้บริการห้องเช่าปรับตัว โดย สคบ.จะประสานไปยังคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัด ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน เพื่อหาทางลงไปชี้แจงทำความเข้าใจกับบรรดาเจ้าของห้องพักด้วย
ซึ่งกฎหมายฉบับนี้จะช่วยสร้างมาตรฐานการให้บริการห้องพักของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยลดความเดือดร้อนของผู้เช่าที่เคยถูกเอาเปรียบต่าง ๆ นานา
http://www.thaich8.com/news_detail/60435