สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
หลักการผลิตเพื่อให้สัตว์ชอบ นี่ ผมก็ไม่แน่ใจนะครับ
แต่ผมคาดว่าจะเน้นไปที่ กลิ่น และ รสเค็ม ให้มันพอดี ๆ คล้ายอาหารคนกิน
เพราะผมเคยกินอาหารหมามาแล้ว คือ เอโปรรสตับ กับ Smartheart รสเนื้ออบ ทั้ง 2 อย่างนี่ กลิ่น เข้มข้น
ออกมาก่อนเลยครับ รสเค็มนี่ใกล้เคียงกับขนมขบเคี้ยวที่เรากินกัน ดังนั้น ผมว่าเค้าวิจัยและค้นพบว่า กลิ่น จะมีส่วน
ช่วยมากเลยแหละครับ
ส่วนอาหารแมว ผมเคยชิม Meo (เม็ดเขียว ๆ) ปรากฏว่าไม่หอมเลย แค่เค็ม ๆ ผมว่าไม่ได้เรื่องครับ
(เอโปร นี่ ถูกบังคับให้กินตอนฝึกนาวิกโยธิน น่ะครับ ส่วน Smartheart กับ Meo
มาลองกินเองเร็ว ๆ นี้เอง เพราะอยากรู้รสชาติมัน)
แต่ผมคาดว่าจะเน้นไปที่ กลิ่น และ รสเค็ม ให้มันพอดี ๆ คล้ายอาหารคนกิน
เพราะผมเคยกินอาหารหมามาแล้ว คือ เอโปรรสตับ กับ Smartheart รสเนื้ออบ ทั้ง 2 อย่างนี่ กลิ่น เข้มข้น
ออกมาก่อนเลยครับ รสเค็มนี่ใกล้เคียงกับขนมขบเคี้ยวที่เรากินกัน ดังนั้น ผมว่าเค้าวิจัยและค้นพบว่า กลิ่น จะมีส่วน
ช่วยมากเลยแหละครับ
ส่วนอาหารแมว ผมเคยชิม Meo (เม็ดเขียว ๆ) ปรากฏว่าไม่หอมเลย แค่เค็ม ๆ ผมว่าไม่ได้เรื่องครับ
(เอโปร นี่ ถูกบังคับให้กินตอนฝึกนาวิกโยธิน น่ะครับ ส่วน Smartheart กับ Meo
มาลองกินเองเร็ว ๆ นี้เอง เพราะอยากรู้รสชาติมัน)
ความคิดเห็นที่ 21
เวลาทดสอบความอร่อยของอาหาร มักใช้คำว่า palatability (ความน่ากิน) มากกว่า taste (รส) ครับ เพราะเวลาทดสอบเราทราบแค่ว่า ปริมาณการกินมีมากขึ้นเมื่อเทียบกับอาหารมาตรฐานชนิดใดชนิดหนึ่ง
สำหรับการรับรส ก็มีนักวิทยาศาสตร์เคยทดสอบดูแล้ว พบว่า สิ่งที่แมวใช้รับรสคือ กรดอะมิโน (amino acids) และสันนิษฐานว่า ด้วยความเป็นผู้ล่าที่ฝังอยู่ในสัณชาตญาณของสัตว์กินเนื้อ (carnivore) ทำให้กรดอะมิโนเป็นตัวกำหนดความอร่อย ตอนไปดูงานโรงงานอาหาร ได้ทดลองชิมอาหารแมวทั้งแบบแห้งและแบบเปียก พบว่า รสนั้นอร่อยมาก แต่รสโดยรวมจะไม่เหมือนอาหารคน ทั้งนี้เพราะคนเป็นสัตว์ที่กินทั้งพืชและสัตว์ (omnivore)(อาหารพวกนี้ คนสามารถทานได้ครับ เพราะโรงงานที่ผลิตนั้นสะอาดมาก และได้มาตรฐาน GMP รวมถึง HACCP)
ส่วนสุนัขนั้นอย่างที่ทราบคือ สุนัขจะประเมิน palatability จากกลิ่นครับ ทำให้ยาบางชนิด (chewable tablets) หรืออาหารบางอย่าง มักจะผสมกลิ่นลงไป เพื่อเพิ่มความอยากอาหารและให้สุนัขทานอาหารได้มากขึ้น โดยเฉพาะเวลาป่วย (better compliance) แต่จากการเคยชิมอาหารสุนัขจากโรงงานเดียวกันข้างบน อยากบอกว่า ไม่มีรสเลยครับ มีแต่กลิ่นล้วนๆ
ส่วนกระต่าย ปลาและนก ไม่มีข้อมูลครับ ทราบแค่ว่า สัตว์ทั้งสามชนิด จุดที่ผู้ผลิตต้องเน้นคือ ขนาด (edible size)
ถ้าให้เทียบระหว่างรูปแบบอาหาร จะทราบกันดีว่า แบบเปียกมี palatability สูงกว่าแบบแห้ง นอกจากประเด็นเรื่อง texture เวลาสัมผัสกับลิ้น และการกลืนคล่องง่ายแล้ว กลิ่นในอาหารก็เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่จะละลายได้ดีและระเหยได้ดี ถ้ามีตัวทำละลายที่เหมาะสม ส่งผลให้มี palatability มากขึ้นครับ
ส่วนประเด็นการใส่แร่ธาตุ ไม่เกี่ยวกับรสหรือ palatability หรือเกี่ยวก็น้อยมาก ที่ใส่ลงไปนั้น ส่วนใหญ่ ผู้ผลิตจะใส่ตามความต้องการของสัตว์ชนิดนั้นๆ ณ อายุนั้นๆ และณ สภาวะนั้นๆ (ถ้าอาหารระดับ prescription diet จะมีการปรับสูตรที่ต่างออกไปอีก ตามโรค) บางสูตรมีงานวิจัยถึงเรื่องความต้องการของสุนัขต่างสายพันธุ์ เพราะสุนัขต่างสายพันธุ์ย่อมมีความต้องการสารอาหารต่างกัน แบ่งคร่าวๆ คือ เล็ก กลาง ใหญ่ และยักษ์
TL;DR
1. รส ไม่ใช่ palatability เพราะเราบอกไม่ได้ว่าสัตว์รู้รสอย่างไร (เหมือนการพิสูจน์ว่า สัตว์เลี้ยงรักเจ้าของหรือเปล่า จากการวัดปริมาณการหลั่งฮอร์โมน oxytocin แต่เราก็บอกไม่ได้เต็มปากว่า สัตว์เลี้ยงรักเราจริงหรือเปล่า)
2. อาหารเปียก มักมี palatability ดีกว่า
3. การเติมแร่ธาตุไม่ได้เติมเพื่อรส แต่เติมเพื่อความต้องการพื้นฐานของสัตว์ (balanced diet) เพราะคาดหวังว่า เราจะเทให้สัตว์กินแต่อาหารชนิดนี้เท่านั้น ไม่กินอาหารอื่นเลย ถ้าเราต้องมานั่งเติมโซเดียมเอง คงไม่สะดวกครับ
สำหรับการรับรส ก็มีนักวิทยาศาสตร์เคยทดสอบดูแล้ว พบว่า สิ่งที่แมวใช้รับรสคือ กรดอะมิโน (amino acids) และสันนิษฐานว่า ด้วยความเป็นผู้ล่าที่ฝังอยู่ในสัณชาตญาณของสัตว์กินเนื้อ (carnivore) ทำให้กรดอะมิโนเป็นตัวกำหนดความอร่อย ตอนไปดูงานโรงงานอาหาร ได้ทดลองชิมอาหารแมวทั้งแบบแห้งและแบบเปียก พบว่า รสนั้นอร่อยมาก แต่รสโดยรวมจะไม่เหมือนอาหารคน ทั้งนี้เพราะคนเป็นสัตว์ที่กินทั้งพืชและสัตว์ (omnivore)(อาหารพวกนี้ คนสามารถทานได้ครับ เพราะโรงงานที่ผลิตนั้นสะอาดมาก และได้มาตรฐาน GMP รวมถึง HACCP)
ส่วนสุนัขนั้นอย่างที่ทราบคือ สุนัขจะประเมิน palatability จากกลิ่นครับ ทำให้ยาบางชนิด (chewable tablets) หรืออาหารบางอย่าง มักจะผสมกลิ่นลงไป เพื่อเพิ่มความอยากอาหารและให้สุนัขทานอาหารได้มากขึ้น โดยเฉพาะเวลาป่วย (better compliance) แต่จากการเคยชิมอาหารสุนัขจากโรงงานเดียวกันข้างบน อยากบอกว่า ไม่มีรสเลยครับ มีแต่กลิ่นล้วนๆ
ส่วนกระต่าย ปลาและนก ไม่มีข้อมูลครับ ทราบแค่ว่า สัตว์ทั้งสามชนิด จุดที่ผู้ผลิตต้องเน้นคือ ขนาด (edible size)
ถ้าให้เทียบระหว่างรูปแบบอาหาร จะทราบกันดีว่า แบบเปียกมี palatability สูงกว่าแบบแห้ง นอกจากประเด็นเรื่อง texture เวลาสัมผัสกับลิ้น และการกลืนคล่องง่ายแล้ว กลิ่นในอาหารก็เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่จะละลายได้ดีและระเหยได้ดี ถ้ามีตัวทำละลายที่เหมาะสม ส่งผลให้มี palatability มากขึ้นครับ
ส่วนประเด็นการใส่แร่ธาตุ ไม่เกี่ยวกับรสหรือ palatability หรือเกี่ยวก็น้อยมาก ที่ใส่ลงไปนั้น ส่วนใหญ่ ผู้ผลิตจะใส่ตามความต้องการของสัตว์ชนิดนั้นๆ ณ อายุนั้นๆ และณ สภาวะนั้นๆ (ถ้าอาหารระดับ prescription diet จะมีการปรับสูตรที่ต่างออกไปอีก ตามโรค) บางสูตรมีงานวิจัยถึงเรื่องความต้องการของสุนัขต่างสายพันธุ์ เพราะสุนัขต่างสายพันธุ์ย่อมมีความต้องการสารอาหารต่างกัน แบ่งคร่าวๆ คือ เล็ก กลาง ใหญ่ และยักษ์
TL;DR
1. รส ไม่ใช่ palatability เพราะเราบอกไม่ได้ว่าสัตว์รู้รสอย่างไร (เหมือนการพิสูจน์ว่า สัตว์เลี้ยงรักเจ้าของหรือเปล่า จากการวัดปริมาณการหลั่งฮอร์โมน oxytocin แต่เราก็บอกไม่ได้เต็มปากว่า สัตว์เลี้ยงรักเราจริงหรือเปล่า)
2. อาหารเปียก มักมี palatability ดีกว่า
3. การเติมแร่ธาตุไม่ได้เติมเพื่อรส แต่เติมเพื่อความต้องการพื้นฐานของสัตว์ (balanced diet) เพราะคาดหวังว่า เราจะเทให้สัตว์กินแต่อาหารชนิดนี้เท่านั้น ไม่กินอาหารอื่นเลย ถ้าเราต้องมานั่งเติมโซเดียมเอง คงไม่สะดวกครับ
แสดงความคิดเห็น
การผลิตอาหารสัตว์ ทดสอบอย่างไร ว่า หมาแมวกระต่ายปลานก ชอบรสชาติแบบนี้ ใช้คนชิมทดสอบหรือไม่ อย่างไร
ฝ่ายผลิต รู้ได้ไง สัตว์ชอบรสชาติ แบบไหน ต้องทดลองชิมรสอย่างไร
จึงผ่านออกมาขายได้ ใช้คนชิมหรือไม่ อย่างไร รบกวนอธิบายให้ทราบด้วยค่ะ
อาหารแมว ชนิดกระป๋อง รสปลาต่างๆหรือ กุ้ง บางครั้ง เหมือน ปลาทูน่ากระป๋อง /เห็นกุ้งจริงๆ ในกระป๋องด้วย
เหมือนอาหารที่คนเรากินมากๆ ใครเคยชิมบ้าง รสชาติ อย่างไร