1) อาดัม สมิธ ( Adam Smith ) ถือว่าเป็นบิดาของเศรษฐศาสตร์ และ เป็นผู้ที่เขียนหนังสือ " The Wealth of Nations " อาดัม สมิธเป็นผู้ให้กําเนิดทฤษฎีการค้าเสรี การแบ่งงานกันทํา การจัดสรรทรัพยากร การขยายตลาดไปยังต่างประเทศ ตลอดจนมือที่มองไม่เห็น ( Invisible Hand ) อันโด่งดังในระบบเศรษฐกิจแบบตลาด ( Market Economy ) อย่างไรก็ตาม ระบบเศรษฐกิจตามความหมายของ อาดัม สมิธ นั้น ครอบคลุมเฉพาะการผลิตสินค้าทางด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเท่านั้น โดยไม่รวมภาคบริการเข้ามาอยู่ในระบบเศรษฐกิจ
2) อัลเฟรต มาร์แชลล์ ( Alfred Marshall ) ผู้ที่ต่อยอดแนวความคิดของ อาดัม สมิธ โดยรวมเอาภาคบริการเข้ามาอยู่ในระบบเศรษฐกิจ อัลเฟรต มาร์แชลล์ เขียนหนังสือ หลักเศรษศาสตร์ ( Principle of Economics )
3) จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ ( John Maynard Keynes ) ผู้เขียนหนังสือ " The General Theory of Employment, Interest and Money " เป็นที่แนะนําให้ใช้นโยบายทางด้านการคลังเข้ามาแทรกแซงระบบเศรษฐกิจ หลักการนี้ได้นํามาใช้อย่างได้ผลในช่วงการตกตํ่าครั้งใหญ่ใน ปี ค.ศ 1929 ( The Great Depression ) การตกตํ่าของเศรษฐกิจครั้งใหญ่ครั้งนี้ได้ลุกลามไปทั่วโลก เฉพาะสหรัฐอเมริกาเอง อัตราการว่างงานได้สูงถึง 25% ของแรงงานรวม ประธานาธิบดี แฟรงกลิน เดลาโน รุสเวลต์ ( Franklin Delano Roosveltt ) ได้นําแนวทางนี้มาฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยใช้นโยบาย New Deal ในการสร้างงานให้คนอเมริกัน แล้วเศรษฐกิจก็ได้พลิกฟื้นขึ้นมาดีต่อเนื่องในระยะเวลาต่อมา
4) มิลตัน ฟรีดแมน ( Milton Friedman ) นโยบายด้านการคลังใช้ได้ผลตั้งแต่สมัย ประธานาธิบดี แฟรงกลิน เดลาโน รุสเวลต์ เป็นต้นมา จนกระทํ่งเกิดวิกฤติการณ์พลังงานครั้งที่ 1 ใน ปี ค.ศ 1973 ทําให้เกิดเงินเฟ้ออย่างรุนแรง จนกระทั่ง มิลตัน ฟรีดแมนได้เสนอให้ใช้นโยบายการเงินในการแก้ปัญหาเรื่องเงินเฟ้อ
5) เบน เบอนานคี ( Ben Bernanke ) นโยบายการเงินใช้ได้ผลเรื่อยมา จนเกิดวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ขึ้นใน ปี ค.ศ 2008 เบน เบอนานคี ซึ่งเป็นผู้ว่าการธนาธารกลางสหรัฐอเมริกาในสมัยนั้นเป็นผู้ให้กําเนิดนโยบายการอัดฉีดสภาพคล่อง หรือ QE เบน เบอนานคี เริ่มอัดฉีดสภาพคล่องเมือปลาย ปี ค.ศ 2008 และ เริ่มลดวงเงินอัดฉีดสภาพคล่องเมื่อกลาง ปี ค.ศ 2014 จํานวนเงินในการอัดฉีดสภาพคล่องทั้งสิ้น 3.8 ล้านล้าน USD และ ในที่สุด ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาก็ได้เริ่มปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ( Fed Fund Rate )ขึ้นตั้งแต่ปลาย ปี ค.ศ 2015 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
นักเศรษฐศาสตร์เอกของโลก
2) อัลเฟรต มาร์แชลล์ ( Alfred Marshall ) ผู้ที่ต่อยอดแนวความคิดของ อาดัม สมิธ โดยรวมเอาภาคบริการเข้ามาอยู่ในระบบเศรษฐกิจ อัลเฟรต มาร์แชลล์ เขียนหนังสือ หลักเศรษศาสตร์ ( Principle of Economics )
3) จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ ( John Maynard Keynes ) ผู้เขียนหนังสือ " The General Theory of Employment, Interest and Money " เป็นที่แนะนําให้ใช้นโยบายทางด้านการคลังเข้ามาแทรกแซงระบบเศรษฐกิจ หลักการนี้ได้นํามาใช้อย่างได้ผลในช่วงการตกตํ่าครั้งใหญ่ใน ปี ค.ศ 1929 ( The Great Depression ) การตกตํ่าของเศรษฐกิจครั้งใหญ่ครั้งนี้ได้ลุกลามไปทั่วโลก เฉพาะสหรัฐอเมริกาเอง อัตราการว่างงานได้สูงถึง 25% ของแรงงานรวม ประธานาธิบดี แฟรงกลิน เดลาโน รุสเวลต์ ( Franklin Delano Roosveltt ) ได้นําแนวทางนี้มาฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยใช้นโยบาย New Deal ในการสร้างงานให้คนอเมริกัน แล้วเศรษฐกิจก็ได้พลิกฟื้นขึ้นมาดีต่อเนื่องในระยะเวลาต่อมา
4) มิลตัน ฟรีดแมน ( Milton Friedman ) นโยบายด้านการคลังใช้ได้ผลตั้งแต่สมัย ประธานาธิบดี แฟรงกลิน เดลาโน รุสเวลต์ เป็นต้นมา จนกระทํ่งเกิดวิกฤติการณ์พลังงานครั้งที่ 1 ใน ปี ค.ศ 1973 ทําให้เกิดเงินเฟ้ออย่างรุนแรง จนกระทั่ง มิลตัน ฟรีดแมนได้เสนอให้ใช้นโยบายการเงินในการแก้ปัญหาเรื่องเงินเฟ้อ
5) เบน เบอนานคี ( Ben Bernanke ) นโยบายการเงินใช้ได้ผลเรื่อยมา จนเกิดวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ขึ้นใน ปี ค.ศ 2008 เบน เบอนานคี ซึ่งเป็นผู้ว่าการธนาธารกลางสหรัฐอเมริกาในสมัยนั้นเป็นผู้ให้กําเนิดนโยบายการอัดฉีดสภาพคล่อง หรือ QE เบน เบอนานคี เริ่มอัดฉีดสภาพคล่องเมือปลาย ปี ค.ศ 2008 และ เริ่มลดวงเงินอัดฉีดสภาพคล่องเมื่อกลาง ปี ค.ศ 2014 จํานวนเงินในการอัดฉีดสภาพคล่องทั้งสิ้น 3.8 ล้านล้าน USD และ ในที่สุด ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาก็ได้เริ่มปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ( Fed Fund Rate )ขึ้นตั้งแต่ปลาย ปี ค.ศ 2015 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน