พรรคการเมืองสหรัฐที่ไม่มีพรรคฝ่ายซ้าย มีแต่พรรคฝ่ายขวา - ขวาจัด ประชาธิปไตย สหรัฐฯ กับ ไทย กำลังเดินไปด้วยกัน ?


รู้จัก  “  เดโมแครต  ”  พรรคการเมืองเก่าแก่  ของสหรัฐอเมริกา  /โดย ลงทุนแมน
เดโมแครต  สังกัดพรรคการเมืองของ  โจ ไบเดน  ว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐอเมริกา
รู้ไหมว่า  นี่คือพรรคการเมืองเก่าแก่ที่มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อ  228  ปีที่แล้ว
และถ้านับเฉพาะพรรคการเมืองที่ยังคงดำเนินงานอยู่ในปัจจุบัน
เดโมแครต  จะเป็นพรรคการเมืองที่  เก่าแก่ที่สุดในโลก
พรรคเดโมแครตมีที่มาอย่างไร
เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างไร  เมื่อมีผู้นำมาจากพรรคนี้?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง

เริ่มแรก  พรรคเดโมแครต  มีชื่อเดิมว่า  “พรรคเดโมแครต-รีพับลิกัน”
ซึ่งก่อตั้งโดยอดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ  คนที่ 3  ที่ชื่อว่า  Thomas Jefferson  ในปี 1792  หรือเมื่อ  228  ปีที่แล้ว ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 2  ของกรุงรัตนโกสินทร์ของประเทศไทย

ต่อมา  ภายในพรรคเดโมแครต-รีพับลิกัน  มีการแตกออกเป็นอีกหลายฝ่าย
โดย Andrew Jackson อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 7  แยกตัวออกมาจากพรรค  แล้วก่อตั้งอีกพรรคการเมือง  โดยใช้ชื่อว่า  “พรรคเดโมแครต”  ขึ้นในปี 1828
(ส่วนอีกฝ่ายที่แยกไป “ไม่ใช่” พรรครีพับลิกัน ในปัจจุบันแต่อย่างใด)

รู้ไหมว่า  นับจากวันนั้น  สหรัฐอเมริกามีประธานาธิบดีที่มาจากพรรคเดโมแครตเป็นจำนวน  15 คน  ซึ่งคนล่าสุดก็คือ  โจ ไบเดน (กำลังจะเป็นคนที่ 16)

ปรัชญาการเมืองที่เป็นแก่นของพรรคเดโมแครต  คือ  มุ่งเน้นความเป็นเสรีนิยมสมัยใหม่  สนับสนุนความเท่าเทียมทางสังคมและเศรษฐกิจไปพร้อมๆ กัน

นโยบายจากเดโมแครตมักจะเน้นการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ  เก็บภาษีในอัตราสูงโดยเฉพาะกลุ่มคนรายได้สูง  แล้วนำมากระจายกลับสู่สังคมให้เท่าๆ  กัน  ผ่านการนำไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหรือโครงการต่างๆ 



(เหมือนรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ทำไว้ในอดีต)



แนวคิดดังกล่าวตรงข้ามกับพรรครีพับลิกัน  ที่เน้นไปในทางอนุรักษ์นิยม  สนับสนุนทุนนิยมแบบตลาดเสรี  ใช้นโยบายการทหารที่เข้มแข็ง  และการให้เสรีภาพกับภาคธุรกิจมากกว่า

พรรครีพับลิกัน  ไม่เห็นด้วยกับการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ  และยังสนุนการให้เก็บภาษีในอัตราต่ำ  เพราะเชื่อว่า  เมื่อภาคธุรกิจจ่ายภาษีน้อยลง  มีกำไรมากขึ้น จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและแรงจูงใจในการแข่งขันซึ่งจะตามมาด้วยการเติบโตทางเศรษฐกิจ  และการจ้างงานในที่สุด

ความแตกต่างทางด้านนโยบายของทั้ง  2  พรรค
ทำให้ฐานเสียงของแต่ละพรรคก็เป็นคนละกลุ่มไปด้วย

โดยกลุ่มคนผิวสี  กลุ่มผู้หญิง  คนเชื้อสายลาตินอเมริกา  มักจะให้การสนับสนุนพรรคเดโมแครต

ขณะที่ผู้มีฐานะร่ำรวย  มีแนวคิดอนุรักษ์นิยม  รวมทั้งคนอเมริกันผิวขาวมักจะให้การสนับสนุนพรรครีพับลิกัน

ถ้าถามว่า  พรรคการเมืองไหนที่สามารถบริหารเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาให้เติบโตได้ดีกว่ากัน?
ถ้าตอบตามสถิติทางด้านเศรษฐกิจแล้ว  คำตอบคือ  พรรคเดโมแครต

นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่  2  มาถึงปัจจุบัน  GDP  ของสหรัฐฯ  เติบโตเฉลี่ยปีละ  2.5% ภายใต้การบริหารประเทศของประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกัน

แต่ภายใต้การบริหารประเทศของประธานาธิบดีจากพรรคเดโมแครต  GDP ของสหรัฐฯ  เติบโตเฉลี่ยปีละ 4.4%

โดยเฉพาะช่วงที่  Bill Clinton  ประธานาธิบดีคนที่ 42  ของสหรัฐอเมริกาจากพรรคเดโมแครตบริหารประเทศในช่วงปี 1993 - 2001

สหรัฐอเมริกามีการจ้างงานกว่า  18.6 ล้านตำแหน่ง  ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุด  ในบรรดาประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาที่เคยบริหารประเทศ

อีกเรื่องที่น่าสนใจคือ  นับตั้งแต่ปี 1947 ที่สหรัฐอเมริกามีการคำนวณ  และเก็บสถิติมูลค่า  GDP อย่างเป็นทางการ  พบว่า

ผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา  โดยใช้ดัชนี  S&P 500  เป็นตัวชี้วัด
ภายใต้การนำของประธานาธิบดีที่มาจากพรรคเดโมแครต  ผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ปีละ 10.8%
ภายใต้การนำของประธานาธิบดีที่มาจากพรรครีพับลิกัน  ผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ปีละ 5.6%

โดยเฉพาะในช่วงที่  Bill Clinton  จากพรรคเดโมแครตบริหารประเทศ  ในช่วงปี 1993 - 2001
ดัชนี  S&P 500  ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 18%  ในช่วง 8  ปีที่เขาเป็นประธานาธิบดี

แต่ก็ต้องหมายเหตุด้วยว่า  ที่ตัวเลขทางเศรษฐกิจในช่วงที่ประธานาธิบดีจากพรรคเดโมแครตบริหารประเทศออกมาดี  ส่วนหนึ่งเป็นผลจากวัฏจักรทางเศรษฐกิจที่อาจกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้นพอดี



(คหสต จขกท  เหตุการณ์ช่วงนี้ของเดโมแครตหากเทียบกับรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ 
ก็คล้ายกัน  และอยู่ในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว  จนกระทั่งโควิด)



ประเด็นที่ต้องติดตามในตอนนี้คือ
การระบาดของโควิด  19 ในปีนี้กำลังสร้างความท้าทายอย่างมากแก่เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา

ซึ่งถือเป็นวิกฤติที่ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำที่สุด  นับตั้งแต่การตกต่ำครั้งใหญ่ในช่วงปี 1929  หรือที่เรียกว่า  “The Great Depression”

ก็ต้องติดตามว่า  โจ ไบเดน จะทำหน้าที่ได้ดีแค่ไหน  ในช่วงที่อเมริกาอยู่ท่ามกลางวิกฤติที่รุนแรงที่สุดในรอบ 90 ปี  และจะรับมือกับการก้าวขึ้นมาท้าทายการเป็นมหาอำนาจของโลก  จากประเทศจีนอย่างไร

ซึ่งนอกจากจะเป็นการพิสูจน์ความสามารถของ  ไบเดน  แล้ว
ความท้าทายครั้งนี้  ยังเป็นเครื่องพิสูจน์ความสามารถ  และแนวทางการทำงาน  ของพรรคการเมืองที่เก่าแก่ของสหรัฐอเมริกา  ที่ชื่อว่า  “เดโมแครต” 
อีกด้วย..

ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
รู้ไหมว่า  สัญลักษณ์ของพรรคเดโมแครตและของพรรครีพับลิกันเกิดในปี  ค.ศ. 1870  จากนักวาดการ์ตูนชาวอเมริกันเชื้อสายเยอรมัน  ที่มีชื่อว่า  Thomas Nast  ที่วาดการ์ตูนล้อเลียนการเมือง  ลงในนิตยสารและหนังสือพิมพ์ต่างๆ

ภาพวาดของเขามักใช้ช้างในฐานะตัวแทนของพรรครีพับลิกัน  และลาเป็นตัวแทนของพรรคเดโมแครต  จนเป็นที่มาที่ทำให้ทั้ง  2  พรรคนี้นำสัตว์  2 ประเภท  มาใช้เป็นสัญลักษณ์ของแต่ละพรรคมาจนถึงวันนี้

ขณะที่ในความเป็นจริงแล้วในสหรัฐอเมริกาก็ไม่ได้มีเพียงแค่พรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันเท่านั้น  แต่ยังมีพรรคอื่นๆ  อีกเช่น  พรรคเสรีนิยม  พรรคกรีน  และพรรครัฐธรรมนูญ  เป็นต้น

แต่เนื่องจากพรรคเหล่านั้นเป็นพรรคขนาดเล็ก  เมื่อเทียบกับ  2  พรรคดังกล่าว  ทำให้สหรัฐอเมริกาจึงเป็นประเทศที่มีระบบการเมืองแบบพรรคการเมืองขนาดใหญ่  2  พรรคนี้นั่นเอง..

ที่มา
https://www.longtunman.com/26517

คหสต  จขกท  คิดว่า  ไทยกำลังเดินตามสหรัฐฯไปครับ 
ตั้งแต่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์จนมาถึงการเลือกตั้งครั้งล่าสุด

สหรัฐฯเคยมีสงครามกลางเมือง  ไทยเราก็เช่นกัน
(แต่ไทยตอนนี้มีคอมมิวนิสต์ + อนาธิปไตยมาเกี่ยวด้วย)
วิธีแก้ปัญหา (จัดการ)  ก็ไม่ต่างกันนักครับ

พรรคเพื่อไทยในปัจจุบัน  เท่ากับ  รีพับลิกัน (ขวาจัด)
และพรรคใหม่คู่แข่งในอนาคตของเพื่อไทย  ที่จะมาเป็น  เดโมแครต (ขวา) 

ส่วนตัวยังไม่ทราบ  แต่คิดว่าคงไม่ใช่พรรคภูมิใจไทยกับพรรคประชาธิปัตย์

และ  จขกท  คิดว่าน่าจะมีการตั้งพรรคขึ้นมาใหม่ในอนาคต

การเมืองของสหรัฐฯ  จึงไม่ค่อยมีปัญหาความแตกแยกมากนัก 
และก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง  จนกระทั่งการมาสร้างความแตกแยกของทรัมป์ (เหมือนทักษิณ)

และสิ่งที่เกิดขึ้นกับการเมืองไทย  ณ  ตอนนี้  เป็นเพราะเราเอาแบบมาจากสหรัฐฯเลยครับ 
ไม่รู้ว่า  CIA  เข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหนนะครับ

แต่  คหสต  จขกท  ราชการ  กับ  กองทัพ
มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงนี้แน่นอนครับ

ราชการ  กองทัพ  เริ่มต้นกับรัฐบาลเพื่อไทย (ใหม่)  ด้วยการ

บังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมกันหนักขึ้นเรื่อยๆ (เหมือนสหรัฐ)
ตรวจสอบหนักขึ้นเรื่อยๆ (เหมือนสหรัฐฯ)
เสรีภาพมากขึ้นภายใต้กฎหมาย (เหมือนสหรัฐฯ)
บี้รัฐบาลให้เดินถูกทางไม่สร้างปัญหา (เหมือนสหรัฐฯ)

เห็นต่างแต่ต้องไม่สร้างความแตกแยก
เช่น  รุ้ง ทะลุวังโดนฟาดเลือดอาบเพราะไปเตะตำรวจ
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
เช่นเดียวกับสหรัฐฯ  ปราบนักศึกษาประท้วงปาเลสไตน์ที่ก่อความวุ่นวาย 
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
คนที่พูดว่า  hold the line  ถ้ามีผู้ไม่หวังดีเข้ามา  นักศึกษาจะอยู่ในอันตรายยิ่งกว่าเผชิญหน้าตำรวจ

ความเป็นหนึ่งเดียวของประเทศไทยจะทำให้เราเข้มแข็งเหมือนสหรัฐฯ
แต่ต้องเดินไปให้ถูกต้อง  กองทัพ  ราชการ  ต้องจัดการอย่าให้อำนาจนักการเมืองไปเจรจาใดๆโดยพลการ
และการตัดสินใจทางการเมืองระหว่างประเทศของเราต้องเป็นเอกภาพ

"  ไม่ว่าพรรคใดมาเป็นรัฐบาล  นโยบายไม่ได้ต่างกัน  "

ปัญหาโครงสร้างของไทยในปัจจุบัน  ยังมีปัญหามากพอสมควร 
รัฐบาลทหารในอดีตพยายามเข้ามาแก้ไขปัญหา  แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ได้หมด  
เป็นสิ่งที่ท้าทายรัฐบาล  ราชการ  และกองทัพในอนาคตครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่