"ผลการศึกษาของญี่ปุ่น ระบุว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพ – เชียงใหม่ มีมูลค่าประมาณ 4.2 แสนล้านบาท โดยก่อนหน้านี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เสนอให้ลดความเร็วของรถไฟเหลือ 180 – 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเพื่อลดต้นทุน แต่จากการศึกษาพบว่า การลดความเร็วรถไฟไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน
นายอาคม ยืนยันอีกว่ารถไฟความเร็วสูงจะมีรูปแบบเดียวกับรถไฟชินคันเซ็นของญี่ปุ่น ซึ่งมีความเร็วสูงสุดที่ 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นายอาคม ยังกล่าวอีกว่า ในการหารือครั้งล่าสุด ญี่ปุ่นปฏิเสธการยกเลิกสถานีกลางทางเพื่อลดต้นทุน เพราะจะทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่รอบสถานีที่ถูกยกเลิกนั้นต้องเสียประโยชน์ในหลายด้าน"
"โดยสรุปแล้วญี่ปุ่นเลยยื่นข้อเสนอว่า ญี่ปุ่นจะเข้ามาลงทุนสร้างให้ โดยให้ทางการไทยใช้แผนลงทุนที่ญี่ปุ่นศึกษามาเท่านั้น ไม่มีการลดความเร็ว ลดสถานีใด ๆ ทิ้ง และให้ฝ่ายไทยลงทุนเอง 100% โดยญี่ปุ่นยินดีให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่ไทย"
"ส่วนกระทรวงคมนาคมยืนยันว่า จะยังคงใช้ระบบและเทคโนโลยีของรถไฟความเร็วสูงชินคันเซนที่ความเร็ว 300 กม./ชม. ตามมาตรฐานของญี่ปุ่น หากความเร็วต่ำกว่านี้ ประชาชนส่วนใหญ่จะเลือกใช้การเดินทางรูปแบบอื่น และหากเป็นรถไฟความเร็วสูง ควรมีระยะทางมากกว่า 500 กิโลเมตร ถึงประมาณ 749 กิโลเมตร เพื่อให้เกิดความคุ้มค่ามากกว่าการเดินทางด้วยรถยนต์
จากประสบการณ์ของประเทศญี่ปุ่นที่ได้ดำเนินงานรถไฟหัวกระสุนมาตั้งแต่ทศวรรษ 1960 พบว่าชินคันเซ็นจะสูญเสียผู้โดยสารไปให้การเดินทางด้วยเครื่องบิน เมื่อเส้นทางนั้นต้องใช้เวลาเดินทางนานกว่าสามชั่วโมง
ซึ่งแม้กระทั่งด้วยความเร็ว 300 กม./ชม. การเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ ก็อาจต้องใช้เวลานานถึงราวๆ สามชั่วโมงครึ่ง"
"Japan rejects calls to invest in Thailand's bullet train"
*๊เพิ่มสำนักข่าว
"หลังจากการหารือที่ไม่สามารถรอมชอมกันได้ รัฐมนตรีคมนาคมของไทยระบุว่าจะหารือกับกระทรวงการคลัง และฝ่ายญี่ปุ่นอีกครั้งหนึ่งเพื่อหาทางออกร่วมกันในโครงการนี้
เมื่อตรวจสอบความคิดเห็นจากสื่อมวลชนญี่ปุ่น พบว่า ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่เห็นว่า การต่อรองขอลดความเร็วจะทำให้เสียเอกลักษณ์ของเทคโนโลยี “ชินคันเซ็น” ส่วนการเสนอให้ฝ่ายญี่ปุ่นลงทุนร่วมนั้นถือเป็นความเสี่ยง เพราะที่ผ่านมารัฐบาลญี่ปุ่นก็ได้ให้ความช่วยเหลือในรูปเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำมาตลอด เช่น โครงการรถไฟใต้ดินในกรุงเทพฯ ก็ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่น
นอกจากนี้ ยังมีผู้ที่เปรียบเทียบกับเส้นทางรถไฟสายอีสาน ที่ฝ่ายจีนได้รับสิทธิ์ดำเนินการ ซึ่งฝ่ายจีนก็ได้ยื่นข้อเสนอที่มากกว่าฝ่ายญี่ปุ่นด้วยซ้ำ แต่สุดท้ายรัฐบาลไทยก็ตัดสินใจลงทุนเอง และตัดเส้นทางให้สั้นลงจนแทบไม่เกิดประโยชน์ในเชิงยุทธศาสตร์"
" ทีมข่าวพยายามติดต่อไปยังนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม แต่ได้รับคำตอบว่านายอาคมไปต่างประเทศ ทีมข่าวจึงได้พูดคุยทางโทรศัพท์กับแหล่งข่าวข้าราชการในกระทรวงคมนาคมรายหนึ่งซึ่งขอไม่เปิดเผยชื่อแทน โดยระบุว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ยังไม่ล่ม การเจรจากับญี่ปุ่นก็ยังไม่ล่ม แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปใดๆ
โดยหลังการเจรจาวันที่ 7 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ฝ่ายญี่ปุ่นจะต้องนำข้อเสนอของไทยไปพิจารณา และให้ความเห็นกลับมา จากนั้นสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จะทำความเห็นเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้แนวทางดำเนินการต่อไป คาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรีได้ภายในเดือนมีนาคม
ทั้งนี้ ประเด็นที่ The Strait Times ระบุว่าเป็นข้อพิจารณาสำคัญของโครงการ ประกอบด้วย
1. เรื่องแหล่งเงินสำหรับการลงทุน แหล่งข่าวชี้แจงว่าได้ส่งข้อเสนอของไทยให้ญี่ปุ่นไปพิจารณา ยังไม่ได้ข้อสรุป โดยหวังว่าจะได้ข้อเสนอที่ดีที่สุดกลับมา
2. การลดความเร็วรถไฟตามแนวคิดของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สรุปชัดเจนว่าจะไม่มีการลดความเร็วลง เพราะผลการศึกษาชี้ว่าไม่ได้ทำให้ต้นทุนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และ
3. การพิจารณาลดสถานี เรื่องนี้แหล่งข่าวยืนยันว่า ไม่ใช่ไทยเสนอแล้วญี่ปุ่นไม่เห็นด้วย แต่เป็นฝ่ายญี่ปุ่นที่เสนอลดสถานีแต่ไทยไม่เห็นด้วย เพราะไม่คิดว่าจะลดต้นทุนได้มากเช่นกัน
นอกจากนี้ยังมีประเด็นเพิ่มเติมว่า โครงการนี้ไม่ได้มีแผนเพียงจะลดต้นทุนเท่านั้น แต่ยังมีแผนเพิ่มรายได้จากการบริหารพื้นที่เพื่อผลตอบแทนที่สูงขึ้น
แหล่งข่าวยืนยันว่า หากจะเสนอเรื่องเข้า ครม. แต่ยังไม่มีข้อสรุปที่ตกลงกันได้ระหว่างสองประเทศ ก็จำเป็นต้องให้ สนข. ทำความเห็นเสนอให้ครม.พิจารณาดำเนินการตามสถานการณ์ต่อไป"
(มัดรวมข่าว) ความคืบหน้า รถไฟความเร็วสูง ไทย-ญี่ปุ่น สาย กรุงเทพฯ - เชียงใหม่
"ผลการศึกษาของญี่ปุ่น ระบุว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพ – เชียงใหม่ มีมูลค่าประมาณ 4.2 แสนล้านบาท โดยก่อนหน้านี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เสนอให้ลดความเร็วของรถไฟเหลือ 180 – 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเพื่อลดต้นทุน แต่จากการศึกษาพบว่า การลดความเร็วรถไฟไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน
นายอาคม ยืนยันอีกว่ารถไฟความเร็วสูงจะมีรูปแบบเดียวกับรถไฟชินคันเซ็นของญี่ปุ่น ซึ่งมีความเร็วสูงสุดที่ 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นายอาคม ยังกล่าวอีกว่า ในการหารือครั้งล่าสุด ญี่ปุ่นปฏิเสธการยกเลิกสถานีกลางทางเพื่อลดต้นทุน เพราะจะทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่รอบสถานีที่ถูกยกเลิกนั้นต้องเสียประโยชน์ในหลายด้าน"
"โดยสรุปแล้วญี่ปุ่นเลยยื่นข้อเสนอว่า ญี่ปุ่นจะเข้ามาลงทุนสร้างให้ โดยให้ทางการไทยใช้แผนลงทุนที่ญี่ปุ่นศึกษามาเท่านั้น ไม่มีการลดความเร็ว ลดสถานีใด ๆ ทิ้ง และให้ฝ่ายไทยลงทุนเอง 100% โดยญี่ปุ่นยินดีให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่ไทย"
"ส่วนกระทรวงคมนาคมยืนยันว่า จะยังคงใช้ระบบและเทคโนโลยีของรถไฟความเร็วสูงชินคันเซนที่ความเร็ว 300 กม./ชม. ตามมาตรฐานของญี่ปุ่น หากความเร็วต่ำกว่านี้ ประชาชนส่วนใหญ่จะเลือกใช้การเดินทางรูปแบบอื่น และหากเป็นรถไฟความเร็วสูง ควรมีระยะทางมากกว่า 500 กิโลเมตร ถึงประมาณ 749 กิโลเมตร เพื่อให้เกิดความคุ้มค่ามากกว่าการเดินทางด้วยรถยนต์
จากประสบการณ์ของประเทศญี่ปุ่นที่ได้ดำเนินงานรถไฟหัวกระสุนมาตั้งแต่ทศวรรษ 1960 พบว่าชินคันเซ็นจะสูญเสียผู้โดยสารไปให้การเดินทางด้วยเครื่องบิน เมื่อเส้นทางนั้นต้องใช้เวลาเดินทางนานกว่าสามชั่วโมง
ซึ่งแม้กระทั่งด้วยความเร็ว 300 กม./ชม. การเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ ก็อาจต้องใช้เวลานานถึงราวๆ สามชั่วโมงครึ่ง"
"Japan rejects calls to invest in Thailand's bullet train"
*๊เพิ่มสำนักข่าว
"หลังจากการหารือที่ไม่สามารถรอมชอมกันได้ รัฐมนตรีคมนาคมของไทยระบุว่าจะหารือกับกระทรวงการคลัง และฝ่ายญี่ปุ่นอีกครั้งหนึ่งเพื่อหาทางออกร่วมกันในโครงการนี้
เมื่อตรวจสอบความคิดเห็นจากสื่อมวลชนญี่ปุ่น พบว่า ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่เห็นว่า การต่อรองขอลดความเร็วจะทำให้เสียเอกลักษณ์ของเทคโนโลยี “ชินคันเซ็น” ส่วนการเสนอให้ฝ่ายญี่ปุ่นลงทุนร่วมนั้นถือเป็นความเสี่ยง เพราะที่ผ่านมารัฐบาลญี่ปุ่นก็ได้ให้ความช่วยเหลือในรูปเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำมาตลอด เช่น โครงการรถไฟใต้ดินในกรุงเทพฯ ก็ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่น
นอกจากนี้ ยังมีผู้ที่เปรียบเทียบกับเส้นทางรถไฟสายอีสาน ที่ฝ่ายจีนได้รับสิทธิ์ดำเนินการ ซึ่งฝ่ายจีนก็ได้ยื่นข้อเสนอที่มากกว่าฝ่ายญี่ปุ่นด้วยซ้ำ แต่สุดท้ายรัฐบาลไทยก็ตัดสินใจลงทุนเอง และตัดเส้นทางให้สั้นลงจนแทบไม่เกิดประโยชน์ในเชิงยุทธศาสตร์"
" ทีมข่าวพยายามติดต่อไปยังนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม แต่ได้รับคำตอบว่านายอาคมไปต่างประเทศ ทีมข่าวจึงได้พูดคุยทางโทรศัพท์กับแหล่งข่าวข้าราชการในกระทรวงคมนาคมรายหนึ่งซึ่งขอไม่เปิดเผยชื่อแทน โดยระบุว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ยังไม่ล่ม การเจรจากับญี่ปุ่นก็ยังไม่ล่ม แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปใดๆ
โดยหลังการเจรจาวันที่ 7 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ฝ่ายญี่ปุ่นจะต้องนำข้อเสนอของไทยไปพิจารณา และให้ความเห็นกลับมา จากนั้นสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จะทำความเห็นเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้แนวทางดำเนินการต่อไป คาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรีได้ภายในเดือนมีนาคม
ทั้งนี้ ประเด็นที่ The Strait Times ระบุว่าเป็นข้อพิจารณาสำคัญของโครงการ ประกอบด้วย
1. เรื่องแหล่งเงินสำหรับการลงทุน แหล่งข่าวชี้แจงว่าได้ส่งข้อเสนอของไทยให้ญี่ปุ่นไปพิจารณา ยังไม่ได้ข้อสรุป โดยหวังว่าจะได้ข้อเสนอที่ดีที่สุดกลับมา
2. การลดความเร็วรถไฟตามแนวคิดของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สรุปชัดเจนว่าจะไม่มีการลดความเร็วลง เพราะผลการศึกษาชี้ว่าไม่ได้ทำให้ต้นทุนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และ
3. การพิจารณาลดสถานี เรื่องนี้แหล่งข่าวยืนยันว่า ไม่ใช่ไทยเสนอแล้วญี่ปุ่นไม่เห็นด้วย แต่เป็นฝ่ายญี่ปุ่นที่เสนอลดสถานีแต่ไทยไม่เห็นด้วย เพราะไม่คิดว่าจะลดต้นทุนได้มากเช่นกัน
นอกจากนี้ยังมีประเด็นเพิ่มเติมว่า โครงการนี้ไม่ได้มีแผนเพียงจะลดต้นทุนเท่านั้น แต่ยังมีแผนเพิ่มรายได้จากการบริหารพื้นที่เพื่อผลตอบแทนที่สูงขึ้น
แหล่งข่าวยืนยันว่า หากจะเสนอเรื่องเข้า ครม. แต่ยังไม่มีข้อสรุปที่ตกลงกันได้ระหว่างสองประเทศ ก็จำเป็นต้องให้ สนข. ทำความเห็นเสนอให้ครม.พิจารณาดำเนินการตามสถานการณ์ต่อไป"