การต่อเครื่อง : ให้การต่อเครื่องบิน..เป็นเรื่องง่ายยย

การต่อเครื่องบิน สำหรับเดินทางต่างประเทศ

เป็นคำถามที่หลายๆ คน สงสัย และมือใหม่หัดเที่ยวก็มีความกังวลอยู่มาก เป็นคำถามที่เราเองก็เคยสงสัยเช่นกัน สำหรับกระทู้นี้เราจึงอยากขออธิบายการใช้บริการเที่ยวบินไปยังต่างประเทศ ซึ่งไม่ง่ายและไม่ยากไปค่ะ

เราก็เป็นคนหนึ่งที่มีความสงสัย และกังวล(มากกกก) อมยิ้ม14 ตอนขึ้นเครื่องบินไปต่างประเทศครั้งแรก และตอนซื้อตั๋วเครื่องบินแบบต่อเครื่องครั้งแรก ต้องไปตรงไหน เข้าช่องไหน ออกช่องไหน จะพูดกับเขารู้เรื่องไหม ขั้นตอนเป็นยังไง บลาๆๆๆ ไม่เอาไม่พูด

จริงๆ แล้ว การเดินทางโดยเครื่องบินไปต่างประเทศ มีอยู่ 2 แบบ ค่ะ

1.    บินตรง    คือ บินตรงจากสนามบินต้นทางไปยังปลายทาง
2.    ต่อเครื่อง    คือ มีการแวะพักที่สนามบินกลางทาง ก่อนที่จะเดินทางอีกครั้งไปยังจุดหมายปลายทาง

* ตั๋วแบบต่อเครื่องราคาจะถูกกว่าตั๋วแบบบินตรง ทำให้ประหยัดกว่า เพราะเราต้องเสียเวลาที่จุดแวะพัก
** การซื้อตั๋วแบบต่อเครื่อง ควรจะซื้อตั๋วที่มีระยะเวลารอ ณ จุดแวะพัก ประมาณ 2 ชม. ขึ้นไปนะ เผื่อต้นทางดีเลย์ กลางทางเราอาจจะต้องวิ่งๆๆๆๆ หอบหืดขึ้นกันพอดี

สำหรับการบินตรงเราคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหา เพราะเราขึ้นเครื่องรอบเดียวไปลง ณ จุดหมายปลายทางของเราเลย แต่ การต่อเครื่อง ซึ่งเป็นปัญหาและความกังวลเหลือเกินนนนน

การต่อเครื่อง
    
อันดับแรก เรามารู้ศัพท์ที่เกี่ยวข้องกันก่อนเลย ซึ่งเราคิดว่ามันมีความแตกต่างและสำคัญสำหรับเรื่องนี้

Transit >>> คือ การแวะพักเครื่องระหว่างทาง อาจจะเพื่อรับ-ส่ง ผู้โดยสาร เติมน้ำมัน และอาจจะเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนเครื่องก็ได้ แต่ชื่อไฟล์ทที่บินนั้นจะเป็นไฟล์ทเดิม และอยู่ที่สนามบินกลางทางนี้ไม่เกิน 24 ชม. โดยเป็นสนามบินเดิม

Transfer >>> คือ การต่อเครื่อง ซึ่งจะเป็นสายการบินเดิมหรือสายการบินอื่นก็ได้ โดยชื่อไฟล์ทที่บินนั้นจะแตกต่างกัน และอาจจะเปลี่ยนสนามบินด้วย เช่น เดินทางจากดอนเมืองไปสุราบายา อินโดนีเซีย (DMK-SIN-SUB) โดยเครื่องบินนี้จะบินจาก
                                   จุดแรก ดอนเมือง (DMK) ไปลงสิงคโปร์ (SIN) หลังจากนั้นจะบินต่อจาก
                                   จุดที่สอง สิงคโปร์ (SIN) ไปสู่จุดหมายปลายทาง สุราบายา (SUB)

Stop Over >>> คือ การแวะพักที่มีระยะเวลามากกว่า 24 ชม. เช่น เดินทางจากกรุงเทพฯ ไปโตเกียว แต่มีแวะพักที่ เซี่ยงไฮ้ มากกว่า 24 ชม. แล้วจึงเดินทางต่อไปยังโตเกียว ซึ่งเราต้องรับกระเป๋าที่กลางทาง

Connecting Flight >>> คือ การต่อเครื่อง

Check Through (Check Thru) – Fly Thru >>> คือ การเดินทางแบบต่อเครื่อง โดยสัมภาระที่ได้โหลดไว้ใต้ท้องเครื่องจะถูกส่งไปยังปลายทาง ดังนั้น ผู้เดินทางไม่ต้องรับสัมภาระ ณ สนามบินกลางทาง แล้วโหลดใหม่อีกครั้งหนึ่ง
      ข้อสังเกต Check Thru
               กรณี Booking เดียว แล้วต้นทาง > กลางทาง  > ปลายทาง เป็นคนละประเทศ กระเป๋ามักจะ Check thru ไปที่ปลายทางเลย
               กรณี Booking เดียว แล้วกลางทาง > ปลายทาง เป็นประเทศเดียวกัน กระเป๋าอาจจะออกมาที่สนามบินแรกที่เข้าประเทศ ตามกฎ First point
                       of entry เราต้องรับกระเป๋าออกมาผ่านศุลกากร แล้วนำกระเป๋าไปเช็คอินใหม่
           ** หากมีข้อสงสัยอะไรในการ Check thru ให้เราสอบถามกับพนักงานสายการบินได้เลย

สำหรับขั้นตอนการต่อเครื่อง ในการเดินทางไปต่างประเทศ มีดังนี้

จุดที่ 1     เช็คอินที่สนามบินต้นทาง
ถ้ามีสัมภาระโหลดใต้ท้องเครื่อง ให้โหลดกระเป๋า โดยแจ้งพนักงานว่า "สัมภาระ Check Thru" เมื่อทำงานเช็คอินเรียบร้อยแล้ว เราจะได้ Boarding Pass มา 2 ใบ (กรณีที่เราซื้อตัวกับสายการบินเดียวกัน หรือเป็นพันธมิตรกัน) แต่ถ้าสายการบินไม่ได้เป็นพันธมิตรกัน จะต้องไปรับตั๋วที่สนามบินกลางทาง ซึ่งจะมีเคาน์เตอร์เช็คอิน สำหรับ Connecting Flight (อันนี้เข้าใจถูกไหม?) อมยิ้ม19
* Check Thru กรณีที่ต่อเครื่องที่อเมริกาไปยังรัฐอื่นๆ  จะไม่สามารถ Check Thru ถึงปลายทางได้ ต้องไปรับกระเป๋าเองที่สนามบินแห่งแรกที่เข้าประเทศ (First point of Entry) และโหลดสัมภาระอีกครั้งหนึ่ง
     (ข้อมูลนี้ได้มาจากเพจหนึ่งเมื่อนานมาแล้วค่ะ จำไม่ได้แล้วว่าเพจไหน ขอโทษ ที่ไม่ได้เครดิตนะค่ะ) ร้องไห้
     (ตัวเราคิดว่าทุกประเทศน่าจะเหมือนกันนะ เพราะเป็นกฎ First point of Entry?)

จุดที่ 2     ที่สนามบินกลางทาง
-    อาจมีพนักงานถือป้ายรอ สำหรับการต่อเครื่อง
-    หรือ เมื่อมาถึงสนามบินกลางทาง ให้เราเดินตามป้าย Connecting Flights, Transfer หรือ Transit
        o    ไปจนถึง Gate ที่เราจะต้องต่อเครื่อง และรอขึ้นเครื่องต่อไปยังปลายทาง (อย่าลืมดูตารางบินด้วยนะ เพราะอาจมีการเปลี่ยน Gate หรือเวลา)
        o    กรณีมีเวลารอนาน และเราต้องการออกไปนอกสนามบิน โดยประเทศนั้นๆ เราไม่จำเป็นต้องใช้วีซ่า ให้กรอกใบ ตม. โดยใส่ข้อมูลว่า “Transit” ในช่องที่พัก และเมื่อถึงเวลากลับมาขึ้นเครื่อง ก็ให้เราผ่าน ตม. อีกครั้งหนึ่ง เพื่อเข้าไปด้านใน (ไม่ต้องเช็คอิน)
-    เมื่อมีการตรวจสัมภาระอีกครั้งหนึ่ง ก็ให้เรานำสัมภาระที่ติดตัวเราไปตรวจ (อย่าลืมคำนึงถึงปริมาณของเหลวด้วยนะ เพราะระหว่างทางอาจจะมีการซื้ออะไรเพิ่มเติม ห้ามเกินชิ้นละ 100 cc. รวมกันไม่เกิน 1,000 cc)

จุดที่ 3    เมื่อถึงสนามบินปลายทาง
เมื่อถึงสนามบินปลายทางแล้ว เราเดินตามป้าย Arrival ไปยังจุดรับกระเป๋า แล้วจึงผ่าน ตม. มาถึงทางออก ซึ่งมี 2 ช่อง คือ
     -    “สำแดงของต้องห้าม”    กรณี มีของต้องห้ามนำเข้าประเทศ และของเกินกว่าที่กฎหมายเขากำหนด
     -    “ไม่มีของต้องสำแดง”     กรณี ไม่มีของต้องห้าม หรือเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
หลังจากนั้นก็เดินออกประตู พร้อมเที่ยวได้เลยจร้า

Transit Visa
** ตรงนี้เป็นความเข้าใจของเรา ที่ถอดมาจากการอ่านกระทู้นะค่ะ เรายังไม่มีโอกาสได้ลองใช้ค่ะ **

กรณีที่รอต่อเครื่องเป็นระยะเวลานาน และ/หรือ Stop over และต้องการออกนอกเขตอาคารต่อเครื่อง ถ้าเป็นประเทศที่ต้องใช้วีซ่าเราต้องมีวีซ่า ซึ่งต้องทำการขอล่วงหน้า แต่ถ้าเป็น
Transit Visa เราต้องทำเรื่องขอก่อนถึงจะได้รับวีซ่านี้ ซึ่งบางประเทศต้องติดต่อสถานฑูตล่วงหน้า และในบางประเทศสามารถทำแบบ Visa on Arrival (ทำเมื่อถึงสนามบินกลางทาง) ได้ โดยวีซ่าประเภทนี้จะสามารถออกไปนอกเขตได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด และกลับมาก่อนเวลาขึ้นเครื่อง โดยต้องมีการผ่าน ตม. เข้ามาอีกครั้ง แต่ไม่จำเป็นต้อง Check in เพราะว่าเรามี Boarding pass แล้ว
อันนี้ถ้าเวลาไม่เยอะก็คงไม่ออกไปข้างนอกนะ ต้องดูเวลาด้วยนาาจาา
แต่เรื่อง ตม. คุณอาจจะผ่านหรือไม่ผ่านก็ได้นะ แล้วแต่ดุลยพินิจของเจ้าพนักงานแต่ละคน

อันนี้เป็นความเข้าใจของเรา ที่เราพยายามเรียบเรียงนะ หวังว่าจะมีคนที่เข้าใจในการเรียบเรียงของเรา 5555+

และอันนี้คือลิงค์ บล็อคของเราค่ะ สามารถเข้ามาติดตาม อ่านกระทู้เพลินๆ หรือใช้เป็นข้อมูลก่อนออกเดินทางได้น๊าาา
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=junket-globe

เพี้ยนแช๊ะ     พาพันขอบคุณ     เพี้ยนแช๊ะ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่