1.
เปลี่ยนแมวมองคนใหม่
สเวน มิสลินทัต ได้รับการแต่งตั้งให้ขึ้นมาเป็นแมวมองของทีมแทนที่ สตีฟ โรว์ลี่ย์ ที่ทำหน้าที่ตรงนี้มายาวนานถึง 25 ปี กระแสตอบรับหลังจากการมาของเขาเป็นไปในทางบวก กับผลงานในอดีตของเขาที่โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ ทั้งการดึง ชินจิ คากาวะ จากเซเรโซ่ โอซาก้า ในศึกเจลีก มาเล่นที่ซิกนั่ล อิดูน่า พาร์ค และอีกดีลขึ้นหิ้งคือการดึง โรเบิร์ต เลวานดอฟสกี้ ศูนย์หน้าชาวโปแลนด์มาจาก เลซ พอซนัน เช่นเดียวกันการดึง มัตส์ ฮุมเมิ่ลส์ จากบาเยิร์น มิวนิค มาปลุกปั้น (ก่อนส่งคืนกลับให้ทีม 'เสือใต้' ไปอีกรอบ)
ทีมงานแมวมองอาร์เซน่อล ครั้งหนึ่ง พวกเขาเคยเจอเพชรเม็ดงามที่ชื่อ พาทริค วิเอร่า , นิโกล่าส์ อเนลก้า และ โรบิน ฟาน เพอร์ซี่มาแล้ว
หากจะเล่าให้ใกล้เคียงกับอาร์เซน่อลมากขึ้น เขามีส่วนสำคัญในการเจรจาให้ เฮนริค มคิทาร์ยาน ย้ายจาก ชัคเตอร์ โดเนทส์ก ในยูเครน มาเล่นกับ ดอร์ทมุนด์ในปี 2013 และเป็นคนแนะนำ ปิแอร์ เอเมอริค โอบาเมย็อง ที่ขณะนั้นค้าแข้งอยู่กับ แซงต์ เอเตียน ให้มาค้าแข้งกับทีม 'เสือเหลือง'
แน่นอนว่าการมาของ มคิทาร์ยาน และ โอบาเมย็อง ส่วนหนึ่งเพราะ มิสลินทัต เป็นผู้ช่วยในการติดต่อ ซึ่งการมาของบุคลากรรายนี้ เป็นการปลุกทีมงานแมวมองอาร์เซน่อลให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกหน หลังจากที่ครั้งหนึ่ง พวกเขาเคยเจอเพชรเม็ดงามที่ชื่อ พาทริค วิเอร่า , นิโกล่าส์ อเนลก้า และ โรบิน ฟาน เพอร์ซี่มาแล้ว
แต่ข้อเสียของ มิสลินทัต คือเขาเข้ามามีส่วนร่วมกับการทำทีมมากเกินไป จนเคยมีปัญหากระทบกระทั่งกับ โทมัส ทูเคิ่ล สมัยที่ร่วมงานกันที่ดอร์ทมุนด์ เนื่องจากตัวกุนซือไม่ต้องการให้แมวมอง มายุ่งวุ่นวายกับผู้เล่นในทีมมากเกินไป และเคยโดนสั่งห้ามเข้าสนามซ้อมของทีม 'เสือเหลือง' มาแล้ว ตรงจุดนี้ ยังไม่มีใครทราบดีว่า อาร์แซน เวนเกอร์ จะจัดการอย่างไร ให้ตัวเขากับ มิสลินทัต ทำงานด้วยกันได้อย่างราบรื่น
2.
เลิกเป็นเต่าในตลาดซื้อขายนักเตะ
ราอูล ซานเลไฮ กลายมาเป็นหัวหน้าฝ่ายดูแลด้านกลยุทธ์กีฬาฟุตบอลเมื่อเดือนที่ผ่านมา อดีตผู้อำนวยการแห่งบาร์เซโลน่าและไนกี้ ถูกดึงตัวเข้ามาเพื่อแก้ปัญหาการเจรจาดีลที่เชื่องช้าของทีม "ปืนใหญ่" หน้าที่ของ ซานเลไฮ ไม่ใช่การเลือกผู้เล่นที่จะเซ็นสัญญา แต่เป็นผู้ที่เร่งการเจรจาให้เสร็จสิ้นตามขั้นตอนโดยเร็ว โดยผลงานชิ้นเอกในอดีตคือการดึงตัว เนย์มาร์ จากซานโต๊ส มาให้กับบาร์เซโลน่า เมื่อปี 2013
แต่ก็ถือว่า ดีลยักษ์ใหญ่ของศูนย์หน้าทีมชาติกาบอง ก็อยู่ในการควบคุมของอดีตผู้อำนวยการบาร์เซโลน่ารายนี้
สำหรับหน้าที่นี้เดิมเป็นของ ดิ๊ก ลอว์ ซึ่งเขาเคยพลาดมาหลายดีลในเส้นตายของตลาดซื้อขายนักเตะ แม้ว่าทีมจะมีเอี่ยวกับนักเตะซูเปอร์สตาร์หลายรายก็ตาม
การเจรจาคว้าตัว ปิแอร์ เอเมอริค โอบาเมย็อง เสร็จสิ้นได้เพราะการดำเนินการของหัวหน้าฝ่ายบริหารอย่าง อิวาน กาซิดิซ และ ฮุส ฟาห์มี่ ที่ทำหน้าที่เจรจาเรื่องรายละเอียดของสัญญา ขณะที่แมวมองอย่าง สเวน มิสลินทัต ก็ไปอยู่ที่นั่นด้วย เพื่อคุยกับลูกค้าเก่าของเขาอย่างโอบาเมย็อง ทั้งนี้ไม่มีใครทราบว่า ซานเลไฮ เป็นที่ปรึกษาใดๆในดีลนี้หรือไม่ แต่ก็ถือว่า ดีลยักษ์ใหญ่ของศูนย์หน้าทีมชาติกาบอง ก็อยู่ในการควบคุมของอดีตผู้อำนวยการบาร์เซโลน่ารายนี้
โครงสร้างการทำงานแบบใหม่ทำให้อาร์เซน่อลตัดสินใจในดีลต่างๆได้เฉียบขาดขึ้น และดึงนักเตะที่ต้องการมาได้อย่างรวดเร็ว ดีลของโอบาเมย็อง จะเป็นกรณีศึกษา ทำให้ทีม "ปืนใหญ่" เจรจานักเตะใหม่มาร่วมทีมได้สำเร็จเพิ่มเติมในอนาคต
3.
หมดยุคนักเตะต่ำกว่ามาตรฐาน
ไม่มีอีกแล้วสำหรับอาร์เซน่อลที่จ่ายเงินค่าเหนื่อยแสนแพงให้กับนักเตะที่โชว์ฟอร์มได้ไม่คุ้มค่าตัว คุณดูได้จาก ธีโอ วัลค็อตต์ , มาติเยอ เดบูชี่ และ ฟรานซิส ก็อกเกอแล็ง ที่รับค่าเหนื่อยสุดงามโดยที่แทบจะไม่ได้ลงเล่นให้คุ้มค่ากับเม็ดเงินดังกล่าว ขณะนี้พวกเขาปล่อยแข้งสำรองทั้ง 3 รายออกจากทีมไปแล้ว อาจจะดูเสี่ยงสักหน่อยเนื่องจากอาร์เซน่อลยังมีเป้าหมายในการทำอันดับให้ดีที่สุดในลีก และคว้าแชมป์ยูฟ่า ยูโรป้า ลีก แต่อย่างน้อย มันก็ทำให้ทีมแบกภาระเรื่องรายจ่ายน้อยลงไปมาก
อาร์เซน่อลเคยเป็นสโมสรที่จ่ายเงินค่าเหนื่อยแบบ "ดีเกินไป" ให้กับนักฟุตบอล และบางครั้งพวกเขาขายนักเตะเหล่านั้นไม่ออก แถมพวกเขาต้องปาดเหงื่อเพิ่มอยู่แล้วกับการดึงนักเตะระดับสตาร์เข้ามาใหม่ เช่นเดียวกับการต่อสัญญาแข้งดังที่มีอยู่เดิม (อย่างที่เห็นในกรณีของ เมซุต โอซิล) แต่สิ่งที่ "ปืนใหญ่" ทำคือปล่อยนักเตะที่รับค่าเหนื่อยแพงเกินจริง แต่ให้โอกาสนักเตะดาวรุ่งที่ค่าแรงไม่มาก แต่ฟอร์มการเล่นก็ยอดเยี่ยมไม่แพ้กันอย่าง ไอน์สลี่ย์ เมตแลนด์ ไนล์ส และ รีส เนลสัน ลงเล่นเป็นตัวจริง เพื่อเป็นกำลังสำคัญของทีมในอนาคต
เมื่อมีระบบการจัดการที่เหมาะสมและถูกต้อง และมีสถานะทางการเงินที่คล่องตัวมากขึ้น เชื่อว่าอาร์เซน่อลจะขยับตัวง่ายขึ้นในตลาดซื้อขายนักเตะช่วงปิดฤดูกาลที่กำลังจะมาถึง พวกเขาจะมีแรงกระโจนเข้าสู่ความสำเร็จมากขึ้น และเป็นที่น่าเชื่อถือของนักเตะในทีม และนักเตะที่กำลังจะย้ายเข้ามา นี่คือแนวโน้มที่ดีขึ้นมากกับสโมสรที่เหมือนจะหยุดการพัฒนาไปหลายปี
4.
วางแผนล่วงหน้าง่ายขึ้นในตลาดซื้อขายนักเตะรอบหน้า
แม้ว่าอาร์เซน่อลจะต้องวางแผนงานการสร้างทีมอีกมาก พวกเขาต้องหลีกเลี่ยงการทำแต้มหล่นอย่างเช่นที่เกิดในเกมกับสวอนซี เช่น ผู้รักษาประตูรายใหม่แทนที่ ปีเตอร์ เช็ค ที้เริ่มโรยรา และกองหลังตัวกลางที่คอยซ้อนและอ่านเกมได้เยี่ยม รวมถึงโฮลดิ้งมิดฟิลด์ที่คอยยืนเป็นปราการด่านสุดท้ายอยู่ด้านหน้าแผงหลัง
ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีสำหรับพวกเขาด้วย ที่เคลียร์ปัญหาเรื่อง อเล็กซิส ซานเชซ และ เมซุต โอซิล จบเสียที
แต่แน่นอนว่า ตลาดซื้อขายปัจจุบันนั้นการแข่งขันสูงมาก เพราะทีมคู่แข่งของพวกเขาก็สามารถชิงตัวเป้าหมายของพวกเขาไปร่วมทีมได้เช่นกัน หากพวกเขามีเงินมากกว่า และด้วยอันดับในตารางของทีมที่ตกต่ำลง มันอาจยากขึ้นสำหรับทีมดังแห่งลอนดอนเหนือ ในการดึงสตาร์มาเสริมทีมเพิ่ม ดังนั้นสิ่งที่สำคัญมากในตลาดรอบนี้คือ ผู้เล่นที่ดึงเข้ามา จะสามารถผลักดันอาร์เซน่อลไปสู่เวทียูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีกได้ในฤดูกาลหน้า ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีสำหรับพวกเขาด้วย ที่เคลียร์ปัญหาเรื่อง อเล็กซิส ซานเชซ และ เมซุต โอซิล จบเสียที ขณะนี้พวกเขามีทีมที่แข็งแกร่งขึ้น และมองไปถึงการดึงผู้เล่นในตำแหน่งอื่นๆมาเสริมอีกหลังจากปิดฤดูกาล
พายุมรสุมจากไปแล้วพร้อมกับชายที่ชื่อ อเล็กซิส ซานเชซ ตอนนี้บรรยากาศในทีมดีขึ้น ทุกคนดูมุ่งมั่นและมีสมาธิกับการทำผลงานเพื่อทีม
5.
บทบาทของสแตน โครเอนเก้
แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดยินดีที่จะจ่ายเงินค่าเหนื่อยก้อนโตให้กับนักเตะของพวกเขา ขณะที่เป๊ป กวาร์ดิโอล่าเพิ่งออกมายอมรับว่า แมนฯซิตี้ ไม่มีกระสุนพอที่จะทุ่มเงินทั้งค่าตัวและค่าเหนื่อยให้นักเตะอย่างมหาศาลอีกแล้ว
แฟนอาร์เซน่อลอาจจะหวังว่าทีมอาจจะดีขึ้น หาก สแตน โครเอนเก้ ผู้ถือหุ้นใหญ่ของอาร์เซน่อล ยุติบทบาทจากทีมไป (แต่คงยากเพราะเขาเพิ่งซื้อหุ้นของสโมสรเพิ่มไปอีก) แน่นอนว่าทีม "ปืนใหญ่" คงไม่สามารถไปจ่ายเงินในระดับเดียวกับสองทีมจากแมนเชสเตอร์ , ปารีส แซงต์ แชร์กแม็ง , เรอัล มาดริด หรือ บาร์เซโลน่าได้ พวกเขาคงมีแต่แพ้อย่างเดียว
แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะคว้าสตาร์มาเสริมทีมไม่ได้ พวกเขาแค่ต้องพยายามมากกว่าทีมอื่น ทั้งนี้ต้องยอมรับว่า ดีลของโอบาเมย็องและการต่อสัญญาของโอซิล ยังไม่สามารถการันตีได้ว่าผลงานของทีมจะเป็นอย่างไร หากผู้จัดการทีมยังคงเป็น อาร์แซน เวนเกอร์ เช่นเดียวกันที่เราเองก็ไม่ทราบว่า หากเวนเกอร์วางมือ ใครจะมาเป็นผู้สานงานต่อจากเขา
อย่างน้อยที่สุด ด้วยฟอร์มของทีมที่ยังขึ้นๆลงๆแบบนี้ และยังสามารถดึงสตาร์ระดับ โอบาเมย็อง มาร่วมทีมได้ มันก็อาจหมายความว่า เอมิเรตส์ สเตเดี้ยมยังดึงดูดนักเตะชื่อดังมาร่วมทีมได้อยู่ เพียงแต่สุดท้ายแล้วทีมจะเดินหน้าชนความสำเร็จได้หรือไม่ ก็คงต้องไปถามอาร์แซน เวนเกอร์ หรืออย่างน้อย หากอยากจะให้ทีมเปลี่ยนโฉมหน้าไปจากนี้ ก็คงต้องรอให้ เวนเกอร์ จากทีมไปก่อนก็เท่านั้น
ขอบคุณข้อมูลจาก fourfourtwo ประเทศไทย :- อ่านแล้วถูกใจมากครับ
https://www.fourfourtwo.com/th/features/5-pacchcchaycchaaktlaadchuuekhaaynaketahnaahnaaw-thiicchachiichadnaakhtkhngaarechnl
5 ปัจจัยหลักที่ชี้ชะตาทีม "ปืนใหญ่" ภายหลังการซื้อขายนักเตะรอบ 2
สเวน มิสลินทัต ได้รับการแต่งตั้งให้ขึ้นมาเป็นแมวมองของทีมแทนที่ สตีฟ โรว์ลี่ย์ ที่ทำหน้าที่ตรงนี้มายาวนานถึง 25 ปี กระแสตอบรับหลังจากการมาของเขาเป็นไปในทางบวก กับผลงานในอดีตของเขาที่โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ ทั้งการดึง ชินจิ คากาวะ จากเซเรโซ่ โอซาก้า ในศึกเจลีก มาเล่นที่ซิกนั่ล อิดูน่า พาร์ค และอีกดีลขึ้นหิ้งคือการดึง โรเบิร์ต เลวานดอฟสกี้ ศูนย์หน้าชาวโปแลนด์มาจาก เลซ พอซนัน เช่นเดียวกันการดึง มัตส์ ฮุมเมิ่ลส์ จากบาเยิร์น มิวนิค มาปลุกปั้น (ก่อนส่งคืนกลับให้ทีม 'เสือใต้' ไปอีกรอบ)
ทีมงานแมวมองอาร์เซน่อล ครั้งหนึ่ง พวกเขาเคยเจอเพชรเม็ดงามที่ชื่อ พาทริค วิเอร่า , นิโกล่าส์ อเนลก้า และ โรบิน ฟาน เพอร์ซี่มาแล้ว
หากจะเล่าให้ใกล้เคียงกับอาร์เซน่อลมากขึ้น เขามีส่วนสำคัญในการเจรจาให้ เฮนริค มคิทาร์ยาน ย้ายจาก ชัคเตอร์ โดเนทส์ก ในยูเครน มาเล่นกับ ดอร์ทมุนด์ในปี 2013 และเป็นคนแนะนำ ปิแอร์ เอเมอริค โอบาเมย็อง ที่ขณะนั้นค้าแข้งอยู่กับ แซงต์ เอเตียน ให้มาค้าแข้งกับทีม 'เสือเหลือง'
แน่นอนว่าการมาของ มคิทาร์ยาน และ โอบาเมย็อง ส่วนหนึ่งเพราะ มิสลินทัต เป็นผู้ช่วยในการติดต่อ ซึ่งการมาของบุคลากรรายนี้ เป็นการปลุกทีมงานแมวมองอาร์เซน่อลให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกหน หลังจากที่ครั้งหนึ่ง พวกเขาเคยเจอเพชรเม็ดงามที่ชื่อ พาทริค วิเอร่า , นิโกล่าส์ อเนลก้า และ โรบิน ฟาน เพอร์ซี่มาแล้ว
แต่ข้อเสียของ มิสลินทัต คือเขาเข้ามามีส่วนร่วมกับการทำทีมมากเกินไป จนเคยมีปัญหากระทบกระทั่งกับ โทมัส ทูเคิ่ล สมัยที่ร่วมงานกันที่ดอร์ทมุนด์ เนื่องจากตัวกุนซือไม่ต้องการให้แมวมอง มายุ่งวุ่นวายกับผู้เล่นในทีมมากเกินไป และเคยโดนสั่งห้ามเข้าสนามซ้อมของทีม 'เสือเหลือง' มาแล้ว ตรงจุดนี้ ยังไม่มีใครทราบดีว่า อาร์แซน เวนเกอร์ จะจัดการอย่างไร ให้ตัวเขากับ มิสลินทัต ทำงานด้วยกันได้อย่างราบรื่น
2. เลิกเป็นเต่าในตลาดซื้อขายนักเตะ
ราอูล ซานเลไฮ กลายมาเป็นหัวหน้าฝ่ายดูแลด้านกลยุทธ์กีฬาฟุตบอลเมื่อเดือนที่ผ่านมา อดีตผู้อำนวยการแห่งบาร์เซโลน่าและไนกี้ ถูกดึงตัวเข้ามาเพื่อแก้ปัญหาการเจรจาดีลที่เชื่องช้าของทีม "ปืนใหญ่" หน้าที่ของ ซานเลไฮ ไม่ใช่การเลือกผู้เล่นที่จะเซ็นสัญญา แต่เป็นผู้ที่เร่งการเจรจาให้เสร็จสิ้นตามขั้นตอนโดยเร็ว โดยผลงานชิ้นเอกในอดีตคือการดึงตัว เนย์มาร์ จากซานโต๊ส มาให้กับบาร์เซโลน่า เมื่อปี 2013
แต่ก็ถือว่า ดีลยักษ์ใหญ่ของศูนย์หน้าทีมชาติกาบอง ก็อยู่ในการควบคุมของอดีตผู้อำนวยการบาร์เซโลน่ารายนี้
สำหรับหน้าที่นี้เดิมเป็นของ ดิ๊ก ลอว์ ซึ่งเขาเคยพลาดมาหลายดีลในเส้นตายของตลาดซื้อขายนักเตะ แม้ว่าทีมจะมีเอี่ยวกับนักเตะซูเปอร์สตาร์หลายรายก็ตาม
การเจรจาคว้าตัว ปิแอร์ เอเมอริค โอบาเมย็อง เสร็จสิ้นได้เพราะการดำเนินการของหัวหน้าฝ่ายบริหารอย่าง อิวาน กาซิดิซ และ ฮุส ฟาห์มี่ ที่ทำหน้าที่เจรจาเรื่องรายละเอียดของสัญญา ขณะที่แมวมองอย่าง สเวน มิสลินทัต ก็ไปอยู่ที่นั่นด้วย เพื่อคุยกับลูกค้าเก่าของเขาอย่างโอบาเมย็อง ทั้งนี้ไม่มีใครทราบว่า ซานเลไฮ เป็นที่ปรึกษาใดๆในดีลนี้หรือไม่ แต่ก็ถือว่า ดีลยักษ์ใหญ่ของศูนย์หน้าทีมชาติกาบอง ก็อยู่ในการควบคุมของอดีตผู้อำนวยการบาร์เซโลน่ารายนี้
โครงสร้างการทำงานแบบใหม่ทำให้อาร์เซน่อลตัดสินใจในดีลต่างๆได้เฉียบขาดขึ้น และดึงนักเตะที่ต้องการมาได้อย่างรวดเร็ว ดีลของโอบาเมย็อง จะเป็นกรณีศึกษา ทำให้ทีม "ปืนใหญ่" เจรจานักเตะใหม่มาร่วมทีมได้สำเร็จเพิ่มเติมในอนาคต
3. หมดยุคนักเตะต่ำกว่ามาตรฐาน
ไม่มีอีกแล้วสำหรับอาร์เซน่อลที่จ่ายเงินค่าเหนื่อยแสนแพงให้กับนักเตะที่โชว์ฟอร์มได้ไม่คุ้มค่าตัว คุณดูได้จาก ธีโอ วัลค็อตต์ , มาติเยอ เดบูชี่ และ ฟรานซิส ก็อกเกอแล็ง ที่รับค่าเหนื่อยสุดงามโดยที่แทบจะไม่ได้ลงเล่นให้คุ้มค่ากับเม็ดเงินดังกล่าว ขณะนี้พวกเขาปล่อยแข้งสำรองทั้ง 3 รายออกจากทีมไปแล้ว อาจจะดูเสี่ยงสักหน่อยเนื่องจากอาร์เซน่อลยังมีเป้าหมายในการทำอันดับให้ดีที่สุดในลีก และคว้าแชมป์ยูฟ่า ยูโรป้า ลีก แต่อย่างน้อย มันก็ทำให้ทีมแบกภาระเรื่องรายจ่ายน้อยลงไปมาก
อาร์เซน่อลเคยเป็นสโมสรที่จ่ายเงินค่าเหนื่อยแบบ "ดีเกินไป" ให้กับนักฟุตบอล และบางครั้งพวกเขาขายนักเตะเหล่านั้นไม่ออก แถมพวกเขาต้องปาดเหงื่อเพิ่มอยู่แล้วกับการดึงนักเตะระดับสตาร์เข้ามาใหม่ เช่นเดียวกับการต่อสัญญาแข้งดังที่มีอยู่เดิม (อย่างที่เห็นในกรณีของ เมซุต โอซิล) แต่สิ่งที่ "ปืนใหญ่" ทำคือปล่อยนักเตะที่รับค่าเหนื่อยแพงเกินจริง แต่ให้โอกาสนักเตะดาวรุ่งที่ค่าแรงไม่มาก แต่ฟอร์มการเล่นก็ยอดเยี่ยมไม่แพ้กันอย่าง ไอน์สลี่ย์ เมตแลนด์ ไนล์ส และ รีส เนลสัน ลงเล่นเป็นตัวจริง เพื่อเป็นกำลังสำคัญของทีมในอนาคต
เมื่อมีระบบการจัดการที่เหมาะสมและถูกต้อง และมีสถานะทางการเงินที่คล่องตัวมากขึ้น เชื่อว่าอาร์เซน่อลจะขยับตัวง่ายขึ้นในตลาดซื้อขายนักเตะช่วงปิดฤดูกาลที่กำลังจะมาถึง พวกเขาจะมีแรงกระโจนเข้าสู่ความสำเร็จมากขึ้น และเป็นที่น่าเชื่อถือของนักเตะในทีม และนักเตะที่กำลังจะย้ายเข้ามา นี่คือแนวโน้มที่ดีขึ้นมากกับสโมสรที่เหมือนจะหยุดการพัฒนาไปหลายปี
4. วางแผนล่วงหน้าง่ายขึ้นในตลาดซื้อขายนักเตะรอบหน้า
แม้ว่าอาร์เซน่อลจะต้องวางแผนงานการสร้างทีมอีกมาก พวกเขาต้องหลีกเลี่ยงการทำแต้มหล่นอย่างเช่นที่เกิดในเกมกับสวอนซี เช่น ผู้รักษาประตูรายใหม่แทนที่ ปีเตอร์ เช็ค ที้เริ่มโรยรา และกองหลังตัวกลางที่คอยซ้อนและอ่านเกมได้เยี่ยม รวมถึงโฮลดิ้งมิดฟิลด์ที่คอยยืนเป็นปราการด่านสุดท้ายอยู่ด้านหน้าแผงหลัง
ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีสำหรับพวกเขาด้วย ที่เคลียร์ปัญหาเรื่อง อเล็กซิส ซานเชซ และ เมซุต โอซิล จบเสียที
แต่แน่นอนว่า ตลาดซื้อขายปัจจุบันนั้นการแข่งขันสูงมาก เพราะทีมคู่แข่งของพวกเขาก็สามารถชิงตัวเป้าหมายของพวกเขาไปร่วมทีมได้เช่นกัน หากพวกเขามีเงินมากกว่า และด้วยอันดับในตารางของทีมที่ตกต่ำลง มันอาจยากขึ้นสำหรับทีมดังแห่งลอนดอนเหนือ ในการดึงสตาร์มาเสริมทีมเพิ่ม ดังนั้นสิ่งที่สำคัญมากในตลาดรอบนี้คือ ผู้เล่นที่ดึงเข้ามา จะสามารถผลักดันอาร์เซน่อลไปสู่เวทียูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีกได้ในฤดูกาลหน้า ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีสำหรับพวกเขาด้วย ที่เคลียร์ปัญหาเรื่อง อเล็กซิส ซานเชซ และ เมซุต โอซิล จบเสียที ขณะนี้พวกเขามีทีมที่แข็งแกร่งขึ้น และมองไปถึงการดึงผู้เล่นในตำแหน่งอื่นๆมาเสริมอีกหลังจากปิดฤดูกาล
พายุมรสุมจากไปแล้วพร้อมกับชายที่ชื่อ อเล็กซิส ซานเชซ ตอนนี้บรรยากาศในทีมดีขึ้น ทุกคนดูมุ่งมั่นและมีสมาธิกับการทำผลงานเพื่อทีม
5. บทบาทของสแตน โครเอนเก้
แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดยินดีที่จะจ่ายเงินค่าเหนื่อยก้อนโตให้กับนักเตะของพวกเขา ขณะที่เป๊ป กวาร์ดิโอล่าเพิ่งออกมายอมรับว่า แมนฯซิตี้ ไม่มีกระสุนพอที่จะทุ่มเงินทั้งค่าตัวและค่าเหนื่อยให้นักเตะอย่างมหาศาลอีกแล้ว
แฟนอาร์เซน่อลอาจจะหวังว่าทีมอาจจะดีขึ้น หาก สแตน โครเอนเก้ ผู้ถือหุ้นใหญ่ของอาร์เซน่อล ยุติบทบาทจากทีมไป (แต่คงยากเพราะเขาเพิ่งซื้อหุ้นของสโมสรเพิ่มไปอีก) แน่นอนว่าทีม "ปืนใหญ่" คงไม่สามารถไปจ่ายเงินในระดับเดียวกับสองทีมจากแมนเชสเตอร์ , ปารีส แซงต์ แชร์กแม็ง , เรอัล มาดริด หรือ บาร์เซโลน่าได้ พวกเขาคงมีแต่แพ้อย่างเดียว
แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะคว้าสตาร์มาเสริมทีมไม่ได้ พวกเขาแค่ต้องพยายามมากกว่าทีมอื่น ทั้งนี้ต้องยอมรับว่า ดีลของโอบาเมย็องและการต่อสัญญาของโอซิล ยังไม่สามารถการันตีได้ว่าผลงานของทีมจะเป็นอย่างไร หากผู้จัดการทีมยังคงเป็น อาร์แซน เวนเกอร์ เช่นเดียวกันที่เราเองก็ไม่ทราบว่า หากเวนเกอร์วางมือ ใครจะมาเป็นผู้สานงานต่อจากเขา
อย่างน้อยที่สุด ด้วยฟอร์มของทีมที่ยังขึ้นๆลงๆแบบนี้ และยังสามารถดึงสตาร์ระดับ โอบาเมย็อง มาร่วมทีมได้ มันก็อาจหมายความว่า เอมิเรตส์ สเตเดี้ยมยังดึงดูดนักเตะชื่อดังมาร่วมทีมได้อยู่ เพียงแต่สุดท้ายแล้วทีมจะเดินหน้าชนความสำเร็จได้หรือไม่ ก็คงต้องไปถามอาร์แซน เวนเกอร์ หรืออย่างน้อย หากอยากจะให้ทีมเปลี่ยนโฉมหน้าไปจากนี้ ก็คงต้องรอให้ เวนเกอร์ จากทีมไปก่อนก็เท่านั้น
ขอบคุณข้อมูลจาก fourfourtwo ประเทศไทย :- อ่านแล้วถูกใจมากครับ
https://www.fourfourtwo.com/th/features/5-pacchcchaycchaaktlaadchuuekhaaynaketahnaahnaaw-thiicchachiichadnaakhtkhngaarechnl