แม่เราเพิ่งไปลอกต้อกระจกข้างซ้ายที่โรงพยาบาลหาดใหญ่มา เราค่อนข้างประทับใจบริการเลยขอแชร์ประสบการณ์ให้ฟังนะคะ
ขอเรียกแม่ว่าหม่าม้าละกันนะคะ ชินปากหน่อย
บ้านเราเป็นคนไข้ประจำของคุณหมอตาท่านหนึ่งที่หาดใหญ่ตั้งแต่สมัยรุ่นอาม่า ซึ่งอาม่าเราถ้าทุกวันนี้ยังมีชีวิตอยู่ก็จะอายุ 107 ปีแล้วค่ะ
อาม่าลอกต้อกับคุณหมอท่านนี้ตอนคุณหมอยังหนุ่ม ๆ ตอนหม่าม้าเป็นต้อก็เลยมาที่คลินิกนี้เช่นกัน แต่คุณหมอท่านนี้ไม่ได้ผ่าตัดแล้ว เลย refer
หม่าม้าให้กับคุณหมออีกท่านในคลินิกเดียวกันซึ่งทำงานอยู่โรงพยาบาลหาดใหญ่ หม่าม้าเลยตามมาลอกต้อที่นี่ด้วยการใช้บริการบัตรทองสามสิบบาท (ดูเหมือนจะมีค่าเลนอีกประมาณ 6,500 บาท) และเข้าใจว่าถ้าจะใช้สิทธิผู้สูงอายุก็น่าจะเข้าเกณฑ์ด้วยได้ เพราะปีนี้ หม่าม้าอายุแปดสิบกว่าแล้ว
ถึงโรงพยาบาลจะมีคนไข้เยอะ แต่บริการและขั้นตอนต่าง ๆ สะดวกกว่าที่เราคิดไว้มาก
บัตรนัดลงเวลาไว้ 8.00 โมงเช้า พวกเราไปถึงตอนเจ็ดโมงเช้ากว่า ๆ ยื่นบัตรนัดอะไรเรียบร้อย
คุณพยาบาลก็เรียกเข้าไปห้องด้านใน เปลี่ยนชุดแล้วนั่งรอเป็นตับ
ญาตินั่งฝั่งนึง คนไข้นั่งอีกฝั่ง
คุณพยาบาลท่านหนึ่งก็มาขานชื่อคนไข้ หยอดตา แจกยา และสักพักนึงก็ให้คนไข้ไปรอข้างในห้องผ่าตัด
ระหว่างนั้น พยาบาลอีกท่านก็มาอธิบายวิธีการดูแลผู้ป่วยให้ญาติคนไข้รับฟัง โดยอธิบายเป็นขั้นเป็นตอนอย่างเป็นกันเอง
เริ่มตั้งแต่วิธีล้างมือให้สะอาดด้วยแอลกอฮอล์
เอ้า...ทำอย่างนี้นะคะ บีบในปริมาณเท่านี้ พูดพลางกดแอลกอฮอล์คนละปื้ดให้ สอนให้พลิกมือซ้ายขวาในการล้าง
เอานิ้วสอดประกบเข้าหากันแล้วถู ๆ เสร็จแล้วมาถูหัวแม่โป้ง จากนั้นรวบปลายนิ้วมาจิก ๆ ๆ กลางฝ่ามือให้ทั่ว
เสร็จจากล้างมือ ก็มาบอกข้อห้ามที่ต้องระวังไม่ให้คนไข้ทำ เช่น ห้ามยกของหนัก (รู้สึกจะห้ามเกินสองกิโล) ห้ามก้มหน้า ระวังอย่าเพิ่งนอนตะแคงในด้านที่ลอกต้อ ผ่าต้อเสร็จใหม่ ๆ อย่าเพิ่งก้มลงไหว้พระหรือก้มลงละหมาด ห้ามให้ตาโดนน้ำ ห้ามให้ตาโดนฝุ่น
อย่าให้โดนแสงจ้า ให้ใส่ที่ครอบตาหรือใส่แว่นกันแดด ฯลฯ (สารภาพว่าเราเองก็ฟังไม่หมด เพราะมัวแต่อ่านนิยาย และพี่สาวเป็นคนดูแลหลักอยู่แล้ว)
จากนั้นก็มาสอนวิธีหยอดตา ว่าให้ดึงหนังตาล่างลง แล้วหยอดลงไปตรงช่วงกระพุ้งตา
รูปประกอบจากเน็ตนะคะ
อ้อ...ญาติคนไข้บางคนอาจสงสัยว่า ทำไมบางที เปิดจุกยาแล้วยาไม่ไหล
ดูในรูปจะเห็นจุกยาสีฟ้านะคะ พอบิดเกลียวเปิดออกมา จะเป็นจุกใส ๆ ยาว ๆ อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งคนไข้บางคนไม่ทราบว่า ทำไมยาถึงไม่ไหลออกมาจากจุกใส ๆ บางคนเอากรรไกรหรือมีดมาตัดปลายจุกด้านใน ซึ่งเป็นวิธีที่ผิดเพราะจะทำให้ยาปนเปื้อน
วิธีเปิดที่ถูกต้องคือ กดจุกยาด้านนอก (ในรูปนี้คือจุกสีฟ้านะคะ) ลงไปแรง ๆ แล้วจึงบิดเปิด ปลายเข็มเล็ก ๆ ข้างในจุกด้านนอก จะกดจุกใสด้านในให้เป็นรู และยาจะไหลออกมาได้
เรื่องที่ดูเหมือนเป็นหญ้าปากคอก เรื่องง่าย ๆ ที่บุคลากรทางการแพทย์อาจชินและเห็นเป็นเรื่องปกติ แต่เชื่อไหมคะ คนที่ไม่ค่อยได้คลุกคลีกับยาบางทีไม่รู้เลยว่าจะเปิดอย่างไรให้ถูกต้อง
พี่พยาบาลเธอก็สอนอย่างละเอียด สอนเสร็จก็แจกขวดยาใช้แล้ว ให้ทุกคนไปลองกด หมุนบิดเปิดให้ชินมือ
ญาติคนไข้หลายคน ก็เพิ่งถึงบางอ้อว่า "อ้อ...ต้องเช็ดแบบนี้ ต้องเปิดขวดยาแบบนี้ ต้องดูแลแบบนี้"
อธิบายเสร็จสรรพประมาณครึ่งชั่วโมงกว่า ๆ ถัดมา คนไข้ก็เริ่มทะยอยเดินออกมาได้แล้ว
เร็วมาก เรางงเลยว่า นี่ผ่าต้อหรือผัดก๋วยเตี๋ยวทำไมเสร็จไวจัง สมัยก่อนโน้น จำได้ว่า อาม่าต้องอยู่โรงพยาบาลตั้งสองสามวัน
จากนั้น คุณพี่พยาบาลก็บอกให้ไปรับยา จ่ายค่ายาเพิ่มอีกสองร้อยสิบบาท ได้ยาหยอดตาของ Alcon มาสองขวด วิตามินบีกับซีมาอีกอย่างละถุงเล็ก และยาพาราซึ่งมีใบแปะกำชับบอกไว้ว่า ไม่ปวดก็ไม่ต้องกิน
แล้วก็กลับบ้านได้ เราออกจากโรงพยาบาลกันมาตอนเกือบ ๆ สิบเอ็ดโมง
ตอนเย็น หม่าม้าก็ไปให้คุณหมอตรวจแผลอีกทีประมาณสิบนาทีก็เรียบร้อย
ข้อสังเกตของเราเกี่ยวกับโรงพยาบาลหาดใหญ่คือ
๑. เจ้าหน้าที่และคณะพยาบาลน่ารักและเต็มใจช่วยเหลือ อดทนกับคนไข้และญาติคนไข้มากทีเดียวค่ะ
ตอนเช้าวันนั้น น่าจะมีคนไข้คนหนึ่งเข้าใจอะไรผิด มายื่นบัตรผิดมุม ดูเหมือนเค้าจะแบ่งมุมว่า ต้อกระจกด้านนึง ต้อประเภทอื่นอีกด้าน
พอพยาบาลบอกว่าไม่ใช่ด้านนี้ คนไข้ก็ไม่พอใจ ยืนยันว่าคลินิกแจ้งมา เถียงกันไปมาพักใหญ่ คุณพี่พยาบาลเลยบอกให้คนไข้โทร.ถามคลินิก
ท่าทางเธอจะติดต่อไม่ได้ เลยโวยวายต่อ
คุณพี่พยาบาลเธอเลยไม่รู้จะทำยังไง เลยบอก "ถ้างั้น ขอโทษก็แล้วกันนะคะ" คนไข้บอก "ขอโทษแบบไม่เต็มใจ พูดแบบขอไปที ไม่รับ"
แล้วคนไข้ยังโวยวายเหมือนจะร้องเรียนหรืออะไรสักอย่างนี่แหละค่ะ ดิฉันฟังไม่ถนัด
เฮ้อ...
อิชั้นเป็นคนนอกฟังอยู่ยังหัวร้อนแทนพยาบาล
ก็ไม่รู้เรื่องจบยังไง แต่ดิฉันมาบอกพี่พยาบาลอีกคนว่า "พี่คะ ถ้าเค้าร้องเรียน พี่โทร.หาหนูเลย หนูจะมาเป็นพยานให้ว่าพี่ไม่ได้หยาบคายกับคนไข้"
ความอดทนพยาบาลนี่สุดยอดเลยจริง ๆ ถ้าเจอแบบนี้สัก ๓ เคสต่อวัน ดิฉันคงเบรคแตกไปแล้ว
จริงอยู่ล่ะค่ะ ว่าคุณ ๆ พยาบาลที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ ไม่ได้พูด คุณคะ ท่านขา แบบตามโรงพยาบาลเอกชน
ดิฉันเคยไปโรงพยาบาลเอกชนกลางกรุง เจ้าหน้าที่เรียกลูกค้าว่า คุณผู้ชาย คุณผู้หญิง อีกที่เรียกลูกค้าว่า คุณท่าน ฟังแล้วให้อารมณ์ประหนึ่งเราเป็นคุณหญิงใหญ่ของเจ้าคุณในละครพีเรียดยังไงชอบกล
แต่พี่ ๆ น้อง ๆ พยาบาลพวกนี้ ก็คุยกับคนไข้และญาติ ๆ ด้วยภาษาที่เป็นกันเอง อาจจะไม่ได้คะ ๆ ขา ๆ แต่ก็มีอัธยาศัยไมตรีดี คุยเหมือนคุยกับเพื่อน คุยกับน้อง คุยกับญาติ สบาย ๆ แต่ให้ความรู้และอดทนอธิบายขั้นตอนต่าง ๆ อย่างละเอียดมาก
๒. ข้าวของเครื่องใช้เก่าดีจัง แต่สะอาดค่ะ
๓. มีข้อเสนอแนะนิดหน่อย ถ้าไม่ฟังดูเรื่องมากเกินไป คือ ห้องน้ำน่าจะแยกโซนเปียกแห้งนิดหนึ่ง อาจจะเทพื้นให้สูงนิดหนึ่งสำหรับบริเวณแห้ง และมีม่านกั้น น่าจะทำให้ห้องน้ำไม่ลื่นและปลอดภัยกว่า
๔. คนไข้เยอะจังเล้ย (เสียงสูงเลยนะคะ) ตอนจ่ายค่ายาราคา 210 บาท ดิฉันถามพี่พยาบาลว่า ทำไมยาถูกจัง แล้วจะอยู่ได้หรือ ?
ก็ทราบคร่าว ๆ ว่า ปกติ ผ่าต้อ สปสช. น่าจะเหมาจ่ายให้โรงพยาบาลประมาณหมื่นกว่าบาท ในขณะที่ค่ารักษาสองหมื่นกว่าบาท
ดิฉันก็จนด้วยเกล้าล่ะค่ะว่า ทางโรงพยาบาลรัฐต่าง ๆ ต้องไปหมุนเงินกันมาอย่างไรให้พอสำหรับรักษาคนไข้
แต่ส่วนตัว ถ้าหม่าม้าชอบที่จะรักษากับคุณหมอที่คุ้นเคยที่โรงพยาบาลรัฐก็ไม่เป็นไร
ดิฉันกับพี่สาวร่วมกันใส่ซองทำบุญที่มูลนิธิโรงพยาบาลไปประมาณสามหมื่นกว่าบาท
โปรดอย่าคิดว่า เราเป็นคนดีอะไร เพราะดิฉันก็ขอใบอนุโมทนาบัตรมาทำเรื่องลดหย่อนภาษีปลายปีตามปกติ
แต่ที่ทำเพราะคิดว่า กลัวโรงพยาบาลเจ๊ง ... ถ้าโรงพยาบาลรัฐอยู่ไม่ได้แล้วทางเลือกเดียวของเราคือเอกชนนี่เห็นทีจะตายแน่ ๆ
อีกอย่างถ้าไม่ได้มาโรงพยาบาลรัฐ ไปเอกชน สามหมื่นคงเอาไม่อยู่แน่ เพราะงั้น เตรียมงบไว้แล้ว ก็ทำบุญกับมูลนิธิโรงพยาบาลไปดีกว่า
สาธารณสุขบ้านเราก็แกว่งสุดโต่งสองด้าน ระหว่างเอกชนที่แพงระยับ กับ รัฐบาลที่ค่าใช้จ่ายถูก บางทีถูกเกินไปจนคิดไม่ออกเลยว่าราคานี้จะอยู่ได้อย่างไร
ตอนที่รอหม่าม้าออกมาจากห้อง ได้ยินคุณป้าญาติคนไข้คนหนึ่งคุยว่า "ผ่าไปแล้วทั้งสองข้าง แถม...เลนก็ไม่เสียเงิน ได้ในวาระเฉลิมพระเกียรติในหลวง"
แถมคุณป้ายังเล่าต่อแบบซื่อตรงว่า"เก็บตังค์ไว้ใช้อย่างอื่น"
ดิฉันมองคุณป้าในชุดเครื่องแต่งกายที่ไม่ได้ทรุดโทรมอะไร ฟังแล้วก็อมยิ้มค่ะ ไม่บังอาจไปตัดสินคุณป้า แต่แอบคิดในใจว่า
"ถ้าฟรีกันหมดแล้วเงินจะพอสนับสนุนทั้งระบบไปยาว ๆ ไหมอ่ะคะ คุณป้าขา ?"
ตอนพี่สาวดิฉันไปบริจาคเงิน เจ้าหน้าที่ก็บอกว่า "ดีเลย จะได้เอาไปเป็นทุนซื้อผ้าห่มแจกญาติคนไข้ที่มานอนเฝ้าไข้ที่โรงพยาบาล"
ดิฉันฟังแล้วก็ยิ้มในใจ คิดว่า "บางที คนที่นี่ จะพูดห้วน พูดห้าวไปบ้าง แต่อะไร ๆ เค้าก็คิดถึงคนไข้กับญาติ ๆ ก่อนเสมอนะ"
[CR] ลอกต้อกระจก ใช้บัตรทองที่โรงพยาบาลหาดใหญ่
ขอเรียกแม่ว่าหม่าม้าละกันนะคะ ชินปากหน่อย
บ้านเราเป็นคนไข้ประจำของคุณหมอตาท่านหนึ่งที่หาดใหญ่ตั้งแต่สมัยรุ่นอาม่า ซึ่งอาม่าเราถ้าทุกวันนี้ยังมีชีวิตอยู่ก็จะอายุ 107 ปีแล้วค่ะ
อาม่าลอกต้อกับคุณหมอท่านนี้ตอนคุณหมอยังหนุ่ม ๆ ตอนหม่าม้าเป็นต้อก็เลยมาที่คลินิกนี้เช่นกัน แต่คุณหมอท่านนี้ไม่ได้ผ่าตัดแล้ว เลย refer
หม่าม้าให้กับคุณหมออีกท่านในคลินิกเดียวกันซึ่งทำงานอยู่โรงพยาบาลหาดใหญ่ หม่าม้าเลยตามมาลอกต้อที่นี่ด้วยการใช้บริการบัตรทองสามสิบบาท (ดูเหมือนจะมีค่าเลนอีกประมาณ 6,500 บาท) และเข้าใจว่าถ้าจะใช้สิทธิผู้สูงอายุก็น่าจะเข้าเกณฑ์ด้วยได้ เพราะปีนี้ หม่าม้าอายุแปดสิบกว่าแล้ว
ถึงโรงพยาบาลจะมีคนไข้เยอะ แต่บริการและขั้นตอนต่าง ๆ สะดวกกว่าที่เราคิดไว้มาก
บัตรนัดลงเวลาไว้ 8.00 โมงเช้า พวกเราไปถึงตอนเจ็ดโมงเช้ากว่า ๆ ยื่นบัตรนัดอะไรเรียบร้อย
คุณพยาบาลก็เรียกเข้าไปห้องด้านใน เปลี่ยนชุดแล้วนั่งรอเป็นตับ
ญาตินั่งฝั่งนึง คนไข้นั่งอีกฝั่ง
คุณพยาบาลท่านหนึ่งก็มาขานชื่อคนไข้ หยอดตา แจกยา และสักพักนึงก็ให้คนไข้ไปรอข้างในห้องผ่าตัด
ระหว่างนั้น พยาบาลอีกท่านก็มาอธิบายวิธีการดูแลผู้ป่วยให้ญาติคนไข้รับฟัง โดยอธิบายเป็นขั้นเป็นตอนอย่างเป็นกันเอง
เริ่มตั้งแต่วิธีล้างมือให้สะอาดด้วยแอลกอฮอล์
เอ้า...ทำอย่างนี้นะคะ บีบในปริมาณเท่านี้ พูดพลางกดแอลกอฮอล์คนละปื้ดให้ สอนให้พลิกมือซ้ายขวาในการล้าง
เอานิ้วสอดประกบเข้าหากันแล้วถู ๆ เสร็จแล้วมาถูหัวแม่โป้ง จากนั้นรวบปลายนิ้วมาจิก ๆ ๆ กลางฝ่ามือให้ทั่ว
เสร็จจากล้างมือ ก็มาบอกข้อห้ามที่ต้องระวังไม่ให้คนไข้ทำ เช่น ห้ามยกของหนัก (รู้สึกจะห้ามเกินสองกิโล) ห้ามก้มหน้า ระวังอย่าเพิ่งนอนตะแคงในด้านที่ลอกต้อ ผ่าต้อเสร็จใหม่ ๆ อย่าเพิ่งก้มลงไหว้พระหรือก้มลงละหมาด ห้ามให้ตาโดนน้ำ ห้ามให้ตาโดนฝุ่น
อย่าให้โดนแสงจ้า ให้ใส่ที่ครอบตาหรือใส่แว่นกันแดด ฯลฯ (สารภาพว่าเราเองก็ฟังไม่หมด เพราะมัวแต่อ่านนิยาย และพี่สาวเป็นคนดูแลหลักอยู่แล้ว)
จากนั้นก็มาสอนวิธีหยอดตา ว่าให้ดึงหนังตาล่างลง แล้วหยอดลงไปตรงช่วงกระพุ้งตา
รูปประกอบจากเน็ตนะคะ
อ้อ...ญาติคนไข้บางคนอาจสงสัยว่า ทำไมบางที เปิดจุกยาแล้วยาไม่ไหล
ดูในรูปจะเห็นจุกยาสีฟ้านะคะ พอบิดเกลียวเปิดออกมา จะเป็นจุกใส ๆ ยาว ๆ อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งคนไข้บางคนไม่ทราบว่า ทำไมยาถึงไม่ไหลออกมาจากจุกใส ๆ บางคนเอากรรไกรหรือมีดมาตัดปลายจุกด้านใน ซึ่งเป็นวิธีที่ผิดเพราะจะทำให้ยาปนเปื้อน
วิธีเปิดที่ถูกต้องคือ กดจุกยาด้านนอก (ในรูปนี้คือจุกสีฟ้านะคะ) ลงไปแรง ๆ แล้วจึงบิดเปิด ปลายเข็มเล็ก ๆ ข้างในจุกด้านนอก จะกดจุกใสด้านในให้เป็นรู และยาจะไหลออกมาได้
เรื่องที่ดูเหมือนเป็นหญ้าปากคอก เรื่องง่าย ๆ ที่บุคลากรทางการแพทย์อาจชินและเห็นเป็นเรื่องปกติ แต่เชื่อไหมคะ คนที่ไม่ค่อยได้คลุกคลีกับยาบางทีไม่รู้เลยว่าจะเปิดอย่างไรให้ถูกต้อง
พี่พยาบาลเธอก็สอนอย่างละเอียด สอนเสร็จก็แจกขวดยาใช้แล้ว ให้ทุกคนไปลองกด หมุนบิดเปิดให้ชินมือ
ญาติคนไข้หลายคน ก็เพิ่งถึงบางอ้อว่า "อ้อ...ต้องเช็ดแบบนี้ ต้องเปิดขวดยาแบบนี้ ต้องดูแลแบบนี้"
อธิบายเสร็จสรรพประมาณครึ่งชั่วโมงกว่า ๆ ถัดมา คนไข้ก็เริ่มทะยอยเดินออกมาได้แล้ว
เร็วมาก เรางงเลยว่า นี่ผ่าต้อหรือผัดก๋วยเตี๋ยวทำไมเสร็จไวจัง สมัยก่อนโน้น จำได้ว่า อาม่าต้องอยู่โรงพยาบาลตั้งสองสามวัน
จากนั้น คุณพี่พยาบาลก็บอกให้ไปรับยา จ่ายค่ายาเพิ่มอีกสองร้อยสิบบาท ได้ยาหยอดตาของ Alcon มาสองขวด วิตามินบีกับซีมาอีกอย่างละถุงเล็ก และยาพาราซึ่งมีใบแปะกำชับบอกไว้ว่า ไม่ปวดก็ไม่ต้องกิน
แล้วก็กลับบ้านได้ เราออกจากโรงพยาบาลกันมาตอนเกือบ ๆ สิบเอ็ดโมง
ตอนเย็น หม่าม้าก็ไปให้คุณหมอตรวจแผลอีกทีประมาณสิบนาทีก็เรียบร้อย
ข้อสังเกตของเราเกี่ยวกับโรงพยาบาลหาดใหญ่คือ
๑. เจ้าหน้าที่และคณะพยาบาลน่ารักและเต็มใจช่วยเหลือ อดทนกับคนไข้และญาติคนไข้มากทีเดียวค่ะ
ตอนเช้าวันนั้น น่าจะมีคนไข้คนหนึ่งเข้าใจอะไรผิด มายื่นบัตรผิดมุม ดูเหมือนเค้าจะแบ่งมุมว่า ต้อกระจกด้านนึง ต้อประเภทอื่นอีกด้าน
พอพยาบาลบอกว่าไม่ใช่ด้านนี้ คนไข้ก็ไม่พอใจ ยืนยันว่าคลินิกแจ้งมา เถียงกันไปมาพักใหญ่ คุณพี่พยาบาลเลยบอกให้คนไข้โทร.ถามคลินิก
ท่าทางเธอจะติดต่อไม่ได้ เลยโวยวายต่อ
คุณพี่พยาบาลเธอเลยไม่รู้จะทำยังไง เลยบอก "ถ้างั้น ขอโทษก็แล้วกันนะคะ" คนไข้บอก "ขอโทษแบบไม่เต็มใจ พูดแบบขอไปที ไม่รับ"
แล้วคนไข้ยังโวยวายเหมือนจะร้องเรียนหรืออะไรสักอย่างนี่แหละค่ะ ดิฉันฟังไม่ถนัด
เฮ้อ...
อิชั้นเป็นคนนอกฟังอยู่ยังหัวร้อนแทนพยาบาล
ก็ไม่รู้เรื่องจบยังไง แต่ดิฉันมาบอกพี่พยาบาลอีกคนว่า "พี่คะ ถ้าเค้าร้องเรียน พี่โทร.หาหนูเลย หนูจะมาเป็นพยานให้ว่าพี่ไม่ได้หยาบคายกับคนไข้"
ความอดทนพยาบาลนี่สุดยอดเลยจริง ๆ ถ้าเจอแบบนี้สัก ๓ เคสต่อวัน ดิฉันคงเบรคแตกไปแล้ว
จริงอยู่ล่ะค่ะ ว่าคุณ ๆ พยาบาลที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ ไม่ได้พูด คุณคะ ท่านขา แบบตามโรงพยาบาลเอกชน
ดิฉันเคยไปโรงพยาบาลเอกชนกลางกรุง เจ้าหน้าที่เรียกลูกค้าว่า คุณผู้ชาย คุณผู้หญิง อีกที่เรียกลูกค้าว่า คุณท่าน ฟังแล้วให้อารมณ์ประหนึ่งเราเป็นคุณหญิงใหญ่ของเจ้าคุณในละครพีเรียดยังไงชอบกล
แต่พี่ ๆ น้อง ๆ พยาบาลพวกนี้ ก็คุยกับคนไข้และญาติ ๆ ด้วยภาษาที่เป็นกันเอง อาจจะไม่ได้คะ ๆ ขา ๆ แต่ก็มีอัธยาศัยไมตรีดี คุยเหมือนคุยกับเพื่อน คุยกับน้อง คุยกับญาติ สบาย ๆ แต่ให้ความรู้และอดทนอธิบายขั้นตอนต่าง ๆ อย่างละเอียดมาก
๒. ข้าวของเครื่องใช้เก่าดีจัง แต่สะอาดค่ะ
๓. มีข้อเสนอแนะนิดหน่อย ถ้าไม่ฟังดูเรื่องมากเกินไป คือ ห้องน้ำน่าจะแยกโซนเปียกแห้งนิดหนึ่ง อาจจะเทพื้นให้สูงนิดหนึ่งสำหรับบริเวณแห้ง และมีม่านกั้น น่าจะทำให้ห้องน้ำไม่ลื่นและปลอดภัยกว่า
๔. คนไข้เยอะจังเล้ย (เสียงสูงเลยนะคะ) ตอนจ่ายค่ายาราคา 210 บาท ดิฉันถามพี่พยาบาลว่า ทำไมยาถูกจัง แล้วจะอยู่ได้หรือ ?
ก็ทราบคร่าว ๆ ว่า ปกติ ผ่าต้อ สปสช. น่าจะเหมาจ่ายให้โรงพยาบาลประมาณหมื่นกว่าบาท ในขณะที่ค่ารักษาสองหมื่นกว่าบาท
ดิฉันก็จนด้วยเกล้าล่ะค่ะว่า ทางโรงพยาบาลรัฐต่าง ๆ ต้องไปหมุนเงินกันมาอย่างไรให้พอสำหรับรักษาคนไข้
แต่ส่วนตัว ถ้าหม่าม้าชอบที่จะรักษากับคุณหมอที่คุ้นเคยที่โรงพยาบาลรัฐก็ไม่เป็นไร
ดิฉันกับพี่สาวร่วมกันใส่ซองทำบุญที่มูลนิธิโรงพยาบาลไปประมาณสามหมื่นกว่าบาท
โปรดอย่าคิดว่า เราเป็นคนดีอะไร เพราะดิฉันก็ขอใบอนุโมทนาบัตรมาทำเรื่องลดหย่อนภาษีปลายปีตามปกติ
แต่ที่ทำเพราะคิดว่า กลัวโรงพยาบาลเจ๊ง ... ถ้าโรงพยาบาลรัฐอยู่ไม่ได้แล้วทางเลือกเดียวของเราคือเอกชนนี่เห็นทีจะตายแน่ ๆ
อีกอย่างถ้าไม่ได้มาโรงพยาบาลรัฐ ไปเอกชน สามหมื่นคงเอาไม่อยู่แน่ เพราะงั้น เตรียมงบไว้แล้ว ก็ทำบุญกับมูลนิธิโรงพยาบาลไปดีกว่า
สาธารณสุขบ้านเราก็แกว่งสุดโต่งสองด้าน ระหว่างเอกชนที่แพงระยับ กับ รัฐบาลที่ค่าใช้จ่ายถูก บางทีถูกเกินไปจนคิดไม่ออกเลยว่าราคานี้จะอยู่ได้อย่างไร
ตอนที่รอหม่าม้าออกมาจากห้อง ได้ยินคุณป้าญาติคนไข้คนหนึ่งคุยว่า "ผ่าไปแล้วทั้งสองข้าง แถม...เลนก็ไม่เสียเงิน ได้ในวาระเฉลิมพระเกียรติในหลวง"
แถมคุณป้ายังเล่าต่อแบบซื่อตรงว่า"เก็บตังค์ไว้ใช้อย่างอื่น"
ดิฉันมองคุณป้าในชุดเครื่องแต่งกายที่ไม่ได้ทรุดโทรมอะไร ฟังแล้วก็อมยิ้มค่ะ ไม่บังอาจไปตัดสินคุณป้า แต่แอบคิดในใจว่า
"ถ้าฟรีกันหมดแล้วเงินจะพอสนับสนุนทั้งระบบไปยาว ๆ ไหมอ่ะคะ คุณป้าขา ?"
ตอนพี่สาวดิฉันไปบริจาคเงิน เจ้าหน้าที่ก็บอกว่า "ดีเลย จะได้เอาไปเป็นทุนซื้อผ้าห่มแจกญาติคนไข้ที่มานอนเฝ้าไข้ที่โรงพยาบาล"
ดิฉันฟังแล้วก็ยิ้มในใจ คิดว่า "บางที คนที่นี่ จะพูดห้วน พูดห้าวไปบ้าง แต่อะไร ๆ เค้าก็คิดถึงคนไข้กับญาติ ๆ ก่อนเสมอนะ"