.
วันนี้ เจตนาที่ผู้เขียนต้องการสื่อสารความหมายและประเด็นผ่านคำว่า “
วิญญูชน”กับคำว่า “
เสียรังวัด” เพราะแท้ที่จริงแล้ว คำๆนี้มีที่มาที่น่าสนใจมากกว่าจะมุ่งหมายเอามาประชดประชันใครคนใดคนหนึ่ง เพราะประเด็นวันนี้ มันคืออาการ “เสีย” ของทุกๆคนที่ดำรงตนอยู่ในสังคมใดก็แล้วแต่ร่วมกัน
คำว่า วิญญูชน แปลตามความหมายของ พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน แปลได้ว่า น. บุคคลผู้รู้ผิดรู้ชอบตามปรกติ ซึ่งในบทความนี้เห็นพ้องว่า คำว่า วิญญูชน นี้ มีความหมายตามบริบทของประเด็นเหมือนกับคำว่า พลเมืองดี
ส่วนคำว่า เสียรังวัด ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ หมายถึง
พลอยได้รับผิดด้วยในเหตุที่เกิดขึ้น พลอยเสียหายไปด้วย ส่วนคำเสียรังวัดมีที่มาอย่างไรนั้น นายกฤษฎา บุณยสมิต ประธานคณะกรรมการชำระและศึกษากฎหมายไทยโบราณ ราชบัณฑิตยสถาน อธิบายไว้ว่า ในกฎหมายตราสามดวง พระไอยการลักษณะโจร และพระราชกำหนดเก่า ซึ่งเป็นกฎหมายเก่าที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ถือว่าคนในสังคมทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการป้องกันมิให้เกิดเหตุร้ายต่าง ๆ ขึ้นในชุมชนของตน เช่น โจรปล้น ฆ่าคนตาย และต้องช่วยเหลือเจ้าหน้าที่บ้านเมืองในการจับกุมผู้กระทำความผิด เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง โดยกฎหมายได้กำหนดระยะทางจากจุดที่เกิดเหตุเป็นศูนย์กลางแล้ววัดระยะออกไปโดยรอบ บริเวณที่อยู่ในระยะทางที่กำหนดถือเป็นเขตรังวัด มีระยะทาง ๓ เส้น ๑๕ วา (ประมาณ ๑๕๐ เมตร) ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ มีการขยายระยะทางออกไปเป็น ๕ เส้น (ประมาณ ๒๐๐ เมตร) ซึ่งเรียกกันว่า กฎหมายโจร ๕ เส้น
บุคคลใดก็ตามที่อยู่ในเขตรังวัดถือว่ามีภาระหน้าที่ตามกฎหมายในการร่วมรู้เห็นตลอดจนต้องช่วยเหลือผู้เสียหายและจับกุมผู้กระทำความผิดในเหตุร้ายต่าง ๆ หากต้องให้การเป็นพยานก็เรียกว่า พยานรังวัด และต้องช่วยจับกุมคนร้ายด้วย ดังนั้น เมื่อเกิดเหตุร้ายขึ้นแล้วผู้ที่อยู่ในเขตรังวัดแต่อ้างว่าไม่รู้เห็นเหตุการณ์ก็ให้คาดโทษไว้ และการไม่ช่วยจับกุมคนร้ายก็ต้องเสียค่าปรับตามจำนวนและระยะทางที่กฎหมายกำหนด จึงเกิดสำนวนเปรียบเทียบว่า เสียรังวัด เมื่อต้องเสียหายในเรื่องที่เกิดขึ้นโดยตนมิได้ก่อหรือเกี่ยวข้องด้วย หลักการที่กำหนดให้ทุกคนในสังคมมีส่วนร่วมกันในการป้องกันและช่วยเหลือกันในกรณีที่เกิดเหตุร้ายต่าง ๆ ไม่มีกำหนดไว้อย่างชัดเจนในกฎหมายอีกแล้ว นับแต่มีการปฏิรูปกฎหมายและการศาลครั้งใหญ่เพื่อให้ทันสมัยและเป็นไปตามแบบแผนกฎหมายของชาติตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ ๕. (*เครดิตที่มา โดย สำนักงานราชบัณฑิตย์สภา*)
ซึ่งถ้าแปลตามเจตนารมณ์ของตัวบทกฎหมาย โดยคนที่มีความรู้ด้านกฎหมายเพียงปลายก้อยเยี่ยงผู้เขียน ก็ตีความประสาชาวบ้านได้ว่า กฎหมายนี้มีเจตจำนงที่ต้องการให้คนในสังคมเป็น “วิญญูชน” หรือ “พลเมืองดี”ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่บ้านเมืองในการรักษากฎหมายเพื่อความสงบสุขของสังคม แน่นอนว่าเมื่อเวลาผ่านไป ตัวบทกฎหมายก็ได้มีการเปลี่ยนแปลง
แต่หากอ่านดูให้ดี ไม่ว่าจะกี่กฎหมาย และไม่ว่ากฎหมายนั้นๆจะออกโดยฝ่ายประชาธิปไตยหรือเผด็จการก็แล้วแต่ เจตจำนงที่ต้องการให้คนในสังคมเป็น “พลเมืองดี” ก็ยังมีแฝงอยู่ในตัวบทกฎหมายเสมอมา
เพียงแต่ว่า สำนึกของการทำหน้าที่พลเมืองดีของแต่ละคนนั้นมีไม่เท่ากัน และที่สำคัญแต่ละคนก็ยังมีมาตรฐาน หรือปักธงในใจแล้วว่าจะแสดงออกอย่างไร หากมีกรณีไหนมากระทบต่อพรรคพวกของตัวเอง กลายเป็นพลเมืองดีแบบมีข้างมีขั้ว ที่พร้อมจะตรวจจับคนกระทำชั่วเฉพาะที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามตัวเองเท่านั้นแต่หากเป็นการก่อการหรือพฤติกรรมของพรรคพวกตัวเองทำ ก็พร้อมจะเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ไม่รับรู้และสนใจที่จะใช้มาตรฐานเดียวกันกับอีกฝ่าย ซึ่งเช่นนั้น ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นการกระทำเยี่ยงวิญญูชน
ถ้าวันนี้ ราชดำเนินเป็นเช่นเมื่อก่อน คำกล่าวข้างต้นคงสะท้อนให้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นในการเมืองไทยได้อย่างชัดเจน แต่ประเด็นก็คือ ราชดำเนินวันนี้ กลายเป็นแหล่งพูดคุยที่มีแค่คนหน้าเดิมๆไม่กี่สิบคนวนเวียนกันเข้ามาอ่านเข้ามาแสดงความเห็น และเมื่อบทความนี้ถูกตั้งในสถานการณ์เยี่ยงนี้ การจะชี้มือไปที่สนามการเมืองใหญ่คงไม่เกิดประโยชน์ เผลอๆอาจก่อโทษให้กับตัวผู้เขียนด้วยซ้ำ ดังนั้นน่าจะดีกว่า หากชี้ให้เห็นถึงแง่มุมนี้ ไปยังเรื่องราวที่กำลังบ่อนทำลายความน่าเชื่อถือของราชดำเนินแห่งนี้ไปทุกวัน
ซึ่งพูดไป ผู้เขียนก็เสียความตั้งใจกับตนเอง ที่จะไม่พูดถึงเรื่องนี้ แต่ก็จะขอชี้ให้เห็นเพราะประเด็นของข้อเขียนนี้ก็อยู่ในกรณีดราม่า แดงฟัดแดง หรือจะแดงต้มแดง อะไรก็ช่าง ตามที่สลิ่มให้คำนิยามไว้ ที่ซัดกันแรงจนเกินมารยาทการแสดงความเห็นในที่สาธารณะ บอกตรงๆผู้เขียนก็ไม่รู้หรอกว่า มารยาทการแสดงความเห็นในที่สาธารณะ มีข้อกำหนดเช่นไร รู้แต่เพียงว่า ตามทัศนะของผู้เขียน “เล่นกันเกินงาม”ไปเยอะ
และสุดท้ายกลายเป็นเลอะเทอะ ทำให้คนที่ร่วมใช้สถานที่แห่งนี้ ร่วมเสียรังวัดไปด้วย
พฤติกรรมของการเป็น วิญญูชน หรือ พลเมืองดี คือให้การช่วยเหลือปกป้องผู้อื่นจากคนที่กระทำไม่ดี แต่พฤติกรรมของคนในสังคมราชดำเนินนี้ เป็นวิญญูชน หรือ พลเมืองดี แบบ ให้การช่วยเหลือปกป้องพรรคพวกตนเองจากฝ่ายตรงข้ามที่กระทำไม่ดี
แน่นอนว่าการกระทำเช่นนี้ก็ไม่แตกต่างอะไรไปจากสนามการเมืองใหญ่ในประเทศ ซึ่งคนที่มีสติสัมปชัญญะคิดอ่านในราชดำเนินทุกคน ต่างก็รู้ดีกว่า ไอ้พฤติกรรมแบบนี้นี้แหละ มันเป็นตัวการบ่อนทำลายประเทศให้เกิดความแตกแยก ทำลายระบบยุติธรรมให้ไม่มีความน่าเชื่อถือ ทำลายกระบวนการประชาธิปไตย ที่ประชาชนไทยเป็นเจ้าของอำนาจที่แท้จริง เสียสิทธิเสรีภาพมากมาย
แต่ถึงรู้อย่างนั้น มันก็ไม่ได้ช่วยให้คนในราชดำเนินหลายๆคนคน ไม่ปฏิบัติตนหรือมีพฤติกรรมเช่นนั้น แน่นอน ถ้านับว่าเป็นประโยคนี้เป็นคำด่า ผู้เขียนก็ยอมรับว่า กำลังด่าตัวเองด้วย เพราะผู้เขียนเองในเรื่องสนามการเมืองใหญ่ ก็ไม่เคยออกมาสนับสนุนการกระทำของฝ่ายตรงข้ามที่ถูกต้องชอบธรรม และก็ไม่เคยเช่นกันที่จะคัดค้านการกระทำที่ไม่น่าจะถูกต้องตามทำนองคลองธรรมของฝ่ายที่ผู้เขียนสนับสนุนอยู่ขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพทั้งสองกรณี อย่าง
การหลบหนีออกนอกประเทศของคุณยิ่งลักษณ์ นั้นผู้เขียนก็เลือกที่จะไม่แสดงความเห็นเรื่องนี้เลย แม้จะเข้าใจเหตุผลที่คุณยิ่งลักษณ์ต้องทำเช่นนั้น แต่การกระทำเช่นนั้นของคุณยิ่งลักษณ์ ก็ไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมที่สมควรทำ ซึ่งถ้าคุณยิ่งลักษณ์มั่นใจในความบริสุทธิ์ของตนเอง ก็ลุกขึ้นสู้ให้ถูกต้องไปเลย ถ้าไม่มั่นใจในกระบวนการยุติธรรมของไทย ก็ไปยื่นฟ้องต่อองค์กรระหว่างประเทศให้เป็นเรื่องเป็นราวไป ไม่ว่าจะเป็นไปตั้งรัฐบาลผลัดถิ่น ยื่นเรื่องให้ UN ยอมรับ ซึ่งเขาจะยอมรับหรือไม่มันอีกเรื่อง แต่กระบวนการต่อสู้เหล่านี้ คุณยิ่งลักษณ์ รวมถึงคุณทักษิณ เลือกที่จะไม่ทำตั้งแต่ต้น และเลือกที่จะนิ่งเฉย สมยอมเล่นบทดราม่าเป็นผู้ถูกกระทำอยู่ข้างเดียว ซึ่งนั้นไม่ใช่แนวทางการต่อสู้ทางประชาธิปไตยของผู้มีอุดมการณ์เลย แต่ผู้เขียนก็เลือกที่จะอมพะนำนิ่งไว้
ในกรณีเดียวกันแต่คนล่ะฝั่งบ้าง ทางด้านคณะรัฐประหาร ผู้เขียนก็ไม่ค่อยกล้าจะออกมาโวยวาย ในการใช้อำนาจที่ดูจะมากมายไม่มีขอบเขตของอีกฝ่าย โดยมีข้ออ้างให้กับตัวเอง ว่า “กลัว” จากการถูกปรามถูกข่มขู่หลายรูปแบบ อันมาจากอารมณ์สามัญสำนึกพื้นฐานของมนุษย์ทุกคนอยู่แล้ว แต่ข้ออ้างนั้นมันก็ยังสร้างความแคลงใจให้กับตนเองว่า ตนเองกำลังบกพร่องในคุณสมบัติของการเป็นวิญญูชนอยู่หรือเปล่า..?
คำถามคือ
สำนึกตัวได้หรือยัง...?
ถ้าได้แล้ว จะทำอย่างไรต่อไป...?
(บทความ..นายพระรอง)วิพากษ์ราชดำเนิน "สำนึกวิญญูชน ตัวตนที่กำลังเสียรังวัดในสังคม"
วันนี้ เจตนาที่ผู้เขียนต้องการสื่อสารความหมายและประเด็นผ่านคำว่า “วิญญูชน”กับคำว่า “เสียรังวัด” เพราะแท้ที่จริงแล้ว คำๆนี้มีที่มาที่น่าสนใจมากกว่าจะมุ่งหมายเอามาประชดประชันใครคนใดคนหนึ่ง เพราะประเด็นวันนี้ มันคืออาการ “เสีย” ของทุกๆคนที่ดำรงตนอยู่ในสังคมใดก็แล้วแต่ร่วมกัน
คำว่า วิญญูชน แปลตามความหมายของ พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน แปลได้ว่า น. บุคคลผู้รู้ผิดรู้ชอบตามปรกติ ซึ่งในบทความนี้เห็นพ้องว่า คำว่า วิญญูชน นี้ มีความหมายตามบริบทของประเด็นเหมือนกับคำว่า พลเมืองดี
ส่วนคำว่า เสียรังวัด ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ หมายถึง พลอยได้รับผิดด้วยในเหตุที่เกิดขึ้น พลอยเสียหายไปด้วย ส่วนคำเสียรังวัดมีที่มาอย่างไรนั้น นายกฤษฎา บุณยสมิต ประธานคณะกรรมการชำระและศึกษากฎหมายไทยโบราณ ราชบัณฑิตยสถาน อธิบายไว้ว่า ในกฎหมายตราสามดวง พระไอยการลักษณะโจร และพระราชกำหนดเก่า ซึ่งเป็นกฎหมายเก่าที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ถือว่าคนในสังคมทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการป้องกันมิให้เกิดเหตุร้ายต่าง ๆ ขึ้นในชุมชนของตน เช่น โจรปล้น ฆ่าคนตาย และต้องช่วยเหลือเจ้าหน้าที่บ้านเมืองในการจับกุมผู้กระทำความผิด เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง โดยกฎหมายได้กำหนดระยะทางจากจุดที่เกิดเหตุเป็นศูนย์กลางแล้ววัดระยะออกไปโดยรอบ บริเวณที่อยู่ในระยะทางที่กำหนดถือเป็นเขตรังวัด มีระยะทาง ๓ เส้น ๑๕ วา (ประมาณ ๑๕๐ เมตร) ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ มีการขยายระยะทางออกไปเป็น ๕ เส้น (ประมาณ ๒๐๐ เมตร) ซึ่งเรียกกันว่า กฎหมายโจร ๕ เส้น
บุคคลใดก็ตามที่อยู่ในเขตรังวัดถือว่ามีภาระหน้าที่ตามกฎหมายในการร่วมรู้เห็นตลอดจนต้องช่วยเหลือผู้เสียหายและจับกุมผู้กระทำความผิดในเหตุร้ายต่าง ๆ หากต้องให้การเป็นพยานก็เรียกว่า พยานรังวัด และต้องช่วยจับกุมคนร้ายด้วย ดังนั้น เมื่อเกิดเหตุร้ายขึ้นแล้วผู้ที่อยู่ในเขตรังวัดแต่อ้างว่าไม่รู้เห็นเหตุการณ์ก็ให้คาดโทษไว้ และการไม่ช่วยจับกุมคนร้ายก็ต้องเสียค่าปรับตามจำนวนและระยะทางที่กฎหมายกำหนด จึงเกิดสำนวนเปรียบเทียบว่า เสียรังวัด เมื่อต้องเสียหายในเรื่องที่เกิดขึ้นโดยตนมิได้ก่อหรือเกี่ยวข้องด้วย หลักการที่กำหนดให้ทุกคนในสังคมมีส่วนร่วมกันในการป้องกันและช่วยเหลือกันในกรณีที่เกิดเหตุร้ายต่าง ๆ ไม่มีกำหนดไว้อย่างชัดเจนในกฎหมายอีกแล้ว นับแต่มีการปฏิรูปกฎหมายและการศาลครั้งใหญ่เพื่อให้ทันสมัยและเป็นไปตามแบบแผนกฎหมายของชาติตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ ๕. (*เครดิตที่มา โดย สำนักงานราชบัณฑิตย์สภา*)
ซึ่งถ้าแปลตามเจตนารมณ์ของตัวบทกฎหมาย โดยคนที่มีความรู้ด้านกฎหมายเพียงปลายก้อยเยี่ยงผู้เขียน ก็ตีความประสาชาวบ้านได้ว่า กฎหมายนี้มีเจตจำนงที่ต้องการให้คนในสังคมเป็น “วิญญูชน” หรือ “พลเมืองดี”ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่บ้านเมืองในการรักษากฎหมายเพื่อความสงบสุขของสังคม แน่นอนว่าเมื่อเวลาผ่านไป ตัวบทกฎหมายก็ได้มีการเปลี่ยนแปลง แต่หากอ่านดูให้ดี ไม่ว่าจะกี่กฎหมาย และไม่ว่ากฎหมายนั้นๆจะออกโดยฝ่ายประชาธิปไตยหรือเผด็จการก็แล้วแต่ เจตจำนงที่ต้องการให้คนในสังคมเป็น “พลเมืองดี” ก็ยังมีแฝงอยู่ในตัวบทกฎหมายเสมอมา
เพียงแต่ว่า สำนึกของการทำหน้าที่พลเมืองดีของแต่ละคนนั้นมีไม่เท่ากัน และที่สำคัญแต่ละคนก็ยังมีมาตรฐาน หรือปักธงในใจแล้วว่าจะแสดงออกอย่างไร หากมีกรณีไหนมากระทบต่อพรรคพวกของตัวเอง กลายเป็นพลเมืองดีแบบมีข้างมีขั้ว ที่พร้อมจะตรวจจับคนกระทำชั่วเฉพาะที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามตัวเองเท่านั้นแต่หากเป็นการก่อการหรือพฤติกรรมของพรรคพวกตัวเองทำ ก็พร้อมจะเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ไม่รับรู้และสนใจที่จะใช้มาตรฐานเดียวกันกับอีกฝ่าย ซึ่งเช่นนั้น ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นการกระทำเยี่ยงวิญญูชน
ถ้าวันนี้ ราชดำเนินเป็นเช่นเมื่อก่อน คำกล่าวข้างต้นคงสะท้อนให้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นในการเมืองไทยได้อย่างชัดเจน แต่ประเด็นก็คือ ราชดำเนินวันนี้ กลายเป็นแหล่งพูดคุยที่มีแค่คนหน้าเดิมๆไม่กี่สิบคนวนเวียนกันเข้ามาอ่านเข้ามาแสดงความเห็น และเมื่อบทความนี้ถูกตั้งในสถานการณ์เยี่ยงนี้ การจะชี้มือไปที่สนามการเมืองใหญ่คงไม่เกิดประโยชน์ เผลอๆอาจก่อโทษให้กับตัวผู้เขียนด้วยซ้ำ ดังนั้นน่าจะดีกว่า หากชี้ให้เห็นถึงแง่มุมนี้ ไปยังเรื่องราวที่กำลังบ่อนทำลายความน่าเชื่อถือของราชดำเนินแห่งนี้ไปทุกวัน
ซึ่งพูดไป ผู้เขียนก็เสียความตั้งใจกับตนเอง ที่จะไม่พูดถึงเรื่องนี้ แต่ก็จะขอชี้ให้เห็นเพราะประเด็นของข้อเขียนนี้ก็อยู่ในกรณีดราม่า แดงฟัดแดง หรือจะแดงต้มแดง อะไรก็ช่าง ตามที่สลิ่มให้คำนิยามไว้ ที่ซัดกันแรงจนเกินมารยาทการแสดงความเห็นในที่สาธารณะ บอกตรงๆผู้เขียนก็ไม่รู้หรอกว่า มารยาทการแสดงความเห็นในที่สาธารณะ มีข้อกำหนดเช่นไร รู้แต่เพียงว่า ตามทัศนะของผู้เขียน “เล่นกันเกินงาม”ไปเยอะ และสุดท้ายกลายเป็นเลอะเทอะ ทำให้คนที่ร่วมใช้สถานที่แห่งนี้ ร่วมเสียรังวัดไปด้วย
พฤติกรรมของการเป็น วิญญูชน หรือ พลเมืองดี คือให้การช่วยเหลือปกป้องผู้อื่นจากคนที่กระทำไม่ดี แต่พฤติกรรมของคนในสังคมราชดำเนินนี้ เป็นวิญญูชน หรือ พลเมืองดี แบบ ให้การช่วยเหลือปกป้องพรรคพวกตนเองจากฝ่ายตรงข้ามที่กระทำไม่ดี
แน่นอนว่าการกระทำเช่นนี้ก็ไม่แตกต่างอะไรไปจากสนามการเมืองใหญ่ในประเทศ ซึ่งคนที่มีสติสัมปชัญญะคิดอ่านในราชดำเนินทุกคน ต่างก็รู้ดีกว่า ไอ้พฤติกรรมแบบนี้นี้แหละ มันเป็นตัวการบ่อนทำลายประเทศให้เกิดความแตกแยก ทำลายระบบยุติธรรมให้ไม่มีความน่าเชื่อถือ ทำลายกระบวนการประชาธิปไตย ที่ประชาชนไทยเป็นเจ้าของอำนาจที่แท้จริง เสียสิทธิเสรีภาพมากมาย
แต่ถึงรู้อย่างนั้น มันก็ไม่ได้ช่วยให้คนในราชดำเนินหลายๆคนคน ไม่ปฏิบัติตนหรือมีพฤติกรรมเช่นนั้น แน่นอน ถ้านับว่าเป็นประโยคนี้เป็นคำด่า ผู้เขียนก็ยอมรับว่า กำลังด่าตัวเองด้วย เพราะผู้เขียนเองในเรื่องสนามการเมืองใหญ่ ก็ไม่เคยออกมาสนับสนุนการกระทำของฝ่ายตรงข้ามที่ถูกต้องชอบธรรม และก็ไม่เคยเช่นกันที่จะคัดค้านการกระทำที่ไม่น่าจะถูกต้องตามทำนองคลองธรรมของฝ่ายที่ผู้เขียนสนับสนุนอยู่ขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพทั้งสองกรณี อย่าง
การหลบหนีออกนอกประเทศของคุณยิ่งลักษณ์ นั้นผู้เขียนก็เลือกที่จะไม่แสดงความเห็นเรื่องนี้เลย แม้จะเข้าใจเหตุผลที่คุณยิ่งลักษณ์ต้องทำเช่นนั้น แต่การกระทำเช่นนั้นของคุณยิ่งลักษณ์ ก็ไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมที่สมควรทำ ซึ่งถ้าคุณยิ่งลักษณ์มั่นใจในความบริสุทธิ์ของตนเอง ก็ลุกขึ้นสู้ให้ถูกต้องไปเลย ถ้าไม่มั่นใจในกระบวนการยุติธรรมของไทย ก็ไปยื่นฟ้องต่อองค์กรระหว่างประเทศให้เป็นเรื่องเป็นราวไป ไม่ว่าจะเป็นไปตั้งรัฐบาลผลัดถิ่น ยื่นเรื่องให้ UN ยอมรับ ซึ่งเขาจะยอมรับหรือไม่มันอีกเรื่อง แต่กระบวนการต่อสู้เหล่านี้ คุณยิ่งลักษณ์ รวมถึงคุณทักษิณ เลือกที่จะไม่ทำตั้งแต่ต้น และเลือกที่จะนิ่งเฉย สมยอมเล่นบทดราม่าเป็นผู้ถูกกระทำอยู่ข้างเดียว ซึ่งนั้นไม่ใช่แนวทางการต่อสู้ทางประชาธิปไตยของผู้มีอุดมการณ์เลย แต่ผู้เขียนก็เลือกที่จะอมพะนำนิ่งไว้
ในกรณีเดียวกันแต่คนล่ะฝั่งบ้าง ทางด้านคณะรัฐประหาร ผู้เขียนก็ไม่ค่อยกล้าจะออกมาโวยวาย ในการใช้อำนาจที่ดูจะมากมายไม่มีขอบเขตของอีกฝ่าย โดยมีข้ออ้างให้กับตัวเอง ว่า “กลัว” จากการถูกปรามถูกข่มขู่หลายรูปแบบ อันมาจากอารมณ์สามัญสำนึกพื้นฐานของมนุษย์ทุกคนอยู่แล้ว แต่ข้ออ้างนั้นมันก็ยังสร้างความแคลงใจให้กับตนเองว่า ตนเองกำลังบกพร่องในคุณสมบัติของการเป็นวิญญูชนอยู่หรือเปล่า..?
คำถามคือ
สำนึกตัวได้หรือยัง...?
ถ้าได้แล้ว จะทำอย่างไรต่อไป...?